บทวิเคราะห์การนำเข้าส่งออกอัญมณีไทย
บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2559
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยเติบโตได้ 29.60% ขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลง 12.90% โดยทองคำเป็นสินค้าหลักทั้งในด้านการส่งออกและนำเข้า แต่หากไม่รวมทองคำฯ จะพบว่าลดลง 3.03% จากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา ได้ลดลง
บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2558
ไทยส่งออกปี 2558 เพิ่มขึ้น 9.27% ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 4.38% โดยทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูปเป็นสินค้าหลักทั้งในการส่งออกและการนำเข้า แต่หากไม่รวมทองคำฯ พบว่า การส่งออกลดลง 1.31% เนื่องจากสินค้าหลักทั้งเครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน พลอยสี เติบโตได้ดี
บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2557
ในปี 2557 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับลดลง 0.24% ขณะที่มูลค่านำเข้าลดลง 48.55% แต่หากไม่รวมทองคำฯ พบว่า การส่งออกขยายตัว 6.89% จากการส่งออกเครื่องประดับแท้ เพชรเจียระไน พลอยสี ที่ต่างขยายตัวได้ดี
บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2556
ในปี 2556 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับลดลง 23.30% ขณะที่มูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้น 9.30% แต่หากไม่รวมทองคำฯ พบว่า การส่งออกเติบโต 4.64% โดยเครื่องประดับเงิน เพชรเจียระไน พลอยสี มีมูลค่าเติบโตสูง ส่วนตลาดที่ขยายตัวดีคือ ฮ่องกง และตะวันออกกลาง
บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ปี 2555
ในปี 2555 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น 6.88% (13,147.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่หากไม่รวมทองคำฯ พบว่า การส่งออกที่แท้จริงเพิ่มขึ้น 1.66% (6,509.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยตลาดที่เติบโตได้ คือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ตะวันออกกลาง และอาเซียน
บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ปี 2554
ในปี 2554 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น 5.57% (11,652.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่หากไม่รวมทองคำฯ พบว่า การส่งออกที่แท้จริงเพิ่มขึ้น 24.15% (6,403.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยเครื่องประดับแท้ เพชร และพลอยสี เติบโตได้ดี และไทยยังส่งอออกไปยังทุกตลาดสำคัญได้เพิ่มสูงขึ้น
บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ปี 2553
ในปี 2553 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับสูงขึ้น 19.37% (11,652.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่หากไม่รวมทองคำฯ พบว่า การส่งออกที่แท้จริงเพิ่มขึ้น 26% (5,158.24 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จากการส่งออกไปยังทุกตลาดสำคัญในแต่ละภูมิภาคได้เพิ่มขึ้น
บทวิเคราะห์ภาวะการนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2552
ในปี 2552 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น 18.03% (9,761.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในปีนี้ไทยได้ดุลถึง 3,762.91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าฟื้นตัวและไทยได้ต่อสิทธิ GSP
บทวิเคราะห์ภาวะการนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2551
ในปี 2551 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น 53.69% (8,270.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) นำเข้าเป็นมูลค่า 9,359.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 121.61%โดยไทยส่งออกสินค้าสำคัญอย่างเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน และพลอยสีได้เพิ่มขึ้นในหลายตลาดสำคัญ
บทวิเคราะห์ภาวะการนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2550
ในปี 2550 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับด้วยมูลค่า 9,605.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 49.25% จาการส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ไทยนำเข้าด้วยมูลค่า 4,223.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.71%
บทวิเคราะห์ภาวะการนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2549
ในปี 2549 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับด้วยมูลค่า 7,601.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4 % จากการส่งออกสินค้าสำคัญทุกรายการได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ไทยนำเข้าด้วยมูลค่า 3,995.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2.09%
บทวิเคราะห์ภาวะการนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2548
ในปี 2548 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับด้วยมูลค่า 7,308.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 31.06% จากการส่งออกสินค้าสำคัญทุกรายการได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ไทยนำเข้าด้วยมูลค่า 4,080.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 38.52%