De Beers และบอตสวานา กับก้าวสำคัญสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเพชร

Jul 14, 2023
1163 views
0 share

        ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเพชรประสบปัญหาอุปทานของเพชรที่ลดลงทั้งจากการคว่ำบาตรเพชรจากรัสเซีย และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่กระทบการบริโภคเครื่องประดับเพชร รวมไปถึงความกังวลต่อข้อตกลงการค้าเพชรระหว่าง De Beers กับบอตสวานา ที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ แต่ล่าสุดปัญหาข้อตกลงการค้านี้ได้คลี่คลายลงแล้ว 
        De Beers และรัฐบาลบอตสวานาได้บรรลุข้อตกลงชั่วคราวเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการทำข้อตกลงได้สำเร็จก่อนที่จะถึงเส้นตายการสิ้นสุดสิ้นสัญญาเพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังจากที่ข้อตกลงนี้ถูกยืดออกมาตั้งแต่ปี 2018 โดยมีการขยายอายุสัญญามาหลายครั้งในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งภายใต้ข้อตกลงใหม่นี้ รัฐบาลบอตสวานาจะได้รับส่วนแบ่งของเพชรที่ขุดได้เพิ่มเป็น 30% จากเดิมที่ได้ 25% และจะขยายเป็น 50% ในช่วงท้ายของสัญญาใหม่นี้ โดยบอตสวานาจะขายเพชรส่วนนี้ผ่าน Okavango Diamond Co (ODC) บริษัทเพชรที่รัฐเป็นเจ้าของ
De Beers

        นอกจากส่วนแบ่งปริมาณเพชรที่บอตสวานาได้เพิ่มแล้ว ยังมีสัญญาที่รวมถึงการที่ De Beers ตกลงที่จะลงทุนถึงราว 825 ล้านดอลลาร์สหรัฐในรอบ 10 ปีข้างหน้าเพื่อนำมาพัฒนาเศรษฐกิจของบอตสวานา รวมทั้งการจัดตั้งสมาคมเพื่อพัฒนาทักษะให้แรงงานในท้องถิ่นที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเพชรด้วย ซึ่งการผลักดันข้อตกลงนี้ของทางการบอตสวานา ไม่เพียงทำให้ได้รับส่วนแบ่งที่เพิ่มขึ้น แต่ยังผูกพันถึง De Beers ต้องมีการขยายการลงทุนไปในด้านอื่นของอุตสาหกรรมนี้ในบอตสวานา ตั้งแต่การตัด เจียระไน ทำเครื่องประดับ และค้าปลีก โดยข้อตกลงด้านการค้าใหม่นี้จะดำเนินไปจนถึงปี 2033 ขณะที่ใบอนุญาตทำเหมืองของ De Beers ขยายไปถึงปี 2054 เพื่อให้บริษัทสามารถร่วมสร้างอนาคตให้กับประเทศได้ในระยะยาว


ภาพการจับมือในการเซ็นสัญญาฉบับใหม่ของประธานกรรมการบริหารของ De Beers และรัฐมนตรีเหมืองแร่ของบอตสวานา จาก https://www.debeersgroup.com

        บอตสวานานั้นเป็นประเทศผู้ผลิตเพชรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากรัสเซีย (ในปี 2022 มีผลผลิต 24.1 ล้านกะรัต) ตั้งแต่ปี 1966 De Beers ได้ค้นพบแหล่งเพชรในประเทศนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่บอตสวานาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร ขณะนั้นบอตสวานาเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งของโลก ทั้งประเทศมีถนนลาดยางเพียง 7.5 ไมล์ แต่ปัจจุบันสามารถก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงได้ โดยรายได้หลักของประเทศมาจากการทำเหมืองเพชร ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 35% ของ GDP และเป็นสัดส่วนมากกว่า 60% ของสินค้าส่งออก 
        โดยผลผลิตเพชรทั่วประเทศอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท Debswana ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ระหว่างรัฐบาลบอตสวานาและ De Beers มีเหมืองที่อยู่ในการควบคุม 4 แห่ง คือ Jwaneng, Orapa, Letlhakane และ Damtshaa โดยเหมือง Jwaneng เป็นเหมืองที่ผลิตเพชรได้มากที่สุดในโลก 
        จากข้อตกลงดังกล่าว ไม่เพียงทำให้รายได้จากการค้าเพชรของบอตสวานาเพิ่มขึ้น หากแต่ยังมีการวางรากฐานเสริมสร้างทักษะความรู้ในอุตสาหกรรมเพชรแก่ประชาชนในประเทศ ซึ่งอนาคตบอตสวานาอาจกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้าและเจียระไนเพชรที่สำคัญของโลกก็เป็นได้



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

ข้อมูลอ้างอิง


1) The New York Times. 2023. Botswana and De Beers Sign Deal to Continue Rich Diamond Partnership. [Online]. Available at: https://www.nytimes.com/2023/07/01/. (Retrieved July 7,2023).
2) African Business. 2023. DeBeers concedes to Botswana’s demands in last minute diamond deal. [Online]. Available at: https://african.business/2023/07/. (Retrieved July 7,2023).
3) De Beers Group. 2023. Company News. [Online]. Available at: https://www.debeersgroup.com/. (Retrieved July 10,2023).
4) Reuters. 2023. Botswana mining growth seen flat amid dim diamond outlook. [Online]. Available at: https://www.reuters.com/world/africa/. (Retrieved July 10,2023).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


De Beers และบอตสวานา กับก้าวสำคัญสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเพชร

Jul 14, 2023
1163 views
0 share

        ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเพชรประสบปัญหาอุปทานของเพชรที่ลดลงทั้งจากการคว่ำบาตรเพชรจากรัสเซีย และผลกระทบทางเศรษฐกิจที่กระทบการบริโภคเครื่องประดับเพชร รวมไปถึงความกังวลต่อข้อตกลงการค้าเพชรระหว่าง De Beers กับบอตสวานา ที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ แต่ล่าสุดปัญหาข้อตกลงการค้านี้ได้คลี่คลายลงแล้ว 
        De Beers และรัฐบาลบอตสวานาได้บรรลุข้อตกลงชั่วคราวเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการทำข้อตกลงได้สำเร็จก่อนที่จะถึงเส้นตายการสิ้นสุดสิ้นสัญญาเพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังจากที่ข้อตกลงนี้ถูกยืดออกมาตั้งแต่ปี 2018 โดยมีการขยายอายุสัญญามาหลายครั้งในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งภายใต้ข้อตกลงใหม่นี้ รัฐบาลบอตสวานาจะได้รับส่วนแบ่งของเพชรที่ขุดได้เพิ่มเป็น 30% จากเดิมที่ได้ 25% และจะขยายเป็น 50% ในช่วงท้ายของสัญญาใหม่นี้ โดยบอตสวานาจะขายเพชรส่วนนี้ผ่าน Okavango Diamond Co (ODC) บริษัทเพชรที่รัฐเป็นเจ้าของ
De Beers

        นอกจากส่วนแบ่งปริมาณเพชรที่บอตสวานาได้เพิ่มแล้ว ยังมีสัญญาที่รวมถึงการที่ De Beers ตกลงที่จะลงทุนถึงราว 825 ล้านดอลลาร์สหรัฐในรอบ 10 ปีข้างหน้าเพื่อนำมาพัฒนาเศรษฐกิจของบอตสวานา รวมทั้งการจัดตั้งสมาคมเพื่อพัฒนาทักษะให้แรงงานในท้องถิ่นที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเพชรด้วย ซึ่งการผลักดันข้อตกลงนี้ของทางการบอตสวานา ไม่เพียงทำให้ได้รับส่วนแบ่งที่เพิ่มขึ้น แต่ยังผูกพันถึง De Beers ต้องมีการขยายการลงทุนไปในด้านอื่นของอุตสาหกรรมนี้ในบอตสวานา ตั้งแต่การตัด เจียระไน ทำเครื่องประดับ และค้าปลีก โดยข้อตกลงด้านการค้าใหม่นี้จะดำเนินไปจนถึงปี 2033 ขณะที่ใบอนุญาตทำเหมืองของ De Beers ขยายไปถึงปี 2054 เพื่อให้บริษัทสามารถร่วมสร้างอนาคตให้กับประเทศได้ในระยะยาว


ภาพการจับมือในการเซ็นสัญญาฉบับใหม่ของประธานกรรมการบริหารของ De Beers และรัฐมนตรีเหมืองแร่ของบอตสวานา จาก https://www.debeersgroup.com

        บอตสวานานั้นเป็นประเทศผู้ผลิตเพชรมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากรัสเซีย (ในปี 2022 มีผลผลิต 24.1 ล้านกะรัต) ตั้งแต่ปี 1966 De Beers ได้ค้นพบแหล่งเพชรในประเทศนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่บอตสวานาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร ขณะนั้นบอตสวานาเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่งของโลก ทั้งประเทศมีถนนลาดยางเพียง 7.5 ไมล์ แต่ปัจจุบันสามารถก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงได้ โดยรายได้หลักของประเทศมาจากการทำเหมืองเพชร ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 35% ของ GDP และเป็นสัดส่วนมากกว่า 60% ของสินค้าส่งออก 
        โดยผลผลิตเพชรทั่วประเทศอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัท Debswana ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ระหว่างรัฐบาลบอตสวานาและ De Beers มีเหมืองที่อยู่ในการควบคุม 4 แห่ง คือ Jwaneng, Orapa, Letlhakane และ Damtshaa โดยเหมือง Jwaneng เป็นเหมืองที่ผลิตเพชรได้มากที่สุดในโลก 
        จากข้อตกลงดังกล่าว ไม่เพียงทำให้รายได้จากการค้าเพชรของบอตสวานาเพิ่มขึ้น หากแต่ยังมีการวางรากฐานเสริมสร้างทักษะความรู้ในอุตสาหกรรมเพชรแก่ประชาชนในประเทศ ซึ่งอนาคตบอตสวานาอาจกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้าและเจียระไนเพชรที่สำคัญของโลกก็เป็นได้



จัดทำโดย นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

ข้อมูลอ้างอิง


1) The New York Times. 2023. Botswana and De Beers Sign Deal to Continue Rich Diamond Partnership. [Online]. Available at: https://www.nytimes.com/2023/07/01/. (Retrieved July 7,2023).
2) African Business. 2023. DeBeers concedes to Botswana’s demands in last minute diamond deal. [Online]. Available at: https://african.business/2023/07/. (Retrieved July 7,2023).
3) De Beers Group. 2023. Company News. [Online]. Available at: https://www.debeersgroup.com/. (Retrieved July 10,2023).
4) Reuters. 2023. Botswana mining growth seen flat amid dim diamond outlook. [Online]. Available at: https://www.reuters.com/world/africa/. (Retrieved July 10,2023).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970