บทวิเคราะห์การนำเข้าส่งออกอัญมณีไทย
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐเดือนมกราคม-ตุลาคม ปี 2563 เติบโตร้อยละ 20.81 ทั้งนี้ หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 43.69 ประเด็นเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบสอง การดำเนินนโยบายทางการค้าของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ และเงินบาทแข็งค่า ส่วนปัจจัยบวก คือ มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลก การซื้อสินค้าออนไลน์ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำให้การส่งออกสินค้าไทยมีโอกาสขยายตัว
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนกันยายน 63 เติบโตสูงเกือบ 19% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สินค้าที่กลับมาเติบโตเป็นบวก ได้แก่ เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ส่วนภาพรวมยอดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับสะสมระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายน 2563 ติดลบ 46.45% จากยอดส่งออกสะสม 2 ไตรมาสแรกที่หดตัวลงมาก อย่างไรก็ดี การส่งออกในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากหลายประเทศคู่ค้าออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและข่าวความสำเร็จของผลการทดลองวัคซีนโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะได้ใช้ในปีหน้า
ส่งออกของไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำลดลง 43.99% หรือมีมูลค่า 2,935 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการไปยังประเทศคู่ค้าได้ลดลง ส่วนตลาดส่งออกสำคัญของไทยเกือบทุกตลาดก็หดตัวลงด้วย
ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและกำลังซื้อผู้บริโภคลดลงจากผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ได้ลดลง 41.87% หรือมีมูลค่า 12,069.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากรวมทองคำพบว่าไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น 33.73% จากการส่งออกทองคำฯ ส่วนสินค้าสำคัญอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ต่างมีมูลค่าหดตัวลงมาก ปัจจัยเสี่ยงการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังยังคงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน และสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ
ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับด้วยมูลค่า 10,077.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 39.11% แต่หากไม่รวมทองคำมูลค่าส่งออกสุทธิอยู่ที่ 2,224.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวลง 42.17% โดยสินค้าส่งออกสำคัญรวมถึงตลาดส่งออกสำคัญหดตัวลงมาก ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง ติดตามรายละเอียดสถานการณ์ส่งออกได้ที่นี่
ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2563 ไทยส่งออกได้สูงกว่า 1.08 เท่า (9,579.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) แต่หากหักทองคำออก พบว่า มูลค่าส่งออกลดลงถึง 34.8% (มูลค่า 1,984 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการลดลง ยกเว้นเพียงทองคำฯ ที่เติบโตสูง และเกือบทุกตลาดสำคัญของไทยก็หดตัวลง จากผลกระทบโควิด-19
บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน ปี 2563
ผลกระทบจากไวรัสโควิด -19 ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง ทำให้ไทยส่งออกไม่รวมทองคำในช่วง 4 เดือนแรก ลดลง 25.31% (1,774.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่หากรวมทองคำแล้ว ไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น 1.14 เท่า (8,147.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จับตาเทรนด์ New Normal ที่จะมีผลต่อสินค้าไทยหลังโควิด-19
บทวิเคราะห์สถานการณ์การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม ปี 2563
ไทยส่งออกไม่รวมทองคำในไตรมาสแรกของปี 63 ลดลง 20.18% (1,563 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) แต่ถ้ารวมทองคำ มูลค่าส่งออกเติบโตได้ 71.85% (5,442.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยตลาดส่งออกหลัก สหภาพยุโรปและฮ่องกง รวมถึงตะวันออกกลางและจีน หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง
บทวิเคราะห์สถานการณ์การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2563
ในช่วง 2 เดือนแรก ปี 2563 ไทยส่งออกได้ 3,746.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 71.67% เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 2 รองจากรถยนต์ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกที่แท้จริงมีมูลค่า 1,125.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18.01% ตลาดหลักอย่างสหภาพยุโรป ฮ่องกง และจีน หดตัวลงจากผลกระทบไวรัสโควิด-19
บทวิเคราะห์สถานการณ์การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม ปี 2563
ในเดือนมกราคม 63 ไทยส่งออก 1,740.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 1.15 เท่า แต่เมื่อหักทองคำฯ ออก พบว่าการส่งออกที่แท้จริงมีมูลค่า 530.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.11% โดยสินค้าที่เติบโตได้คือ เครื่องประดับทอง พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และเครื่องประดับแพลทินัม
บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2562
ในปี 2562 อัญมณีและเครื่องประดับทำรายได้จากการส่งออก 15,689.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตสูงถึง 30.91% แต่เมื่อไม่รวมทองคำ พบว่า มีมูลค่าส่งออก 8,095.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.34% โดยตลาดอินเดีย อาเซียน ตะวันออกกลาง ขยายตัวดี ส่วนฮ่องกง สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา หดตัวลง
บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2562
ในช่วง 11 เดือนแรก ปี 62 ไทยส่งออก 14,968.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตสูงถึง 34.73% โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวดีคือ ทองคำฯ เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ส่วนตลาดสำคัญที่เติบโตคือ กลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ และกัมพูชา อินเดีย และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง