ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ
Regent Diamond ยอดมณีแห่งฝรั่งเศส
Jan 17, 2020
1386
views
4
shares
ในบรรดาเครื่องประดับและอัญมณีเพชรที่มีชื่อเสียงในโลก ไม่ว่าจะเป็นเพชร โฮป (Hope Diamond) หรือ ดวงดาวแห่งแอฟริกา (Star of Africa) ล้วนแล้วแต่พ่วงมากับตำนานเล่าขานและประวัติความเป็นมาของเพชรแต่ละเม็ดเอาไว้อย่างละเอียดยืดยาว ซึ่งส่วนใหญ่มักเต็มไปด้วยเรื่องราวของโศกนาฏกรรม คำสาป และการแก่งแย่งช่วงชิง นำมาสู่การเปลี่ยนมือผู้ถือครองครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งเรื่องราวที่จะเล่าสู่กันฟังในเรื่องนี้ก็เช่นกัน มันเป็นโคตรเพชรที่มีชื่อเสียงที่สุดเม็ดหนึ่ง โคตรเพชรที่อยู่กับแผ่นดินฝรั่งเศสมานานหลายร้อยปี เรื่องราวของเพชรเม็ดนี้... ‘Regent Diamond’
Regent Diamond ถูกค้นพบเมื่อปี 1698 ในเหมืองซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐอานธรประเทศ ในประเทศอินเดีย โดยทาสผู้หนึ่งซึ่งทำงานในเหมืองแห่งนี้ ด้วยความหวังจะมีอนาคตที่สดใสและหลุดพ้นจากการเป็นทาส เขาจึงได้ลักลอบนำเพชรก้อนขนาด 410 กะรัต หนีออกมาจากเหมืองและขอร้องให้กัปตันเรือชาวอังกฤษอนุญาตให้เขาโดยสารไปกับเรือเพื่อเดินทางไปยังดินแดนแห่งใหม่โดยแลกกับเงินครึ่งหนึ่งของมูลค่าเพชรเม็ดนี้ แต่เมื่อความโลภเข้าครอบงำจิตใจ มนุษย์ย่อมทำได้ทุกอย่างโดยไม่นึกถึงศีลธรรมและความถูกต้อง ทาสผู้โชคร้ายถูกกัปตันเรือฆ่าตายและชิงเอาเพชรนั้นไปครอบครอง ต่อมา กัปตันเรือได้ขายเพชรเม็ดนั้นให้กับพ่อค้าชาวอินเดียก่อนจะถูกพบเป็นศพในสภาพที่ถูกแขวนคอ
3 ปีต่อมา พ่อค้าชาวอินเดียได้ขายเพชรเม็ดนี้ให้กับ Thomas Pitt ชาวอังกฤษผู้ปกครองเมืองมัทราส (Madras) หรือเมืองเจนไน (Chennai) ในปัจจุบัน ก่อนจะถูกส่งมายังอังกฤษเพื่อรับการขัดเกลาให้งดงาม มันถูกเจียระไนให้เป็นรูปทรงที่เรียกว่า Cushion Brilliant Cut โดยช่างชาวอังกฤษ มีน้ำหนักภายหลังการเจียระไนอยู่ที่ราว 140.5 กะรัต
ในปี 1717 มันถูกนำมายังฝรั่งเศสเพื่อขายให้กับ ฟิลิปที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง (Phillip II, Duke of Orléans) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส เพื่อนำมาประดับบนมงกุฎสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งจัดขึ้นในปี 1722 จนในปี 1775 มันได้ถูกนำไปประดับบนมงกุฎที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จากนั้น จึงถูกนำไปประดับบนหมวกกำมะหยี่สีดำใบงามของพระนางมารี อ็องตัวเน็ต
พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส
ภาพจาก: Pinterest
มงกุฏแห่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส
ภาพจาก: พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (https://www.louvre.fr)
ในช่วงของการปฎิวัติฝรั่งเศส Regent Diamond ได้ถูกขโมยและหายสาปสูญไปพร้อมกับของมีค่าชิ้นอื่นๆ (รวมถึงเพชรโฮป) ก่อนจะถูกพบในอีก 15 เดือนต่อมา และมันก็ได้กลับมาเฉิดฉายอีกครั้งในฐานะเครื่องประดับแห่งราชสำนักฝรั่งเศส เมื่อนโปเลียนได้นำ Regent Diamond ประดับลงบนด้ามดาบที่เขาใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อปี 1804 ภายหลังจากที่นโปเลียนเสียชีวิต Regent Diamond ก็ยังคงวนเวียนรับใช้ราชสำนักฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง ด้วยมันถูกนำไปประดับบนมงกุฎแห่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 พระเจ้าชาร์ลที่ 10 และพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ตามลำดับ
ปัจจุบัน Regent Diamond ยังอยู่ในครอบครองของประเทศฝรั่งเศส มันถูกจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Louvre Museum) ในกรุงปารีส เพื่ออวดโฉมให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้แวะเวียนเข้าไปเยี่ยมชมความงามของมันมากถึงปีละหลายล้านคน
The Regent Diamond
ภาพจาก: พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (https://www.louvre.fr)
ภาพจาก: พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (https://www.louvre.fr)
Regent Diamond ถูกค้นพบเมื่อปี 1698 ในเหมืองซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐอานธรประเทศ ในประเทศอินเดีย โดยทาสผู้หนึ่งซึ่งทำงานในเหมืองแห่งนี้ ด้วยความหวังจะมีอนาคตที่สดใสและหลุดพ้นจากการเป็นทาส เขาจึงได้ลักลอบนำเพชรก้อนขนาด 410 กะรัต หนีออกมาจากเหมืองและขอร้องให้กัปตันเรือชาวอังกฤษอนุญาตให้เขาโดยสารไปกับเรือเพื่อเดินทางไปยังดินแดนแห่งใหม่โดยแลกกับเงินครึ่งหนึ่งของมูลค่าเพชรเม็ดนี้ แต่เมื่อความโลภเข้าครอบงำจิตใจ มนุษย์ย่อมทำได้ทุกอย่างโดยไม่นึกถึงศีลธรรมและความถูกต้อง ทาสผู้โชคร้ายถูกกัปตันเรือฆ่าตายและชิงเอาเพชรนั้นไปครอบครอง ต่อมา กัปตันเรือได้ขายเพชรเม็ดนั้นให้กับพ่อค้าชาวอินเดียก่อนจะถูกพบเป็นศพในสภาพที่ถูกแขวนคอ
3 ปีต่อมา พ่อค้าชาวอินเดียได้ขายเพชรเม็ดนี้ให้กับ Thomas Pitt ชาวอังกฤษผู้ปกครองเมืองมัทราส (Madras) หรือเมืองเจนไน (Chennai) ในปัจจุบัน ก่อนจะถูกส่งมายังอังกฤษเพื่อรับการขัดเกลาให้งดงาม มันถูกเจียระไนให้เป็นรูปทรงที่เรียกว่า Cushion Brilliant Cut โดยช่างชาวอังกฤษ มีน้ำหนักภายหลังการเจียระไนอยู่ที่ราว 140.5 กะรัต
ในปี 1717 มันถูกนำมายังฝรั่งเศสเพื่อขายให้กับ ฟิลิปที่ 2 ดยุกแห่งออร์เลอ็อง (Phillip II, Duke of Orléans) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส เพื่อนำมาประดับบนมงกุฎสำหรับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งจัดขึ้นในปี 1722 จนในปี 1775 มันได้ถูกนำไปประดับบนมงกุฎที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จากนั้น จึงถูกนำไปประดับบนหมวกกำมะหยี่สีดำใบงามของพระนางมารี อ็องตัวเน็ต
พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส
ภาพจาก: Pinterest
มงกุฏแห่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส
ภาพจาก: พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (https://www.louvre.fr)
ในช่วงของการปฎิวัติฝรั่งเศส Regent Diamond ได้ถูกขโมยและหายสาปสูญไปพร้อมกับของมีค่าชิ้นอื่นๆ (รวมถึงเพชรโฮป) ก่อนจะถูกพบในอีก 15 เดือนต่อมา และมันก็ได้กลับมาเฉิดฉายอีกครั้งในฐานะเครื่องประดับแห่งราชสำนักฝรั่งเศส เมื่อนโปเลียนได้นำ Regent Diamond ประดับลงบนด้ามดาบที่เขาใช้ในพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อปี 1804 ภายหลังจากที่นโปเลียนเสียชีวิต Regent Diamond ก็ยังคงวนเวียนรับใช้ราชสำนักฝรั่งเศสอย่างต่อเนื่อง ด้วยมันถูกนำไปประดับบนมงกุฎแห่งพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 พระเจ้าชาร์ลที่ 10 และพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ตามลำดับ
ปัจจุบัน Regent Diamond ยังอยู่ในครอบครองของประเทศฝรั่งเศส มันถูกจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Louvre Museum) ในกรุงปารีส เพื่ออวดโฉมให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกได้แวะเวียนเข้าไปเยี่ยมชมความงามของมันมากถึงปีละหลายล้านคน
ข้อมูลอ้างอิง
1. The Regent Diamond. Geri Walton: Unique histories from the 18th and 19th centuries. (24 February 2016). https://www.geriwalton.com/the-regent-diamond/
2. The Regent Diamond. Worthy. https://www.worthy.com/famous-diamonds/the-regent-diamond
3. The Regent. The World of Famous Diamonds. http://famousdiamonds.tripod.com/regentdiamond.html
2. The Regent Diamond. Worthy. https://www.worthy.com/famous-diamonds/the-regent-diamond
3. The Regent. The World of Famous Diamonds. http://famousdiamonds.tripod.com/regentdiamond.html