อุตสาหกรรมทองร่วมลงนามในประกาศหลักการด้านความรับผิดชอบและความยั่งยืน

Dec 6, 2022
1561 views
0 share

            เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา กลุ่มองค์กรในอุตสาหกรรมทองคำได้ร่วมงานประชุม LBMA/LPPM Global Precious Metals Conference ในกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส จัดโดย London Bullion Market Association (LBMA) และ World Gold Council เพื่อลงนามในประกาศว่าด้วยหลักการด้านความรับผิดชอบและความยั่งยืน ซึ่งได้ระบุอย่างเป็นทางการถึงพันธกิจร่วมกันในการดำเนินกิจการอย่างมีความรับผิดชอบและความยั่งยืนตามเป้าหมายร่วมที่ชัดเจน 

            ผู้ร่วมลงนามในประกาศดังกล่าว ได้แก่ LBMA, World Gold Council (WGC), Singapore Bullion Market Association (SBMA), China Gold Association, Swiss Association of Precious Metals Producers and Traders, London Metal Exchange (LME), Dubai Multi Commodities Centre (DMCC), Indian Gold Policy Centre (IGPC), Indian Bullion and Jewellery Association (IBJA), Indian International Bullion Exchange (IIBX), World Jewellery Confederation (CIBJO), Artisanal Gold Council (AGC), Responsible Jewellery Council (RJC) และ The Watch and Jewellery Initiative 2030

            กลุ่มองค์กรดังกล่าวได้บรรลุข้อตกลงในวัตถุประสงค์หลักด้านความยั่งยืนรวมสิบประการ ซึ่งรวมถึงพันธกิจด้านมาตรฐานการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ ความเคารพในสิทธิมนุษยชน ความก้าวหน้าของเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ของ UN ตลอดจนการดำเนินการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

            กลุ่มองค์กรในภาคอุตสาหกรรมทองคำเล็งเห็นว่าประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ต่อการตัดสินใจด้านนโยบายและการลงทุน ตลอดจนความคาดหวังจากผู้บริโภคและจากสังคมในวงกว้าง แม้ว่าประเด็นต่างๆ จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขจนคืบหน้าไปมากด้วยโครงการภายในอุตสาหกรรมและมาตรฐานการดำเนินงาน แต่ถึงเวลาแล้วที่ภาคอุตสาหกรรมทองคำจะเผยแพร่คำประกาศร่วมกันเพื่อแสดงให้เห็นการตระหนักถึงปัญหาและเจตนารมย์อย่างชัดเจน

            ส่วนหนึ่งของประกาศระบุไว้ว่า ผู้ร่วมลงนามได้ตกลงที่จะประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นรวมถึงรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการตามหลักการเหล่านี้ นอกจากนี้ ผู้ร่วมลงนามยังดำเนินพันธกิจได้ด้วยการปฏิบัติตามโครงการเฉพาะสำหรับบางขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทาน เช่น หลักการด้านการทำเหมืองทองอย่างมีความรับผิดชอบของ World Gold Council และแนวทางความรับผิดชอบในอุตสาหกรรมทองคำของ LBMA


ที่มา: https://www.amalena.com/eco-gold/

            ในมุมมองของ Ruth Crowell ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ LBMA เห็นว่า “ห่วงโซ่อุปทานของทองคำมีความซับซ้อนและขยายขอบเขตไปทั่วโลก อีกทั้งผู้มีส่วนร่วมในภาคอุตสาหกรรมก็อยู่ในลำดับขั้นที่แตกต่างกันไปในเส้นทางสู่ความยั่งยืน หากเราสามารถกำหนดแนวทางร่วมกันเพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้าและรวมอุตสาหกรรมทองคำเข้าด้วยกันโดยอาศัยหลักการเหล่านี้ ก็จะช่วยให้เราได้แสดงพันธกิจร่วมกันว่าด้วยแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน”

            ขณะที่ David Tait ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ World Gold Council กล่าวว่า “นับเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการในทุกขั้นตอนของอุตสาหกรรมทองคำจากเหมืองจนถึงตลาดได้มาร่วมมือกันเพื่อปฏิบัติตามหลักการว่าด้วยความรับผิดชอบและความยั่งยืน อุตสาหกรรมทองคำพัฒนาก้าวหน้าไปมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ในแง่การผลิตทองคำอย่างมีความรับผิดชอบ แต่เรายังต้องทำงานอีกมากเพื่อจะได้ร่วมกันค้นหาทางออกและสร้างผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงความร่วมมือทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานเพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ผู้ใช้ปลายทาง และอนาคตของอุตสาหกรรมทองคำ”

            ประกาศว่าด้วยหลักการด้านความรับผิดชอบและความยั่งยืนฉบับดังกล่าวจะเป็นรากฐานสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทองคำเพื่อการทำงานร่วมกับภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรภาคเอกชนอื่นๆ และภาคประชาสังคมเพื่อกำหนดและสนับสนุนมาตรฐานที่แข็งแกร่งในแง่ความถูกต้องและการกำกับดูแลกิจการตลอดห่วงโซ่อุปทาน  


             สำหรับอุตสาหกรรมทองคำในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันยังมีเพียงแค่การจัดกิจกรรม CSR เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยมีแนวคิดริเริ่มศึกษาในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก RJC ความตระหนักด้านคาร์บอนฟุตพริ้นต์และการจัดทำคาร์บอนเครดิตตามแนวนโยบายยุทธศาสตร์ของภาครัฐ ซึ่งผู้มีส่วนร่วมในภาคอุตสาหกรรมทองคำไทยควรเร่งดำเนินการส่งเสริมประเด็นด้านความรับผิดชอบและความยั่งยืนที่ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น รวมทั้งทำความเข้าใจในข้อตกลงดังกล่าวเพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานในธุรกิจของตนต่อไปในอนาคต

            ขณะที่นโยบายของประเทศไทยเพื่อตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) นั้น จากการประชุมความร่วมมือเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ที่ผ่านมา ผู้นำเอเปคต่างยอมรับ “เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green (BCG Economy) เป็นหลักการในการกำหนดกรอบการทำงานที่ครอบคลุมเพื่อต่อยอดวัตถุประสงค์ทั่วไปของเอเปคในการส่งเสริมการเติบโตของภูมิภาคอย่างแข็งแกร่ง สมดุล มั่นคง และยั่งยืน 

            นอกจากนี้ ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 (COP27) ประเทศไทยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อดำเนินการตามเป้าหมายที่ได้ประกาศไว้ในการประชุม COP26 คือการเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065 โดยหลังจากนี้ไทยต้องทำแผนดำเนินการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับจังหวัด แนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน โดยประชาชนต้องปรับตัวให้เข้าสู่ Low Carbon Society หรือสังคมคาร์บอนต่ำ ต้องสื่อสารทุกภาคส่วนเพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการทำงานระดับโลกที่เชื่อมการดำเนินงานในประเทศ รวมถึงเสริมสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชนขับเคลื่อนการจัดทำ Green Taxonomy ที่สอดคล้องกับมาตรการการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด อีกทั้งต้องดำเนินการตามแผนระยะยาวในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้จริง 



จัดทำโดย นางสาวกวินิตา กฤตาภาสกรวงค์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ข้อมูลอ้างอิง


1) LBMA. 2022. Gold Industry Commits to Responsibility and Sustainability Principles Declaration. [Online]. Available at https://www.lbma.org.uk/articles/gold-industry-commits-to-responsibility-and-sustainability-principles-declaration.
2) หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 1 ธันวาคม 2565. รัฐ-เอกชนผนึกพัฒนายั่งยืน.
3) หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565. ท่าทีไทยในเวทีการประชุม COP27 เร่งแก้ไขปัญหา Climate Change.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


อุตสาหกรรมทองร่วมลงนามในประกาศหลักการด้านความรับผิดชอบและความยั่งยืน

Dec 6, 2022
1561 views
0 share

            เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา กลุ่มองค์กรในอุตสาหกรรมทองคำได้ร่วมงานประชุม LBMA/LPPM Global Precious Metals Conference ในกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส จัดโดย London Bullion Market Association (LBMA) และ World Gold Council เพื่อลงนามในประกาศว่าด้วยหลักการด้านความรับผิดชอบและความยั่งยืน ซึ่งได้ระบุอย่างเป็นทางการถึงพันธกิจร่วมกันในการดำเนินกิจการอย่างมีความรับผิดชอบและความยั่งยืนตามเป้าหมายร่วมที่ชัดเจน 

            ผู้ร่วมลงนามในประกาศดังกล่าว ได้แก่ LBMA, World Gold Council (WGC), Singapore Bullion Market Association (SBMA), China Gold Association, Swiss Association of Precious Metals Producers and Traders, London Metal Exchange (LME), Dubai Multi Commodities Centre (DMCC), Indian Gold Policy Centre (IGPC), Indian Bullion and Jewellery Association (IBJA), Indian International Bullion Exchange (IIBX), World Jewellery Confederation (CIBJO), Artisanal Gold Council (AGC), Responsible Jewellery Council (RJC) และ The Watch and Jewellery Initiative 2030

            กลุ่มองค์กรดังกล่าวได้บรรลุข้อตกลงในวัตถุประสงค์หลักด้านความยั่งยืนรวมสิบประการ ซึ่งรวมถึงพันธกิจด้านมาตรฐานการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ ความเคารพในสิทธิมนุษยชน ความก้าวหน้าของเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ของ UN ตลอดจนการดำเนินการและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

            กลุ่มองค์กรในภาคอุตสาหกรรมทองคำเล็งเห็นว่าประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ต่อการตัดสินใจด้านนโยบายและการลงทุน ตลอดจนความคาดหวังจากผู้บริโภคและจากสังคมในวงกว้าง แม้ว่าประเด็นต่างๆ จะได้รับการปรับปรุงแก้ไขจนคืบหน้าไปมากด้วยโครงการภายในอุตสาหกรรมและมาตรฐานการดำเนินงาน แต่ถึงเวลาแล้วที่ภาคอุตสาหกรรมทองคำจะเผยแพร่คำประกาศร่วมกันเพื่อแสดงให้เห็นการตระหนักถึงปัญหาและเจตนารมย์อย่างชัดเจน

            ส่วนหนึ่งของประกาศระบุไว้ว่า ผู้ร่วมลงนามได้ตกลงที่จะประสานความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นรวมถึงรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการตามหลักการเหล่านี้ นอกจากนี้ ผู้ร่วมลงนามยังดำเนินพันธกิจได้ด้วยการปฏิบัติตามโครงการเฉพาะสำหรับบางขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทาน เช่น หลักการด้านการทำเหมืองทองอย่างมีความรับผิดชอบของ World Gold Council และแนวทางความรับผิดชอบในอุตสาหกรรมทองคำของ LBMA


ที่มา: https://www.amalena.com/eco-gold/

            ในมุมมองของ Ruth Crowell ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ LBMA เห็นว่า “ห่วงโซ่อุปทานของทองคำมีความซับซ้อนและขยายขอบเขตไปทั่วโลก อีกทั้งผู้มีส่วนร่วมในภาคอุตสาหกรรมก็อยู่ในลำดับขั้นที่แตกต่างกันไปในเส้นทางสู่ความยั่งยืน หากเราสามารถกำหนดแนวทางร่วมกันเพื่อนำไปสู่ความก้าวหน้าและรวมอุตสาหกรรมทองคำเข้าด้วยกันโดยอาศัยหลักการเหล่านี้ ก็จะช่วยให้เราได้แสดงพันธกิจร่วมกันว่าด้วยแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและยั่งยืน”

            ขณะที่ David Tait ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ World Gold Council กล่าวว่า “นับเป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการในทุกขั้นตอนของอุตสาหกรรมทองคำจากเหมืองจนถึงตลาดได้มาร่วมมือกันเพื่อปฏิบัติตามหลักการว่าด้วยความรับผิดชอบและความยั่งยืน อุตสาหกรรมทองคำพัฒนาก้าวหน้าไปมากในช่วงไม่กี่ปีมานี้ในแง่การผลิตทองคำอย่างมีความรับผิดชอบ แต่เรายังต้องทำงานอีกมากเพื่อจะได้ร่วมกันค้นหาทางออกและสร้างผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงความร่วมมือทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานเพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ผู้ใช้ปลายทาง และอนาคตของอุตสาหกรรมทองคำ”

            ประกาศว่าด้วยหลักการด้านความรับผิดชอบและความยั่งยืนฉบับดังกล่าวจะเป็นรากฐานสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมทองคำเพื่อการทำงานร่วมกับภาครัฐ องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรภาคเอกชนอื่นๆ และภาคประชาสังคมเพื่อกำหนดและสนับสนุนมาตรฐานที่แข็งแกร่งในแง่ความถูกต้องและการกำกับดูแลกิจการตลอดห่วงโซ่อุปทาน  


             สำหรับอุตสาหกรรมทองคำในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันยังมีเพียงแค่การจัดกิจกรรม CSR เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเสียเป็นส่วนใหญ่ โดยมีแนวคิดริเริ่มศึกษาในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก RJC ความตระหนักด้านคาร์บอนฟุตพริ้นต์และการจัดทำคาร์บอนเครดิตตามแนวนโยบายยุทธศาสตร์ของภาครัฐ ซึ่งผู้มีส่วนร่วมในภาคอุตสาหกรรมทองคำไทยควรเร่งดำเนินการส่งเสริมประเด็นด้านความรับผิดชอบและความยั่งยืนที่ทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น รวมทั้งทำความเข้าใจในข้อตกลงดังกล่าวเพื่อนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการดำเนินงานในธุรกิจของตนต่อไปในอนาคต

            ขณะที่นโยบายของประเทศไทยเพื่อตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) นั้น จากการประชุมความร่วมมือเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ที่ผ่านมา ผู้นำเอเปคต่างยอมรับ “เป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ Bio-Circular-Green (BCG Economy) เป็นหลักการในการกำหนดกรอบการทำงานที่ครอบคลุมเพื่อต่อยอดวัตถุประสงค์ทั่วไปของเอเปคในการส่งเสริมการเติบโตของภูมิภาคอย่างแข็งแกร่ง สมดุล มั่นคง และยั่งยืน 

            นอกจากนี้ ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 27 (COP27) ประเทศไทยได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวเพื่อดำเนินการตามเป้าหมายที่ได้ประกาศไว้ในการประชุม COP26 คือการเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065 โดยหลังจากนี้ไทยต้องทำแผนดำเนินการการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศระดับจังหวัด แนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน โดยประชาชนต้องปรับตัวให้เข้าสู่ Low Carbon Society หรือสังคมคาร์บอนต่ำ ต้องสื่อสารทุกภาคส่วนเพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการทำงานระดับโลกที่เชื่อมการดำเนินงานในประเทศ รวมถึงเสริมสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชนขับเคลื่อนการจัดทำ Green Taxonomy ที่สอดคล้องกับมาตรการการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด อีกทั้งต้องดำเนินการตามแผนระยะยาวในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้จริง 



จัดทำโดย นางสาวกวินิตา กฤตาภาสกรวงค์

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ข้อมูลอ้างอิง


1) LBMA. 2022. Gold Industry Commits to Responsibility and Sustainability Principles Declaration. [Online]. Available at https://www.lbma.org.uk/articles/gold-industry-commits-to-responsibility-and-sustainability-principles-declaration.
2) หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 1 ธันวาคม 2565. รัฐ-เอกชนผนึกพัฒนายั่งยืน.
3) หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. ฉบับวันที่ 18 พฤศจิกายน 2565. ท่าทีไทยในเวทีการประชุม COP27 เร่งแก้ไขปัญหา Climate Change.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970