ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เทคโนโลยีการติดตามแหล่งที่มาของเพชรเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น

Jul 25, 2022
1599 views
1 share

            ความยั่งยืน ความโปร่งใส และการติดตามแหล่งที่มา เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมาตั้งแต่ก่อนเกิดโรคระบาด และยิ่งทวีความสำคัญขึ้นในโลกที่เสียศูนย์จากความกังวลทั้งในแง่สุขภาพ การเมือง และสิ่งแวดล้อม



            David Block ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Sarine Technologies ระบุว่า โครงการติดตามแหล่งที่มาได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เนื่องจากกิจการต่างๆ ตลอดวงจรธุรกิจต่างพยายามหลีกเลี่ยงการนำเข้าเพชรและเครื่องประดับจากรัสเซีย

            ผู้ประกอบการในภาคส่วนต่างๆ ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับหันมาสนใจประเด็นนี้ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดตามแหล่งที่มาของเพชร จากเดิมที่มองกันว่าเทคโนโลยีนี้มีไว้ก็ดีและอาจจะนำมาใช้ในอนาคต มาตอนนี้มันกลับกลายเป็นสิ่งจำเป็น ผู้ประกอบการจึงต้องเริ่มปรับกระบวนการและวงจรอุปทานให้สามารถติดตามแหล่งที่มาได้

            บริษัทหลายแห่งประกาศโครงการใหม่ว่าด้วยการติดตามแหล่งที่มาหรือเร่งโครงการเดิมให้เร็วยิ่งขึ้นนับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน เนื่องด้วยรัฐบาลสหรัฐได้ประกาศคว่ำบาตรบริษัทเหมืองผลิตเพชร Alrosa 

            De Beers เร่งดำเนินการแพลตฟอร์ม Tracr ให้เร็วกว่าที่วางแผนไว้ ขณะที่ Gemological Institute of America (GIA) กล่าวว่ากำลังเปิดตัวบริการสำหรับผู้บริโภคที่เรียกว่า GIA Source Verify ซึ่งจะช่วยตรวจสอบประเทศแหล่งที่มาของเพชร เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา iTraceiT ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีจากแอนต์เวิร์พ ก็ได้เปิดตัวโซลูชันด้านการติดตามแหล่งที่มาสำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับโดยอาศัยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดและบล็อกเชน ส่วน Sarine Technologies มีโครงการติดตามแหล่งที่มา Diamond Journey ซึ่งได้พัฒนามาแล้วระยะหนึ่ง

แรงผลักดันจากภาคธุรกิจค้าปลีก

            แม้ว่าผู้ทำเหมืองและผู้ประกอบการกลางน้ำจะหันมาสนใจโครงการเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ Block เน้นย้ำว่าธุรกิจที่ขับเคลื่อนความต้องการก็คือภาคค้าปลีก ผู้ขายเครื่องประดับรายใหญ่ในสหรัฐ เช่น Signet Jewelers และ Tiffany & Co. ตลอดจนผู้ขายเครื่องประดับระดับคุณภาพสูงส่วนใหญ่ล้วนเผยว่าทางบริษัทได้หยุดซื้อเพชรจากรัสเซีย

            Sarine Technologies ประกาศเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่าโซลูชัน Diamond Journey ได้รับเลือกเพื่อนำมาผลักดันการติดตามแหล่งที่มาของเพชรให้กับ Aura Blockchain Consortium กลุ่มดังกล่าวเป็นการรวมตัวของกิจการสินค้าหรูอย่าง LVMH, Prada, Cartier และ OTB Group เพื่อรับมือกับประเด็นการจัดหาผลิตภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบและความยั่งยืนด้วยรูปแบบดิจิทัลที่ปลอดภัย


            Aura Blockchain Consortium เอื้อให้เกิดความร่วมมือระหว่างแบรนด์ต่างๆ ทางกลุ่มจึงหวังว่าจะได้สร้างมาตรฐานด้านการติดตามแหล่งที่มาให้เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อการต่อยอดในตลาดสินค้าหรูหรา ทางกลุ่มเชิญชวนให้แบรนด์อื่นๆ มาเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ Block ชี้แจงว่าความร่วมมือระหว่างทางกลุ่มกับ Sarine Technologies ได้ทำการตกลงเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนเกิดปัญหาความขัดแย้งในยูเครน

แหล่งที่มาเป็นสิ่งสำคัญ

            สถาบัน GIA (Gemological Institute of America) ได้ขยายบริการด้านแหล่งที่มาของอัญมณีให้ครอบคลุมข้อมูลแหล่งที่มาของเพชร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้านความโปร่งใสและการติดตามแหล่งที่มา 

            GIA Source Verify ซึ่งยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา จะช่วยระบุข้อมูลประเทศที่เป็นแหล่งขุดเพชรธรรมชาติและประเทศที่เป็นแหล่งผลิตเพชรสังเคราะห์ (LGDs) โดยอาศัยประโยชน์จากกระบวนการที่มีอยู่เดิม โดยทั้งนี้จะอิงตามเอกสารการตรวจสอบความถูกต้องขององค์กรอิสระ รวมถึงใบรับรอง Kimberley Process (KP) และใบแจ้งหนี้จากผู้ผลิตเพชรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ ในวงจรอุปทาน

            GIA จะเสนอบริการนี้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลแหล่งที่มาได้ง่ายๆ ผ่านบริการ Report Check ทางออนไลน์ของ GIA โดยทางสถาบันกำลังเร่งพัฒนาและเปิดใช้บริการใหม่ดังกล่าว

            “บริการ Source Verify เป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจสำคัญของเราว่าด้วยการปกป้องผู้บริโภค” Susan Jacques ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ GIA กล่าว “ณ เวลานี้ GIA มีหน้าที่ที่จะต้องปกป้องผู้บริโภคด้วยการให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเพชรตามที่ผู้บริโภคต้องการ ตลอดจนช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกมั่นใจในการตัดสินใจซื้อ นับเป็นการดำเนินการทำสิ่งที่ถูกต้องในห้วงเวลาที่เหมาะสม”

            ผู้ให้บริการโซลูชันในธุรกิจเพชร PhotoScribe Technologies ก็ได้พัฒนาระบบเลเซอร์เพื่อทำเครื่องหมายบนเพชรที่มีชื่อว่า LMS-650 Cold Laser ให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น David Benderly ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ PhotoScribe ระบุว่า กระแสในตลาด เช่น การเติบโตของเพชรสังเคราะห์ (LGDs) ความสนใจที่ผู้บริโภคมีต่อการยืนยันแหล่งที่มา ตลอดจนการดำเนินงานอย่างถูกต้องภายในห่วงโซ่อุปทาน ล้วนมีส่วนผลักดันให้การสลักเพชรไม่ได้เป็นเพียงคุณสมบัติเพิ่มเติม แต่กลายเป็นเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้

            “LMS-650 ได้รับการปรับปรุงทั้งในแง่การเพิ่มความปลอดภัย การพัฒนาคุณภาพ ความแม่นยำ และความเร็วของกระบวนการสลักด้วยเลเซอร์ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามแหล่งที่มาของเพชร” เขากล่าว

            ระบบนี้ติดตั้งกล้องความละเอียดสูงรุ่นใหม่ และมีตัวเลือกให้สามารถบันทึกภาพเพชรที่รับการสลักได้โดยอัตโนมัติ พร้อมกับสร้างฐานข้อมูลที่แม่นยำและค้นหาได้เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการรับรองคุณภาพ ความสามารถในการลงบาร์โค้ดและการอ่านบาร์โค้ดช่วยให้เพชรแต่ละเม็ดได้รับการระบุข้อมูลประจำตัว ซึ่งจำเป็นต่อการติดตามแหล่งที่มาและเส้นทางของเพชร

ยกระดับให้ครอบคลุม

            Sarine Technologies กำลังทำงานร่วมกับผู้จัดหาเพชรก้อนเพื่อสแกนข้อมูลเพชรเข้าสู่ระบบ หลังจากนั้นก็จะสามารถติดตามการเดินทางของเพชรเหล่านี้ภายในวงจรอุปทานได้ ทั้งนี้หมายรวมถึงสินค้าจากเหมืองเพชรซึ่งได้ทำการตกลงกับผู้ผลิตไว้ ตลอดจนเพชรในขั้นตอนที่สองของการส่งมอบ ไม่ว่าจะเป็นที่บริษัทประมูลหรือที่โรงงานผลิต ในกรณีที่ไม่ได้ทำการตกลงไว้กับแหล่งที่มาลำดับแรก

            เมื่อมีการเปิดบรรจุภัณฑ์เพชรก้อน เจ้าหน้าที่ของ Sarine จะคอยทำการบันทึกข้อมูลสินค้า Block กล่าวว่าในอนาคตกระบวนการลงทะเบียนดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนให้เป็นระบบอัตโนมัติโดยใช้โซลูชัน AutoScan ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบและน่าจะพร้อมใช้งานเชิงพาณิชย์ได้ “ภายในสองสามเดือนข้างหน้า” AutoScan จะช่วยให้ Sarine สามารถสแกนข้อมูลเพชรก้อนได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยขยายขอบเขตข้อมูลเพื่อการติดตามแหล่งที่มา 

ภาคธุรกิจมุ่งเน้นการติดตามแหล่งที่มา

            ด้วยความเชื่อมั่นว่าธุรกิจค้าปลีกกำลังมุ่งเน้นการติดตามแหล่งที่มา Sarine Technologies จึงหันเหความสนใจมายังสหรัฐ จากเดิมที่เน้นการนำเสนอโครงการ Diamond Journey ให้ตลาดเอเชีย อย่างไรก็ดี Block ระบุว่าโซลูชันการติดตามแหล่งที่มาได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคนับตั้งแต่เกิดสงคราม แม้ว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงสุดในสหรัฐก็ตาม อันที่จริง สาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนกลยุทธ์มาจากการคาดการณ์ว่าในปี 2022 สหรัฐจะฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้เร็วกว่าตลาดสำคัญในเอเชีย เนื่องจากการล็อคดาวน์ในจีนและฮ่องกงยังคงส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับในพื้นที่ดังกล่าว

            อย่างไรก็ดี ความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ให้บริการอย่าง Sarine Technologies, Tracr ของ De Beers, GIA และ iTraceiT ทั้งนี้ Sarine ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ให้อุตสาหกรรมการผลิตเพชรพบว่า รายได้จากการติดตามแหล่งที่มา การจัดระดับคุณภาพเพชร 4C และการประมูลทางดิจิทัล มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากราวร้อยละ 4 ในปี 2020 มาเป็นร้อยละ 8 ในปี 2021 Block ระบุว่าบริษัทวางเป้าหมายให้รายได้ดังกล่าวมีสัดส่วนเกินครึ่งของรายได้ทั้งหมดของทางบริษัทภายในไม่กี่ปีนับจากนี้ 

            Sarine รายงานว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 รายได้รวมลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021 อยู่ที่ 15.6 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทระบุว่ารายได้ที่ลดลงเป็นผลจากการเปรียบเทียบกับฐานเดิมที่แข็งแกร่งในปี 2021 และความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศก็ไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อการผลิตในช่วงดังกล่าว

            “แม้มีมาตรการคว่ำบาตร แต่กระแสเพชรก้อนที่เข้ามาในวงจรมูลค่า รวมถึงเพชรที่มาจากรัสเซีย ก็ยังคงดำเนินต่อไปในช่วงสามเดือนแรกของปี 2022” Block กล่าว “การเจียระไนเพชรของธุรกิจกลางน้ำก็เติบโตสอดคล้องกัน ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการใช้ระบบของ Sarine เพื่อระบุตำแหน่งมลทินของเพชร ซึ่งยังคงมีอยู่ต่อเนื่องในช่วงสามเดือนแรกของปี 2022 ที่ระดับใกล้เคียงกับช่วงปลายปี 2021 โดยมีค่าเฉลี่ยเกิน 100,000 เม็ดต่อวัน” Block เห็นว่าในตอนนี้เราเพิ่งเริ่มเห็นผลกระทบจากการคว่ำบาตรต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต 


ข้อมูลอ้างอิง


1) Rapaport. 2022. Demand for Diamond Traceability Spikes. [Online]. Available at: https://www.diamonds.net/News/NewsItem.aspx?ArticleID=68692.
2) JNA. 2022. Gem and jewellery solutions and innovations. [Online]. Available at: https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/24705

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เทคโนโลยีการติดตามแหล่งที่มาของเพชรเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น

Jul 25, 2022
1599 views
1 share

            ความยั่งยืน ความโปร่งใส และการติดตามแหล่งที่มา เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจมาตั้งแต่ก่อนเกิดโรคระบาด และยิ่งทวีความสำคัญขึ้นในโลกที่เสียศูนย์จากความกังวลทั้งในแง่สุขภาพ การเมือง และสิ่งแวดล้อม



            David Block ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Sarine Technologies ระบุว่า โครงการติดตามแหล่งที่มาได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เนื่องจากกิจการต่างๆ ตลอดวงจรธุรกิจต่างพยายามหลีกเลี่ยงการนำเข้าเพชรและเครื่องประดับจากรัสเซีย

            ผู้ประกอบการในภาคส่วนต่างๆ ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับหันมาสนใจประเด็นนี้ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการติดตามแหล่งที่มาของเพชร จากเดิมที่มองกันว่าเทคโนโลยีนี้มีไว้ก็ดีและอาจจะนำมาใช้ในอนาคต มาตอนนี้มันกลับกลายเป็นสิ่งจำเป็น ผู้ประกอบการจึงต้องเริ่มปรับกระบวนการและวงจรอุปทานให้สามารถติดตามแหล่งที่มาได้

            บริษัทหลายแห่งประกาศโครงการใหม่ว่าด้วยการติดตามแหล่งที่มาหรือเร่งโครงการเดิมให้เร็วยิ่งขึ้นนับตั้งแต่เกิดสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน เนื่องด้วยรัฐบาลสหรัฐได้ประกาศคว่ำบาตรบริษัทเหมืองผลิตเพชร Alrosa 

            De Beers เร่งดำเนินการแพลตฟอร์ม Tracr ให้เร็วกว่าที่วางแผนไว้ ขณะที่ Gemological Institute of America (GIA) กล่าวว่ากำลังเปิดตัวบริการสำหรับผู้บริโภคที่เรียกว่า GIA Source Verify ซึ่งจะช่วยตรวจสอบประเทศแหล่งที่มาของเพชร เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา iTraceiT ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีจากแอนต์เวิร์พ ก็ได้เปิดตัวโซลูชันด้านการติดตามแหล่งที่มาสำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับโดยอาศัยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดและบล็อกเชน ส่วน Sarine Technologies มีโครงการติดตามแหล่งที่มา Diamond Journey ซึ่งได้พัฒนามาแล้วระยะหนึ่ง

แรงผลักดันจากภาคธุรกิจค้าปลีก

            แม้ว่าผู้ทำเหมืองและผู้ประกอบการกลางน้ำจะหันมาสนใจโครงการเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ Block เน้นย้ำว่าธุรกิจที่ขับเคลื่อนความต้องการก็คือภาคค้าปลีก ผู้ขายเครื่องประดับรายใหญ่ในสหรัฐ เช่น Signet Jewelers และ Tiffany & Co. ตลอดจนผู้ขายเครื่องประดับระดับคุณภาพสูงส่วนใหญ่ล้วนเผยว่าทางบริษัทได้หยุดซื้อเพชรจากรัสเซีย

            Sarine Technologies ประกาศเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมาว่าโซลูชัน Diamond Journey ได้รับเลือกเพื่อนำมาผลักดันการติดตามแหล่งที่มาของเพชรให้กับ Aura Blockchain Consortium กลุ่มดังกล่าวเป็นการรวมตัวของกิจการสินค้าหรูอย่าง LVMH, Prada, Cartier และ OTB Group เพื่อรับมือกับประเด็นการจัดหาผลิตภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบและความยั่งยืนด้วยรูปแบบดิจิทัลที่ปลอดภัย


            Aura Blockchain Consortium เอื้อให้เกิดความร่วมมือระหว่างแบรนด์ต่างๆ ทางกลุ่มจึงหวังว่าจะได้สร้างมาตรฐานด้านการติดตามแหล่งที่มาให้เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อการต่อยอดในตลาดสินค้าหรูหรา ทางกลุ่มเชิญชวนให้แบรนด์อื่นๆ มาเข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ Block ชี้แจงว่าความร่วมมือระหว่างทางกลุ่มกับ Sarine Technologies ได้ทำการตกลงเสร็จสิ้นไปแล้วก่อนเกิดปัญหาความขัดแย้งในยูเครน

แหล่งที่มาเป็นสิ่งสำคัญ

            สถาบัน GIA (Gemological Institute of America) ได้ขยายบริการด้านแหล่งที่มาของอัญมณีให้ครอบคลุมข้อมูลแหล่งที่มาของเพชร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้านความโปร่งใสและการติดตามแหล่งที่มา 

            GIA Source Verify ซึ่งยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา จะช่วยระบุข้อมูลประเทศที่เป็นแหล่งขุดเพชรธรรมชาติและประเทศที่เป็นแหล่งผลิตเพชรสังเคราะห์ (LGDs) โดยอาศัยประโยชน์จากกระบวนการที่มีอยู่เดิม โดยทั้งนี้จะอิงตามเอกสารการตรวจสอบความถูกต้องขององค์กรอิสระ รวมถึงใบรับรอง Kimberley Process (KP) และใบแจ้งหนี้จากผู้ผลิตเพชรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ ในวงจรอุปทาน

            GIA จะเสนอบริการนี้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลแหล่งที่มาได้ง่ายๆ ผ่านบริการ Report Check ทางออนไลน์ของ GIA โดยทางสถาบันกำลังเร่งพัฒนาและเปิดใช้บริการใหม่ดังกล่าว

            “บริการ Source Verify เป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจสำคัญของเราว่าด้วยการปกป้องผู้บริโภค” Susan Jacques ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ GIA กล่าว “ณ เวลานี้ GIA มีหน้าที่ที่จะต้องปกป้องผู้บริโภคด้วยการให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแหล่งที่มาของเพชรตามที่ผู้บริโภคต้องการ ตลอดจนช่วยให้ผู้บริโภครู้สึกมั่นใจในการตัดสินใจซื้อ นับเป็นการดำเนินการทำสิ่งที่ถูกต้องในห้วงเวลาที่เหมาะสม”

            ผู้ให้บริการโซลูชันในธุรกิจเพชร PhotoScribe Technologies ก็ได้พัฒนาระบบเลเซอร์เพื่อทำเครื่องหมายบนเพชรที่มีชื่อว่า LMS-650 Cold Laser ให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น David Benderly ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ PhotoScribe ระบุว่า กระแสในตลาด เช่น การเติบโตของเพชรสังเคราะห์ (LGDs) ความสนใจที่ผู้บริโภคมีต่อการยืนยันแหล่งที่มา ตลอดจนการดำเนินงานอย่างถูกต้องภายในห่วงโซ่อุปทาน ล้วนมีส่วนผลักดันให้การสลักเพชรไม่ได้เป็นเพียงคุณสมบัติเพิ่มเติม แต่กลายเป็นเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้

            “LMS-650 ได้รับการปรับปรุงทั้งในแง่การเพิ่มความปลอดภัย การพัฒนาคุณภาพ ความแม่นยำ และความเร็วของกระบวนการสลักด้วยเลเซอร์ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตามแหล่งที่มาของเพชร” เขากล่าว

            ระบบนี้ติดตั้งกล้องความละเอียดสูงรุ่นใหม่ และมีตัวเลือกให้สามารถบันทึกภาพเพชรที่รับการสลักได้โดยอัตโนมัติ พร้อมกับสร้างฐานข้อมูลที่แม่นยำและค้นหาได้เพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการรับรองคุณภาพ ความสามารถในการลงบาร์โค้ดและการอ่านบาร์โค้ดช่วยให้เพชรแต่ละเม็ดได้รับการระบุข้อมูลประจำตัว ซึ่งจำเป็นต่อการติดตามแหล่งที่มาและเส้นทางของเพชร

ยกระดับให้ครอบคลุม

            Sarine Technologies กำลังทำงานร่วมกับผู้จัดหาเพชรก้อนเพื่อสแกนข้อมูลเพชรเข้าสู่ระบบ หลังจากนั้นก็จะสามารถติดตามการเดินทางของเพชรเหล่านี้ภายในวงจรอุปทานได้ ทั้งนี้หมายรวมถึงสินค้าจากเหมืองเพชรซึ่งได้ทำการตกลงกับผู้ผลิตไว้ ตลอดจนเพชรในขั้นตอนที่สองของการส่งมอบ ไม่ว่าจะเป็นที่บริษัทประมูลหรือที่โรงงานผลิต ในกรณีที่ไม่ได้ทำการตกลงไว้กับแหล่งที่มาลำดับแรก

            เมื่อมีการเปิดบรรจุภัณฑ์เพชรก้อน เจ้าหน้าที่ของ Sarine จะคอยทำการบันทึกข้อมูลสินค้า Block กล่าวว่าในอนาคตกระบวนการลงทะเบียนดังกล่าวจะถูกเปลี่ยนให้เป็นระบบอัตโนมัติโดยใช้โซลูชัน AutoScan ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบและน่าจะพร้อมใช้งานเชิงพาณิชย์ได้ “ภายในสองสามเดือนข้างหน้า” AutoScan จะช่วยให้ Sarine สามารถสแกนข้อมูลเพชรก้อนได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะช่วยขยายขอบเขตข้อมูลเพื่อการติดตามแหล่งที่มา 

ภาคธุรกิจมุ่งเน้นการติดตามแหล่งที่มา

            ด้วยความเชื่อมั่นว่าธุรกิจค้าปลีกกำลังมุ่งเน้นการติดตามแหล่งที่มา Sarine Technologies จึงหันเหความสนใจมายังสหรัฐ จากเดิมที่เน้นการนำเสนอโครงการ Diamond Journey ให้ตลาดเอเชีย อย่างไรก็ดี Block ระบุว่าโซลูชันการติดตามแหล่งที่มาได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาคนับตั้งแต่เกิดสงคราม แม้ว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงสุดในสหรัฐก็ตาม อันที่จริง สาเหตุสำคัญของการเปลี่ยนกลยุทธ์มาจากการคาดการณ์ว่าในปี 2022 สหรัฐจะฟื้นตัวจากโควิด-19 ได้เร็วกว่าตลาดสำคัญในเอเชีย เนื่องจากการล็อคดาวน์ในจีนและฮ่องกงยังคงส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับในพื้นที่ดังกล่าว

            อย่างไรก็ดี ความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ให้บริการอย่าง Sarine Technologies, Tracr ของ De Beers, GIA และ iTraceiT ทั้งนี้ Sarine ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ให้อุตสาหกรรมการผลิตเพชรพบว่า รายได้จากการติดตามแหล่งที่มา การจัดระดับคุณภาพเพชร 4C และการประมูลทางดิจิทัล มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากราวร้อยละ 4 ในปี 2020 มาเป็นร้อยละ 8 ในปี 2021 Block ระบุว่าบริษัทวางเป้าหมายให้รายได้ดังกล่าวมีสัดส่วนเกินครึ่งของรายได้ทั้งหมดของทางบริษัทภายในไม่กี่ปีนับจากนี้ 

            Sarine รายงานว่าในช่วงไตรมาสแรกของปี 2022 รายได้รวมลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021 อยู่ที่ 15.6 ล้านเหรียญสหรัฐ บริษัทระบุว่ารายได้ที่ลดลงเป็นผลจากการเปรียบเทียบกับฐานเดิมที่แข็งแกร่งในปี 2021 และความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศก็ไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อการผลิตในช่วงดังกล่าว

            “แม้มีมาตรการคว่ำบาตร แต่กระแสเพชรก้อนที่เข้ามาในวงจรมูลค่า รวมถึงเพชรที่มาจากรัสเซีย ก็ยังคงดำเนินต่อไปในช่วงสามเดือนแรกของปี 2022” Block กล่าว “การเจียระไนเพชรของธุรกิจกลางน้ำก็เติบโตสอดคล้องกัน ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการใช้ระบบของ Sarine เพื่อระบุตำแหน่งมลทินของเพชร ซึ่งยังคงมีอยู่ต่อเนื่องในช่วงสามเดือนแรกของปี 2022 ที่ระดับใกล้เคียงกับช่วงปลายปี 2021 โดยมีค่าเฉลี่ยเกิน 100,000 เม็ดต่อวัน” Block เห็นว่าในตอนนี้เราเพิ่งเริ่มเห็นผลกระทบจากการคว่ำบาตรต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิต 


ข้อมูลอ้างอิง


1) Rapaport. 2022. Demand for Diamond Traceability Spikes. [Online]. Available at: https://www.diamonds.net/News/NewsItem.aspx?ArticleID=68692.
2) JNA. 2022. Gem and jewellery solutions and innovations. [Online]. Available at: https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/features/24705

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970