บทวิเคราะห์การนำเข้าส่งออกอัญมณีไทย

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในเดือนมกราคม 2567 อยู่ที่ 1,166.08 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.09 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.15 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 696.96 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตร้อยละ 21.53

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในปี 2566 ลดลง 2.83% (YoY) จากมูลค่า 15,063.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 14,636.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 รองจากรถยนต์ และคอมพิวเตอร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.14 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากหักทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปออก พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 8,658.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.40% (YoY) สำหรับโอกาสส่งออกในปี 2567 จากภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นกับนโยบายเชิงรุกของไทย ส่วนปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังเป็นประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนสูง

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-พศฤจิกายน 2566 อยู่ที่ 13,664.59 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.22 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 8,101.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.51

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 อยู่ที่ 12,705.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.37 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 7,391.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.05

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2566 อยู่ที่ 11,128.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.22 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 6,643.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.09

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2566 ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีมูลค่า 10,880.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 8,970.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 8 เดือนแรกของปี 2566 นั้น มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น ได้รับแรงหนุนจากสัญญาณการฟื้นตัวของภาคการผลิตโลกที่ดีขึ้นกว่าเดือนก่อน รวมทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2566 ลดลงร้อยละ 16.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีมูลค่า 9,779.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 8,168.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 7 เดือนแรกของปี 2566 นั้น มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น โดยการขยายตัวได้รับปัจจัยบวกทั้งจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของตลาดที่สำคัญโดยเฉพาะภาคบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อ่านเนื้อหาได้ในบทความ

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.52 หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำฯ พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 4,198.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 9.01 สืบเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญโดยเฉพาะภาคบริการและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทวิเคราะห์

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2566 มีมูลค่า 6,432.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.53 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย หากพิจารณามูลค่าดังกล่าวข้างต้นไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 3,461.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 5.24 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากปัจจัยมหภาคอย่างการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในหลายประเทศ ทำให้การบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ดังเช่นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญในเขตยูโรโซน สะท้อนจากดัชนี PMI ภาคการบริการของยูโรโซนอยู่ที่ระดับ 55.5 อัตราเงินเฟ้อลดต่ำลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2566 มีมูลค่า 6,575.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.86 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย หากพิจารณามูลค่าดังกล่าวข้างต้นไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 2,667.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 5.35 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการการจับจ่ายใช้สอยจากนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดผลทางจิตวิทยาต่อการบริโภค รวมทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อเนื่องมาจากช่วงก่อนนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2566 มีมูลค่า 4,125.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.87 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย หากพิจารณามูลค่าดังกล่าวข้างต้นไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 2,216.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 16.76 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนอย่างการเปิดเมืองของจีนและฮ่องกงที่เป็นตลาดผู้บริโภครายใหญ่ รวมทั้งการกลับมาจัดงานอัญมณีและเครื่องประดับในหลายประเทศ อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2566 มีมูลค่า 1,926.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.28 หากพิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย ไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 1,586.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.86 โดยมีปัจจัยส่งเสริมตลาดอาทิเช่น ฮ่องกง และกาตาร์ ที่มีการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับและจัดแคมเปญเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว สามารถอ่านรายละเอียดได้ในบทความ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970