บทวิเคราะห์การนำเข้าส่งออกอัญมณีไทย

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2565 มีมูลค่า 2,077.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 101.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งการขยายตัวที่เกิดขึ้นยังได้รับผลเชิงบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากนานาประเทศ สะท้อนจากดัชนี Global Manufacturing PMI อยู่ที่ระดับ 53.6 นั่นหมายถึงภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงเติบโตได้ดี แม้ว่าปัจจุบันจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เข้ามากดดันเพิ่มมากขึ้น มีเนื้อหาอย่างไร ติดตามอ่านได้ใน

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยใน เดือนแรกของปีนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.89 คิดเป็นมูลค่า 767.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อพิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย ไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 580.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.16 โดยการส่งออกของไทยในเดือนแรกของปี 2565 ยังคงมีทิศทางเติบโตต่อจากปีก่อน ด้วยแรงหนุนจากความต้องการสินค้าในตลาดโลกยังคงมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความ

มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบปี 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยการส่งออกอัญมณีของไทยสามารถขยายตัวเป็นบวกได้ติดต่อกัน 10 เดือน เนื่องจากตลาดอัญมณีหลักส่วนใหญ่มีการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศเพิ่มสูงขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่อุปทานสามารถดำเนินการได้เป็นปกติติดต่อกันหลายเดือน จึงเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลดีต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง สามารถอ่านได้ในบทความนี้

มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความต่อเนื่อง ภาพรวมยังมีปัจจัยบวกสนับสนุนมากกว่าปัจจัยกดดันทำให้การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยขยายตัวได้ จะมีรายละเอียดอย่างไร ตามอ่านได้ในบทวิเคราะห์นี้

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม ปี 2564 มีมูลค่า 4,931.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 26.87 เป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 นับตั้งแต่เดือนมีนาคม โดยมีปัจจัยบวกจากการบริโภคของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำซึ่งเป็นคู่ค้ากับไทยฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกและปัจจัยเฝ้าระวังอย่างไรบ้าง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทวิเคราะห์

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2564 ปรับตัวลดลงร้อยละ 55.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 มาอยู่ที่ 7,198.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากพิจารณาเฉพาะมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 4,281.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 27.42 โดยมีปัจจัยหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายประเทศกลับมาดำเนินการได้เป็นปกติ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบวกและความเสี่ยงที่ต้องพิจารณาอะไรบ้าง อ่านได้ในบทวิเคราะห์

มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยการส่งออกไปยังหลายตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น สามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากปัจจัยสนับสนุนอย่างอัตราการกระจายวัคซีนสู่ประชาชนสูงและมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ ทำให้การบริโภคในแต่ละประเทศและอัตราการค้าระหว่างประเทศเติบโตมากขึ้น

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในรอบ 7 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 54.02 แต่เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปออก พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 3,261.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 26.58 โดยเติบโตต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดสำคัญหลายแห่งขยายตัวได้ต่อเนื่อง มีรายละเอียดอย่างไร สามารถอ่านเนื้อหาได้จากบทวิเคราะห์ดังนี้

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในรอบครึ่งปีนี้ ลดลงร้อยละ 55.37 แต่เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปออก พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 2,755.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 23.86 เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดสำคัญหลายแห่งขยายตัวได้ดี จะมีประเทศใดบ้าง สามารถอ่านเนื้อหาได้จากบทวิเคราะห์ดังนี้

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในรอบ 5 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 62.95 แต่เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปออก พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 2,239.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 12.89 โดยสามารถส่งออกไปยังตลาดสำคัญหลายแห่งเพิ่มมากขึ้น จะมีปัจจัยหนุนและปัจจัยเสี่ยงใดบ้าง อ่านได้จากบทวิเคราะห์นี้

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2564 นั้น ปรับตัวลดลงมาร้อยละ 69.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 แต่เมื่อหักออกด้วยมูลค่าการส่งออกทองคำฯ แล้ว พบว่า เติบโตสูงขึ้นร้อยละ 1.05 จะมีสินค้าใดเป็นดาวเด่นและตลาดไหนที่โตสวนกระแส ตามอ่านได้ในบทวิเคราะห์นี้

สถานการณ์การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าสินค้าหลักอย่างทองคำ เพชร และโลหะเงิน ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสำคัญหลายแห่งยังไม่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยปรับลดลงถึงร้อยละ 66.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2563 อ่านรายละเอียดได้ในบทวิเคราะห์นี้

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970