ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เมื่อ AI รุกคืบสู่แวดวงการตรวจสอบอัญมณี

Apr 7, 2020
1526 views
0 share

            การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคดิจิทัลล้วนแล้วแต่เคยผ่านการใช้งาน “ปัญญาประดิษฐ์” (AI : Artificial Intelligence) กันมาแล้วทั้งสิ้นทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น ระบบแนะนำเพลงหรือภาพยนตร์ในแอปพลิเคชันชั้นนำ ระบบการบินอัตโนมัติในเครื่องบิน  เป็นต้น สำหรับในแวดวงธุรกิจได้มีการใช้งาน AI ในหลายๆ กระบวนการเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            แต่ในขณะเดียวกันการเข้ามาของ AI คือการปฏิวัติทางเทคโนโลยีล่าสุดที่จะทำการกลืนกินธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวได้ตามยุคสมัย และจะสั่นคลอนความมั่นคงในหน้าที่การงานของผู้คนโดยเฉพาะงานที่มีลักษณะ  การคิดแบบซ้ำๆ ลงมือทำแบบเดิมๆ ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่โดย AI


ความเสี่ยงตามประเภทงานที่จะถูกแทนที่โดย AI (%)

ที่มา: องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

            คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ เทคโนโลยีที่ใช้ AI จะมีผลกระทบอย่างไรต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวม ในปัจจุบันผลกระทบทั้งหมดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่การเรียนรู้ของเครื่องจักรกำลังมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการตรวจสอบอัญมณี

AI ทำงานอย่างไร

            กระบวนการทำงานของ AI เป็นไปอย่างชาญฉลาดโดย AI จะประกอบด้วย 2 กระบวนการสำคัญนั่นก็คือ Machine Learning (ML) และ Deep Learning (DL) ซึ่ง ML เป็นกระบวนการเรียนรู้อัตโนมัติโดยอาศัยข้อมูลในการเรียนรู้ ยิ่งข้อมูลมีมากเท่าไหร่ก็จะแสดงความสามารถในกระบวนการถัดไปได้มากเท่านั้น เพราะ DL เป็นกระบวนการวิเคราะห์แยกแยะอย่างละเอียดโดยใช้ผลลัพธ์ของ ML

            ยกตัวอย่างการทำงานของ ML และ DL สมมติโจทย์คือ ค้นหาภาพพลอยแซปไฟร์สีคอร์นฟลาวเวอร์บลู จากภาพพลอยทุกชนิดทุกสีทั้งหมด 100,000 ภาพ โดยระบบ ML จะทำการเรียนรู้ภาพพลอยทั้งหมดเพื่อทราบว่าแซปไฟร์มีลักษณะสีอะไร และคุณลักษณะสีคอร์นฟลาวเวอร์บลูเป็นอย่างไร และจะส่งผลลัพธ์ถัดไปยังระบบ DL เพื่อวิเคราะห์แยกแยะอย่างละเอียดว่าภาพไหนคือแซปไฟร์ และภาพแซปไฟร์ไหนคือสีคอร์นฟลาวเวอร์บลู ทั้งนี้ ความแม่นยำจะขึ้นอยู่กับจำนวนข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าในกระบวนการ ML




AI กับการตรวจสอบอัญมณี

            การตรวจสอบ
อัญมณีเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนยุ่งยาก มีข้อจำกัดในเรื่องของสายตา ความสามารถในการตัดสินใจ รวมถึงอารมณ์ของผู้ตรวจสอบ จึงเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมคุณภาพมาตรฐานและความแม่นยำในผลการตรวจสอบนั้น

            ปัจจุบัน AI ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในแวดวงการตรวจสอบ
อัญมณีเนื่องด้วย AI จะช่วยลบข้อจำกัดในเรื่องปัญหาสายตาและการรับรู้ของมนุษย์ ขณะเดียวกัน การตรวจสอบอัญมณีด้วย AI เชื่อว่ามีความแม่นยำสูงโดยประสิทธิภาพของ AI จะขึ้นอยู่กับจำนวนข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าในกระบวนการ ML และยิ่งมีจำนวนครั้งของการตรวจสอบมากเท่าไหร่ AI ยิ่งมีความฉลาดและแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น เพราะการเรียนรู้ของ AI ประกอบด้วยข้อมูลที่ถูกป้อนและจำนวนครั้งเพื่อทำให้อัลกอริทึมวิวัฒนาการจนสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ ปัจจุบันผู้บริโภคกลุ่ม Millennials และ Generation Z มีแนวโน้มสนับสนุนกระบวนการทางเทคโนโลยีที่เป็นกลาง การใช้ AI ช่วยในการตรวจสอบถือว่าสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ ผู้ค้า ผู้บริโภค กลุ่มนี้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ ปัจจุบัน GIA ได้มีการใช้เครื่อง Crypto Anchor ของ IBM ในการตรวจสอบอัญมณีภายใต้หลักการ 4Cs และบริษัท Sarine Technologies Ltd. ได้พัฒนาเครื่อง Sarine Clarity ซึ่งใช้ในการจัดระดับคุณภาพความสะอาดของเพชรโดยอาศัยเทคโนโลยี AI


เครื่อง Sarine Clarity ใช้ในการจัดระดับคุณภาพความสะอาดของเพชรโดยอาศัยเทคโนโลยี AI
ที่มา: Diamonds.net
 
 
ผลกระทบต่อนักอัญมณีศาสตร์

            มีการถกเถียงกันในวงการตรวจสอบ
อัญมณีเกี่ยวกับอนาคตของนักอัญมณีศาสตร์ บางกลุ่มเชื่อว่ากระบวนการตรวจสอบอัญมณีจะกลายเป็นระบบอัตโนมัติโดยสมบูรณ์เมื่อเทคโนโลยีวิวัฒนาการ ขณะที่หน่วยงานอย่าง GIA คาดว่านักอัญมณีศาสตร์ยังคงมีความจำเป็นในการยืนยันผลการตรวจสอบของ AI

            เมื่อไม่นานมานี้ GIA ได้ลงทุนใน AI แม้ว่าเป้าหมายคือการปรับปรุงประสิทธิภาพมากกว่าแทนที่นัก
อัญมณีศาสตร์ที่มีอยู่ โดย Tom Moses รองประธานบริหารและหัวหน้าฝ่ายวิจัยและห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีของ GIA เห็นว่าการก้าวไปสู่ระบบอัตโนมัติเพื่อการตรวจสอบอัญมณีมีมากขึ้นในปัจจุบัน ด้วยปัจจัยด้วยราคาและประสิทธิภาพที่ตอบโจทย์ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แต่เขาไม่คิดว่าจะไปถึงจุดที่การตรวจสอบอัญมณีจะกลายเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมดโดยไม่ต้องอาศัยนักอัญมณีศาสตร์เลย

            ด้านนายทนง ลีลาวัฒนสุข รองผู้อำนวยการ (เทคนิค) สถาบันวิจัยและพัฒนา
อัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT มีความเห็นต่อประเด็นนี้ว่า ในแวดวงการตรวจสอบอัญมณีคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเข้ามาของ AI ไปได้ ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานในต่างประเทศได้นำ AI มาใช้บ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในการตรวจสอบอัญมณีจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจำนวนมากและหลากหลายทั้งด้านกายภาพ เช่น สี ความสะอาด การเจียระไน มาประกอบกับเทคนิควิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อสรุปผล ซึ่งผลสรุปที่ได้จำเป็นต้องใช้นักอัญมณีศาสตร์ช่วยในการยืนยันผลอีกครั้ง ดังนั้น จึงเชื่อว่า AI จะมาเป็น “ตัวช่วย” มากกว่าจะเข้ามาแทนที่ การเข้ามาของ AI อาจส่งผลให้นักอัญมณีศาสตร์บางตำแหน่งลดความสำคัญลง แต่น่าจะใช้เวลาอีกอย่างน้อย 5 ปีกว่า AI จะเข้ามาในวงการตรวจสอบอัญมณีได้จริง

            ยกตัวอย่างการตรวจสอบจัดระดับคุณภาพเพชรของห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้นัก
อัญมณีศาสตร์จำนวนมาก เพราะแต่ละคนจะมีหน้าที่ตรวจสอบคนละ 1C จาก 4Cs (Carat, Color, Clarity, Cut) จึงจำเป็นต้องใช้ 4 คน ในการตรวจสอบเพชร 1 เม็ด แต่หาก AI เข้ามาก็ตรวจสอบคุณภาพได้ จะลดความจำเป็นในการใช้คนตรวจสอบจำนวนมาก เพียงต้องการคนตรวจทานยืนยันผลเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ความสำคัญของนักอัญมณีมณีศาตร์จึงอาจลดลง

            “ไม่ว่าจะในแวดวงใดก็ตามการปรับตัวให้ทันกระแสโลกเป็นสิ่งสำคัญ แนวโน้มในอนาคตแรงงานจะต้องหมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องเป็นผู้ที่ทำงานได้หลายอย่างแบบ Multitasking โดยศึกษาหาความรู้ที่หลากหลายโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง” นายทนงกล่าวทิ้งท้าย
  



 


ข้อมูลอ้างอิง


1)   Diamond Manufacturers Must Brace for Automation. Retrieved January 22, 2020 from https://www.diamonds.net/News/NewsItem.aspx?ArticleID=64310&ArticleTitle=Diamond+Manufacturers+Must+Brace+for+Automation2)    How Artificial Intelligence Leads to Smarter Diamond Grading. Retrieved January 22, 2020 from https://blog.sarine.com/general/artificial-intelligence-diamonds3)   AI And Augmented Reality Are Changing The Diamond Industry In Amazing Ways. January 22, 2020 from https://www.windowswear.com/ai-and-augmented-reality-are-changing-the-diamond-industry-in-amazing-ways-knowtechie/

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เมื่อ AI รุกคืบสู่แวดวงการตรวจสอบอัญมณี

Apr 7, 2020
1526 views
0 share

            การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคดิจิทัลล้วนแล้วแต่เคยผ่านการใช้งาน “ปัญญาประดิษฐ์” (AI : Artificial Intelligence) กันมาแล้วทั้งสิ้นทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เช่น ระบบแนะนำเพลงหรือภาพยนตร์ในแอปพลิเคชันชั้นนำ ระบบการบินอัตโนมัติในเครื่องบิน  เป็นต้น สำหรับในแวดวงธุรกิจได้มีการใช้งาน AI ในหลายๆ กระบวนการเพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            แต่ในขณะเดียวกันการเข้ามาของ AI คือการปฏิวัติทางเทคโนโลยีล่าสุดที่จะทำการกลืนกินธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวได้ตามยุคสมัย และจะสั่นคลอนความมั่นคงในหน้าที่การงานของผู้คนโดยเฉพาะงานที่มีลักษณะ  การคิดแบบซ้ำๆ ลงมือทำแบบเดิมๆ ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะถูกแทนที่โดย AI


ความเสี่ยงตามประเภทงานที่จะถูกแทนที่โดย AI (%)

ที่มา: องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD)

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

            คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ เทคโนโลยีที่ใช้ AI จะมีผลกระทบอย่างไรต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับโดยรวม ในปัจจุบันผลกระทบทั้งหมดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่การเรียนรู้ของเครื่องจักรกำลังมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการตรวจสอบอัญมณี

AI ทำงานอย่างไร

            กระบวนการทำงานของ AI เป็นไปอย่างชาญฉลาดโดย AI จะประกอบด้วย 2 กระบวนการสำคัญนั่นก็คือ Machine Learning (ML) และ Deep Learning (DL) ซึ่ง ML เป็นกระบวนการเรียนรู้อัตโนมัติโดยอาศัยข้อมูลในการเรียนรู้ ยิ่งข้อมูลมีมากเท่าไหร่ก็จะแสดงความสามารถในกระบวนการถัดไปได้มากเท่านั้น เพราะ DL เป็นกระบวนการวิเคราะห์แยกแยะอย่างละเอียดโดยใช้ผลลัพธ์ของ ML

            ยกตัวอย่างการทำงานของ ML และ DL สมมติโจทย์คือ ค้นหาภาพพลอยแซปไฟร์สีคอร์นฟลาวเวอร์บลู จากภาพพลอยทุกชนิดทุกสีทั้งหมด 100,000 ภาพ โดยระบบ ML จะทำการเรียนรู้ภาพพลอยทั้งหมดเพื่อทราบว่าแซปไฟร์มีลักษณะสีอะไร และคุณลักษณะสีคอร์นฟลาวเวอร์บลูเป็นอย่างไร และจะส่งผลลัพธ์ถัดไปยังระบบ DL เพื่อวิเคราะห์แยกแยะอย่างละเอียดว่าภาพไหนคือแซปไฟร์ และภาพแซปไฟร์ไหนคือสีคอร์นฟลาวเวอร์บลู ทั้งนี้ ความแม่นยำจะขึ้นอยู่กับจำนวนข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าในกระบวนการ ML




AI กับการตรวจสอบอัญมณี

            การตรวจสอบ
อัญมณีเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนยุ่งยาก มีข้อจำกัดในเรื่องของสายตา ความสามารถในการตัดสินใจ รวมถึงอารมณ์ของผู้ตรวจสอบ จึงเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมคุณภาพมาตรฐานและความแม่นยำในผลการตรวจสอบนั้น

            ปัจจุบัน AI ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในแวดวงการตรวจสอบ
อัญมณีเนื่องด้วย AI จะช่วยลบข้อจำกัดในเรื่องปัญหาสายตาและการรับรู้ของมนุษย์ ขณะเดียวกัน การตรวจสอบอัญมณีด้วย AI เชื่อว่ามีความแม่นยำสูงโดยประสิทธิภาพของ AI จะขึ้นอยู่กับจำนวนข้อมูลที่ถูกป้อนเข้าในกระบวนการ ML และยิ่งมีจำนวนครั้งของการตรวจสอบมากเท่าไหร่ AI ยิ่งมีความฉลาดและแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น เพราะการเรียนรู้ของ AI ประกอบด้วยข้อมูลที่ถูกป้อนและจำนวนครั้งเพื่อทำให้อัลกอริทึมวิวัฒนาการจนสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ ปัจจุบันผู้บริโภคกลุ่ม Millennials และ Generation Z มีแนวโน้มสนับสนุนกระบวนการทางเทคโนโลยีที่เป็นกลาง การใช้ AI ช่วยในการตรวจสอบถือว่าสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ ผู้ค้า ผู้บริโภค กลุ่มนี้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ ปัจจุบัน GIA ได้มีการใช้เครื่อง Crypto Anchor ของ IBM ในการตรวจสอบอัญมณีภายใต้หลักการ 4Cs และบริษัท Sarine Technologies Ltd. ได้พัฒนาเครื่อง Sarine Clarity ซึ่งใช้ในการจัดระดับคุณภาพความสะอาดของเพชรโดยอาศัยเทคโนโลยี AI


เครื่อง Sarine Clarity ใช้ในการจัดระดับคุณภาพความสะอาดของเพชรโดยอาศัยเทคโนโลยี AI
ที่มา: Diamonds.net
 
 
ผลกระทบต่อนักอัญมณีศาสตร์

            มีการถกเถียงกันในวงการตรวจสอบ
อัญมณีเกี่ยวกับอนาคตของนักอัญมณีศาสตร์ บางกลุ่มเชื่อว่ากระบวนการตรวจสอบอัญมณีจะกลายเป็นระบบอัตโนมัติโดยสมบูรณ์เมื่อเทคโนโลยีวิวัฒนาการ ขณะที่หน่วยงานอย่าง GIA คาดว่านักอัญมณีศาสตร์ยังคงมีความจำเป็นในการยืนยันผลการตรวจสอบของ AI

            เมื่อไม่นานมานี้ GIA ได้ลงทุนใน AI แม้ว่าเป้าหมายคือการปรับปรุงประสิทธิภาพมากกว่าแทนที่นัก
อัญมณีศาสตร์ที่มีอยู่ โดย Tom Moses รองประธานบริหารและหัวหน้าฝ่ายวิจัยและห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีของ GIA เห็นว่าการก้าวไปสู่ระบบอัตโนมัติเพื่อการตรวจสอบอัญมณีมีมากขึ้นในปัจจุบัน ด้วยปัจจัยด้วยราคาและประสิทธิภาพที่ตอบโจทย์ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค แต่เขาไม่คิดว่าจะไปถึงจุดที่การตรวจสอบอัญมณีจะกลายเป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมดโดยไม่ต้องอาศัยนักอัญมณีศาสตร์เลย

            ด้านนายทนง ลีลาวัฒนสุข รองผู้อำนวยการ (เทคนิค) สถาบันวิจัยและพัฒนา
อัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT มีความเห็นต่อประเด็นนี้ว่า ในแวดวงการตรวจสอบอัญมณีคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเข้ามาของ AI ไปได้ ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานในต่างประเทศได้นำ AI มาใช้บ้างแล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในการตรวจสอบอัญมณีจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจำนวนมากและหลากหลายทั้งด้านกายภาพ เช่น สี ความสะอาด การเจียระไน มาประกอบกับเทคนิควิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อสรุปผล ซึ่งผลสรุปที่ได้จำเป็นต้องใช้นักอัญมณีศาสตร์ช่วยในการยืนยันผลอีกครั้ง ดังนั้น จึงเชื่อว่า AI จะมาเป็น “ตัวช่วย” มากกว่าจะเข้ามาแทนที่ การเข้ามาของ AI อาจส่งผลให้นักอัญมณีศาสตร์บางตำแหน่งลดความสำคัญลง แต่น่าจะใช้เวลาอีกอย่างน้อย 5 ปีกว่า AI จะเข้ามาในวงการตรวจสอบอัญมณีได้จริง

            ยกตัวอย่างการตรวจสอบจัดระดับคุณภาพเพชรของห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่จำเป็นต้องใช้นัก
อัญมณีศาสตร์จำนวนมาก เพราะแต่ละคนจะมีหน้าที่ตรวจสอบคนละ 1C จาก 4Cs (Carat, Color, Clarity, Cut) จึงจำเป็นต้องใช้ 4 คน ในการตรวจสอบเพชร 1 เม็ด แต่หาก AI เข้ามาก็ตรวจสอบคุณภาพได้ จะลดความจำเป็นในการใช้คนตรวจสอบจำนวนมาก เพียงต้องการคนตรวจทานยืนยันผลเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ความสำคัญของนักอัญมณีมณีศาตร์จึงอาจลดลง

            “ไม่ว่าจะในแวดวงใดก็ตามการปรับตัวให้ทันกระแสโลกเป็นสิ่งสำคัญ แนวโน้มในอนาคตแรงงานจะต้องหมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องเป็นผู้ที่ทำงานได้หลายอย่างแบบ Multitasking โดยศึกษาหาความรู้ที่หลากหลายโดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่กำลังจะเปลี่ยนแปลง” นายทนงกล่าวทิ้งท้าย
  



 


ข้อมูลอ้างอิง


1)   Diamond Manufacturers Must Brace for Automation. Retrieved January 22, 2020 from https://www.diamonds.net/News/NewsItem.aspx?ArticleID=64310&ArticleTitle=Diamond+Manufacturers+Must+Brace+for+Automation2)    How Artificial Intelligence Leads to Smarter Diamond Grading. Retrieved January 22, 2020 from https://blog.sarine.com/general/artificial-intelligence-diamonds3)   AI And Augmented Reality Are Changing The Diamond Industry In Amazing Ways. January 22, 2020 from https://www.windowswear.com/ai-and-augmented-reality-are-changing-the-diamond-industry-in-amazing-ways-knowtechie/

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site