Infographic
ข้อมูลด้านการตลาด
ปี 2565
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคมของปี 2565 มีมูลค่า 9,778.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 7 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 4,439.67 ล้านดอลาร์สหรัฐ ขยายตัวได้ร้อยละ 36.16 โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 การผ่อนปรนการเดินทางระหว่างประเทศ คลายความกดดันในการใช้ชีวิตของผู้คนโดยรวม ทำให้มีแรงซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเข้ามาต่อเนื่อง
อัพเดทการเติบโตของตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของโลก
ด้วยสถานการณ์ที่ผ่อนคลายในปัจจุบัน ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2021 ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลกจะมีมูลค่า 269.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.96% เมื่อเทียบกับปีก่อน ขณะที่ตลาดออนไลน์มีมูลค่า 22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีสัดส่วน 8.18% ของตลาดอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก มีการเติบโตสูงขึ้น 15.41% โดย 5 ตลาดหลักของโลกอย่างจีน สหรัฐอเมริกา อินเดีย ฮ่องกง และญี่ปุ่น ล้วนมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น สินค้าส่งออกของไทยในตลาดดังกล่าวมีอะไรบ้าง และงมีปัจจัยใดที่ควรคำนึงในการทำตลาด สามารถพิจารณาได้จากภาพ
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-มิถุนายน 2565
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายนของปี 2565 มีมูลค่า 8,713.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 93.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 3,851.32 ล้านดอลาร์สหรัฐ เติบโตได้ร้อยละ 39.82 โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างเช่นภาคการการผลิตของโลกและกำลังซื้อ อีกทั้งการคลายล็อคดาวน์กลับมาใช้ชีวิตในรูปแบบปกติ ส่งผลต่ออุปสงค์ของสินค้าหลายประเภทรวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะมีรายละเอียดอย่างไรบ้างตามอ่านได้ในบทความ
โอกาสและปัจจัยเสี่ยงของตลาดเครื่องประดับเพชรสังเคราะห์
ตลาดเพชรสังเคราะห์นั้นมีการเติบโตเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ด้วยกระแสความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายธรรมชาติ ทั้งยังมีความโปร่งใส และไม่มีปัญหาด้านการเอาเปรียบแรงงานหรือละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยกระแสเหล่านี้ขยายตัวแพร่หลายโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับเพชรสังเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในสัดส่วนกว่า 90% นอกจากนี้ จะมีปัจจัยส่งเสริมการเติบโตอย่างไร หรือปัจจัยเสี่ยงที่ควรทำความเข้าใจอะไรบ้าง สามารถพิจารณาได้ในภาพอินโฟกราฟิกนี้
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคมของปี 2565 มีมูลค่า 7,589.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 113.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 5 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 3,289.09 ล้านดอลาร์สหรัฐ ขยายตัวได้ร้อยละ 46.90 โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างเช่น การบริโภคของนานาประเทศฟื้นตัวกลับมา การลดความเข้มงวดของมาตรการด้านสุขอนามัยและการเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวของหลายประเทศ รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ
แนวโน้มตลาดเพชรแท้-เพชรสังเคราะห์เติบโตต่อเนื่อง
หลังจากที่ประเทศต่างๆ ผ่อนคลายมาตรการป้องกันโควิด-19 ทำให้ความต้องการซื้อของผู้บริโภคเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้น และส่งผลให้อุปสงค์เพชรแท้และเพชรสังเคราะห์มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น อ่านรายละเอียดได้จากภาพนี้
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2565
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายนของปี 2565 มีมูลค่า 6,574.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 167.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 4 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่า 2,531.62 ล้านดอลาร์สหรัฐ เติบโตร้อยละ 41.22 โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ยืนอยู่ในระดับเหนือ 50 อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเปิดเมืองของบางประเทศทำให้เกิดบรรยากาศที่ดีต่อการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น สามารถติดตามอ่านเนื้อหาได้ในบทความ
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2565
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในไตรมาสแรกของปี 2565 มีมูลค่า 5,486.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 203.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 โดยได้รับแรงหนุนจากการเก็งกำไรทองคำที่มีเข้ามามากขึ้น ด้วยความวิตกจากภาวะเงินเฟ้อและความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในไตรมาสแรกของปี 2565 มีมูลค่า 1,898.03 ล้านดอลาร์สหรัฐ เติบโตร้อยละ 39.96 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการทยอยเปิดเมืองในหลายประเทศทั่วโลก เป็นตัวแปรให้เกิดการเร่งการบริโภคเพิ่มมากขึ้น ติดตามอ่านเนื้อหาได้ในบทความ
เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคในอินเดีย
อินเดียไม่เพียงแต่เป็นประเทศผู้ผลิตและบริโภคทองคำที่สำคัญของโลก แต่ยังเป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับเงินรายใหญ่ของโลกด้วย นอกจากนี้ อินเดียยังมีประชากรวัยมิลเลนเนียลและเจน Z มากกว่า 800 ล้านคน ซึ่งคนหนุ่มสาวกลุ่มนี้มีความชื่นชอบเครื่องประดับเงินมากเป็นพิเศษ ขณะที่ช่วงที่ผ่านมาชาวอินเดียมีรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะชนชั้นกลางที่เป็นกลุ่มกำลังซื้อหลักของประเทศมีอัตราการเติบโตสูง การเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคอินเดีย จึงเป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงตลาดใหญ่ที่มีศักยภาพแห่งนี้ พิจารณาได้ดังภาพ
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2565
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2565 มีมูลค่า 2,077.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 101.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ซึ่งการขยายตัวที่เกิดขึ้นยังได้รับผลเชิงบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากนานาประเทศ สะท้อนจากดัชนี Global Manufacturing PMI อยู่ที่ระดับ 53.6 นั่นหมายถึงภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงเติบโตได้ดี แม้ว่าปัจจุบันจะมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เข้ามากดดันเพิ่มมากขึ้น