Free Publications

เอกสารด้านการตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ

ปี 2559

GIT Trade Review 2015 (ฉบับภาษาไทย)

ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยขยายตัวร้อยละ 14.68 ขณะที่มูลค่าการนําเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.87 โดยทองคําที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคํากึ่งสําเร็จรูปเป็นสินค้าหลักทั้งในการส่งออกและการนําเข้า แต่หากพิจารณามูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยไม่รวมทองคําฯ จะพบว่าขยายตัวจากปีก่อนหน้าร้อยละ 3.62 อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกในปี 2559 มีแนวโนมเติบโตในระดับใกล้เคียงกับปี 2558 จากปัจจัยลบทางเศรษฐกิจของโลกและประเทศคู่ค้าสําคัญที่ฟื้นตัวอย่างล่าช้า ขณะที่ได้รับปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง และราคาวัตถุดิบที่ทรงตัวอยู่ในระดับค่อนข้างตํ่า

ปี 2558

GIT Trade Review 2014 (ฉบับภาษาไทย)

ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยขยายตัวร้อยละ 5.79 ขณะที่มูลค่าการนําเข้าลดลงถึง ร้อยละ 45.26 โดยเครื่องประดับแท้เป็นสินค้าส่งออกรายการสําคัญ ส่วนทองคําที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคํากึ่งสําเร็จรูปเป็น สินค้าหลักในการนําเข้า แต่หากพิจารณามูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยไม่รวมทองคําฯ จะพบว่าขยายตัวจาก ปีก่อนหน้าร้อยละ 13.43 อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกในปี 2558 มีแนวโน้มเติบโตในอัตราลดลงจากปี 2557 แม้เศรษฐกิจ สหรัฐจะฟื้นตัวแต่จากปัจจัยลบทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสําคัญชะลอตัวลง และค่าเงินสกุลหลักของโลกที่ผันผวนสูง

ปี 2557

GIT Trade Review 2013 (ฉบับภาษาไทย)

ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยลดลงร้อยละ 25.05 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.94 โดยเครื่องประดับแท้เป็นสินค้าส่งออกรายการสำคัญ ส่วนทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรุปยังคงเป็นสินค้าหลักในการนำเข้า แต่หากพิจารณามูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยไม่รวมทองคำฯ จะพบว่าขยายตัวจากปีก่อนหน้าร้อยละ 2.43 อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกในปี 2557 มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นจากปี 2556 จากปัจจัยบวกทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักของไทยที่กำลังฟื้นตัวต่อเนื่อง และเงินบาทที่อ่อนค่าลง

ปี 2556

GIT Trade Review 2012 (ฉบับภาษาไทย)

ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยขยายตัวร้อยละ 9.91 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 31.72 โดยทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูปยังคงเป็นสินค้าหลักทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้า แต่หากนำมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยหักออกด้วยมูลค่าส่งออกทองคำฯ จะพบว่าขยายตัวจากปีก่อนหน้าร้อยละ 4.29 อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกในปี 2556 อาจมีแนวโน้มเติบโตลดลงจากปีนี้ จากปัจจัยลบทางเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะเผชิญกับภาวะชะลอตัวลงอีกและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

ปี 2555

GIT Trade Review Issue 2/2012 (ฉบับภาษาไทย)

สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศตลาดใหม่ที่มีศักยภาพซึ่งถูกรวมไว้ในกลุ่มประเทศ BRIC นอกเหนือไปจากบราซิล อินเดีย และจีน รัสเซียมีระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉลี่ยราวร้อยละ 7 ต่อปี

GIT Trade Review Issue 1/2012 (ฉบับภาษาไทย)

ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยขยายตัวเพียงร้อยละ 1.21 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเติบโตถึงร้อยละ 86.70 โดยทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูปยังคงเป็นสินค้าหลักทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้า แต่หากนำมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยหักออกด้วยมูลค่าส่งออกทองคำฯ จะพบว่าขยายตัวจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 18.42 อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกในปี 2555 อาจมีแนวโน้มเติฐโตลดลงจากปีนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจจะชะลอตัวลงอีกและเข้าสู่ภาวะถดถอยรอบใหม่

ปี 2554

GIT Trade Review Issue 3/2011 (ฉบับภาษาไทย)

ออสเตรเลียเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีเสถียรภาพและความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองสูง มีการเติบโต ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.77 ต่อปีในช่วงปี 2549-2553 และคาดว่าในปี 2554-2555 จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงราวร้อยละ 2.97 และ 3.48 ตามลำดับ

GIT Trade Review Issue 2/2011 (ฉบับภาษาไทย)

อินเดียเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวในแนวบวกอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2548-2552) อยู่ที่ร้อยละ 7.9 และยังขยายตัวสูงถึงร้อยละ 10.4 ในปี 2553 สูงกว่าประเทศมหาอำ นาจทางเศรษฐกิจเดิมอย่างเช่นสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

GIT Trade Review Issue 1/2011 (ฉบับภาษาไทย)

ในภาพรวมมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเติบโตร้อยละ 9.92 ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าเติบโตถึงร้อยละ 63.73 โดยทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูปยังคงเป็นสินค้าหลักทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้า

ปี 2553

GIT Trade Review Issue 3/2010 (ฉบับภาษาไทย)

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้เข้าประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมนับแสนล้านบาทต่อปี ปัจจุบันอัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทยประเภทหนึ่ง มีมูลค่าการส่งออกสูงอยู่ในอันดับที่ 3

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site