บทความวิชาการอัญมณี
มาเลเซีย ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับใหม่ใกล้บ้าน
การรวมเข้าเป็นตลาดเดียวกันของอาเซียนในปี 2553 กลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งอาเซียนเป็นตลาดใหญ่ที่มีโอกาสให้เราได้แสวงหาในตลาดของประเทศเพื่อนบ้านที่น่าสนใจ ดังเช่นมาเลเซียที่มีความนิยมในการบริโภคเครื่องประดับสไตล์ตะวันตกมากขึ้น ทั้งยังมีการแข่งขันยังไม่สูงนักจึงเป็นโอกาสที่น่าสนใจ
เพิ่มโอกาสการค้าในจีนด้วยมาตรฐานพลอยสี
จีนเป็นตลาดอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกที่ทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเครื่องประดับเพชรและเครื่องประดับตกแต่งด้วยเพชรเป็นที่นิยมสูง ขณะที่พลอยสีมีปัญหาในการกำหนดราคาและมาตรฐานที่ชัดเจน แต่โอกาสในการเติบโตยังมีสูงโดยเฉพาะตลาดระดับบน
ขยายตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
จากความร่วมมือในการจัดตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน พัฒนามาสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ทำให้ไทยสามารถขยายแหล่งวัตถุดิบได้เพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้เพิ่มขึ้น แม้การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนยังมีไม่มากนัก แต่เป็นก้าวสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
แนะนำเกร็ดความรู้ เปิดประตูตะวันออกกลาง
ประเทศในกลุ่มตะวันออกกลางเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูง ผู้บริโภคมีกำลังซื้อ เนื่องจากมีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจำนวนมากที่เป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญเข้าประเทศ จึงเป็นตลาดสำคัญที่ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้าม ดังนั้น การศึกษาเรียนรู้ขนมธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนระเบียบข้อปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะภูมิภาคนี้จึงมีความจำเป็น เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจระหว่างกัน
ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับญี่ปุ่นช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นเป็นตลาดอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญ มีมูลค่าการนำเข้าเฉลี่ยปีละ 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ กว่าครึ่งหนึ่งเป็นการนำเข้าแพลทินัมและเครื่องประดับแท้ อีกทั้งคนญี่ปุ่นยังมีกำลังซื้อสูง นิยมซื้อสินค้าแบรนด์เนมชื่อดัง ที่มีคุณภาพสูงมีสไตล์ที่เรียบง่าย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60 ของยอดค้าาปลีกอัญมณีและเครื่องประดับ
ตุรกี คู่แข่งหรือคู่ค้า
สาธารณรัฐตุรกีเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตเครื่องประดับทองรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดีย และจีน นอกจากมีศักยภาพด้านการผลิตแล้ว โอกาสในการเจาะตลาดตรุกีของไทยสามารถทำได้ผ่านการจำหน่ายผ่านตัวแทนค้าในประเทศ หรือการเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนทางการค้า โดยเฉพาะในด้านพลอยสี
การนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตลาดสหรัฐอเมริกาช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ
สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าการนำเข้าปีละกว่า 45 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 20 ของการนำเข้าทั่วโลก เมื่อพิจารณาโอกาสของไทยในตลาดสหรัฐฯ พบว่า พลอยเนื้อแข็งเจียระไน พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เครื่องประดับเงิน เป็นสินค้าหลักที่มีศักยภาพในการทำตลาด
ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับที่ใหญ่ที่สุดในดินแดนตะวันออกกลาง
ซาอุดิอาระเบีย เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตะวันออกกลาง ทั้งยังเป็นประเทศที่ร่ำรวยจากการค้าน้ำมันดิบเป็นรายได้หลัก ทำให้ประชากรมีรายได้สูง โดยชาวซาอุมีความชื่นชอบเครื่องประดับเพชรมากที่สุด ตามมาด้วเครื่องประดับทอง โดยผู้ประกอบการอาจใช้ช่องทางในการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นในซาอุดิอาระเบียหรือประเทศข้างเคียง
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย 6 เดือนชะลอตัวร้อยละ 17.05 เครื่องประดับเงินโตสวนกระแส
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.79 แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของการส่งออกทองคำ หากไม่รวมการส่งออกทองคำ มูลค่าการส่งออกที่แท้จริง ชะลอตัวลงร้อยละ 17.05 โดยมีเครื่องประดับเงินเป็นสินค้าที่เติบโตได้สวนกระแส
ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับยูเออี ดาวเด่นแห่งตะวันออกกลาง (ตอนจบ)
ยูเออีไม่เพียงแต่เป็นตลาดการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่น่าสนใจ แต่ยังมีมาตรการส่งเสริมการค้าการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ โดยมีเขตปลอดอากรกระจายอยู่ในรัฐต่างๆ กว่า 30 เขต ทั้งยังมีเขตปลอดอากรสำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับโดยเฉพาะด้วย อีกทั้งยังมีขั้นตอนการจัดตั้งกิจการที่สะดวกและรวดเร็วด้วย
ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับยูเออี ดาวเด่นแห่งตะวันออกกลาง (ตอนที่ 1)
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพของเครื่องประดับไทย เนื่องจากมีความต้องการบริโภคสูงขณะที่ในประเทศมีสัดส่วนการผลิตไม่มากนัก นอกจากนี้ยูเออียังมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงอย่างต่อเนื่องและประชากรมีรายได้สูง แม้ในช่วงเศรษฐกิจขาลงก็สามารถเติบโตสวนกระแสได้ โดยสินค้าที่ยูเออีมีความนิยม คือ เครื่องประดับทอง 18 และ 22 กะรัต
เจาะตลาดอัญมณีและเครื่องประดับบาห์เรน ประตูการค้าแห่งตะวันออกกลาง
บาห์เรนเป็นประเทศหมู่เกาะเล็กๆ ในอ่าวเปอร์เซีย แต่กลับมีความสำคัญในฐานะประตูสู่โอกาสในการค้าอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดตะวันออกกลางด้วยภูมิศาสตร์ที่ตั้งซึ่งอยู่บริเวณศูนย์กลางของตะวันออกกลาง จึงเป็นทางเลือกที่สำคัญในการใช้บาห์เรนเป็นทางเชื่อมทางการค้าในภูมิภาคนี้