ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เข็มทิศของชาวไวกิ้ง

Jun 12, 2020
1060 views
0 share

            อัญมณีสี Classic Blue ตามเทรนด์โทนสีแห่งปี 2020 ของ Pantone ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วยอัญมณีที่รู้จักกันแพร่หลายอย่าง ไพลิน ลาพิส ลาซูลี และ แทนซาไนท์ แล้ว ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอัญมณีโทนสีน้ำเงินอีกชนิดหนึ่งซึ่งชื่อไม่ค่อยเป็นที่คุ้นหูนัก อัญมณีนี้มีนามว่า ‘ไอโอไลท์’ (Iolite)

 
ก้อนไอโอไลท์และไอโอไลท์เจียระไน
ภาพจาก: GIA
 
 
 
ทำความรู้จักไอโอไลท์

            ‘ไอโอไลท์’ (Iolite) คือชื่อทางการค้าของ
อัญมณีชนิดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อในทางแร่วิทยาว่า ‘คอร์เดียไรท์’ (Cordierite) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ Pierre Cordier นักธรณีวิทยาชาวฝรั่งเศส อัญมณีสีน้ำเงิน หรือน้ำเงินอมม่วงชนิดนี้มีค่าความแข็งราว 7-7.5 ตามโมห์สเกล (เท่ากับอัญมณีในตระกูลควอตซ์ เช่น แอเมทิสต์) ชื่อของมันมาจากคำในภาษากรีกว่า “Ios” แปลว่าสีม่วง ความน่าสนใจของไอโอไลท์อยู่ที่ปรากฏการณ์ “สีแฝด” (Pleochroism) อันเด่นชัด คุณสมบัติเฉพาะตัวนี้ทำให้เราสามารถมองเห็นสีที่แตกต่างกันในอัญมณีชิ้นเดียวกันนี้เพียงแค่เราเปลี่ยนตำแหน่งการมอง

            สำหรับแหล่งที่สามารถพบไอโอไลท์นั้น ได้แก่ ศรีลังกา เมียนมา อินเดีย แทนซาเนีย โมซัมบิก มาดากัสการ์ บราซิล เป็นต้น

เข็มทิศของชาวไวกิ้ง



จี้ไอโอไลท์ทรงหยดน้ำ
ภาพจาก: Pinterest


            ไอโอไลท์ ได้ชื่อว่าเป็น “เข็มทิศของชาวไวกิ้ง” เนื่องจากในอดีตมันเป็นอัญมณีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการเดินเรือของชาวไวกิ้ง เมื่อ Lief Erikson และนักเดินเรือชาวไวกิ้งกลุ่มหนึ่งได้ออกเดินทางในไปในมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อสำรวจโลกใหม่ พวกเขาได้นำไอโอไลท์มาใช้ประโยชน์ในการเดินทางครั้งนั้น ด้วยการมองทะลุผ่านไอโอไลท์แผ่นบางๆ เพื่อค้นหาตำแหน่งของดวงอาทิตย์โดยเฉพาะในวันที่ท้องฟ้ามืดครึ้มปกคลุมไปด้วยเมฆ ซึ่งวิธีนี้ช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งที่อยู่ของพวกเขาในมหาสมุทรอันเวิ้งว้างกว้างใหญ่ได้ นอกจากนี้ เหล่านักเดินเรือยังนิยมนำไอโอไลท์มาทำเป็นเครื่องรางเพื่อคุ้มครองและช่วยให้สามารถเดินทางไปกลับได้อย่างปลอดภัย

ไอโอไลท์กับความเชื่อ

            เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้วที่ผู้คนเชื่อกันว่า ไอโอไลท์ เป็น
อัญมณีซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข ความสนุกสนาน อีกทั้งยังเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรคและอาการเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ เช่น อาการไข้และปวดศีรษะ โรคที่เกี่ยวกับสายตาและการมองเห็น ช่วยฟื้นฟูการทำงานของตับ บรรเทาปัญหาการนอนไม่หลับ ปรับสมดุลของสภาพร่างกายและอารมณ์ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้สวมใส่


แหวนไอโอไลท์บนตัวเรือนทองคำ 18 กะรัต
เครื่องประดับโดย: Bvlgari


ต่างหูไอโอไลท์ประดับด้วยแซปไฟร์สีชมพู
และเพชร บนตัวเรือนทองขาว
เครื่องประดับโดย: Cellini

 
 
            นอกจากนี้ ไอโอไลท์ยังถูกยกให้เป็น
อัญมณีที่ช่วยปลดปล่อยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ และเป็นสัญลักษณ์และของขวัญที่คู่แต่งงานเลือกที่จะมอบให้กันในโอกาสครบรอบการแต่งงานปีที่ 21 อีกด้วย     
  

ข้อมูลอ้างอิง


1. Crystal Vaults. Iolite Meanings & Uses. Retrieved 27 January 2020 from https://www.crystalvaults.com/crystal-encyclopedia/iolite
2. GIA. Iolite Description. Retrieved 27 January 2020 from https://www.gia.edu/iolite-description
3. Jeweller. (1 September 2016). Iolite: The Viking Compass. Retrieved 27 January 2020 from https://www.jewellermagazine.com/Article/446/Iolite-The-Viking-Compass

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เข็มทิศของชาวไวกิ้ง

Jun 12, 2020
1060 views
0 share

            อัญมณีสี Classic Blue ตามเทรนด์โทนสีแห่งปี 2020 ของ Pantone ซึ่งนอกจากจะประกอบด้วยอัญมณีที่รู้จักกันแพร่หลายอย่าง ไพลิน ลาพิส ลาซูลี และ แทนซาไนท์ แล้ว ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอัญมณีโทนสีน้ำเงินอีกชนิดหนึ่งซึ่งชื่อไม่ค่อยเป็นที่คุ้นหูนัก อัญมณีนี้มีนามว่า ‘ไอโอไลท์’ (Iolite)

 
ก้อนไอโอไลท์และไอโอไลท์เจียระไน
ภาพจาก: GIA
 
 
 
ทำความรู้จักไอโอไลท์

            ‘ไอโอไลท์’ (Iolite) คือชื่อทางการค้าของ
อัญมณีชนิดหนึ่ง ซึ่งมีชื่อในทางแร่วิทยาว่า ‘คอร์เดียไรท์’ (Cordierite) เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ Pierre Cordier นักธรณีวิทยาชาวฝรั่งเศส อัญมณีสีน้ำเงิน หรือน้ำเงินอมม่วงชนิดนี้มีค่าความแข็งราว 7-7.5 ตามโมห์สเกล (เท่ากับอัญมณีในตระกูลควอตซ์ เช่น แอเมทิสต์) ชื่อของมันมาจากคำในภาษากรีกว่า “Ios” แปลว่าสีม่วง ความน่าสนใจของไอโอไลท์อยู่ที่ปรากฏการณ์ “สีแฝด” (Pleochroism) อันเด่นชัด คุณสมบัติเฉพาะตัวนี้ทำให้เราสามารถมองเห็นสีที่แตกต่างกันในอัญมณีชิ้นเดียวกันนี้เพียงแค่เราเปลี่ยนตำแหน่งการมอง

            สำหรับแหล่งที่สามารถพบไอโอไลท์นั้น ได้แก่ ศรีลังกา เมียนมา อินเดีย แทนซาเนีย โมซัมบิก มาดากัสการ์ บราซิล เป็นต้น

เข็มทิศของชาวไวกิ้ง



จี้ไอโอไลท์ทรงหยดน้ำ
ภาพจาก: Pinterest


            ไอโอไลท์ ได้ชื่อว่าเป็น “เข็มทิศของชาวไวกิ้ง” เนื่องจากในอดีตมันเป็นอัญมณีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการเดินเรือของชาวไวกิ้ง เมื่อ Lief Erikson และนักเดินเรือชาวไวกิ้งกลุ่มหนึ่งได้ออกเดินทางในไปในมหาสมุทรแอตแลนติกเพื่อสำรวจโลกใหม่ พวกเขาได้นำไอโอไลท์มาใช้ประโยชน์ในการเดินทางครั้งนั้น ด้วยการมองทะลุผ่านไอโอไลท์แผ่นบางๆ เพื่อค้นหาตำแหน่งของดวงอาทิตย์โดยเฉพาะในวันที่ท้องฟ้ามืดครึ้มปกคลุมไปด้วยเมฆ ซึ่งวิธีนี้ช่วยให้สามารถระบุตำแหน่งที่อยู่ของพวกเขาในมหาสมุทรอันเวิ้งว้างกว้างใหญ่ได้ นอกจากนี้ เหล่านักเดินเรือยังนิยมนำไอโอไลท์มาทำเป็นเครื่องรางเพื่อคุ้มครองและช่วยให้สามารถเดินทางไปกลับได้อย่างปลอดภัย

ไอโอไลท์กับความเชื่อ

            เป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้วที่ผู้คนเชื่อกันว่า ไอโอไลท์ เป็น
อัญมณีซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความสุข ความสนุกสนาน อีกทั้งยังเชื่อกันว่ามีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรคและอาการเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ เช่น อาการไข้และปวดศีรษะ โรคที่เกี่ยวกับสายตาและการมองเห็น ช่วยฟื้นฟูการทำงานของตับ บรรเทาปัญหาการนอนไม่หลับ ปรับสมดุลของสภาพร่างกายและอารมณ์ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้สวมใส่


แหวนไอโอไลท์บนตัวเรือนทองคำ 18 กะรัต
เครื่องประดับโดย: Bvlgari


ต่างหูไอโอไลท์ประดับด้วยแซปไฟร์สีชมพู
และเพชร บนตัวเรือนทองขาว
เครื่องประดับโดย: Cellini

 
 
            นอกจากนี้ ไอโอไลท์ยังถูกยกให้เป็น
อัญมณีที่ช่วยปลดปล่อยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ และเป็นสัญลักษณ์และของขวัญที่คู่แต่งงานเลือกที่จะมอบให้กันในโอกาสครบรอบการแต่งงานปีที่ 21 อีกด้วย     
  

ข้อมูลอ้างอิง


1. Crystal Vaults. Iolite Meanings & Uses. Retrieved 27 January 2020 from https://www.crystalvaults.com/crystal-encyclopedia/iolite
2. GIA. Iolite Description. Retrieved 27 January 2020 from https://www.gia.edu/iolite-description
3. Jeweller. (1 September 2016). Iolite: The Viking Compass. Retrieved 27 January 2020 from https://www.jewellermagazine.com/Article/446/Iolite-The-Viking-Compass

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site