บทความวิชาการอัญมณี

รู้ทันกฎหมาย Hallmark และการจัดเก็บ VAT ใน UAE

อุตสาหกรรมการค้าอัญมณีและเครื่องประดับจัดเป็นตัวจักรสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE แต่ละปีคาดว่ามีมูลค่าการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับในประเทศราว 6 หมื่นล้านเดอร์แฮม (AED) หรือประมาณ 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 40% ของภาคการค้าที่มิใช่น้ำมัน (non-oil trade) ในด้านความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศไทยนั้น UAE จัดเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง โดยสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเป็นสินค้าส่งออกของไทยไปยัง UAE ที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับที่ 3 คิดเป็นเป็นมูลค่าราว 340 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 12% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย

ไทยวางเป้าหมายสู่การเป็นฮับการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลกในอีก 5 ปีข้างหน้า

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมศักยภาพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเกือบ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการจ้างงานตลอดห่วงโซ่อุปทานถึง 800,000 คน ด้วยภูมิปัญญาการปรับปรุงคุณภาพพลอยสีให้มีความสวยงามเพิ่มขึ้น อีกทั้งช่างฝีมือเจียระไนอัญมณี รวมถึงช่างฝีมือผลิตเครื่องประดับมีทักษะความชำนาญเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ส่งผลให้ไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับใน 10 อันดับแรกของโลก ส่วนการค้าในประเทศเองก็คึกคักจากแรงซื้อของคนในประเทศและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยปีละกว่า 30 ล้านคน รวมถึงนักธุรกิจต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่เดินทางเข้ามาซื้ออัญมณีและเครื่องประดับในไทย คาดว่าจะมีมูลค่าการค้าในประเทศสูงเกือบเท่ากับมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยโดยรวม รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์โดยวางเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลกภายในอีก 5 ปีข้างหน้า

เข้าใจชาว Gen Y อาเซียน...สื่อสารกลยุทธ์โดนใจ

ปัจจุบันนี้กลุ่มคนชนชั้นกลางหรือวัยแรงงานเป็นคนในยุค Generation Y หรือยุคมิลเลนเนียล (Millennials) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งนับเป็นกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายสำหรับนักการตลาดทั่วโลก คนกลุ่มนี้มีลักษณะเฉพาะตัวซึ่งมีความเป็นตัวเองสูง มีความคิดความเชื่อที่แปลกใหม่ และมีความคล่องแคล่วในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากคนรุ่นก่อนๆ และยากจะเข้าถึงด้วยวิธีการทำการตลาดแบบเดิมๆ โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียนซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีประชากรกลุ่มนี้สูงมาก

ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับเร่งปรับตัวให้ตอบโจทย์เมกะเทรนด์ไทย

หนึ่งในความท้าทายที่ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยต้องเผชิญในการทำตลาดภายในประเทศคือ พฤติกรรมของผู้บริโภคในประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากพลวัตในมิติต่างๆ ของโลกที่เข้ามามีผลต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการดำรงชีวิตของผู้คนในประเทศ และยังมีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงไปอีกในอนาคตข้างหน้า ซึ่งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่หรือเมกะเทรนด์ (Megatrends) ของตลาดในประเทศนี้ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและผลประกอบการของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระยะต่อไป ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นต้องเติมความรู้ให้ทันกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของตลาดผู้บริโภคในประเทศ เพื่อจะได้ดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดให้ตอบโจทย์ได้ตรงใจลูกค้า และจะยังสามารถคงพื้นที่ส่วนแบ่งตลาดในประเทศต่อไปได้ในอนาคต

ตลาดค้าเครื่องประดับใจกลางกรุงโซล

ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับเกาหลีใต้มีมูลค่าการค้าปลีกเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องมากว่าทศวรรษ โดยในปี 2017 ยอดขายเครื่องประดับเติบโตขึ้นร้อยละ 3 มีมูลค่าสูงถึง 4.6 ล้านล้านวอน ซึ่งปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากยอดขายเครื่องประดับแท้โดยเฉพาะจากแบรนด์เครื่องประดับในประเทศที่ต่างพัฒนาดีไซน์และคุณภาพสินค้า ให้ตอบโจทย์ตรงกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากขึ้น หรือแม้กระทั่งการเพิ่มไลน์ประเภทสินค้าใหม่ๆ และปรับรูปแบบเครื่องประดับจากเดิมที่เน้นขายเครื่องประดับสำหรับสวมใส่ในชีวิตประจำวันมาสู่คอลเลกชั่นเครื่องประดับแต่งงานมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองคู่แต่งงานชาวเกาหลีใต้ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อและความต้องการซื้อสูงมากในตลาดนี้ ปัจจุบันสินค้าเครื่องประดับแต่งงานจึงมีส่วนแบ่งในตลาดนี้ค่อนข้างมาก ส่วนมากเป็นเครื่องประดับทองหรือเครื่องประดับแพลทินัมตกแต่งด้วยเพชร 0.5-1 กะรัต ซึ่งคู่บ่าวสาวมักเลือกซื้อแหวนและต่างหูเพชรเป็นหลัก

โอกาสทางการค้าอัญมณีจากการขยายความร่วมมือกับศรีลังกา...เกาะแห่งอัญมณี

ศรีลังกามีลักษณะเป็นเกาะขนาดเล็กและตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสลับกับภูเขา มีประชากรราว 21 ล้านคน ภายหลังจากสงครามกลางเมืองอันยาวนานกว่า 30 ปี ได้สิ้นสุดลง รัฐบาลศรีลังกาได้พยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านตลาดการค้าและการลงทุนให้เป็นระบบยิ่งขึ้น จนปัจจุบันมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจราวร้อยละ 6-8 ต่อปี ได้ส่วนหนึ่งมาจากการค้าอัญมณีหลากหลายชนิดที่มีอยู่ภายในประเทศ จนก่อให้เกิดรายได้สำหรับนำมาใช้ฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ ตลอดจนทำให้ศรีลังกาเริ่มเป็นที่สนใจแก่ผู้ประกอบการอัญมณีทั่วโลกในฐานะที่เป็นแหล่งวัตถุดิบอัญมณีสำคัญที่มี ความอุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่งของโลก

อินโดนีเซีย…อีกหนึ่งฐานการผลิตเครื่องประดับสำคัญของอาเซียน

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) นับเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในกลุ่มอาเซียน โดยอยู่ในอันดับที่ 5 ของเอเชีย และอยู่ในอันดับที่ 16 ของโลก ด้วยขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) 9.32 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (World Bank, 17 April 2017) ในปี 2559 โดยมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจประกอบด้วยภาคเกษตร 32% ภาคอุตสาหกรรม 21% และภาคบริการ 47% ซึ่งภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศที่สร้างรายได้มหาศาล ทั้งนี้ การผลิตเครื่องประดับก็เป็นส่วนหนึ่งของภาคอุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนาซึ่งสามารถทำรายได้ทั้งในประเทศและจากการส่งออกไปต่างประเทศในแต่ละปีไม่น้อย ส่งผลให้รัฐบาลอินโดนีเซียเล็งเห็นถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้และพยายายามจะสร้างอินโดนีเซียให้เป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องประดับของภูมิภาคและเชื่อมโยงเครือข่ายกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ ประเทศไทย เป็นต้น

อัญมณีและเครื่องประดับเมืองปีนัง

ปีนัง รัฐหนึ่งของมาเลเซียที่ได้ชื่อว่าเป็นไข่มุกแห่งตะวันออก ที่แม้ว่าจะเล็กกว่าประเทศไทยหลายเท่า แต่สามารถสร้าง GDP ให้กับประเทศมาเลเซียได้อย่างมหาศาล โดยเศรษฐกิจของปีนังขยายตัวปีละเกือบ 6% จากการพึ่งพาภาคบริการเป็นหลัก ทำให้รัฐบาลมาเลเซียเร่งส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของปีนัง ด้วยการชูคอนเซ็ปต์การท่องเที่ยวเพื่อเปิดประสบการณ์ เพื่อดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวที่มาปีนังเพียงเมืองเดียวแต่สามารถเปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวได้อย่างหลากหลาย ทั้งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม/มรดกโลก การมีรูปแบบอาหารที่หลากหลาย รวมทั้งยังเป็นย่านการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ และเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับทองเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะตะวันออกกลางอีกด้วย

ย่านการค้าอัญมณีและเครื่องประดับเมืองจาการ์ตา

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 16% ซึ่งสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ด้วยมูลค่าการส่งออกถึง 6,368.67 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 โดยมีเครื่องประดับแท้เป็นสินค้าที่ส่งออกเป็นอันดับที่ 1 ในหมวดอัญมณีและเครื่องประดับด้วยมูลค่า 4,078.80 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือทองคำแท่งมูลค่า 1,373.48 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการบริโภคในประเทศนั้นชาวอินโดนีเซียนิยมใส่เครื่องประดับแท้ โดยแหวนเป็นเครื่องประดับที่นิยมสวมใส่มากที่สุด ขณะที่ทองคำเป็นโลหะมีค่าที่นิยมนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับมากที่สุด ทั้งนี้ย่านการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญของเมืองจาการ์ตา สามารถแบ่งเป็นห้างสรรพสินค้าชั้นนำ และห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นและศูนย์จำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ

การค้าและการบริโภคทองคำและเครื่องประดับทองใน CLMV

ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่นิยมสะสมในทุกระดับรายได้ โดยเฉพาะในช่วงที่มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งการเกิดเงินเฟ้อที่ปัจจุบันทั่วโลกมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10.95% โดยประเทศที่ครองแชมป์อัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในโลกยังคงเป็นเวเนซุเอลาที่ 741% เมื่อหันมามองประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนนั้น เมียนมาเป็นประเทศที่มีเงินเฟ้อสูงที่สุดที่ 9.94% ด้วยความไม่แน่นอนของสถานการณ์ดังกล่าวทำให้การถือครองเงินสดมีโอกาสที่จะ devalue หรือพูดง่ายๆ ว่าเงิน 100 บาทที่มีอยู่วันนี้ เมื่อเปิดกระเป๋าออกมาอาจเหลือค่าเพียง 95 บาทในวันพรุ่งนี้ก็เป็นได้ ทำให้การถือครองทองคำ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของทองคำรูปพรรณหรือทองคำแท่ง ต่างก็เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาระดับความมั่งคั่ง (Wealth) ที่สามารถเข้าถึงในทุกระดับรายได้และมีโอกาสน้อยที่จะสูญค่าในตัวของมันเอง แต่ในด้านการค้าระหว่างประเทศนั้นใช่ว่าทุกประเทศจะสามารถนำเข้า ส่งออก ทองคำได้อย่างเสรี เนื่องจากทองคำสามารถทำให้ค่าเงินของประเทศผันผวนได้ จึงทำให้ในกลุ่มประเทศ CLMV อย่างเวียดนาม และเมียนมาต้องจำกัดให้การนำเข้าเป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐบาลเท่านั้น

เจาะโอกาสธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับจากเมกะเทรนด์โลก

การปรับตัวของธุรกิจให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงภายใต้เมกะเทรนด์ (Megatrends) กำลังอยู่ในกระแสและเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากในปัจจุบัน เราปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำธุรกิจในยุคสมัยนี้ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายมิติ และได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและผลประกอบการค่อนข้างมาก อีกทั้งการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงขึ้นจากคู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ ยิ่งผลักดันให้ผู้ประกอบการไม่อาจหยุดนิ่งอยู่กับที่ได้อีกต่อไป เพราะหากไม่ตั้งรับปรับตัวก็อาจสูญเสียพื้นที่ทางธุรกิจให้คู่แข่งได้ในไม่ช้า หากผู้ประกอบการสามารถรู้ทิศทางอนาคตในระยะข้างหน้าว่าจะต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายต่อการทำธุรกิจของตนอย่างไรบ้าง ก็จะมีส่วนช่วยให้สามารถประเมินผลกระทบที่จะมีผลต่อธุรกิจ ตลอดจนเตรียมพร้อมรับมือและวางแผนปรับปรุงพัฒนาธุรกิจของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันท่วงที

ไลฟ์สไตล์หนุ่มสาวรุ่นใหม่ชาวขแมร์

หนุ่มสาวชาวขแมร์ (กัมพูชา) ปัจจุบันให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกและการแต่งกายที่ทันสมัยตามกระแสวัฒนธรรมที่ได้รับจากต่างประเทศ โดยเฉพาะเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับที่คล้ายๆ กับดาราเกาหลีจะได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ เนื่องจากหนุ่มสาวเหล่านี้ชื่นชอบการดูซีรีย์เกาหลี การแต่งกายของดาราเกาหลีจึงมีอิทธิพลต่อหนุ่มสาวชาวขแมร์ค่อนข้างมาก

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970