บทวิเคราะห์การนำเข้าส่งออกอัญมณีไทย

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-กันยายนของปี 2565 ขยายตัวได้ร้อยละ 72.48 โดยมีมูลค่า 12,413.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ยังเติบโตได้ต่อเนื่องจากการบริโภคในประเทศผู้ซื้อยังขยายตัวได้ดี รวมทั้งค่าเงินบาทยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของไทย ที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.7 ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สามารถอ่านรายละเอียดได้ในบทความ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคมของปี 2565 มีมูลค่า 10,877.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 8 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 5,077.35 ล้านดอลาร์สหรัฐ เติบโตได้ร้อยละ 35.52 โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างเช่นการบริโภคภาคเอกชนยังเติบโตได้สูงสืบเนื่องจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในช่วงก่อนหน้านี้ อีกทั้งการผ่อนคลายการเดินทางระหว่างประเทศช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการใช้จ่ายสินค้าอื่นนอกจากสินค้าอุปโภคบริโภค สามารถอ่านรายละเอียดได้ในบทความ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคมของปี 2565 มีมูลค่า 9,778.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 7 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 4,439.67 ล้านดอลาร์สหรัฐ ขยายตัวได้ร้อยละ 36.16 โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 การผ่อนปรนการเดินทางระหว่างประเทศ คลายความกดดันในการใช้ชีวิตของผู้คนโดยรวม ทำให้มีแรงซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเข้ามาต่อเนื่อง รายละเอียดจะเป็นอย่างไรตามอ่านได้ในบทความ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายนของปี 2565 มีมูลค่า 8,713.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 93.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 3,851.32 ล้านดอลาร์สหรัฐ เติบโตได้ร้อยละ 39.82 โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างเช่นภาคการการผลิตของโลกและกำลังซื้อ อีกทั้งการคลายล็อคดาวน์กลับมาใช้ชีวิตในรูปแบบปกติ ส่งผลต่ออุปสงค์ของสินค้าหลายประเภทรวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างตามอ่านได้ในบทความ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคมของปี 2565 มีมูลค่า 7,589.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 113.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 5 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 3,289.09 ล้านดอลาร์สหรัฐ ขยายตัวได้ร้อยละ 46.90 โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างเช่น การบริโภคของนานาประเทศฟื้นตัวกลับมา การลดความเข้มงวดของมาตรการด้านสุขอนามัยและการเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวของหลายประเทศ รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ รายละเอียดมีอย่างไรบ้างตามอ่านได้ในบทความ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายนของปี 2565 มีมูลค่า 6,574.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 167.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 4 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 2,531.62 ล้านดอลาร์สหรัฐ เติบโตร้อยละ 41.22 โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ยืนอยู่ในระดับเหนือ 50 อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเปิดเมืองของบางประเทศทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีต่อการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น สามารถติดตามอ่านเนื้อหาได้ในบทความ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในไตรมาสแรกของปี 2565 มีมูลค่า 5,486.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 203.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 โดยได้รับแรงหนุนจากการเก็งกำไรทองคำที่มีเข้ามามากขึ้น ด้วยความวิตกจากภาวะเงินเฟ้อและความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในไตรมาสแรกของปี 2565 มีมูลค่า 1,898.03 ล้านดอลาร์สหรัฐ เติบโตร้อยละ 39.96 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการทยอยเปิดเมืองในหลายประเทศทั่วโลก เป็นตัวแปรให้เกิดการเร่งการบริโภคเพิ่มมากขึ้น ติดตามอ่านเนื้อหาได้ในบทความ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2565 มีมูลค่า 2,077.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 101.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งการขยายตัวที่เกิดขึ้นยังได้รับผลเชิงบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากนานาประเทศ สะท้อนจากดัชนี Global Manufacturing PMI อยู่ที่ระดับ 53.6 นั่นหมายถึงภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงเติบโตได้ดี แม้ว่าปัจจุบันจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เข้ามากดดันเพิ่มมากขึ้น มีเนื้อหาอย่างไร ติดตามอ่านได้ใน

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยใน เดือนแรกของปีนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.89 คิดเป็นมูลค่า 767.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อพิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย ไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 580.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.16 โดยการส่งออกของไทยในเดือนแรกของปี 2565 ยังคงมีทิศทางเติบโตต่อจากปีก่อน ด้วยแรงหนุนจากความต้องการสินค้าในตลาดโลกยังคงมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทความ

มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบปี 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยการส่งออกอัญมณีของไทยสามารถขยายตัวเป็นบวกได้ติดต่อกัน 10 เดือน เนื่องจากตลาดอัญมณีหลักส่วนใหญ่มีการฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศเพิ่มสูงขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่อุปทานสามารถดำเนินการได้เป็นปกติติดต่อกันหลายเดือน จึงเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลดีต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง สามารถอ่านได้ในบทความนี้

มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความต่อเนื่อง ภาพรวมยังมีปัจจัยบวกสนับสนุนมากกว่าปัจจัยกดดันทำให้การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยขยายตัวได้ จะมีรายละเอียดอย่างไร ตามอ่านได้ในบทวิเคราะห์นี้

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม ปี 2564 มีมูลค่า 4,931.69 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 26.87 เป็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 นับตั้งแต่เดือนมีนาคม โดยมีปัจจัยบวกจากการบริโภคของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำซึ่งเป็นคู่ค้ากับไทยฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยบวกและปัจจัยเฝ้าระวังอย่างไรบ้าง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทวิเคราะห์

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site