ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

โอกาสและความท้าทาย ในช่วงเวลาฟื้นตัวของอัญมณีและเครื่องประดับศรีลังกา

Mar 1, 2023
1713 views
0 share

            ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลกนั้น ล้วนแต่เป็นแหล่งกำเนิดอัญมณีมีค่าชนิดต่างๆ หลายประเทศที่ค้นพบขุมทรัพย์อันมีค่านี้ได้นำอัญมณีมาเพิ่มมูลค่า ตั้งแต่การตัดแต่ง เจียระไน หรือขึ้นรูปประกอบตัวเรือน สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นแก่ประเทศเป็นจำนวนมาก โดยศรีลังกานั้น เป็นหนึ่งในประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่านี้ ซึ่งคนทั่วโลกต่างรู้จักว่าศรีลังกาเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของพลอยสีหลากหลายประเภทมากกว่า 75 ชนิด โดยเฉพาะแซปไฟร์ซีลอน ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ใฝ่หาจากตลาดทั่วโลกทั้งในแง่ความสวยงามและนำมาเก็งกำไรเพื่อการลงทุน   

ศรีลังกา ดินแดนแห่งอัญมณี

            ชื่อเสียงของศรีลังกาในฐานะแหล่งอัญมณีนานาชนิดมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล มีบันทึกกล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์ของอัญมณีมากมายที่ถูกค้นพบ ณ เกาะแห่งนี้ ย้อนไปได้ถึง 2,500 ปี ทำให้ศรีลังกาได้รับฉายานามว่า รัตนทวีป หรือเกาะแห่งอัญมณี แร่อัญมณีที่ค้นพบ ได้แก่ อัญมณีในกลุ่มคอรันดัม ที่มีชื่อเสียง คือ แซปไฟร์สีน้ำเงิน เบริล คริโซเบริล เฟลสปาร์ การ์เนต ควอตซ์ สปิเนล โทแพซ และทัวร์มาลีน เป็นต้น โดยพื้นที่ราว 2 ใน 3 ของดินแดนแห่งนี้ ยังสามารถขุดพบอัญมณี ซึ่งในปัจจุบันมีการขุดสำรวจไปเพียง 20% เท่านั้น ทั้งนี้ พื้นที่สำคัญในการทำเหมืองอัญมณี อยู่ในบริเวณเมืองรัตนปุระ (Ratnapura) จังหวัด Sabaragamuwa รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง

            ขณะที่แซปไฟร์นั้นเป็นอัญมณีที่มีชื่อเสียงเลื่องลือมากที่สุดของศรีลังกา ทั้งในแง่ความหลากหลายของสีที่ค้นพบ กระทั่งมีคำกล่าว สามารถค้นพบแซปไฟร์ได้ทุกสีในเกาะแห่งนี้ ทั้งยังมีการนำไปเป็นของขวัญที่ทรงคุณค่าหรือนำมาประกอบเป็นเครื่องประดับให้แก่บุคคลสำคัญโดยเฉพาะในหมู่ราชวงศ์ทั่วโลก ขณะที่โทนสีน้ำเงินซึ่งได้รับความนิยมในตลาดอย่าง Cornflower Blue ซึ่งหายากและมีราคาแพงนั้น แม้มีแหล่งกำเนิดที่สำคัญในหลายดินแดนอย่างแคว้นแคชเมียร์ของอินเดีย เมียนมา และมาดากัสการ์ แต่ทั่วโลกต่างยกให้แซปไฟร์จากศรีลังกามาเป็นอันดับแรกทั้งในแง่สีสันความสวยงาม ความนิยม และคุณค่าในตลาด โดยแซปไฟร์ชนิดนี้มีราคาขายอยู่ในช่วง 2,320-6,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต (ที่มา : www.astteria.com)

 

โทนสีของแซปไฟร์ที่มีชื่อเรียกแบบต่างๆ จาก https://ceylongemhub.com/blue-sapphire

            นอกจากนี้ แซปไฟร์ซีลอนที่ค้นพบหลายชิ้นในเมืองรัตนปุระ ยังเป็นที่สุดของโลก อย่าง Serendipity Sapphire เป็นแซปไฟร์ก้อนที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดน้ำหนักกว่า 300 กิโลกรัม หรือ Blue Giant of the Orient ที่ได้ชื่อว่า เป็นแซปไฟร์เจียระไนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดถึง 486.52 กะรัต และ The Blue Belle of Asia ที่มีขนาดน้ำหนัก 392.52 กะรัต ได้รับการบันทึกว่าเป็นแซปไฟร์ที่มีราคาประมูลแพงที่สุดในโลกด้วยราคา 17,564,156 ดอลลาร์สหรัฐ จากการประมูลของ Christie’s ในปี 2014 


     

ภาพ The Blue Belle of Asia จาก thejewelerblog.wordpress.com

ความสำคัญทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

            อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของศรีลังกายังมีประวัติมายาวนาน ผ่านการสืบทอดด้านทักษะฝีมือในการตัดและเจียระไนมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการจ้างแรงงานอยู่ราว 650,000 คน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ขณะที่มีผู้ประกอบการส่งออกอยู่ราว 300 ราย ส่วนใหญ่เป็น SMEs ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอันดับ 7 ของประเทศ โดยการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในปี 2022 มีมูลค่า 450.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวได้ 62.8% คิดเป็น 3.4% ของการส่งออกทั้งหมด 

การส่งออกสินค้าที่สำคัญของศรีลังกา ระหว่างมกราคม-ธันวาคม 2022


ที่มา : Central Bank of Sri Lanka

            โดยสินค้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของศรีลังกา ได้แก่ พลอยเนื้อแข็งเจียระไน (สัดส่วน 50.01%) เพชรเจียระไน (สัดส่วน 36.51%) พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน (สัดส่วน 5.69%) เครื่องประดับทอง (สัดส่วน 3.10%) และเครื่องประดับเงิน (สัดส่วน 0.50%) และอื่นๆ (สัดส่วน 4.19%) ขณะที่ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศเป็นตลาดที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ข้อมูลจาก Statista คาดการณ์ว่า ในปี 2023 จะมีมูลค่าตลาดราว 200.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราเติบโตเฉลี่ยราว 4.70% โดยยอดขายราว 86% เป็นสินค้าแฟชั่นและเครื่องประดับทั่วไป ไม่ใช่ระดับราคาที่เป็นสินค้าหรูหรา เนื่องจากชาวศรีลังกามีรายได้เฉลี่ยไม่สูงนักอยู่ที่ราว 89,800 รูปีต่อเดือน (เท่ากับ 246.20 ดอลลาร์สหรัฐ อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 จาก www.xe.com) 

สถานการณ์ที่ศรีลังกากำลังเผชิญ
            
          นับตั้งแต่ปี 2022 ศรีลังกาได้ประสบกับปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทำให้ประชากรกว่า 22 ล้านคนในศรีลังกากำลังเผชิญกับการขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างอาหารและยา รวมทั้งยังต้องจำกัดการใช้ไฟฟ้าต่อวัน เนื่องจากปริมาณสำรองน้ำมันและเชื้อเพลิงอยู่ในระดับต่ำ ไม่เพียงพอสำหรับการใช้งาน ซึ่งสาเหตุการเกิดวิกฤตในครั้งนี้มาจากปัญหาสะสมหลายประการที่ถูกกระตุ้นด้วยการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นเป็นระลอก ดังเช่นหนี้ต่างประเทศสูงถึง 86.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 130.53% ของ GDP ขาดแคลนทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศกระทั่งต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจาก IMF และนานาประเทศ รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องกระทั่งทำสถิติสูงสุดที่ระดับ 73.7% ในเดือนกันยายน 2022 
            จากวิกฤตการณ์ดังกล่าวของศรีลังกานำไปสู่การขอความช่วยเหลือจากนานาประเทศและองค์กรการเงินระหว่างประเทศ ในการกอบกู้สถานการณ์ให้กลับมาเป็นปกติ ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดที่ศรีลังกาต้องปฏิบัติตาม แม้ว่าสถานการณ์ในปี 2023 ศรีลังกาเริ่มตั้งหลักได้จากความช่วยเหลือของนานาประเทศ แต่ทว่ายังคงต้องเฝ้าระวังเนื่องจากยังมีความเปราะบางทางสถานะการคลัง หนี้ต่างประเทศสูง และการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศสูง
            ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับนั้น มีความพยายามที่จะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นกลับคืนมา ด้วยการใช้จุดแข็งที่มีอยู่หลายประการ อย่างเช่น
                มรดกตกทอดของอุตสาหกรรม เนื่องด้วยอุตสาหกรรมนี้ในศรีลังกามีการตกทอดมายาวนานนับพันปี มีอัญมณีมากมายหลายชนิดกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งยังมีกระบวนการผลิตครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จากการทำเหมืองสู่การคัดแยก เจียระไน ประกอบตัวเรือน การค้าส่ง และค้าปลีก ด้วยทักษะฝีมือทางหัตถศิลป์ที่มีความเชี่ยวชาญถูกสืบทอดกันมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น กระทั่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก 
                การทำเหมืองมีความโปร่งใส มีจริยธรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แม้การทำเหมืองจะยังใช้แรงงานคนกับเครื่องไม้เครื่องมือแบบดั้งเดิมเป็นหลัก แต่ภาครัฐมีการตั้งกฎระเบียบและการควบคุมที่เข้มงวด โดยหน่วยงานอย่าง National Gem and Jewellery Authority (NGJA) มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยในบริเวณที่ทำเหมือง ทำให้เหมืองในศรีลังกาเกิดอุบัติเหตุน้อย มีความปลอดภัยสูง มีการให้ความรู้คนงานเหมืองในการบำบัดน้ำเสียและนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งมีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมรอบบริเวณที่ทำเหมือง ขณะที่การทำเหมืองในพื้นที่อ่อนไหวซึ่งอาจเกิดปัญหามลภาวะและปัญหาสิ่งแวดล้อม NGJA ได้มีการจัดหาผู้เชี่ยวชาญทั้งนักธรณีวิทยา วิศวกรเหมืองแร่ และเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมมาให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ยังมีการปรับคุณภาพชีวิตและยกมาตรฐานการดำรงชีพของคนงานเหมืองและครอบครัวให้สูงขึ้น ทั้งยังมีการให้ทุนการศึกษาแก่เด็กอีกด้วย
 
 ภาพการทำเหมืองพลอยแบบขุดในเมืองรัตนปุระ จาก https://www.flickr.com
                แรงงานชาวศรีลังกามีจำนวนมาก อัตราส่วนในกำลังแรงงานของประชากรในวัยทำงานอายุ 15 ปีขึ้นไป ในศรีลังกาอยู่ที่ราว 50% วัยแรงงานมีค่าเฉลี่ยอายุไม่สูง โดยอายุเฉลี่ยของวัยแรงงานทั้งประเทศอยู่ที่ 34 ปี 
                ภาครัฐให้การสนับสนุน อุตสาหกรรมนี้ได้รับการอำนวยความสะดวกทางภาษี ด้วยการยกเว้นภาษีในการนำเข้าพลอยสี เพชร และโลหะมีค่า เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 5% จากอัตราปกติ 20% รวมทั้งมีการออกกฎหมายและข้อบังคับให้แซปไฟร์ซีลอนเป็นสินค้า GI (เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง เพื่อบ่งบอกคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ) รวมทั้งการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาด้านการออกแบบซึ่งครอบคลุมเครื่องประดับด้วย 

            ขณะที่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของศรีลังกา เริ่มต้นปี 2023 ด้วยการจัดงาน FACETS Sri Lanka เมื่อวันที่ 7-9 มกราคม 2023 ด้วยยอดคำสั่งซื้อมากกว่า 10 ล้านดออลาร์สหรัฐ อาจเป็นจุดเริ่มต้นให้อุตสาหกรรมนี้เริ่มกลับมามองเห็นแสงสว่างอีกครั้ง ท่ามกลางคลื่นลมแห่งความผันผวนในปีแห่งความท้าทายนี้ 

 
ผู้เขียน: นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ
ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1) EDB. 2022. CELEBRATED BLUE SAPPHIRES FROM SRI LANKA. [Online]. Available at: www.srilankabusiness.com. (Retrieved January 9,2023).
2) Astteria. 2022. What is a Ceylon Sapphire: Everything You Need To Know. [Online]. Available at: https://www.astteria.com/blog/what-is-a-ceylon-sapphire-everything-you-need-to-know/. (Retrieved January 9,2023).
3) Statista. 2023. Jewelry - Sri Lanka. [Online]. Available at: https://www.statista.com. (Retrieved January 12,2023).
4) Salary Explorer. 2022. Average Salary in Sri Lanka 2023. [Online]. Available at: http://www.salaryexplorer.com. (Retrieved January 25,2023).
5) Sri Lanka KEY INDICATORS. 2023. Sri Lanka KEY INDICATORS. [Online]. Available at: https://www.population-trends-asiapacific.org/data/LKA?op=print. (Retrieved January 25,2023).
6) The Natural Sapphire Company. 2023. The World’s Largest Sapphires. [Online]. Available at: https://www.thenaturalsapphirecompany.com. (Retrieved January 25,2023).
7) Statista. 2023. Sri Lanka: National debt from 2012 to 2022. [Online]. Available at: https://www.statista.com/. (Retrieved January 25,2023).
8) Capital.com. Sri Lanka inflation rate. [Online]. Available at: https://capital.com/sri-lanka-inflation-rate. (Retrieved January 25,2023).
9) Daily News. 2023. FACETS end with over 5,000 visitors, USD 10 Mn orders, sales. [Online]. Available at: https://www.dailynews.lk. (Retrieved February 3,2023).
10) Shafa Reyaz. 2022. World's Largest Blue Sapphire Cluster Discovered In Sri Lanka Enters Guinness Book. [Online]. Available at: https://www.indiatimes.com. (Retrieved February 3,2023).
11) NGJA. 2023. Gemstone Mining Areas. [Online]. Available at: https://ngja.gov.lk/gems/gemstone-mining-industry. (Retrieved February 6,2023).
12) Colombo Page. 2023. Sri Lanka International Gem and Jewellery show, FACETS 2023 opens. [Online]. Available at: http://www.colombopage.com. (Retrieved February 8,2023).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

โอกาสและความท้าทาย ในช่วงเวลาฟื้นตัวของอัญมณีและเครื่องประดับศรีลังกา

Mar 1, 2023
1713 views
0 share

            ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลกนั้น ล้วนแต่เป็นแหล่งกำเนิดอัญมณีมีค่าชนิดต่างๆ หลายประเทศที่ค้นพบขุมทรัพย์อันมีค่านี้ได้นำอัญมณีมาเพิ่มมูลค่า ตั้งแต่การตัดแต่ง เจียระไน หรือขึ้นรูปประกอบตัวเรือน สามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นแก่ประเทศเป็นจำนวนมาก โดยศรีลังกานั้น เป็นหนึ่งในประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่านี้ ซึ่งคนทั่วโลกต่างรู้จักว่าศรีลังกาเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของพลอยสีหลากหลายประเภทมากกว่า 75 ชนิด โดยเฉพาะแซปไฟร์ซีลอน ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่ใฝ่หาจากตลาดทั่วโลกทั้งในแง่ความสวยงามและนำมาเก็งกำไรเพื่อการลงทุน   

ศรีลังกา ดินแดนแห่งอัญมณี

            ชื่อเสียงของศรีลังกาในฐานะแหล่งอัญมณีนานาชนิดมีมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล มีบันทึกกล่าวถึงความอุดมสมบูรณ์ของอัญมณีมากมายที่ถูกค้นพบ ณ เกาะแห่งนี้ ย้อนไปได้ถึง 2,500 ปี ทำให้ศรีลังกาได้รับฉายานามว่า รัตนทวีป หรือเกาะแห่งอัญมณี แร่อัญมณีที่ค้นพบ ได้แก่ อัญมณีในกลุ่มคอรันดัม ที่มีชื่อเสียง คือ แซปไฟร์สีน้ำเงิน เบริล คริโซเบริล เฟลสปาร์ การ์เนต ควอตซ์ สปิเนล โทแพซ และทัวร์มาลีน เป็นต้น โดยพื้นที่ราว 2 ใน 3 ของดินแดนแห่งนี้ ยังสามารถขุดพบอัญมณี ซึ่งในปัจจุบันมีการขุดสำรวจไปเพียง 20% เท่านั้น ทั้งนี้ พื้นที่สำคัญในการทำเหมืองอัญมณี อยู่ในบริเวณเมืองรัตนปุระ (Ratnapura) จังหวัด Sabaragamuwa รวมทั้งบริเวณใกล้เคียง

            ขณะที่แซปไฟร์นั้นเป็นอัญมณีที่มีชื่อเสียงเลื่องลือมากที่สุดของศรีลังกา ทั้งในแง่ความหลากหลายของสีที่ค้นพบ กระทั่งมีคำกล่าว สามารถค้นพบแซปไฟร์ได้ทุกสีในเกาะแห่งนี้ ทั้งยังมีการนำไปเป็นของขวัญที่ทรงคุณค่าหรือนำมาประกอบเป็นเครื่องประดับให้แก่บุคคลสำคัญโดยเฉพาะในหมู่ราชวงศ์ทั่วโลก ขณะที่โทนสีน้ำเงินซึ่งได้รับความนิยมในตลาดอย่าง Cornflower Blue ซึ่งหายากและมีราคาแพงนั้น แม้มีแหล่งกำเนิดที่สำคัญในหลายดินแดนอย่างแคว้นแคชเมียร์ของอินเดีย เมียนมา และมาดากัสการ์ แต่ทั่วโลกต่างยกให้แซปไฟร์จากศรีลังกามาเป็นอันดับแรกทั้งในแง่สีสันความสวยงาม ความนิยม และคุณค่าในตลาด โดยแซปไฟร์ชนิดนี้มีราคาขายอยู่ในช่วง 2,320-6,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อกะรัต (ที่มา : www.astteria.com)

 

โทนสีของแซปไฟร์ที่มีชื่อเรียกแบบต่างๆ จาก https://ceylongemhub.com/blue-sapphire

            นอกจากนี้ แซปไฟร์ซีลอนที่ค้นพบหลายชิ้นในเมืองรัตนปุระ ยังเป็นที่สุดของโลก อย่าง Serendipity Sapphire เป็นแซปไฟร์ก้อนที่ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดน้ำหนักกว่า 300 กิโลกรัม หรือ Blue Giant of the Orient ที่ได้ชื่อว่า เป็นแซปไฟร์เจียระไนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดถึง 486.52 กะรัต และ The Blue Belle of Asia ที่มีขนาดน้ำหนัก 392.52 กะรัต ได้รับการบันทึกว่าเป็นแซปไฟร์ที่มีราคาประมูลแพงที่สุดในโลกด้วยราคา 17,564,156 ดอลลาร์สหรัฐ จากการประมูลของ Christie’s ในปี 2014 


     

ภาพ The Blue Belle of Asia จาก thejewelerblog.wordpress.com

ความสำคัญทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

            อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของศรีลังกายังมีประวัติมายาวนาน ผ่านการสืบทอดด้านทักษะฝีมือในการตัดและเจียระไนมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีการจ้างแรงงานอยู่ราว 650,000 คน ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ขณะที่มีผู้ประกอบการส่งออกอยู่ราว 300 ราย ส่วนใหญ่เป็น SMEs ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญอันดับ 7 ของประเทศ โดยการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในปี 2022 มีมูลค่า 450.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวได้ 62.8% คิดเป็น 3.4% ของการส่งออกทั้งหมด 

การส่งออกสินค้าที่สำคัญของศรีลังกา ระหว่างมกราคม-ธันวาคม 2022


ที่มา : Central Bank of Sri Lanka

            โดยสินค้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของศรีลังกา ได้แก่ พลอยเนื้อแข็งเจียระไน (สัดส่วน 50.01%) เพชรเจียระไน (สัดส่วน 36.51%) พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน (สัดส่วน 5.69%) เครื่องประดับทอง (สัดส่วน 3.10%) และเครื่องประดับเงิน (สัดส่วน 0.50%) และอื่นๆ (สัดส่วน 4.19%) ขณะที่ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศเป็นตลาดที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ข้อมูลจาก Statista คาดการณ์ว่า ในปี 2023 จะมีมูลค่าตลาดราว 200.90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราเติบโตเฉลี่ยราว 4.70% โดยยอดขายราว 86% เป็นสินค้าแฟชั่นและเครื่องประดับทั่วไป ไม่ใช่ระดับราคาที่เป็นสินค้าหรูหรา เนื่องจากชาวศรีลังกามีรายได้เฉลี่ยไม่สูงนักอยู่ที่ราว 89,800 รูปีต่อเดือน (เท่ากับ 246.20 ดอลลาร์สหรัฐ อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 จาก www.xe.com) 

สถานการณ์ที่ศรีลังกากำลังเผชิญ
            
          นับตั้งแต่ปี 2022 ศรีลังกาได้ประสบกับปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ทำให้ประชากรกว่า 22 ล้านคนในศรีลังกากำลังเผชิญกับการขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างอาหารและยา รวมทั้งยังต้องจำกัดการใช้ไฟฟ้าต่อวัน เนื่องจากปริมาณสำรองน้ำมันและเชื้อเพลิงอยู่ในระดับต่ำ ไม่เพียงพอสำหรับการใช้งาน ซึ่งสาเหตุการเกิดวิกฤตในครั้งนี้มาจากปัญหาสะสมหลายประการที่ถูกกระตุ้นด้วยการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นเป็นระลอก ดังเช่นหนี้ต่างประเทศสูงถึง 86.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 130.53% ของ GDP ขาดแคลนทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศกระทั่งต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจาก IMF และนานาประเทศ รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องกระทั่งทำสถิติสูงสุดที่ระดับ 73.7% ในเดือนกันยายน 2022 
            จากวิกฤตการณ์ดังกล่าวของศรีลังกานำไปสู่การขอความช่วยเหลือจากนานาประเทศและองค์กรการเงินระหว่างประเทศ ในการกอบกู้สถานการณ์ให้กลับมาเป็นปกติ ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดที่ศรีลังกาต้องปฏิบัติตาม แม้ว่าสถานการณ์ในปี 2023 ศรีลังกาเริ่มตั้งหลักได้จากความช่วยเหลือของนานาประเทศ แต่ทว่ายังคงต้องเฝ้าระวังเนื่องจากยังมีความเปราะบางทางสถานะการคลัง หนี้ต่างประเทศสูง และการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศสูง
            ในส่วนของภาคอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับนั้น มีความพยายามที่จะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้ฟื้นกลับคืนมา ด้วยการใช้จุดแข็งที่มีอยู่หลายประการ อย่างเช่น
                มรดกตกทอดของอุตสาหกรรม เนื่องด้วยอุตสาหกรรมนี้ในศรีลังกามีการตกทอดมายาวนานนับพันปี มีอัญมณีมากมายหลายชนิดกระจายอยู่ทั่วประเทศ ทั้งยังมีกระบวนการผลิตครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จากการทำเหมืองสู่การคัดแยก เจียระไน ประกอบตัวเรือน การค้าส่ง และค้าปลีก ด้วยทักษะฝีมือทางหัตถศิลป์ที่มีความเชี่ยวชาญถูกสืบทอดกันมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น กระทั่งเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก 
                การทำเหมืองมีความโปร่งใส มีจริยธรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แม้การทำเหมืองจะยังใช้แรงงานคนกับเครื่องไม้เครื่องมือแบบดั้งเดิมเป็นหลัก แต่ภาครัฐมีการตั้งกฎระเบียบและการควบคุมที่เข้มงวด โดยหน่วยงานอย่าง National Gem and Jewellery Authority (NGJA) มีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยในบริเวณที่ทำเหมือง ทำให้เหมืองในศรีลังกาเกิดอุบัติเหตุน้อย มีความปลอดภัยสูง มีการให้ความรู้คนงานเหมืองในการบำบัดน้ำเสียและนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งมีการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมรอบบริเวณที่ทำเหมือง ขณะที่การทำเหมืองในพื้นที่อ่อนไหวซึ่งอาจเกิดปัญหามลภาวะและปัญหาสิ่งแวดล้อม NGJA ได้มีการจัดหาผู้เชี่ยวชาญทั้งนักธรณีวิทยา วิศวกรเหมืองแร่ และเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมมาให้คำปรึกษา นอกจากนี้ ยังมีการปรับคุณภาพชีวิตและยกมาตรฐานการดำรงชีพของคนงานเหมืองและครอบครัวให้สูงขึ้น ทั้งยังมีการให้ทุนการศึกษาแก่เด็กอีกด้วย
 
 ภาพการทำเหมืองพลอยแบบขุดในเมืองรัตนปุระ จาก https://www.flickr.com
                แรงงานชาวศรีลังกามีจำนวนมาก อัตราส่วนในกำลังแรงงานของประชากรในวัยทำงานอายุ 15 ปีขึ้นไป ในศรีลังกาอยู่ที่ราว 50% วัยแรงงานมีค่าเฉลี่ยอายุไม่สูง โดยอายุเฉลี่ยของวัยแรงงานทั้งประเทศอยู่ที่ 34 ปี 
                ภาครัฐให้การสนับสนุน อุตสาหกรรมนี้ได้รับการอำนวยความสะดวกทางภาษี ด้วยการยกเว้นภาษีในการนำเข้าพลอยสี เพชร และโลหะมีค่า เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 5% จากอัตราปกติ 20% รวมทั้งมีการออกกฎหมายและข้อบังคับให้แซปไฟร์ซีลอนเป็นสินค้า GI (เครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง เพื่อบ่งบอกคุณภาพหรือชื่อเสียงของสินค้านั้นๆ) รวมทั้งการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาด้านการออกแบบซึ่งครอบคลุมเครื่องประดับด้วย 

            ขณะที่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของศรีลังกา เริ่มต้นปี 2023 ด้วยการจัดงาน FACETS Sri Lanka เมื่อวันที่ 7-9 มกราคม 2023 ด้วยยอดคำสั่งซื้อมากกว่า 10 ล้านดออลาร์สหรัฐ อาจเป็นจุดเริ่มต้นให้อุตสาหกรรมนี้เริ่มกลับมามองเห็นแสงสว่างอีกครั้ง ท่ามกลางคลื่นลมแห่งความผันผวนในปีแห่งความท้าทายนี้ 

 
ผู้เขียน: นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ
ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข
สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)


ข้อมูลอ้างอิง


1) EDB. 2022. CELEBRATED BLUE SAPPHIRES FROM SRI LANKA. [Online]. Available at: www.srilankabusiness.com. (Retrieved January 9,2023).
2) Astteria. 2022. What is a Ceylon Sapphire: Everything You Need To Know. [Online]. Available at: https://www.astteria.com/blog/what-is-a-ceylon-sapphire-everything-you-need-to-know/. (Retrieved January 9,2023).
3) Statista. 2023. Jewelry - Sri Lanka. [Online]. Available at: https://www.statista.com. (Retrieved January 12,2023).
4) Salary Explorer. 2022. Average Salary in Sri Lanka 2023. [Online]. Available at: http://www.salaryexplorer.com. (Retrieved January 25,2023).
5) Sri Lanka KEY INDICATORS. 2023. Sri Lanka KEY INDICATORS. [Online]. Available at: https://www.population-trends-asiapacific.org/data/LKA?op=print. (Retrieved January 25,2023).
6) The Natural Sapphire Company. 2023. The World’s Largest Sapphires. [Online]. Available at: https://www.thenaturalsapphirecompany.com. (Retrieved January 25,2023).
7) Statista. 2023. Sri Lanka: National debt from 2012 to 2022. [Online]. Available at: https://www.statista.com/. (Retrieved January 25,2023).
8) Capital.com. Sri Lanka inflation rate. [Online]. Available at: https://capital.com/sri-lanka-inflation-rate. (Retrieved January 25,2023).
9) Daily News. 2023. FACETS end with over 5,000 visitors, USD 10 Mn orders, sales. [Online]. Available at: https://www.dailynews.lk. (Retrieved February 3,2023).
10) Shafa Reyaz. 2022. World's Largest Blue Sapphire Cluster Discovered In Sri Lanka Enters Guinness Book. [Online]. Available at: https://www.indiatimes.com. (Retrieved February 3,2023).
11) NGJA. 2023. Gemstone Mining Areas. [Online]. Available at: https://ngja.gov.lk/gems/gemstone-mining-industry. (Retrieved February 6,2023).
12) Colombo Page. 2023. Sri Lanka International Gem and Jewellery show, FACETS 2023 opens. [Online]. Available at: http://www.colombopage.com. (Retrieved February 8,2023).

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site