ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เครื่องประดับไว้ทุกข์

Oct 12, 2020
2663 views
0 share

        เครื่องประดับไว้ทุกข์’ (Mourning Jewelry) เป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ในยุคกลาง (ราว ค.ศ. 5 - ค.ศ. 15) โดยในยุคนั้นเครื่องประดับประเภทนี้จะถูกทำขึ้นในรูปแบบที่สื่อความหมายถึงความตาย อาทิ โครงกระดูก หรือไม้กางเขน เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจว่าความตายเป็นสัจธรรมของชีวิต

        สำหรับอัญมณีที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับไว้ทุกข์นั้น ได้แก่ อัญมณีในโทนดำและขาว ได้แก่ เจ็ท นิล ไข่มุก รวมไปถึงเครื่องประดับลงยา เป็นต้น 

        จนกระทั่งในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ‘เครื่องประดับไว้ทุกข์’ จึงได้รับความนิยมอย่างสูงสุด พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างกระแสนิยมให้เครื่องประดับประเภทนี้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งโดยเฉพาะในราชสำนัก นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นผู้ปฏิวัติภาพลักษณ์เครื่องประดับไว้ทุกข์จากสัญลักษณ์แห่งความตาย มาสู่เครื่องหมายแห่งการระลึกถึงบุคคลผู้เป็นที่รักซึ่งจากไปอย่างไม่มีวันกลับอีกด้วย 

        ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายอัลเบิร์ต พระสวามีผู้เป็นที่รัก ในปี 1861 ได้ยังความโศกเศร้ามาสู่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงไว้ทุกข์ด้วยการฉลองพระองค์ในชุดสีดำตลอดพระชนม์ชีพที่เหลือ อีกทั้งยังโปรดการสวมเครื่องประดับไว้ทุกข์ เพื่อเป็นการระลึกพระสวามีอีกด้วย

        เครื่องประดับไว้ทุกข์ที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงโปรดและมักทรงสวมอยู่บ่อยครั้ง คือ จี้ล็อคเก็ตทองคำตกแต่งด้วยอัญมณีนิลและเพชร ด้านในบรรจุเส้นผมและภาพของเจ้าชายอัลเบิร์ต นอกจากนี้ ยังมีสร้อยข้อมือทองคำห้อยด้วยจี้ประดับหรือชาร์ม (Charm) จำนวน 16 ชิ้น ชาร์มบางชิ้นทำจากทองคำ และบางชิ้นทำจากทองคำลงยาสีดำ

  

จี้ล็อคเก็ตทองคำ ด้านในบรรจุเส้นผมและภาพของเจ้าชายอัลเบิร์ต


สร้อยข้อมือทองคำห้อยด้วยชาร์มจำนวน 16 ชิ้น

ภาพจาก: Royal Collection Trust

        ทั้งนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงมีรับสั่งว่า ภายหลังจากที่พระองค์สวรรคต ให้นำเครื่องประดับไว้ทุกข์ทั้ง 2 ชิ้น นี้ ไปเก็บไว้ที่ห้องอัลเบิร์ต (ห้องที่เจ้าชายอัลเบิร์ตสิ้นพระชนม์) ในพระราชวังวินด์เซอร์ อีกทั้งยังมีพระราชประสงค์ที่จะไม่พระราชทานให้เป็นสมบัติแก่ผู้ใดทั้งสิ้น

        เครื่องประดับไว้ทุกข์ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานราว 40 ปี จนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียสวรรคตในปี 1901 ความนิยมในเครื่องประดับประเภทนี้ก็เริ่มเสื่อมถอยลงและค่อยๆ เลือนหายไปตามกาลเวลา 


ข้อมูลอ้างอิง


1. GIA. Antique Jewelry: Mourning Jewelry of the Victoria Era. Retrieved April 30, 2019 from https://4cs.gia.edu/en-us/blog/antique-victorian-era-mourning-jewelry/
2. National Jeweler. (November 3, 2014). The History Behind Victoria Mourning Jewelry. Retrieved April 30, 2019 from https://www.nationaljeweler.com/independents/2058-the-history-behind-victorian-mourning-jewelry
3. Compass Rose Design. History of Victorian Mourning Jewelry. Retrieved April 30, 2019 from http://www.compassrosedesign.com/pages/history-of-victorian-mourning-jewelry

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เครื่องประดับไว้ทุกข์

Oct 12, 2020
2663 views
0 share

        เครื่องประดับไว้ทุกข์’ (Mourning Jewelry) เป็นที่รู้จักมาตั้งแต่ในยุคกลาง (ราว ค.ศ. 5 - ค.ศ. 15) โดยในยุคนั้นเครื่องประดับประเภทนี้จะถูกทำขึ้นในรูปแบบที่สื่อความหมายถึงความตาย อาทิ โครงกระดูก หรือไม้กางเขน เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจว่าความตายเป็นสัจธรรมของชีวิต

        สำหรับอัญมณีที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับไว้ทุกข์นั้น ได้แก่ อัญมณีในโทนดำและขาว ได้แก่ เจ็ท นิล ไข่มุก รวมไปถึงเครื่องประดับลงยา เป็นต้น 

        จนกระทั่งในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ‘เครื่องประดับไว้ทุกข์’ จึงได้รับความนิยมอย่างสูงสุด พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างกระแสนิยมให้เครื่องประดับประเภทนี้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งโดยเฉพาะในราชสำนัก นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นผู้ปฏิวัติภาพลักษณ์เครื่องประดับไว้ทุกข์จากสัญลักษณ์แห่งความตาย มาสู่เครื่องหมายแห่งการระลึกถึงบุคคลผู้เป็นที่รักซึ่งจากไปอย่างไม่มีวันกลับอีกด้วย 

        ภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของเจ้าชายอัลเบิร์ต พระสวามีผู้เป็นที่รัก ในปี 1861 ได้ยังความโศกเศร้ามาสู่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ทรงไว้ทุกข์ด้วยการฉลองพระองค์ในชุดสีดำตลอดพระชนม์ชีพที่เหลือ อีกทั้งยังโปรดการสวมเครื่องประดับไว้ทุกข์ เพื่อเป็นการระลึกพระสวามีอีกด้วย

        เครื่องประดับไว้ทุกข์ที่สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงโปรดและมักทรงสวมอยู่บ่อยครั้ง คือ จี้ล็อคเก็ตทองคำตกแต่งด้วยอัญมณีนิลและเพชร ด้านในบรรจุเส้นผมและภาพของเจ้าชายอัลเบิร์ต นอกจากนี้ ยังมีสร้อยข้อมือทองคำห้อยด้วยจี้ประดับหรือชาร์ม (Charm) จำนวน 16 ชิ้น ชาร์มบางชิ้นทำจากทองคำ และบางชิ้นทำจากทองคำลงยาสีดำ

  

จี้ล็อคเก็ตทองคำ ด้านในบรรจุเส้นผมและภาพของเจ้าชายอัลเบิร์ต


สร้อยข้อมือทองคำห้อยด้วยชาร์มจำนวน 16 ชิ้น

ภาพจาก: Royal Collection Trust

        ทั้งนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงมีรับสั่งว่า ภายหลังจากที่พระองค์สวรรคต ให้นำเครื่องประดับไว้ทุกข์ทั้ง 2 ชิ้น นี้ ไปเก็บไว้ที่ห้องอัลเบิร์ต (ห้องที่เจ้าชายอัลเบิร์ตสิ้นพระชนม์) ในพระราชวังวินด์เซอร์ อีกทั้งยังมีพระราชประสงค์ที่จะไม่พระราชทานให้เป็นสมบัติแก่ผู้ใดทั้งสิ้น

        เครื่องประดับไว้ทุกข์ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานราว 40 ปี จนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียสวรรคตในปี 1901 ความนิยมในเครื่องประดับประเภทนี้ก็เริ่มเสื่อมถอยลงและค่อยๆ เลือนหายไปตามกาลเวลา 


ข้อมูลอ้างอิง


1. GIA. Antique Jewelry: Mourning Jewelry of the Victoria Era. Retrieved April 30, 2019 from https://4cs.gia.edu/en-us/blog/antique-victorian-era-mourning-jewelry/
2. National Jeweler. (November 3, 2014). The History Behind Victoria Mourning Jewelry. Retrieved April 30, 2019 from https://www.nationaljeweler.com/independents/2058-the-history-behind-victorian-mourning-jewelry
3. Compass Rose Design. History of Victorian Mourning Jewelry. Retrieved April 30, 2019 from http://www.compassrosedesign.com/pages/history-of-victorian-mourning-jewelry

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site