บทความวิชาการอัญมณี

TAFTA แต้มต่อส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่แดนจิงโจ้

การขยายตลาดไปยังออสเตรเลียผ่านการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน จะช่วยให้สินค้าสำคัญที่ส่งออกไปยังตลาดนี้อย่างเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง มีศักยภาพการแข่งขันเพิ่มขึ้น หากมีการพัฒนารูปแบบและคุณภาพให้เหมาะสม การเข้าสู่ตลาดนี้ก็ไม่ยากอีกต่อไป

ราคาทองคำปรับตัวสูงหนุนส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยขยายตัวร้อยละ 35.56 เครื่องประดับเงินสินค้าดาวเด่นแนวโน้มโตต่อเนื่อง

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยขยายตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมากระทั่งสามารถติดอันดับสินค้าส่งออกลำดับที่ 3 รองจากคอมพิวเตอร์ และรถยนต์ ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการส่งออกทองคำซึ่งขยายตัวสูง เนื่องจากการนำเข้าในหลายประเทศเพื่อเก็งกำไรจากราคาส่วนต่าง

รุกตลาดสิงคโปร์ ขยายสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยสู่อาเซียน

ประเทศสิงคโปร์นอกจากจะเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนที่สำคัญแห่งหนึ่งในโลกแล้ว ยังมีปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อนักลงทุนต่างชาติ ในบานะที่ไทยและสิงคโปร์ต่างเป็นประเทศภายใต้กรอบความร่วมเขตการค้าเสรีอาเซียน การขยายตลาดไปยังสิงคโปร์นอกจากเพื่อจำหน่ายในประเทศแล้วยังสามารถเชื่อมโยงกับตลาดโลกได้ด้วย

ACFTA โอกาสเพิ่มยอดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตลาดจีน

การเปิดเสีการค้าระหว่างอาเซียนกับจีนเริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้นตั้งแต่มกราคม 2553 ที่มีการลดภาษีนำเข้าระหว่างเป็นร้อยละ 0 ทำให้สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยได้รับประโยชน์ในการส่งออก การผลิตที่เข้าเกณฑ์มาตรฐานการใช้สิทธิประโยชน์จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณา

ท่องตลาดอัญมณีและเครื่องประดับแดนตากาล็อก

แดนตากาล็อกหรือประเทศฟิลิปปินส์ มีความโดดเด่นทางเศรษฐกิจด้วยการพึ่งพาการส่งออกน้อยกว่าประเทศอื่นในเอเชีย ร้อยละ 70 มาจากการบริโภคภาคเอกชน อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีศักยภาพจากแหล่งผลิตที่หลากหลายทั้งอัญมณี โลหะมีค่า และไข่มุก มีโครงสร้างอุตสาหกรรมคล้ายคลึงกับไทย

บุกตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในดินแดนแห่งความสงบสุข “บรูไนฯ”

บรูไนประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรไม่มากนัก แต่มีรายได้สูงจากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ทำให้เป็นประเทศที่มีฐานะมั่งคั่งอันดับต้นๆ ของเอเชีย รูปแบบเครื่องประดับที่นิยมเป็นเครื่องประดับทอง ทองขาว และแพลทินัม โดยเน้นการเจาะตลาดแบบ Custom Made เป็นกลยุทธ์สำคัญ

โอกาสการค้าการลงทุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในอินโดนีเซีย

อินโดนีเซียประเทศหมู่เกาะที่มีประชากรรวมกันถึง 240 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก โดยประชากรกว่าร้อยละ 66 อยู่ในวัยทำงาน ทำให้ตลาดมีกำลังซื้อสูง สำหรับเครื่องประดับทองเป็นประเภทเครื่องประดับที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด โดยตามเมืองใหญ่นิยมเครื่องประดับที่ทันสมัยตามแบบแฟชั่น

ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับแดนภารตะ

จากการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐของอินเดีย ทำให้การบริโภคภายในประเทศเติบโตสูงขึ้น กลุ่มชนชั้นกลางขยายตัวคิดเป็นร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร การสวมใส่เครื่องประดับของชาวอินเดียนั้นนอกจากเพื่อความสวยงามแล้วยังใช้เพื่อการออมและการลงทุนอีกด้วย

เพิ่มยอดขายอัญมณีและเครื่องประดับผ่านงานแสดงสินค้า

การเติบโตของตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในหลายประเทศเริ่มมีแนวโน้มทิศทางที่ดีขึ้น การสร้างการรับรู้และติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคจึงต้องมีอย่างสม่ำเสมอ จกการวิจัยของ Center Exhibition Industry Research ระบุว่า การเข้าร่วมงานจัดแสดงสินค้าเป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าการตลาดอื่น

เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับผู้ประกอบการ SMEs

การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ผันผวนในขณะนี้ เป็นผลจากการขยายตัวของการส่งออกและเงินทุนไหลเข้าในประเทศ รวมทั้งประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ผู้ส่งออกจึงต้องมีเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้

พิชิตตลาดอัญมณีและเครื่องประดับแดนโสมขาว

เกาหลีใต้ประเทศที่มีบทบาททางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกในปี 2552 แต่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้อย่างรวดเร็ว จากการขยายตัวของการส่งออกและการบริโภคในประเทสที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น การบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับส่วนใหญ่มาจากการนำเข้า

กระแสนิยมเครื่องประดับเงินไทยในตลาดยุโรป (ตอนแรก)

จากการที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นในตลาดโลก ทำให้กระแสความนิยมเครื่องประดับที่มีราคาย่อมเยาลงมานอกจากเครื่องประดับทองเป็นที่นิยม เครื่องประดับเงินเป็นอีกกระแสที่กำลังมาแรงโดยเครื่องประดับเงินของไทยเป็นที่นิยมแพร่หลายในต่างประเทศด้วยคุณภาพที่ดีมีมาตรฐาน รูปแบบทันสมัย

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970