Infographic
ข้อมูลด้านการตลาด
ปี 2563
มาตราการภาครัฐเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
แม้ว่า COVID Disruption จะส่งผลกระทบให้ทุกภาคส่วนต้องรับความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ซึ่งนำมาสู่ความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในการออกมาตรการ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็น เงิน 5,000 พัน แก่บุคคลธรรมดา และการลดภาระหรือพักหนี้แก่ลูกค้าของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ยังมีมาตรการภาครัฐเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีละเครื่องประดับ ที่เป็นอีกส่วนหนึ่งให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเลือกใช้และต่อยอดกับมาตรการอื่นๆ ในการสร้างรากฐานและก้าวต่อไปได้อีกด้วย
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-มีนาคม 2563
ผลกระทบโควิด-19 ทำไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำในไตรมาสแรกของปี 63 ลดลง 20.18% หรือมีมูลค่า 1,563 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ถ้ารวมทองคำ มูลค่าส่งออกเติบโตได้ 71.85% หรือมีมูลค่า 5,442.28 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นสินค้าส่งออกในอันดับ 2 (รองจากรถยนต์) และคิดเป็นสัดส่วน 8.68% ของการส่งออกโดยรวมของไทย โดยตลาดส่งออกหลักอย่างสหภาพยุโรปและฮ่องกง รวมถึงตลาดสำคัญอย่างกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและจีน หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวรับมือกับเทรนด์ New Normal ซึ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป การค้า E-Commerce พุ่งสูง เพราะลูกค้าหันไปซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น และจะซื้อสินค้าที่มีคุณภาพสูง แต่ราคาไม่แพง รวมถึงการรับข่าวสารผ่าน Social Media และ Chat App มากกว่าช่องทางอื่น
10 ประเทศผู้นำเข้าพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนรายใหญ่ของโลก ปี 2019
ประเทศผู้นำเข้าพลอยเนื้อแข็งเจียระไนรายใหญ่ของโลก 3 อันดับแรกใน ปี 2019 คือ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสวิตเซอร์แลนด์ ที่ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันเกือบร้อยละ 59 ส่วนผู้นำเข้าพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนรายใหญ่ของโลก 3 อันดับแรกในปี 2019 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และจีน ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดรวมกันเกือบร้อยละ 55
10 อันดับประเทศผู้นำเข้าเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงินรายใหญ่ของโลก ปี 2019
ประเทศผู้นำเข้าเครื่องประดับทองรายใหญ่ของโลก 3 อันดับแรกใน ปี 2019 คือ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา ที่ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันเกือบร้อยละ 56 ส่วนผู้นำเข้าเครื่องประดับเงินรายใหญ่ของโลก 3 อันดับแรกในปี 2019 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และเยอรมนี ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดรวมกันเกือบร้อยละ 45
สินค้าเครื่องประดับที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP จากสหรัฐ
ในวันที่ 25 เมษายนนี้ สหรัฐจะระงับสิทธิ GSP สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย 22 รายการย่อย ใน 4 สินค้าหลักได้แก่ พิกัด 7113 เครื่องประดับแท้ พิกัด 7114 เครื่องทองหรือเครื่องเงิน พิกัด 7116 ของทำด้วยไข่มุกและรัตนชาติ รวมถึงพิกัด 7117 เครื่องประดับเทียม จากที่เคยเสียภาษีนำเข้า 0% จะต้องเสียในอัตราเฉลี่ย 5.79% ทำให้ไทยอาจสูญเสียแต้มต่อในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกหลักของไทยไปยังสหรัฐ อย่างเครื่องประดับแท้ ซึ่งได้ถูกตัดสิทธิ GSP ไปหลายปีแล้ว 2 พิกัดคือ พิกัด 7113.11.50 เครื่องประดับเงินซึ่งมีมูลค่าเกินกว่าโหล/ชิ้นละ 18 เหรียญสหรัฐฯ และพิกัด 7113.19.50 เครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทองคำหรือแพลทินัม ยังคงเป็นสินค้าไทยที่มีศักยภาพและสามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี
สหรัฐ ตลาดผู้บริโภคและนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ของโลก
สหรัฐเป็นผู้นำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ของโลก และเป็นคู่ค้าหลักที่นำเข้าสินค้านี้จากไทยด้วยมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยสินค้านำเข้าสำคัญคือ เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก ทำให้กำลังซื้อและการบริโภคสินค้าลดต่ำลง ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อยอดนำเข้าสินค้าไทยของตลาดสหรัฐในปีนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลายลง คาดว่าน่าจะส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มหันกลับมาซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอีกครั้ง
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2563
มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2563 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71.67 หรือมีมูลค่า 3,746.33 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 2 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.30 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 1,125.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 18.01 ตลาดหลักอย่างสหภาพยุโรป และฮ่องกง ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันราวร้อยละ 40 รวมถึงจีน หดตัวลงจากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่วนตลาดที่ยังเติบโตได้เป็นบวกนั้น หลายประเทศยังไม่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดนี้อย่างชัดเจน
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม 2563
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม 2563 เติบโตสูงถึง 1.15 เท่า หรือมีมูลค่า 1,740.11 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 807.38 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 2 รองจากรถยนต์ และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.87 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 530.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 5.11 โดยสินค้าที่เติบโตได้คือ เครื่องประดับทอง พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และเครื่องประดับแพลทินัม ส่วนตลาดที่ขยายตัวได้คือ สหภาพยุโรป (อิตาลี เยอรมนี สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส) สหรัฐอเมริกา อินเดีย กลุ่มประเทศออกกลาง (UAE กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย) รัสเซียและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (รัสเซียและอาร์เมเนีย)
อุปทานเพชรในตลาดโลกและแนวโน้มในปี 2020
แม้ว่าปี 2019 จะเป็นปีที่ไม่ค่อยสดใสของอุตสาหกรรมเพชรมากนัก มีปริมาณเพชรออกสู่ตลาดลดลง 3.38% เนื่องจากปัญหาเพชรล้นตลาดและปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบหลายประการ แต่อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ยังเห็นว่าปัจจัยดังกล่าวกระทบตลาดเพียงช่วงสั้นๆ และคาดการณ์เชิงบวกว่า เพชรแท้จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 3% และเพชรสังเคราะห์จะเติบโตเฉลี่ยปีละ 10% คงต้องตามต่อว่าปีนี้ปัจจัยลบจะชวดแล้วตลาดจะเติบโตเป็นหนูตกถังข้าวสารได้หรือไม่
ปี 2562
ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2562
นปี 2562 สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยทำรายได้จากการส่งออก 15,689.18 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตสูงถึง 30.91% นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 3 (รองจากรถยนต์และคอมพิวเตอร์) และคิดเป็นสัดส่วน 6.37% ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่เมื่อไม่รวมทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 8,095.65 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.34% โดยตลาดส่งออกสำคัญของไทยที่ขยายตัวได้ดีคือ อินเดีย อาเซียน (สิงคโปร์ กัมพูชา และเวียดนาม) กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง (ยูเออี กาตาร์ คูเวต โอมาน) ในขณะที่ตลาดหลักเดิมอื่นๆ อย่างฮ่องกง สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าหดตัวลง สำหรับการส่งออกปี 63 จะต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงทั้งภาวะเศรษฐกิจโลก การกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ การประท้วงในฮ่องกง ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ-อิหร่าน การระบาดของโรคไวรัสโคโรนา และภัยธรรมชาติ อาจบั่นทอนการส่งออกของไทยในปีนี้