บทวิเคราะห์การนำเข้าส่งออกอัญมณีไทย

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2564 ปรับตัวลดลงร้อยละ 55.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 มาอยู่ที่ 7,198.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หากพิจารณาเฉพาะมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่า 4,281.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 27.42 โดยมีปัจจัยหนุนจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายประเทศกลับมาดำเนินการได้เป็นปกติ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบวกและความเสี่ยงที่ต้องพิจารณาอะไรบ้าง อ่านได้ในบทวิเคราะห์

มูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยการส่งออกไปยังหลายตลาดสำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินเดีย สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น สามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากปัจจัยสนับสนุนอย่างอัตราการกระจายวัคซีนสู่ประชาชนสูงและมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ ทำให้การบริโภคในแต่ละประเทศและอัตราการค้าระหว่างประเทศเติบโตมากขึ้น

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในรอบ 7 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 54.02 แต่เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปออก พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 3,261.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 26.58 โดยเติบโตต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดสำคัญหลายแห่งขยายตัวได้ต่อเนื่อง มีรายละเอียดอย่างไร สามารถอ่านเนื้อหาได้จากบทวิเคราะห์ดังนี้

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในรอบครึ่งปีนี้ ลดลงร้อยละ 55.37 แต่เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปออก พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 2,755.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 23.86 เนื่องจากการส่งออกไปยังตลาดสำคัญหลายแห่งขยายตัวได้ดี จะมีประเทศใดบ้าง สามารถอ่านเนื้อหาได้จากบทวิเคราะห์ดังนี้

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในรอบ 5 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 62.95 แต่เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปออก พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 2,239.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 12.89 โดยสามารถส่งออกไปยังตลาดสำคัญหลายแห่งเพิ่มมากขึ้น จะมีปัจจัยหนุนและปัจจัยเสี่ยงใดบ้าง อ่านได้จากบทวิเคราะห์นี้

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2564 นั้น ปรับตัวลดลงมาร้อยละ 69.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 แต่เมื่อหักออกด้วยมูลค่าการส่งออกทองคำฯ แล้ว พบว่า เติบโตสูงขึ้นร้อยละ 1.05 จะมีสินค้าใดเป็นดาวเด่นและตลาดไหนที่โตสวนกระแส ตามอ่านได้ในบทวิเคราะห์นี้

สถานการณ์การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการนำเข้าสินค้าหลักอย่างทองคำ เพชร และโลหะเงิน ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดสำคัญหลายแห่งยังไม่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยปรับลดลงถึงร้อยละ 66.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2563 อ่านรายละเอียดได้ในบทวิเคราะห์นี้

สถานการณ์การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2564 ปรับตัวลดลงร้อยละ 72.39 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำฯ พบว่า ลดลงร้อยละ 27.43 ซึ่งปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบควรติดตามมีทั้งราคาทองคำที่ปรับตัวลงต่อเนื่องและการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย แล้วมีปัจจัยเชิงบวกใดบ้างที่มาสร้างความมั่นใจในช่วงนี้ ตามอ่านได้ในบทวิเคราะห์นี้

ภาพรวมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในเดือนแรกของปี 2564 ปรับตัวลดลงร้อยละ 70.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบหลักๆ มาจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ทำให้สินค้าส่งออกหลักอย่างทองคำปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 90.29 นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่น่าสนใจอื่นๆ ติดตามอ่านได้ในบทวิเคราะห์นี้

ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในปี 2563 นั้น มีอัตราการเติบโตร้อยละ 15.94 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 33.51 โดยเป็นผลจากการเก็งกำไรราคาทองคำ ทำให้ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูปเป็นสินค้าหลักทั้งการส่งออกและนำเข้า ขณะที่ภาพรวมสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงปรับตัวลงอันเนื่องมาจากผลกระทบของโควิด-19

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2563 เติบโตร้อยละ 17.24 ทั้งนี้ หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำ พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 42.26 แต่เมื่อพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) รายเดือน พบว่าหลังจากฟื้นตัวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 และเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง กลับหดตัวลงในเดือนพฤศจิกายน 2563 ในอัตราร้อยละ 2.75 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2563 อันเนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยชะลอตัวลงจากผลกระทบของสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ซึ่งกลับมาแพร่ระบาดรอบใหม่ในหลายประเทศทั่วโลก

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐเดือนมกราคม-ตุลาคม ปี 2563 เติบโตร้อยละ 20.81 ทั้งนี้ หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 43.69 ประเด็นเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบสอง การดำเนินนโยบายทางการค้าของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ และเงินบาทแข็งค่า ส่วนปัจจัยบวก คือ มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลก การซื้อสินค้าออนไลน์ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำให้การส่งออกสินค้าไทยมีโอกาสขยายตัว

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site