ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

อุปสงค์เครื่องประดับทองในจีน อินเดีย และตะวันออกกลางเพิ่มสูงขึ้น

Nov 23, 2021
2067 views
0 share

            World Gold Council (WGC) เผยว่า ความต้องการเครื่องประดับทองยังคงเจิดจรัสในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 จากช่วงเดียวกันของปี 2020 อยู่ที่ 443 ตัน โดยสาเหตุมาจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของอุปสงค์การบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับทองในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง

อุปสงค์อัญมณีในจีน

            ข้อมูลจากรายงาน Gold Demand Trends ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2021 ของ WGC แสดงให้เห็นว่า แม้มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ตัวเลขยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดในปี 2019 อยู่ร้อยละ 6 และตามหลังค่าเฉลี่ยรายไตรมาสในรอบ 5 ปีอยู่ร้อยละ 12 ส่วนในแง่มูลค่านั้นความต้องการเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เป็น 25,500 ล้านเหรียญสหรัฐ นับว่าเป็นความต้องการช่วงไตรมาสที่ 3 ที่สูงที่สุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา

            “ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 ความต้องการเครื่องประดับทองได้รับแรงผลักดันจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค โดยเป็นแนวโน้มต่อเนื่องจากช่วงครึ่งปีแรกนี้ ความต้องการเครื่องประดับทั่วโลกในปีนี้มาจนถึงปัจจุบันสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2020 อยู่เกือบร้อยละ 50” WGC ระบุ

อัญมณีและอุปสงค์ในจีนและอินเดีย


อุปสงค์อัญมณีในตะวันออกกลางที่มา : World Gold Council

            แม้ว่าอุปสงค์เครื่องประดับทองจะมีการเติบโตในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง ควบคู่กับการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในตลาดตะวันตก อย่าง สหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวร้อยละ 12 ส่วนตลาดเอเชียอย่างอินโดนีเซีย และไทย เติบโตถึงร้อยละ 56 และ 39 ตามลำดับ แต่มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ยังมีความต้องการลดลงร้อยละ 46, ร้อยละ 14 และร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากโควิด-19

            ความต้องการเครื่องประดับทองของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เป็น 157 ตันในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสาเหตุมาจากราคาทองคำที่เสถียรขึ้นและรายได้สุทธิที่สูงขึ้น นอกจากนี้การตามหาข้อเสนอที่คุ้มค่าจากราคาที่ลดต่ำลง การเติบโตของอุปสงค์ในช่วงเทศกาลสำคัญ ตลอดจนการกำหนดราคาโดยคิดตามน้ำหนักกรัม ก็ช่วยให้ความต้องการเครื่องประดับทองของจีนในไตรมาสที่ 3 ปีนี้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

            “แนวโน้มความต้องการเครื่องประดับทองในจีนตลอดปีนี้มีแนวโน้มเชิงบวก แต่ก็ยังมีความท้าทายอยู่” WGC ระบุ “หากมาตรการปันส่วนพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่งเกิดขึ้นยังคงดำเนินต่อไปก็น่าจะนำไปสู่ปัญหาคอขวดด้านการผลิต ด้วยคำนึงถึงปัจจัยข้อนี้ WGC จึงยังคงคาดการณ์อย่างระมัดระวังเกี่ยวกับแนวโน้มเชิงบวกของอุปสงค์เครื่องประดับทองในจีนช่วงหลายเดือนข้างหน้าต่อจากนี้”

            ในขณะเดียวกันความต้องการเครื่องประดับทองในอินเดียเพิ่มสูงขึ้นราวร้อยละ 58 จากช่วงเดียวกันของปี2020 มาอยู่ที่กว่า 96 ตัน เนื่องจากมีความต้องการตกค้างอยู่มาก รวมถึงราคาทองคำที่ลดต่ำลง และเศรษฐกิจอินเดียโดยรวมที่เพิ่งเริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้น

            “การมีวันมงคลสำหรับการแต่งงานอยู่หลายวันของอินเดียส่งผลดีต่ออุปสงค์เครื่องประดับทองในช่วงที่เหลือของปี 2021 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพอากาศที่ดีในหน้ามรสุมช่วยส่งเสริมรายได้ในชนบท แต่โอกาสที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่จนนำไปสู่การล็อคดาวน์อีกรอบนั้นก็เป็นความเสี่ยงที่ยังคงอยู่” WGC ระบุ

            ความต้องการเครื่องประดับทองของตลาดตะวันออกกลางในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 46 จากช่วงเดียวกันของปี 2020 มาอยู่ที่ราว 40 ตัน เนื่องจากราคาทองคำปรับตัวลดลงและค่อนข้างมีเสถียรภาพ ตลอดจนมีการผ่อนปรนมาตรการควบคุมโควิด-19 WGC เผยว่าการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเดียก็มีส่วนช่วยในการฟื้นตัวของอุปสงค์ในตลาดตะวันออกกลางเช่นกัน


ข้อมูลอ้างอิง


1) Jewellery Net. (2021). China, India and Middle East lift Q3 jewellery demand. Retrieved from https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/news/24489.
2) World Gold Council. (2021). Gold Demand Trends Q3 2021. Retrieved from https://www.gold.org/goldhub/research/gold-demand-trends/gold-demand-trends-q3-2021/jewellery.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

อุปสงค์เครื่องประดับทองในจีน อินเดีย และตะวันออกกลางเพิ่มสูงขึ้น

Nov 23, 2021
2067 views
0 share

            World Gold Council (WGC) เผยว่า ความต้องการเครื่องประดับทองยังคงเจิดจรัสในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 จากช่วงเดียวกันของปี 2020 อยู่ที่ 443 ตัน โดยสาเหตุมาจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของอุปสงค์การบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับทองในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง

อุปสงค์อัญมณีในจีน

            ข้อมูลจากรายงาน Gold Demand Trends ประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2021 ของ WGC แสดงให้เห็นว่า แม้มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ตัวเลขยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดในปี 2019 อยู่ร้อยละ 6 และตามหลังค่าเฉลี่ยรายไตรมาสในรอบ 5 ปีอยู่ร้อยละ 12 ส่วนในแง่มูลค่านั้นความต้องการเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เป็น 25,500 ล้านเหรียญสหรัฐ นับว่าเป็นความต้องการช่วงไตรมาสที่ 3 ที่สูงที่สุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา

            “ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 ความต้องการเครื่องประดับทองได้รับแรงผลักดันจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค โดยเป็นแนวโน้มต่อเนื่องจากช่วงครึ่งปีแรกนี้ ความต้องการเครื่องประดับทั่วโลกในปีนี้มาจนถึงปัจจุบันสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2020 อยู่เกือบร้อยละ 50” WGC ระบุ

อัญมณีและอุปสงค์ในจีนและอินเดีย


อุปสงค์อัญมณีในตะวันออกกลางที่มา : World Gold Council

            แม้ว่าอุปสงค์เครื่องประดับทองจะมีการเติบโตในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง ควบคู่กับการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในตลาดตะวันตก อย่าง สหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวร้อยละ 12 ส่วนตลาดเอเชียอย่างอินโดนีเซีย และไทย เติบโตถึงร้อยละ 56 และ 39 ตามลำดับ แต่มาเลเซีย สิงคโปร์ และเวียดนาม ยังมีความต้องการลดลงร้อยละ 46, ร้อยละ 14 และร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 เนื่องจากยังคงได้รับผลกระทบจากโควิด-19

            ความต้องการเครื่องประดับทองของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เป็น 157 ตันในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสาเหตุมาจากราคาทองคำที่เสถียรขึ้นและรายได้สุทธิที่สูงขึ้น นอกจากนี้การตามหาข้อเสนอที่คุ้มค่าจากราคาที่ลดต่ำลง การเติบโตของอุปสงค์ในช่วงเทศกาลสำคัญ ตลอดจนการกำหนดราคาโดยคิดตามน้ำหนักกรัม ก็ช่วยให้ความต้องการเครื่องประดับทองของจีนในไตรมาสที่ 3 ปีนี้เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

            “แนวโน้มความต้องการเครื่องประดับทองในจีนตลอดปีนี้มีแนวโน้มเชิงบวก แต่ก็ยังมีความท้าทายอยู่” WGC ระบุ “หากมาตรการปันส่วนพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่งเกิดขึ้นยังคงดำเนินต่อไปก็น่าจะนำไปสู่ปัญหาคอขวดด้านการผลิต ด้วยคำนึงถึงปัจจัยข้อนี้ WGC จึงยังคงคาดการณ์อย่างระมัดระวังเกี่ยวกับแนวโน้มเชิงบวกของอุปสงค์เครื่องประดับทองในจีนช่วงหลายเดือนข้างหน้าต่อจากนี้”

            ในขณะเดียวกันความต้องการเครื่องประดับทองในอินเดียเพิ่มสูงขึ้นราวร้อยละ 58 จากช่วงเดียวกันของปี2020 มาอยู่ที่กว่า 96 ตัน เนื่องจากมีความต้องการตกค้างอยู่มาก รวมถึงราคาทองคำที่ลดต่ำลง และเศรษฐกิจอินเดียโดยรวมที่เพิ่งเริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้น

            “การมีวันมงคลสำหรับการแต่งงานอยู่หลายวันของอินเดียส่งผลดีต่ออุปสงค์เครื่องประดับทองในช่วงที่เหลือของปี 2021 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพอากาศที่ดีในหน้ามรสุมช่วยส่งเสริมรายได้ในชนบท แต่โอกาสที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่จนนำไปสู่การล็อคดาวน์อีกรอบนั้นก็เป็นความเสี่ยงที่ยังคงอยู่” WGC ระบุ

            ความต้องการเครื่องประดับทองของตลาดตะวันออกกลางในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เติบโตขึ้นถึงร้อยละ 46 จากช่วงเดียวกันของปี 2020 มาอยู่ที่ราว 40 ตัน เนื่องจากราคาทองคำปรับตัวลดลงและค่อนข้างมีเสถียรภาพ ตลอดจนมีการผ่อนปรนมาตรการควบคุมโควิด-19 WGC เผยว่าการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอินเดียก็มีส่วนช่วยในการฟื้นตัวของอุปสงค์ในตลาดตะวันออกกลางเช่นกัน


ข้อมูลอ้างอิง


1) Jewellery Net. (2021). China, India and Middle East lift Q3 jewellery demand. Retrieved from https://news.jewellerynet.com/en/jnanews/news/24489.
2) World Gold Council. (2021). Gold Demand Trends Q3 2021. Retrieved from https://www.gold.org/goldhub/research/gold-demand-trends/gold-demand-trends-q3-2021/jewellery.

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site