ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

คัดกรองเรื่องร้ายด้วยตาข่ายดักฝัน

Feb 23, 2022
33055 views
27 shares

            มนุษย์ทุกคนล้วนเคยฝันเมื่อยามหลับ ความฝันมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งที่เหมือนจริงและเกินจริง หากเป็นฝันดีก็สามารถสร้างความอิ่มเอมใจให้กับผู้ฝันได้เมื่อยามตื่น แต่หากเป็นฝันร้ายก็สามารถสร้างความวิตกกังวลได้เช่นกัน

ภาพจาก Pinterest

            แม้ว่าในทางวิทยาศาสตร์จะอธิบายว่า ความฝัน เป็นเรื่องของกลไกการทำงานของสมองประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตใต้สำนึกของมนุษย์* แต่ถึงกระนั้นผู้คนจำนวนมากในหลายชาติ ต่างศาสนา หลากวัฒนธรรม ต่างก็มีความเชื่อเกี่ยวกับความฝันมาตั้งแต่โบราณกาล ตัวอย่างเช่น ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าความฝันคือการมองเห็นอนาคตและมีความเกี่ยวโยงกับชีวิตหลังความตาย ชาวกรีกและโรมันโบราณเชื่อว่าความฝันคือสารจากพระเจ้า ชาวจีนในยุคก่อนเชื่อว่าความฝันคือหนทางการติดต่อสื่อสารกับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ หรือแม้แต่ในสังคมไทยเองก็มีความเชื่อเกี่ยวกับความฝันอยู่ไม่น้อย ด้วยเชื่อกันว่าความฝันคือลางบอกเหตุที่สามารถนำไปสู่การตีความเป็นคำทำนายทายทักเหตุการณ์ในอนาคตได้ 

            สำหรับชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกัน หรือที่เรียกกันว่าชาวอินเดียนแดงนั้นเชื่อว่า เมื่อท้องฟ้าถูกปกคลุมด้วยความมืดมิดแห่งรัตติกาล ละอองความฝัน (ทั้งฝันดีและฝันร้าย) จะปลิวอยู่ในอากาศและพร้อมร่วงลงสู่ใครก็ตามที่อยู่ในห้วงแห่งนิทรา ซึ่งในยามหลับนี้เป็นเวลาที่มนุษย์มีการระแวดระวังภัยน้อยที่สุด จึงเป็นเหตุให้บรรดาสิ่งชั่วร้ายและเหล่าภูตผีปีศาจอาศัยโอกาสนี้เข้าคุกคามโดยการแฝงตัวมาในรูปแบบของฝันร้าย ด้วยเหตุนี้ชาวอินเดียนแดงจึงได้ประดิษฐ์เครื่องรางที่ช่วยคุ้มครองป้องกันผู้คนโดยเฉพาะทารกและเด็กให้แคล้วคลาดจากการอันตรายดังกล่าว




ตาข่ายดักฝัน (Dreamcatcher) ภาพจาก: Pinterest

            เครื่องรางนี้ถูกเรียกว่า ตาข่ายดักฝัน (Dreamcatcher) มีลักษณะเป็นวงกลมทำจากไม้หุ้มด้วยหนังสัตว์ ที่ด้านในถูกถักทอด้วยเชือกเป็นโครงตาข่ายคล้ายใยแมงมุม ประดับด้วยลูกปัด และห้อยด้วยขนนก เครื่องรางชนิดนี้จะถูกแขวนไว้บริเวณเหนือที่นอน มีหน้าที่คัดกรองฝันดีให้ผ่านเข้าไปและดักจับฝันร้ายไม่ให้เล็ดลอดไปสู่ผู้เป็นเจ้าของ ต่อเมื่อพระอาทิตย์ฉายแสงในตอนเช้าฝันร้ายที่ติดอยู่กับตาข่ายดักฝันก็จะถูกแสงอาทิตย์แผดเผาจนสูญสลายไป

            ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ดักจับฝันร้ายเท่านั้น ด้วยรูปลักษณ์ที่โดดเด่นสะดุดตาทำให้ตาข่ายดักฝันได้ดักจับความสนใจของผู้คนจำนวนมาก มันกลายเป็นที่รู้จักและขยายความนิยมออกไปในวงกว้างในช่วงทศวรรษที่ 80 และเข้าไปมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตของคนทั่วไปทั้งในและนอกทวีปอเมริกา โดยถูกดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบของของตกแต่งบ้าน ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย ของที่ระลึก รวมไปถึงเครื่องประดับ


สร้อยข้อมือรูปตาข่ายดักฝัน

ภาพจาก: Pinterest


ชาร์มรูปตาข่ายดักฝัน

เครื่องประดับโดย: Pandora

กระเป๋าหนังซึ่งได้รับแรงบันดาลใจ
ในการออกแบบมาจากตาข่ายดักฝัน
ภาพจาก: Pinterest

            มีนักออกแบบมากมายนำแนวคิดของตาข่ายดักฝันไปใส่ในผลงานการออกแบบของตน และผู้บริโภคก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดี แม้ว่าหลายคนจะยังไม่รู้ถึงคุณสมบัติของมันและเห็นว่าการมีเจ้าสิ่งนี้ไว้ติดตัวสักชิ้นก็ช่วยทำให้ดูเท่ดี แต่เมื่อใดที่ได้รู้ถึงความพิเศษของมันเชื่อว่าหลายคนคงอุ่นใจไม่น้อยเมื่อได้รู้ว่าสิ่งที่ช่วยเสริมภาพลักษณ์นั้นยังเป็นเครื่องรางที่ช่วยปกป้องคุ้มครองอันตรายได้อีกด้วย


ข้อมูลอ้างอิง


* ในแต่ละคืนมนุษย์ทุกคนจะมีความฝันเฉลี่ยอยู่ที่ราว 3-6 ครั้ง หากแต่ร้อยละ 90 จะลืมความฝันที่เกิดขึ้นเมื่อตื่น

------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
1. The Classroom. (17 August 2017). The Indian Dreamcatcher Beliefs. Retrieved 20 September 2019 from https://www.theclassroom.com/indian-dreamcatcher-beliefs-6537.html
2. Lego Menon. (14 July 2016). Dreamcatcher Meaning: History, Legend & Origins of Dreamcatchers. Retrieved 20 September 2019 from https://legomenon.com/dreamcatcher-meaning-legend-history-origins.html
3. คลังความรู้ SciMath. (14 กันยายน 2559). ฝัน (Dream). สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562 จาก https://www.
scimath.org/article-science/item/6655-dream
4. The Standard. (18 กันยายน 2560). ความฝันของเราคืออะไรกันแน่ ทำไมเรามักจะฝันบ่อยๆ. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562 จาก https://thestandard.co/whatisourdream

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

คัดกรองเรื่องร้ายด้วยตาข่ายดักฝัน

Feb 23, 2022
33055 views
27 shares

            มนุษย์ทุกคนล้วนเคยฝันเมื่อยามหลับ ความฝันมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งที่เหมือนจริงและเกินจริง หากเป็นฝันดีก็สามารถสร้างความอิ่มเอมใจให้กับผู้ฝันได้เมื่อยามตื่น แต่หากเป็นฝันร้ายก็สามารถสร้างความวิตกกังวลได้เช่นกัน

ภาพจาก Pinterest

            แม้ว่าในทางวิทยาศาสตร์จะอธิบายว่า ความฝัน เป็นเรื่องของกลไกการทำงานของสมองประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับจิตใต้สำนึกของมนุษย์* แต่ถึงกระนั้นผู้คนจำนวนมากในหลายชาติ ต่างศาสนา หลากวัฒนธรรม ต่างก็มีความเชื่อเกี่ยวกับความฝันมาตั้งแต่โบราณกาล ตัวอย่างเช่น ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าความฝันคือการมองเห็นอนาคตและมีความเกี่ยวโยงกับชีวิตหลังความตาย ชาวกรีกและโรมันโบราณเชื่อว่าความฝันคือสารจากพระเจ้า ชาวจีนในยุคก่อนเชื่อว่าความฝันคือหนทางการติดต่อสื่อสารกับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ หรือแม้แต่ในสังคมไทยเองก็มีความเชื่อเกี่ยวกับความฝันอยู่ไม่น้อย ด้วยเชื่อกันว่าความฝันคือลางบอกเหตุที่สามารถนำไปสู่การตีความเป็นคำทำนายทายทักเหตุการณ์ในอนาคตได้ 

            สำหรับชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกัน หรือที่เรียกกันว่าชาวอินเดียนแดงนั้นเชื่อว่า เมื่อท้องฟ้าถูกปกคลุมด้วยความมืดมิดแห่งรัตติกาล ละอองความฝัน (ทั้งฝันดีและฝันร้าย) จะปลิวอยู่ในอากาศและพร้อมร่วงลงสู่ใครก็ตามที่อยู่ในห้วงแห่งนิทรา ซึ่งในยามหลับนี้เป็นเวลาที่มนุษย์มีการระแวดระวังภัยน้อยที่สุด จึงเป็นเหตุให้บรรดาสิ่งชั่วร้ายและเหล่าภูตผีปีศาจอาศัยโอกาสนี้เข้าคุกคามโดยการแฝงตัวมาในรูปแบบของฝันร้าย ด้วยเหตุนี้ชาวอินเดียนแดงจึงได้ประดิษฐ์เครื่องรางที่ช่วยคุ้มครองป้องกันผู้คนโดยเฉพาะทารกและเด็กให้แคล้วคลาดจากการอันตรายดังกล่าว




ตาข่ายดักฝัน (Dreamcatcher) ภาพจาก: Pinterest

            เครื่องรางนี้ถูกเรียกว่า ตาข่ายดักฝัน (Dreamcatcher) มีลักษณะเป็นวงกลมทำจากไม้หุ้มด้วยหนังสัตว์ ที่ด้านในถูกถักทอด้วยเชือกเป็นโครงตาข่ายคล้ายใยแมงมุม ประดับด้วยลูกปัด และห้อยด้วยขนนก เครื่องรางชนิดนี้จะถูกแขวนไว้บริเวณเหนือที่นอน มีหน้าที่คัดกรองฝันดีให้ผ่านเข้าไปและดักจับฝันร้ายไม่ให้เล็ดลอดไปสู่ผู้เป็นเจ้าของ ต่อเมื่อพระอาทิตย์ฉายแสงในตอนเช้าฝันร้ายที่ติดอยู่กับตาข่ายดักฝันก็จะถูกแสงอาทิตย์แผดเผาจนสูญสลายไป

            ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่ดักจับฝันร้ายเท่านั้น ด้วยรูปลักษณ์ที่โดดเด่นสะดุดตาทำให้ตาข่ายดักฝันได้ดักจับความสนใจของผู้คนจำนวนมาก มันกลายเป็นที่รู้จักและขยายความนิยมออกไปในวงกว้างในช่วงทศวรรษที่ 80 และเข้าไปมีส่วนร่วมในวิถีชีวิตของคนทั่วไปทั้งในและนอกทวีปอเมริกา โดยถูกดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบของของตกแต่งบ้าน ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย ของที่ระลึก รวมไปถึงเครื่องประดับ


สร้อยข้อมือรูปตาข่ายดักฝัน

ภาพจาก: Pinterest


ชาร์มรูปตาข่ายดักฝัน

เครื่องประดับโดย: Pandora

กระเป๋าหนังซึ่งได้รับแรงบันดาลใจ
ในการออกแบบมาจากตาข่ายดักฝัน
ภาพจาก: Pinterest

            มีนักออกแบบมากมายนำแนวคิดของตาข่ายดักฝันไปใส่ในผลงานการออกแบบของตน และผู้บริโภคก็ให้การตอบรับเป็นอย่างดี แม้ว่าหลายคนจะยังไม่รู้ถึงคุณสมบัติของมันและเห็นว่าการมีเจ้าสิ่งนี้ไว้ติดตัวสักชิ้นก็ช่วยทำให้ดูเท่ดี แต่เมื่อใดที่ได้รู้ถึงความพิเศษของมันเชื่อว่าหลายคนคงอุ่นใจไม่น้อยเมื่อได้รู้ว่าสิ่งที่ช่วยเสริมภาพลักษณ์นั้นยังเป็นเครื่องรางที่ช่วยปกป้องคุ้มครองอันตรายได้อีกด้วย


ข้อมูลอ้างอิง


* ในแต่ละคืนมนุษย์ทุกคนจะมีความฝันเฉลี่ยอยู่ที่ราว 3-6 ครั้ง หากแต่ร้อยละ 90 จะลืมความฝันที่เกิดขึ้นเมื่อตื่น

------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
1. The Classroom. (17 August 2017). The Indian Dreamcatcher Beliefs. Retrieved 20 September 2019 from https://www.theclassroom.com/indian-dreamcatcher-beliefs-6537.html
2. Lego Menon. (14 July 2016). Dreamcatcher Meaning: History, Legend & Origins of Dreamcatchers. Retrieved 20 September 2019 from https://legomenon.com/dreamcatcher-meaning-legend-history-origins.html
3. คลังความรู้ SciMath. (14 กันยายน 2559). ฝัน (Dream). สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562 จาก https://www.
scimath.org/article-science/item/6655-dream
4. The Standard. (18 กันยายน 2560). ความฝันของเราคืออะไรกันแน่ ทำไมเรามักจะฝันบ่อยๆ. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562 จาก https://thestandard.co/whatisourdream

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site