บทความวิชาการอัญมณี
ทำความเข้าใจมุมมองชาวมิลเลนเนียล วิเคราะห์พฤติกรรมเจาะตลาดสหรัฐ
ปัจจุบันชาวมิลเลนเนียล (Millennial) หรือที่เรียกกันว่า "กลุ่มเจเนอเรชันวาย" (Generation Y) มีจำนวนถึงราว 2.3 พันล้านคนทั่วโลก และเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องจนกำลังกลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก โดย U.S. Census Bureau คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 คนกลุ่ม Gen-Y จะมีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรทั่วโลก และคนในกลุ่มนี้ราวร้อยละ 75 เป็นคนในวัยทำงาน นอกจากนี้ รายงานจาก McKinsey Global Institute ของ McKinsey & Company เมื่อเดือนเมษายน 2016 ในหัวข้อเรื่อง "Urban World: The Global Consumers to Watch" ได้ระบุว่ามีผู้บริโภคเก้ากลุ่มที่ช่วยขับเคลื่อนให้การบริโภคทั่วโลกเติบโตขึ้นภายในปี 2030 โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของทั้งหมด สี่กลุ่มในจำนวนนี้เป็นคนรุ่นมิลเลนเนียลจากจีน สหรัฐ ละตินอเมริกา และอินเดีย ขณะที่ชาวเบบี้บูม (Baby Boomer หรือ Generation B เกิดในช่วงราวปี 1946 ถึง 1964) มีส่วนสำคัญมากที่สุดต่อการเติบโตของการบริโภคทั่วโลก เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องการบริการทางสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น รายงานยังได้ระบุด้วยว่า เนื่องจากชาวมิลเลนเนียลได้กลายเป็นผู้ใหญ่วัยทำงานและเริ่มสร้างครอบครัวกันมากขึ้น คนกลุ่มนี้จึงเริ่มซื้ออสังหาริมทรัพย์ รถยนต์ และสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้นในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มากยิ่งกว่าที่ชาวเบบี้บูมเคยทำมาด้วยซ้ำ
ลาวเก็บ VAT 10% กระทบตลาดเครื่องประดับภาคอีสาน
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป. ลาวเป็นอีกหนึ่งประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับไทยและค้าขายกับไทยมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งการค้าชายแดนมีส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคอีสานของไทยให้เติบโตได้อย่างมาก โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การค้าชายแดนไทยและสปป.ลาวมีมูลค่าเฉลี่ยเกือบ 140,000 ล้านบาท และสปป.ลาวเป็นคู่ค้าอันดับ 3 ในกลุ่มประเทศที่มีชายแดนติดกับไทย (มาเลเซีย เมียนมา ลาว และกัมพูชา) โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามาโดยตลอด ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญผ่านชายแดนไทย-สปป.ลาว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เหล็ก เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป และสินค้าปศุสัตว์ ในส่วนของอัญมณีและเครื่องประดับนั้นส่วนใหญ่เป็นการซื้อใส่ติดตัวกลับออกไป จึงไม่ปรากฏมูลค่าซื้อขายที่แน่นอน
ก้าวย่างอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับเวียดนามในรอบทศวรรษ
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับของเวียดนามมีการดำเนินธุรกิจโดยผู้ประกอบการท้องถิ่นเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศเป็นหลัก แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ ผู้ประกอบการท้องถิ่นหลายรายได้เข้ามาลงทุนทำการผลิตแบบโรงงานขนาดใหญ่ มีการทำตลาดทั้งในประเทศและเริ่มรุกตลาดส่งออกมากขึ้น แม้ปัจจุบันเวียดนามจะยังมีมูลค่าการส่งออกเครื่องประดับไปยังต่างประเทศไม่มากนัก แต่จากการเร่งพัฒนากระบวนการผลิตและคุณภาพสินค้าให้ก้าวไปสู่ระดับสากลมากขึ้น จะทำให้อุตสาหกรรมเครื่องประดับของเวียดนามสามารถยกระดับขึ้นไปได้อีกขั้น และมีแนวโน้มที่เครื่องประดับเวียดนามจะเข้ามารุกตลาดส่งออกเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดโลกได้ในระยะอันใกล้นี้
ปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตอุตสาหกรรมเครื่องประดับเงินในอินเดีย
แต่เดิมไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินรายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 21.7 ในปี 2007 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 844 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยขณะนั้นอินเดียเป็นประเทศที่ส่งออกเครื่องประดับเงินในอับดับที่ 8 ด้วยมูลค่าการส่งออกเพียง 95 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในปี 2015 อินเดียกลายเป็นประเทศที่ส่งออกเครื่องประดับเงินอันดับที่ 1 ของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกถึง 2,612 ล้านเหรียญสหรัฐ มีส่วนแบ่งตลาดเกือบร้อยละ 30 ขณะที่ไทยเหลือส่วนแบ่งตลาดเพียงร้อยละ 17.1 และมีแนวโน้มสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้แก่อินเดียอย่างต่อเนื่อง
E-Commerce: ขยายโอกาสการค้าไทย ขยายโอกาสอาเซียน
ตลอดปี 2016 มีข่าวใหญ่ที่เกิดขึ้นกับวงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์สมากมายไม่ว่าจะเป็นธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดตัวพร้อมเพย์เพื่อกระตุ้น E-Payment, Alibaba เข้าซื้อกิจการ Lazada ที่เคยได้ชื่อว่าเป็น Amazon แห่งเอเชีย, การเกิด Rabbit LINE Pay เพื่อผสานแพลตฟอร์มการชำระเงินทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์, Central Online เข้าซื้อ Zalora ทั้งในไทยและเวียดนาม หรือแม้กระทั่งการบอกลาของดีลชื่อดังอย่าง Ensogo ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความเคลื่อนไหวเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงการแข่งขันในวงการอีคอมเมิร์สเพื่อรองรับกับกำลังซื้อที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตรวมทั้งเป็นการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิตัล
รู้จักมิลเลนเนียลจีน...แรงผลักอุปสงค์เครื่องประดับเพชรแนวแฟชั่น
ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้ว่าคนรุ่นมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีบทบาทสำคัญในการซื้อสินค้าและบริการจากทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือผู้บริโภครายใหญ่อย่างจีน โดยชาวจีนถูกจัดให้เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีอำนาจซื้อสินค้าที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก โดยในปี 2015 ชาวจีนครองสัดส่วนการซื้อสินค้าหรูหรามากถึงร้อยละ 46 ของการบริโภคสินค้าหรูหราทั่วโลก หรือคิดเป็นยอดซื้อสินค้าหรูหราที่ใช้จ่ายจากหลายประเทศทั่วโลกมากกว่า 740 พันล้านหยวน หรือราว 111 พันล้านเหรียญสหรัฐ
เมียนมาเดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
หลังจากที่เมียนมาเปิดประเทศและเข้าสู่การเป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างเต็มตัว ทำให้สหรัฐอเมริกายกเลิกมาตรการคว่ำบาตรเมื่อเดือนตุลาคม 2559 ซึ่งรวมถึงการยกเลิกกฎหมาย Jade Act 2008 ที่ห้ามนำทับทิมและหยกจากเมียนมารวมถึงเครื่องประดับที่มีทับทิมและหยกจากเมียนมาเข้ามายังสหรัฐฯ ทั้งจากเมียนมาโดยตรงและผ่านประเทศที่สาม เมียนมาก็ยังคงพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ สู่ความเป็นสากลอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงกฎระเบียบและกฎหมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ การเปิดตลาดหลักทรัพย์ครั้งแรกในปี 2559 รวมถึงเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศเพื่อการเติบโตในระยะยาว อาทิ การออกกฎหมายจัดระเบียบการทำเหมือง และการลดภาษีนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวกับอัญมณีและเครื่องประดับ รวมถึงการปิดเหมืองที่อยู่ในเขตของชนกลุ่มน้อยเพื่อความปลอดภัยของชาวต่างชาติ เป็นต้น
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยไป UK กับความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น
สหราชอาณาจักรเป็นประเทศชั้นนำทางเศรษฐกิจที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคยุโรป ทั้งยังเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงด้วยรายได้เฉลี่ยต่อคนราว 40,000 เหรียญสหรัฐต่อปี ประกอบกับชาวอังกฤษมีรสนิยมในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าคุณภาพดีและทันสมัย นิยมแต่งกายตามแฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะสินค้าประเภทอัญมณีและเครื่องประดับที่ผู้บริโภคในประเทศมักหาซื้อเพื่อใช้ในโอกาสสำคัญ ทำให้สหราชอาณาจักรมีความต้องการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับจากประเทศต่างๆ เป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี ซึ่งส่วนใหญ่ของการนำเข้าเป็นทองคำถึงราวร้อยละ 60 รองลงมาได้แก่ เครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน แพลทินัม เงิน และเพชร ตามลำดับ
ทศวรรษที่แข็งแกร่งของตลาดเครื่องประดับอินโดนีเซีย
อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับศักยภาพสูง ด้วยจำนวนประชากรที่มีมากถึง 258.8 ล้านคนในปี 2559 ซึ่งมากที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน และยังเป็นประเทศที่มีประชากรมากติดอันดับที่ 4 ของโลก รองจากจีน อินเดีย และสหรัฐอเมริกา ตามลำดับ ประกอบกับอินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียน และนับเป็นอันดับที่ 16 ของโลก ด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) กว่า 9.4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมาขยายตัวได้ดีในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 5.7 ต่อปี ปัจจัยเหล่านี้ช่วยขับเคลื่อนให้ความต้องการบริโภคเครื่องประดับของอินโดนีเซียในรอบทศวรรษที่ผ่านมามีอัตราเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อีกทั้งยังมีการคาดการณ์แนวโน้มตลาดเครื่องประดับอินโดนีเซียจะเติบโตได้เร็วที่สุดในโลกในระยะ 5 ปีข้างหน้า จึงนับได้ว่าอินโดนีเซียเป็นตลาดผู้บริโภคอัญมณีและเครื่องประดับที่ไม่ควรมองข้ามในช่วงเวลานี้
ขยายโอกาสการค้าอัญมณีและเครื่องประดับผ่านกลุ่มเศรษฐกิจ EAEU
จากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจการเมืองโลก อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางประชากรศาสตร์ รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคในตลาดโลกอยู่เสมอ ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องหมั่นแสวงหาโอกาสทางการค้าในตลาดที่หลากหลายทั้งเพื่อกระจายความเสี่ยงและขยายโอกาสทางการค้า สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย หรือ EAEU ซึ่งมีรัสเซียเป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก ถือเป็นตลาดกลุ่มใหม่ที่น่าสนใจไม่น้อย ถึงแม้ในช่วงสองปีที่ผ่านมาประเทศเหล่านี้จะเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจซึ่งมีผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าอยู่บ้าง โดยเฉพาะสินค้าที่มีมูลค่าสูงอย่างอัญมณีและเครื่องประดับ แต่ขณะนี้กลุ่ม EAEU ได้เข้าสู่ภาวะฟื้นตัวแล้ว อีกทั้งยังมีแนวทางที่ชัดเจนในการเจรจาความร่วมมือทางการค้ากับไทย ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยจึงไม่ควรมองข้ามโอกาสนี้
ธุรกิจค้าปลีกเครื่องประดับฮ่องกงเน้นกลยุทธ์เจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม
ตลาดการค้าอัญมณีและเครื่องประดับในฮ่องกงมีหลากหลายย่านตามแหล่งช้อปปิ้งและชุมชนต่างๆ แต่ย่านการค้าที่สำคัญที่สุดในฮ่องกงก็คือ ย่าน Tsim Sha Tsui และย่าน Causeway Bay ซึ่งเป็นย่านช้อปปิ้งแหล่งยอดนิยมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังฮ่องกง ทั้งนี้ จากการสำรวจร้านค้าปลีกเครื่องประดับในย่าน Tsim Sha Tsui เห็นได้ว่าแทบทุกถนนสายหลักสายย่อยในย่านนี้เต็มไปด้วยร้านค้าปลีกเครื่องประดับจำนวนมากทั้งตามแนวถนนต่างๆ และในห้างสรรพสินค้า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเครื่องประดับรายใหญ่ของฮ่องกงทั้ง Chow Tai Fook, LukFook Jewellery, Chow Sang Sang และ TSL ที่ตั้งร้านค้าสาขาในบริเวณใกล้เคียงกันและมีจำนวนร้านค้าค่อนข้างมากในย่านช้อปปิ้งนี้ รวมถึงยังมีร้านค้าแบรนด์ธุรกิจเครื่องประดับระดับกลางและย่อม อาทิเช่น CSS, MaBelle, 3D-Gold และ Benny Lau Jewellery ไปจนถึงแบรนด์เครื่องประดับชั้นนำระดับโลกทั้ง Cartier, Chopard, Tiffany &Co. และ Swarovski เป็นต้น
เครื่องประดับเพื่องานแต่งงานในตลาดอินเดีย
แม้เวลาจะเปลี่ยนผ่านมาหลายยุคสมัย แต่การดำเนินชีวิตของชาวอินเดียยังคงยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อตามศาสนาพราหมณ์-ฮินดูอย่างเคร่งครัด โดยชาวอินเดียเชื่อในอาศรม 4 ซึ่งเป็นทางปฏิบัติในการดำรงชีวิตผ่านช่วงวัยทั้ง 4 นับตั้งแต่เกิดจากครรภ์มารดาจนถึงบั้นปลายชีวิต สำหรับการแต่งงานนั้น ถือเป็นช่วงชีวิตสำคัญของการเข้าสู่ช่วงวัย "คฤหัสถ์" หรือวัยครองเรือนตามศาสนาฮินดู ประเพณีแต่งงานจึงนับเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตที่สำคัญยิ่งของชาวอินเดียเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่มีความยืดหยุ่นมากขึ้นตามลำดับ โดยยอมผสมผสานวัฒนธรรมตะวันตกเข้าไปบ้าง อาทิ เดินทางไปจัดงานในต่างประเทศ หรือ ปรับรูปแบบพิธีให้มีความรื่นเริงมากขึ้น ทั้งนี้ ปัจจุบันมีคู่บ่าวสาวอินเดียเข้าสู่พิธีแต่งงานแต่ละปีมากถึง 10 ล้านคู่