จับประเด็นข่าวเด่น

ความต้องการบริโภคเครื่องประดับทองในจีนเพิ่มขึ้นจากผู้ซื้อกลุ่มมิลเลนเนียล

จีนถือเป็นผู้บริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ จากรายงานของ The China Gold Association พบว่าในภาพรวมผู้บริโภคชาวจีนมีความต้องการบริโภคทองคำแท่ง และเครื่องประดับในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2017 ในปริมาณ 815.9 ตัน เพิ่มขึ้น 16% โดยกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennials) ถือเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนความต้องการบริโภคทองคำ และเครื่องประดับในประเทศจีน

Cartier คว่ำบาตรการซื้ออัญมณีจากเมียนมา

บริษัท Richmont ผู้จัดซื้ออัญมณีให้แก่ Cartier ยุติการซื้ออัญมณีทั้งทับทิม แซปไฟร์ และหยกที่ผลิตจากเหมืองอัญมณีในเมียนมาเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อคว่ำบาตรการค้าอัญมณีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide Gems) จากเมียนมา จากรัฐบาลเมียนมาได้ใช้ความรุนแรงปราบปรามชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญา ทั้งนี้ Cartier ได้รับแรงกดดันจากผู้บริโภคกว่า 70,000 คน ที่รณรงค์แคมเปญระดับนานาชาติเพื่อชาวโรฮิงญา

Hallmark สำหรับการส่งออกเครื่องประดับทองไปยังตลาดโลกของประเทศอินเดีย

นอกจากการประทับตรารับรองค่าความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่า (Hallmark) ลงบนเครื่องประดับทองเพื่อการบริโภคในประเทศอินเดียแล้ว หลังจากเดือนมกราคม 2018 ผู้ส่งออกเครื่องประดับทอง 14K 18K และ 22K ของอินเดียจะต้องประทับเครื่องหมาย Hallmark ลงบนเครื่องประดับเพื่อการส่งออกด้วย โดยตลาดส่งออกเครื่องประดับทองหลักของอินเดีย ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหรัฐอเมริกา อิหร่านและตุรกี

ความต้องการทองคำของอินเดียลดลง 25%

ปัจจุบันความต้องการทองคำของชาวอินเดียลดลง 25% เมื่อเทียบกับปี 2559 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากรัฐบาลอินเดียประกาศนโยบายยกเลิกธนบัตร (Demonetization) ใบละ 500 รูปี และ 1,000 รูปี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา อีกทั้งนโยบายการเรียกเก็บภาษีสินค้าและบริการ (GST) สำหรับทองคำและเครื่องประดับทอง ในอัตรา 3% ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2560 ก็เป็นอีกปัจจัยกดดันความต้องการทองคำและเครื่องประดับทองของชาวอินเดียให้ลดลงด้วย

เมียนมาเรียกเก็บภาษีการค้าจากทองคำและเครื่องประดับทอง

รัฐบาลเมียนมาประกาศปรับปรุงระบบจัดเก็บภาษีการค้า (Commercial Tax) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยเรียกเก็บจากเครื่องประดับทองในอัตรา 3% (ลดลงจากอัตรา 5%) และกำหนดว่าผู้ประกอบการต้องรวมเอาภาษีดังกล่าวแสดงลงในใบกำกับภาษีซึ่งจะต้องมีการประทับตราอากรแสตมป์ลงในเอกสารให้แก่ผู้ซื้อด้วย รวมทั้งผู้ประกอบการจะต้องนำส่งภาษีและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้าทั้งหมดต่อทางภาครัฐ

อินเดียเรียกเก็บภาษี GST ทองคำและเครื่องประดับทอง

การปฏิรูปภาษีในอินเดียได้เปลี่ยนแปลงแนวทางการซื้อขายและการเรียกเก็บเงินในร้านทองและร้านเครื่องประดับชั้นนำทั่วประเทศ โดยการเรียกเก็บภาษีสินค้าและบริการ (GST) ของอินเดีย ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นการใช้ระบบเดียวครอบคลุมทั้งหมดแทนการเก็บภาษีระดับประเทศและระดับท้องถิ่นที่มีความซับซ้อน

เปิดมุมมองช่างเงินบ้านกาดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ความร่วมสมัย

ประเทศไทยถือเป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่มีฐานการผลิตกระจายอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัด แต่สำหรับการผลิตเครื่องประดับเงินของตำบลแม่วาง อำเภอบ้านกาด จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าชิ้นงานมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์และมีความโดดเด่นแตกต่างไปจากพื้นที่อื่นถือเป็นสินค้าหัตถศิลป์ที่ควรค่าแก่การส่งเสริม ในครั้งนี้ GIT ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณอัญชลี อุปนันท์ ครูช่างเงินแห่งบ้านกาด และ คุณอังคาร อุปนันท์ ทายาทช่างเงินผู้สืบสานภูมิปัญญาสู่ความร่วมสมัยและเป็นสากล

ผลกระทบจากการปรับใช้ GST ต่อภาคการค้าอัญมณีและเครื่องประดับอินเดีย

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทางรัฐบาลอินเดียได้ปฏิรูประบบภาษีครั้งใหญ่เท่าที่เคยมีมาภายในประเทศ โดยได้ประกาศใช้กฎหมายภาษีฉบับใหม่ คือ ระบบภาษีสินค้าและบริการ หรือที่เรียกว่าระบบ GST ขึ้นแทนการใช้ระบบภาษีอื่นๆ ที่เคยปฏิบัติมา มุ่งหวังให้เกิดแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการใช้ระบบ GST จะมีส่วนช่วยในการลดต้นทุนการผลิตให้กับภาคอุตสาหกรรม และลดการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน

วิกฤติการณ์ในกาตาร์กับการส่งออกสินค้าเครื่องประดับไทย

จากการที่กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council หรือ GCC) ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โอมาน บาห์เรน คูเวต และกาตาร์ รวมถึงประเทศพันธมิตรใกล้เคียง อาทิ อียิปต์ ลิเบียและเยเมน ได้มีการหยิบยกประเด็นกล่าวอ้างว่ากาตาร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเป็นผู้สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย และประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์

สถานการณ์การค้าทองรูปพรรณไทยหลังการเปิดเสรีทางการค้า

ด้วยความนิยมทองรูปพรรณของคนไทยที่มีมาแต่อดีตจวบจนปัจจุบันเพื่อสวมใส่และเป็นการสะสมความมั่งคั่ง โดยเฉพาะทองตู้แดงที่มีค่าความบริสุทธิ์ของเนื้อทอง 96.5% (23.16K) แม้ว่าคนยุคใหม่ที่มีฐานะทางการเงินจะเปลี่ยนพฤติกรรมจากการซื้อทองรูปพรรณมาเป็นการสะสมทองคำแท่ง เพื่อการออมเงินและเป็นการเก็งกำไรแทน แต่สำหรับผู้บริโภครุ่นเดิมหรือในต่างจังหวัดนั้นยังคงซื้อทองรูปพรรณสะสมแทนการถือเงินสด เพื่อความคล่องตัวในการซื้อขาย

จับตาการประชุมเจรจาเพื่อจัดทำ FTA ระหว่างไทยกับปากีสถาน

การประชุมเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-ปากีสถาน หรือ FTA มีความคืบหน้าไปอีกขั้น จากการประชุมล่าสุดครั้งที่ 7 โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า รูปแบบการลดภาษี (modality) และกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า รวมถึงการเร่งหาข้อสรุปรายการสินค้าที่ต้องการให้มีการเปิดตลาดระหว่างกัน ซึ่งตั้งเป้าสรุปผลให้ได้ภายในปีนี้

การเลือกตั้งของฝรั่งเศส: นัยยะต่อการค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย

ผลการเลือกตั้งฝรั่งเศสรอบชี้ขาดอย่างเป็นทางการประกาศออกมาแล้วว่านายเอ็มมานูเอล มาครง ผู้สมัครฝ่ายเสรีนิยมสายกลางเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง แม้ว่าจำนวนผู้ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งนี้จะต่ำที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษก็ตาม โดยผลการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการลดโอกาสที่ฝรั่งเศสจะออกจากการเป็นสมาชิกของกลุ่มสหภาพยุโรป (Frexit) ทำให้บรรยากาสการค้าโลกผ่อนคลายยิ่งขึ้น

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site