บทความวิชาการอัญมณี
อนาคตการค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยกับการเชื่อมโยงเส้นทาง OBOR
การประกาศยุทธศาสตร์สำคัญของจีนผ่านโครงการ One Belt and One Road (OBOR) เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของปี 2017 ที่ประชาคมโลกต่างให้ความสนใจ เนื่องจากเห็นว่าจะกลายมาเป็นตัวกำหนดทิศทางโลก ที่มีผลต่อรูปแบบการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งมิติด้านการเมืองและเศรษฐกิจในอนาคตซึ่งถึงแม้ว่านโยบาย OBOR จะไม่ใช่สิ่งที่จีนเพิ่งริเริ่ม หากแต่การออกมาประกาศให้ทั่วโลกรับรู้อย่างเป็นทางการก็เท่ากับเป็นการแสดงให้เห็นถึงความจริงจังของจีนที่จะผลักดันนโยบายดังกล่าวให้เกิดผลสัมฤทธิ์
ขยายฐานลูกค้าเครื่องประดับในยุคดิจิทัลผ่าน Amazon
ยุคดิจิทัลหรือยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เคยซื้อสินค้าหน้าร้านมาเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ทำให้ธุรกิจ E-Commerce เติบโตอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นมากในอนาคต จากสถิติเว็บไซต์ statista.com พบว่าในปี 2559 ยอดขายปลีกออนไลน์ของโลกอยู่ที่ 1,915 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดการณ์ว่าในปี 2560 และ 2563 ทั่วโลกจะมียอดขายปลีกเพิ่มขึ้นถึง 23% และ 112% เมื่อเทียบกับปี 2559 โดย Amazon.com เป็นตลาดค้าปลีกออนไลน์ที่ครองส่วนแบ่งสูงที่สุดในโลกในขณะนี้
เครื่องประดับ Unisex ทางเลือกสำหรับคนยุคใหม่
ปัจจุบันกระแสการแต่งกายของผู้หญิงได้เปลี่ยนจากสไตล์วินเทจสีพาสเทล ไปสู่ความเรียบง่าย-เก๋-ใส่สบาย ตอบสนองต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบันที่แสนวุ่นวายและทุกนาทีมีค่า ทำให้รูปแบบของเครื่องประดับที่ผู้หญิงสวมใส่ในชีวิตประจำวันมีความคล่องตัว ไม่ได้ห้อยระย้าลงมาแบบคุณผู้หญิงในละคร ขณะที่ผู้ชายก็หันมาใส่ใจตัวเองมากขึ้นทั้งดูดีจากภายในโดยการสร้างกล้ามเนื้ออวดความแข็งแรงของรูปร่าง และดูดีจากรูปลักษณ์ภายนอกโดยการแต่งกายและการเลือกเครื่องประดับที่จะทำให้คุณผู้ชายดูเรียบหรู มีสไตล์ แล้วจะดีกว่าหรือไม่หากเครื่องประดับที่วางขายมีความเป็น Gender-Neutral หรือเรียกตามศัพท์สมัยใหม่ว่า Unisex ที่ไม่ว่าหญิงหรือชายก็สามารถใช้ร่วมกันได้อย่างไม่ขัดเขิน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่าสีน้ำเงินเป็นของผู้ชาย สีชมพูเป็นของผู้หญิง อย่างในร้านขายสินค้าสำหรับเด็ก ซึ่งจะเป็นการชูจุดขายและจุดแข็งของแบรนด์ในยุคที่คู่แข่งทางการค้าล้นตลาดได้อีกทางหนึ่ง ที่ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก็ได้ปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นน้ำหอม เสื้อผ้า หรือแม้กระทั่งเครื่องประดับก็หันมาใช้กลยุทธ์ดังกล่าวเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น
เชื่อมต่อช่องว่างระหว่างคนต่างรุ่นเพิ่มยอดขายเครื่องประดับในออสเตรเลีย
ธุรกิจค้าปลีกเครื่องประดับมูลค่า 4 พันล้านเหรียญออสเตรเลีย (จากรายงานของ Euromonitor International, 2016) ได้รับการขับเคลื่อนโดยความต้องการและความชื่นชอบของประชากรกลุ่มหลักสองกลุ่มนั่นก็คือ กลุ่มที่ร่ำรวยแต่กำลังเข้าสู่วัยชราอย่างกลุ่ม Baby Boomer และกลุ่ม Millennial คนรุ่นใหม่ที่อยู่ในวัยทำงาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในออสเตรเลีย
การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากความตกลงการค้าเสรีไทย-อาเซียน
อาเซียนถือเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่มีความใกล้ชิดกับไทย ทั้งในแง่ของตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และผลจากการรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็ทำให้แต่ละประเทศมีมุมมองในการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area หรือ AFTA) ถือเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะเอื้อประโยชน์ทางการค้าโดยการลดภาษี และขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ซี่งเมื่อพิจารณาในแง่ของการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับของไทย พบว่าไทยสามารถพึ่งพาประโยชน์จากความตกลง AFTA มาใช้ในการเพิ่มมูลค่าส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไปยังคู่ค้าในตลาดอาเซียนได้ โดยเฉพาะด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการขนส่งสินค้าข้ามแดน เป็นต้น
อาร์เมเนีย...อุตสาหกรรมเจียระไนเพชรกำลังเดินหน้า
สาธารณรัฐอาร์เมเนีย ตั้งอยู่ในทวีปยุโรปและเอเชียกลาง เป็นรัฐสมาชิกของสภายุโรปและเป็นประเทศในกลุ่มเครือรัฐเอกราช ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต มีจำนวนประชากรประมาณ 3 ล้านคน และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ 1.05 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 อาร์เมเนียอาจเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจไม่ใหญ่นัก กอปรกับรายได้ประชากรยังอยู่ในระดับต่ำราว 3,500 เหรียญสหรัฐต่อคนต่อปี แต่กลับเป็นประเทศหนึ่งที่มีความโดดเด่นในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจากการเป็นผู้เจียระไนเพชรที่มีชื่อเสียงในกลุ่ม CIS จนส่งผลให้ภาคธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจอันดับต้นๆ ของประเทศในปัจจุบัน อีกทั้งรัฐบาลอาร์เมเนียยังเร่งสนับสนุนให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมและดึงดูดการลงทุนจากผู้ประกอบการต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับภายในประเทศ
โอกาสการค้าเครื่องประดับเทียมท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจใน EU
ด้วยสถานการณ์ที่สหภาพยุโรปต้องเผชิญในปัจจุบัน ทั้งประเด็นการแข่งขันทางการเมือง สภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา และปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นจากการก่อการร้าย โดยเฉพาะปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมานานอย่างเรื้อรัง ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสภาพความเป็นอยู่ของชาวยุโรป จนก่อให้เกิดมุมมองและพฤติกรรมในการจับจ่ายใช้สอยที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยในส่วนของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับซึ่งถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มของสินค้าฟุ่มเฟือย พบว่าผู้บริโภคมีความระมัดระวัง และใช้เวลาในการตัดสินใจเลือกซื้อ จนทำให้ขนาดตลาดผู้บริโภคเล็กลงกว่าแต่ก่อน รวมถึงมูลค่าการนำเข้าในภาพรวมก็ลดลงกว่าในปีที่ผ่านๆ มาด้วย แต่ถึงกระนั้น ผู้ประกอบการไทยก็ไม่ควรที่จะมองข้ามตลาดยุโรปไป เพราะถือเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ และยังคงมีความต้องการที่จะบริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอยู่ เพียงแต่ผู้ประกอบการไทยจำเป็นที่จะต้องปรับตัวและมองหาลู่ทางที่เหมาะสม
เครื่องประดับเพื่องานแต่งงานในตลาดอินเดีย
แม้เวลาจะเปลี่ยนผ่านมาหลายยุคสมัย แต่การดำเนินชีวิตของชาวอินเดียยังคงยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อตามศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอย่างเคร่งครัด โดยชาวอินเดียเชื่อในอาศรม 4 ซึ่งเป็นทางปฏิบัติในการดำรงชีวิตผ่านช่วงวัยทั้ง 4 นับตั้งแต่เกิดจากครรภ์มารดาจนถึงบั้นปลายชีวิต สำหรับการแต่งงานนั้น ถือเป็นช่วงชีวิตสำคัญของการเข้าสู่ช่วงวัย "คฤหัสถ์" หรือวัยครองเรือนตามศาสนาฮินดู ประเพณีแต่งงานจึงนับเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตที่สำคัญยิ่งของชาวอินเดียเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นตามลำดับ โดยยอมผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกเข้าไปบ้าง อาทิ เดินทางไปจัดงานในต่างประเทศ หรือ ปรับรูปแบบพิธีให้มีความรื่นเริงมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันมีคู่บ่าวสาวอินเดียเข้าสู่พิธีแต่งงานแต่ละปีมากถึง 10 ล้านคู่
ธุรกิจค้าปลีกเครื่องประดับฮ่องกงเน้นกลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม
ตลาดการค้าอัญมณีและเครื่องประดับในฮ่องกงมีหลากหลายย่านตามแหล่งช้อปปิ้งและชุมชนต่างๆ แต่ย่านการค้าที่สำคัญที่สุดในฮ่องกงก็คือ ย่าน Tsim Sha Tsui และย่าน Causeway Bay ซึ่งเป็นย่านช้อปปิ้งแหล่งยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังฮ่องกง ทั้งนี้ จากการสำรวจร้านค้าปลีกเครื่องประดับในย่าน Tsim Sha Tsui เห็นได้ว่าแทบทุกถนนสายหลักสายย่อยในย่านนี้เต็มไปด้วยร้านค้าปลีกเครื่องประดับจำนวนมากทั้งตามแนวถนนต่างๆ และในห้างสรรพสินค้า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเครื่องประดับรายใหญ่ของฮ่องกงทั้ง Chow Tai Fook, LukFook Jewellery, Chow Sang Sang และ TSL ที่ตั้งร้านค้าสาขาในบริเวณใกล้เคียงกันและมีจำนวนร้านค้าค่อนข้างมากในย่านช้อปปิ้งนี้ รวมถึงยังมีร้านค้าแบรนด์ธุรกิจเครื่องประดับระดับกลางและย่อม อาทิเช่น CSS, MaBelle, 3D-Gold และ Benny Lau Jewellery ไปจนถึงแบรนด์เครื่องประดับชั้นนำระดับโลกทั้ง Cartier, Chopard, Tiffany &Co. และ Swarovski เป็นต้น
ขยายโอกาสการค้าอัญมณีและเครื่องประดับผ่านกลุ่มเศรษฐกิจ EAEU
จากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจการเมืองโลก อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางประชากรศาสตร์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดโลกอยู่เสมอ ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องหมั่นแสวงหาโอกาสทางการค้าในตลาดที่หลากหลายทั้งเพื่อกระจายความเสี่ยงและขยายโอกาสทางการค้า สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย หรือ EAEU ซึ่งมีรัสเซียเป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก ถือเป็นตลาดกลุ่มใหม่ที่น่าสนใจไม่น้อย ถึงแม้ในช่วงสองปีที่ผ่านมาประเทศเหล่านี้จะเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจซึ่งมีผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าอยู่บ้าง โดยเฉพาะสินค้าที่มีมูลค่าสูงอย่างอัญมณีและเครื่องประดับ แต่ขณะนี้กลุ่ม EAEU ได้เข้าสู่ภาวะฟื้นตัวแล้ว อีกทั้งยังมีแนวทางที่ชัดเจนในการเจรจาความร่วมมือทางการค้ากับไทย ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยจึงไม่ควรมองข้ามโอกาสนี้
ทศวรรษที่แข็งแกร่งของตลาดเครื่องประดับอินโดนีเซีย
อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับศักยภาพสูง ด้วยจำนวนประชากรที่มีมากถึง 258.8 ล้านคนในปี 2559 ซึ่งมากที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน และยังเป็นประเทศที่มีประชากรมากติดอันดับที่ 4 ของโลก รองจากจีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ ประกอบกับอินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียน และนับเป็นอันดับที่ 16 ของโลก ด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) กว่า 9.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาขยายตัวได้ดีในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี ปัจจัยเหล่านี้ช่วยขับเคลื่อนให้ความต้องการบริโภคเครื่องประดับของอินโดนีเซียในรอบทศวรรษที่ผ่านมามีอัตราเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อีกทั้งยังมีการคาดการณ์แนวโน้มตลาดเครื่องประดับอินโดนีเซียจะเติบโตได้เร็วที่สุดในโลกในระยะ 5 ปีข้างหน้า จึงนับได้ว่าอินโดนีเซียเป็นตลาดผู้บริโภคอัญมณีและเครื่องประดับที่ไม่ควรมองข้ามในช่วงเวลานี้
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยไป UK กับความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น
สหราชอาณาจักรเป็นประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคยุโรป ทั้งยังเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงด้วยรายได้เฉลี่ยต่อคนราว 40,000 เหรียญสหรัฐต่อปี ประกอบกับชาวอังกฤษมีรสนิยมในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าคุณภาพดีและทันสมัย นิยมแต่งกายตามแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะสินค้าประเภทอัญมณีและเครื่องประดับที่ผู้บริโภคในประเทศมักหาซื้อเพื่อใช้ในโอกาสสำคัญ ทำให้สหราชอาณาจักรมีความต้องการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับจากประเทศต่างๆ เป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี ซึ่งส่วนใหญ่ของการนำเข้าเป็นทองคำถึงราวร้อยละ 60 รองลงมาได้แก่ เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน แพลทินัม เงิน และเพชร ตามลำดับ