บทความวิชาการอัญมณี
สบายดีหลวงพระบาง : ม่วนใจปีใหม่ลาว
วันเริ่มต้นศักราชใหม่หรือวันขึ้นปีใหม่ ชาวหลวงพระบางจะเดินขึ้นพระธาตุพูสีเพื่อ "ตักบาตรพูสี" ซึ่งปฏิบัติกันปีละครั้งเท่านั้น ชาวหลวงพระบางจะแต่งกายสวยงามตามวัฒนธรรมลาว และนิยมสวมใส่เครื่องประดับเงิน เนื่องจากชาวลาวเชื่อว่าเครื่องประดับเงินจะช่วยปกป้องคุ้มครองผู้สวมใส่ให้พ้นจากสิ่งชั่วร้าย ความโชคร้ายและช่วยบรรเทาอาการป่วย
มิงกะลาบาเมียนมาร์ : ศูนย์รวมความศรัทธา พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง
พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ณ เมืองย่างกุ้ง เปรียบเสมือนศูนย์รวมความศรัทธาของชาวเมียนมาร์และชาวพุทธที่ต่างหลั่งไหลเดินทางมาสักการะ พระมหาธาตุแห่งนี้ประดับด้วยแผ่นทองคำรวมน้ำหนักทองคำได้ 8 ตัน ยอดฉัตรที่ครอบองค์พระเจดีย์ประดับด้วยเพชร ทับทิม นิล และบุษราคัมจำนวนมาก ทั้งยังมีบรรดาเครื่องประดับที่ผู้มีจิตศรัทธาถวายประดับไว้บนยอดฉัตรอีกนับเป็นมูลค่าประมาณมิได้
ตั้งศูนย์ส่งเสริมอัญมณีเมืองจันท์ ผลักดันสู่การค้าอัญมณีระดับโลก
จังหวัดจันทบุรีเป็นแหล่งผลิตอัญมณีแห่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยรวมถึงเป็นศูนย์กลางของซื้อขายอัญมณี การสร้างศูนย์ส่งเสริมอัญมณีและเครื่องประดับจันทบุรีให้เป็นศูนย์กลางการค้าและส่งเสริมธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศไทยสามารถส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ศูนย์กลางอัญมณีระดับภูมิภาคและระดับโลกในอนาคตได้
ส่องการค้าอัญมณีและเครื่องประดับในเมียนมาร์
การค้าอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างไทยและเมียนมาร์มีมาเป็นเวลาช้านาน เนื่องด้วยทั้งสองประเทศมีพรมแดนติดกันหลายจุด เมื่อรัฐบาลเมียนมาร์เปิดประเทศมากขึ้น การค้าจึงมีรูปแบบหลากหลาย และเป็นสากลเพิ่มขึ้น โดยเครื่องประดับที่นิยมได้แก่ หยก และเครื่องประดับทับทิม ตัวเรือนทอง 18เค และ 22เค เป็นต้น
มิงกะลาชอง มองงานวิวาห์เมียนมาร์
งานแต่งงานหรือมิงกะลาชองของชาวเมียนมาร์ แม้ว่าจะเป็นพิธีเพื่อการยอมรับทางสังคมและเครือญาติก็ตาม แต่สังคมเมียนมาร์ก็มิได้ต่อต้านหากจะครองคู่อยู่กินกันโดยไม่ผ่านพิธีแต่งงาน หากได้รับความยินยอมจากผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย โดยเครื่องประดับที่เจ้าสาวสวมใส่จะประดับตกแต่งทั้งตัวจัดเป็นเซ็ทเข้ากันซึ่งส่วนมากจะนิยมเครื่องประดับพลอยสีขนาดใหญ่
“เครื่องประดับทองสุโขทัย” หัตถศิลป์ร่วมสมัย
แม้ว่าราคาทองคำในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นเพียงใด การซื้อหาซึ่งเครื่องประดับก็ไม่มีทีท่าจะลดน้อยลงไป หากเอ่ยถึงเครื่องทองโบราณ สุโขทัยย่อมเป็นแหล่งผลิตอันดับแรกๆ ที่ผู้คนต่างคิดถึงด้วยงานทองหัตถศิลป์ล้ำค่า จนสามารถครองใจผู้ที่นิยมชมชอบในงานเครื่องทองสไตล์โบราณได้เป็นอย่างดี
สถานะการค้ามนุษย์และมาตรการกดดันจากสหภาพยุโรป นัยยะต่ออัญมณีและเครื่องประดับไทย
สหรัฐอเมริกาและสหภพยุโรปต่างออกมาตรการด้านการค้ามนุษย์ที่เป็นผลลบในไทย โดยอาจมีผลต่อทิศทางการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย หากคู่ค้าทั้งสองนํามาใช้เป็นประเด็นกีดกันทางการค้ากับไทยในอนาคตได้
อัพเดทเครื่องประดับแฟชั่นของบริษัทชั้นนำในฟิลิปปินส์
อุตสาหกรรมเครื่องประดับแฟชั่นในฟิลิปปินส์เป็นอีกตลาดที่มีศักยภาพและเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ด้วยความโดดเด่นทางด้านความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบเครื่องประดับที่เป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะเครื่องประดับแฟชั่นที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ
Central Market ศูนย์กลางค้าอัญมณีและเครื่องประดับในกัมพูชา
Central Market หรืออีกชื่อหนึ่งคือ "Psah Thom Thmey" เป็นตลาดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของพนมเปญ สร้างขึ้นเมื่อปี 2480 ตั้งอยู่บนถนน Monivong Boulevard อาคารมีลักษณะเป็นรูปโดม แตกเป็นทางเดิน 4 ทิศ แยกออกจากตัวโดม ระหว่างทางเข้าโดมนั้นจะมีร้านขายเสื้อผ้า ของที่ระลึก เครื่องเงิน ส่วนด้านในอาคารเป็นร้านขายนาฬิกา สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อัญมณีและเครื่องประดับ รอบๆ ตลาดจำหน่ายอาหารสดและดอกไม้ ตลาดแห่งนี้นับเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่จำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับมากที่สุดแห่งหนึ่งของกัมพูชา
หัตถศิลป์เครื่องถมเมืองนคร
เครื่องถม จัดเป็นงานศิลป์ไทยชั้นสูงอีกแขนงหนึ่งมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปเครื่องราชูปโภค เสน่ห์ของเครื่องถมอยู่ที่การแกะสลักลวดลายที่วิจิตรเป็นร่องลึกลงไปบนภาชนะแล้วใช้ตัวยา ซึ่งเป็นโลหะผสมที่มีสีดำผสมกับน้ำประสานทอง หลอมละลายแทรกลงไปในช่องว่างระหว่างลาย ทำให้เกิดลวดลายที่เด่นชัดขึ้น
GIT เสริมแกร่งอุตสาหกรรมพลอยสีไทย รักษาตำแหน่งผู้นำในตลาดอัญมณีโลก
ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตและผู้ส่งออกพลอยสีอันดับต้นๆ ของโลก มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นหน่วยงานเฉพาะทางมีหน้าที่หลักในการส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่ทำรายได้เข้าสู่ประเทศติดอันดับ 1 ใน 5 GIT จึงมุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมอัญมณีไทยเพื่อรักษาไว้ซึ่งตำแหน่งผู้นำในตลาดอัญมณีโลก
เหมืองแร่ทองคำ แหล่งขุมทรัพย์ของอินโดนีเซีย
ทองคำ เป็นแร่โลหะมีค่าชนิดหนึ่งที่มีความสวยงาม หายาก คงทน มูลค่าไม่เสื่อมคลายไปตามกาลเวลาและสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราได้ง่าย จึงทำให้ทองคำเป็นที่ต้องการของทุกคน จากสถิติ Gold Survey ระบุว่า ในปี 2013 ทั่วโลกมีความต้องการบริโภคทองคำ 4,065.5 ตัน โดยเอเชียเป็นภูมิภาคที่มีความต้องการบริโภคทองคำมากที่สุด นำโดยจีนและอินเดียที่มีสัดส่วนความต้องการบริโภคทองคำสูงถึงร้อยละ 60 ของความต้องการทั้งหมด จากความต้องการทองคำที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่จำกัดนี้เองจึงทำให้ประเทศที่มีเหมืองแร่ทองคำสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกทองคำได้อย่างมหาศาล สำหรับประเทศในอาเซียนที่มีแหล่งแร่ทองคำอุดมสมบูรณ์จนสามารถสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศได้คือ อินโดนีเซีย