หลอมรวมเทคโนโลยีเข้ากับงานศิลปะ เทรนด์ใหม่ GEN Z
ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป ผู้บริโภคมีแนวโน้มที่จะหันไปนิยมคุณค่าแบบผสมผสานมากขึ้นจากการได้สัมผัสวัฒนธรรมจากทั่วทุกมุมโลกที่มีรูปแบบแยกย่อยทั้งจากทางกายภาพและในโลกเสมือน (Virtual Hyper-Connection) โดยกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์เหล่านี้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จนเด่นชัดขึ้นในปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสังคมทุกวันนี้ ส่งผลให้ Gen Z มีแนวโน้มที่จะสนใจการรื้อฟื้นธรรมเนียมและมรดกทางวัฒนธรรมแบบผสมผสานขึ้นมาใหม่ แม้ผู้บริโภคกลุ่มนี้จะนิยมชมชอบความเป็นปัจเจกชนที่มีหลายแง่มุม แต่ก็ยังรักษาหัวใจของความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับคนทั่วโลก
AI Art ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมืออันทรงพลังสำหรับขับเคลื่อนกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งที่สะท้อนถึงความหมายทางประวัติศาสตร์และสังคมดังกล่าว โดย AI Art ซึ่งกำลังเป็นกระแสที่ได้รับความสนใจมากขึ้นทั่วโลก ช่วยปลดล็อกโอกาสในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ศิลปินมีหน้าที่แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้เทคโนโลยีสร้างสรรค์ผลงานอะไรได้บ้างโดยอาศัยมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน
Marta Contreras Simó ศิลปินชาวสเปนที่ทำงานอยู่บนจุดเชื่อมระหว่างปัญญาประดิษฐ์และการนำเสนอวัฒนธรรมทั่วโลกแบบร่วมสมัย ได้นำเสนอผลงานที่หลอมรวมสัญลักษณ์เฉพาะทางศิลปะที่บอกได้ในทันทีว่ามาจากวัฒนธรรมที่มีมาช้านาน ผลงานของเธอโดดเด่นอยู่ที่การสร้างสรรค์ต่อยอดรายละเอียดซับซ้อนของศิลปะชนเผ่าโดยใช้เทคโนโลยี ทำให้เกิดผลงานในสไตล์ส่วนตัวที่มีความยืดหยุ่นและองค์ประกอบทางประวัติศาสตร์อันโดดเด่นของวัฒนธรรมเก่าแก่
ภาพผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ของ Marta Contreras Simó
ที่มา : www.trendvisionforecasting.com
ตัวอย่างเครื่องประดับไฮเอนด์จากแบรนด์ Munpreet ของแซมเบีย
ที่มา : www.trendvisionforecasting.com
ศิลปินและนักออกแบบพากันผสมผสานสิ่งต่างๆ เข้ากับดิจิทัลเพื่อเอาชนะใจคนทั่วโลก ในขณะที่ยังเก็บรักษาความเป็นท้องถิ่นเอาไว้ และสามารถทำให้มรดกทางวัฒนธรรมเป็นอมตะได้ในที่สุด
แปลและเรียบเรียงโดย ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
พฤศจิกายน 2566
ข้อมูลอ้างอิง