Infographic
ข้อมูลด้านการตลาด
ปี 2566
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2565
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2565 มีมูลค่า 14,489.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยที่ไม่รวมทองคำ พบว่า เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.02 ซึ่งโดยรวมได้รับแรงหนุนจากช่วง 3 ไตรมาสแรกที่มีแรงซื้อเข้ามามาก จากการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายประเทศทยอยฟื้นตัวกลับมา จึงมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยรุมเร้าซึ่งยังไม่คลี่คลายไป
ปี 2565
โอกาสในตลาดอัญมณีและเครื่องประดับญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเป็นอีกหนึ่งตลาดที่สำคัญของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ เนื่องจากผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงและมีอุปสงค์ในการบริโภค อีกทั้งการขยายตัวของการค้าออนไลน์ได้รับความนิยมตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบัน ขณะที่จำนวนผู้หญิงชาวญี่ปุ่นเข้าสู่ตลาดแรงงานสูงขึ้น ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงกว่าประเทศในกลุ่ม OECD และผู้ชายวัยมิลเลนเนียลและเจน Z ยังหันมาสวมใส่เครื่องประดับตามกระแสแฟชั่นกันมากขึ้น จึงทำให้ตลาดแห่งแดนอาทิตย์อุทัยนี้มีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นตามลำดับ
Viva Magenta สีแห่งปี 2023 สัญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง
Pantone กำหนดให้ Viva Magenta เป็นสีแห่งปี 2023 แสดงถึงความแข็งแกร่งกล้าหาญ สะท้อนความกระฉับกระเฉง ความมีชีวิตชีวา และการมองโลกในแง่ดี แล้วอัญมณีในโทนสีแดงอมม่วง หรือเฉดสีแดงนั้นมีอะไรบ้างดูรายละเอียดได้จากภาพนี้
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-ตุลาคม ปี 2565
ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกที่ภาพรวมการส่งออกของไทยเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศสำคัญๆ เริ่มชะลอตัวลง ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทว่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในช่วง 10 เดือนของปีนี้ กลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.50 หากพิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย เมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.38 นับเป็นสินค้าส่งออกหมวดหนึ่งที่สามารถเติบโตสวนกระแสได้ด้วยปัจจัยหนุนส่งหลายประการ
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2565
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-กันยายนของปี 2565 ขยายตัวได้ร้อยละ 72.48 โดยมีมูลค่า 12,413.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ยังเติบโตได้ต่อเนื่องจากการบริโภคในประเทศผู้ซื้อยังขยายตัวได้ดี รวมทั้งค่าเงินบาทยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของไทย ที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.7 ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-สิงหาคม 2565
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคมของปี 2565 มีมูลค่า 10,877.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 8 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 5,077.35 ล้านดอลาร์สหรัฐ เติบโตได้ร้อยละ 35.52 โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างเช่นการบริโภคภาคเอกชนยังเติบโตได้สูงสืบเนื่องจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในช่วงก่อนหน้านี้ อีกทั้งการผ่อนคลายการเดินทางระหว่างประเทศช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการใช้จ่ายสินค้าอื่นนอกจากสินค้าอุปโภคบริโภค
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคมของปี 2565 มีมูลค่า 9,778.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 7 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 4,439.67 ล้านดอลาร์สหรัฐ ขยายตัวได้ร้อยละ 36.16 โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 การผ่อนปรนการเดินทางระหว่างประเทศ คลายความกดดันในการใช้ชีวิตของผู้คนโดยรวม ทำให้มีแรงซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเข้ามาต่อเนื่อง
อัพเดทการเติบโตของตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของโลก
ด้วยสถานการณ์ที่ผ่อนคลายในปัจจุบัน ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2021 ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลกจะมีมูลค่า 269.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.96% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ตลาดออนไลน์มีมูลค่า 22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วน 8.18% ของตลาดอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก มีการเติบโตสูงขึ้น 15.41% โดย 5 ตลาดหลักของโลกอย่างจีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย ฮ่องกง และญี่ปุ่น ล้วนมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น สินค้าส่งออกของไทยในตลาดดังกล่าวมีอะไรบ้าง และงมีปัจจัยใดที่ควรคำนึงในการทำตลาด สามารถพิจารณาได้จากภาพ
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-มิถุนายน 2565
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายนของปี 2565 มีมูลค่า 8,713.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 93.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 3,851.32 ล้านดอลาร์สหรัฐ เติบโตได้ร้อยละ 39.82 โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างเช่นภาคการการผลิตของโลกและกำลังซื้อ อีกทั้งการคลายล็อคดาวน์กลับมาใช้ชีวิตในรูปแบบปกติ ส่งผลต่ออุปสงค์ของสินค้าหลายประเภทรวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างตามอ่านได้ในบทความ
โอกาสและปัจจัยเสี่ยงของตลาดเครื่องประดับเพชรสังเคราะห์
ตลาดเพชรสังเคราะห์นั้นมีการเติบโตเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้วยกระแสความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายธรรมชาติ ทั้งยังมีความโปร่งใส และไม่มีปัญหาด้านการเอาเปรียบแรงงานหรือละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยกระแสเหล่านี้ขยายตัวแพร่หลายโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับเพชรสังเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในสัดส่วนกว่า 90% นอกจากนี้ จะมีปัจจัยส่งเสริมการเติบโตอย่างไร หรือปัจจัยเสี่ยงที่ควรทำความเข้าใจอะไรบ้าง สามารถพิจารณาได้ในภาพอินโฟกราฟิกนี้