บทความวิชาการอัญมณี

จีนปรับลดภาษีนำเข้าเครื่องประดับตั้งแต่ 1 กรกฎาคมนี้

จีนได้ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าเครื่องประดับแท้ เครื่องประดับเทียม ของที่ทำด้วยไข่มุกธรรมชาติหรือไข่มุกเลี้ยง ของทำด้วยพลอยเนื้อแข็งหรือพลอยเนื้ออ่อน รวมถึงเครื่องทองและเครื่องเงิน จำนวน 18 รายการในหมวดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป ส่งผลให้อัตราภาษีสำหรับการนำเข้าสินค้าดังกล่าวลดลงไปโดยปริยาย ซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นับเป็นโอกาสที่แบรนด์เครื่องประดับต่างประเทศจะเจาะเข้าสู่ตลาดจีนได้มากยิ่งขึ้น สำหรับแนวทางการคิดภาษีนำเข้าสินค้าของจีนในอัตราใหม่เป็นอย่างไรติดตามได้จากบทความนี้

โอกาสการค้า E-Commerce ใน CLMV และ อาเซียน

ในปี 2560 ธุรกิจ E-Commerce ได้สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนทั่วโลกราว 2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากปีก่อนหน้าถึง 24.8% เมื่อย้อนมาดูธุรกิจ E-Commerce ในประเทศเพื่อนบ้านของไทยในกลุ่มอาเซียน พบว่า เวียดนาม มาเลเซียเป็นประเทศที่น่าจับตามอง แต่จะน่าสนใจอย่างไรนั้น ติดตามได้จากบทความนี้

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมุ่งสู่กระแสความยั่งยืน

กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมถึงการค้าที่เป็นธรรมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเลือกซื้อสินค้าของคนรุ่นใหม่ทั่วโลก จนทำให้หลายอุตสาหกรรมปรับตัวมุ่งไปสู่แนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนมากขึ้น รวมถึงอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่จำเป็นต้องปรับตัวตามพฤติกรรมรูปแบบใหม่ๆ ในตลาด เพื่อตอบสนองต่อปรัชญาความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภครุ่นใหม่ที่ซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับด้วยแรงผลักดันที่ไม่เพียงเพราะมันเป็นของมีค่า เป็นสิ่งสวยงาม และมีความสำคัญทางอารมณ์ แต่เป็นเพราะมันได้มีส่วนช่วยปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมหรือประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงช่วยปกป้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย อุตสาหกรรมจะมุ่งสู่ความยั่งยืนได้อย่างไรติดตามได้จากบทความนี้

เจาะตลาดจีนด้วยเครื่องประดับแนวความเชื่อและโชคลาง

ชาวจีนส่วนใหญ่มีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และโชคลางว่าเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต โดยนิยมสวมใส่เครื่องประดับที่แฝงความหมายเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้เอาไว้เพื่อช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในการดำเนินชีวิต เปรียบดั่งสมบัติล้ำค่าที่มีไว้ติดกาย สำหรับผู้ประกอบการที่มุ่งมั่นและกำลังมองหาลู่ทางในการบุกตลาดจีน เครื่องประดับแนวความเชื่อและโชคลางอาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการเข้าถึงผู้บริโภคชาวจีน

ตลาดเครื่องประดับเขาสัตว์กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซในเวียดนาม

งานแฮนด์เมด กำลังเป็นที่นิยมในตลาดเครื่องประดับออนไลน์ ด้วยการชูจุดเด่นของกระบวนการผลิตที่ไม่ใช่ Mass Production จึงทำให้เครื่องประดับชิ้นนั้นๆ มีคุณค่าทางจิตใจและมีเพียงชิ้นเดียวบนโลก เช่นเดียวกับเครื่องประดับที่ผลิตจากเขาสัตว์ที่เวียดนามใช้เป็นสินค้าเด่นในการรุกตลาดโลก

3 คำถามเกี่ยวกับภาษีทองคำของอินเดีย

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของอินเดีย โดยในปี 2560 การส่งออกสินค้าในอุตสาหกรรมดังกล่าวมีสัดส่วนถึง 7% ของ GDP อย่างไรก็ตาม ช่วงปลายปี 2560 ได้เกิดประเด็นเรื่องการปรับลดภาษีนำเข้าทองคำของอินเดียเกิดขึ้น ดังนั้นเพื่อเล่าถึงความเป็นมาของภาษีดังกล่าว รวมทั้งสถานการณ์ปัจจุบันของอินเดีย และผลกระทบกับผู้ประกอบการไทยจะเป็นอย่างไร ขอเชิญร่วมหาคำตอบได้ใน 3 คำถามเกี่ยวกับภาษีทองคำของอินเดีย

อุตสาหกรรมแฟชั่นและเครื่องประดับเกาหลีใต้

เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จอย่างมากในการดำเนินนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) โดยใช้กลยุทธ์เผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีผ่านฉากละคร ภาพยนตร์ และเพลง จนทำให้เกิดกระแสคลั่งไคล้ K-Drama และ K-Pop ไปทั่วโลก และยังส่งผลต่อเนื่องไปถึงอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องประดับ อาหาร เครื่องสำอาง ไปจนถึงธุรกิจทัวร์เพื่อศัลยกรรมความงามให้เฟื่องฟูตามไปด้วย ส่วนอุตสาหกรรมแฟชั่น อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของเกาหลีใต้จะบูมมากขนาดไหน ผู้อ่านสามารถติดตามได้ในบทความนี้

Bridge Jewellery กับความท้าทายในการรุกตลาดประเทศผู้นำแฟชั่นในยุโรป

เครื่องประดับแนว Bridge Jewellery เป็นรูปแบบเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคในตลาดยุโรป ด้วยดีไซน์ที่โดดเด่นเป็นไปตามเทรนด์แฟชั่น และความมีมูลค่าในตัวของเครื่องประดับจากวัตถุดิบที่เลือกมาผลิต จึงทำให้เครื่องประดับแนวนี้มีความน่าสนใจและมีโอกาสทำตลาดได้ในช่วงที่ยุโรปประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และสำหรับในส่วนของผู้ประกอบการไทยแล้ว หากนำเอาข้อได้เปรียบด้านความคิดสร้างสรรค์ทางการออกแบบและฝีมือช่างที่ประณีตมาใช้ผลิตเครื่องประดับแนว Bridge Jewellery แล้ว โอกาสสร้างมูลค่าการค้าในตลาดยุโรปให้เพิ่มขึ้นนั้นย่อมมีความเป็นไปได้

ศักยภาพการผลิตเครื่องประดับทองของมาเลเซีย

มาเลเซีย (Malaysia) เป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ โดยมี GDP อยู่ราว 310 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2016 ประมาณร้อยละ 4.3 อีกทั้งยังมีศักยภาพในการผลิตเครื่องประดับทอง ถึงแม้ว่าฐานการผลิตของประเทศจะมีขนาดไม่ใหญ่เมื่อเทียบกับประเทศผู้ผลิตเครื่องประดับทองรายอื่นๆ

กลยุทธ์เจาะตลาดเครื่องประดับกลุ่มคนรุ่นใหม่ชาว Gen Z

แม้ว่าอุตสาหกรรมเครื่องประดับ รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียล แต่นักการตลาดได้หันเหความสนใจไปยังกลุ่มคนที่เรียกกันว่า Generation Z หรือ รุ่นเซนเทนเนียล (Centennials) คนเหล่านี้กำลังกลายเป็นที่จับตามองในหมู่นักวิจัยการตลาดและนักวิเคราะห์แนวโน้มธุรกิจ แม้ว่าเด็กน้อยและวัยรุ่นกลุ่มนี้จะมีกำลังซื้อสินค้าจำกัดแต่ก็มีการใช้จ่ายผ่านพ่อแม่และคนในครอบครัวไม่น้อย คนรุ่น Gen Z จึงกำลังจะกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการจับจ่ายของคนหนุ่มสาวในอนาคต ด้วยกำลังซื้อรวมกันนับหลายแสนล้านเหรียญสหรัฐ คนกลุ่ม Gen Z จึงเป็นความหวังสำคัญสำหรับนักการตลาดหรือธุรกิจเครื่องประดับที่กำลังมองหากุญแจไขเข้าสู่ความต้องการในการซื้อสินค้าของคนกลุ่มนี้

การผลิตและการค้าอัญมณีเมียนมาหลังสหรัฐฯ ยกเลิก Jade Act 2008

สหรัฐอเมริกาเริ่มดำเนินมาตรการคว่ำบาตรเมียนมาเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2533 จากการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเมียนมา และได้ออกกฎหมาย Tom Lantos Block Burmese JADE (Junta‘s Anti-Democratic Efforts) หรือเรียกอย่างย่อว่า Jade Act 2008 ลงนามโดยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 และมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกันยายน 2551 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญคือ ห้ามนำทับทิมและหยก รวมถึงเครื่องประดับที่ตกแต่งด้วยทับทิมและหยกจากเมียนมาเข้าไปยังสหรัฐอเมริกาทั้งจากเมียนมาโดยตรงและผ่านประเทศที่สาม โดยสหรัฐฯ เชื่อว่าธุรกิจดังกล่าวเป็นแหล่งระดมทุนของรัฐบาลเผด็จการ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ทั้งนี้ มิได้มีสหรัฐฯ ประเทศเดียวที่ดำเนินมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อเมียนมา หากแต่รวมถึงสหภาพยุโรปก็ดำเนินมาตรการดังกล่าวเช่นเดียวกัน

โอกาสค้าเครื่องประดับในตลาดสัตว์เลี้ยง

ด้วยลักษณะโครงสร้างของประชากรในหลายประเทศได้เข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากอัตราการเกิดมีแนวโน้มลดลง ผู้คนอยู่เป็นโสดมากขึ้น และหลายคู่แต่งงานไม่นิยมมีลูก สัตว์เลี้ยงจึงกลายเป็นสมาชิกคนสำคัญที่เติมเต็มความเป็นครอบครัวให้แก่คนยุคปัจจุบัน ด้วยความที่รักสัตว์เลี้ยงเสมือนเป็นลูกหลาน คนเหล่านี้จึงทุ่มเทหาซื้อสินค้าและบริการที่ดีที่สุดมอบให้แก่บรรดาลูกๆ สัตว์เลี้ยงแสนรัก เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการพาสุนัขไปใช้บริการสปาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซื้ออาหารสัตว์เลี้ยงคุณภาพดี อาหารเสริมบำรุงร่างกาย แชมพูสำหรับบำรุงขนและผิวหนัง ของเล่นที่สร้างความเพลิดเพลิน รวมถึงเสื้อผ้าและเครื่องประดับตกแต่งร่างกายสัตว์เลี้ยงให้สวยงาม

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970