Infographic
ข้อมูลด้านการตลาด
ปี 2566
เกาะกระแสเครื่องประดับไข่มุก
ปัจจุบันเครื่องประดับไข่มุกเป็นอีกหนึ่งกระแสความนิยมที่กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง โดยผู้ส่งออกไข่มุกร่วงรายใหญ่ของโลกอย่างเช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย จีน และสหรัฐอเมริกา ล้วนมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนอย่างความนิยมในหมู่คนวัยมิลเลนเนียล การใส่เครื่องประดับไข่มุกในผู้ชายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีหลายกระแสที่มาส่งเสริมตลาดนี้ให้เติบโต พิจารณาได้จากภาพอินโฟกราฟิก
BIG3: ทับทิม แซปไฟร์ มรกต ที่สุดแห่งพลอยสีในตลาดโลก
อัญมณีทับทิม แซปไฟร์ และมรกต หรือเรียกกันว่า “Big 3” เป็นพลอยเนื้อแข็งเจียระไนที่สวยงาม หายาก และมูลค่าเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา นอกจากนี้อิทธิพลของเหล่าคนดังที่มักสวมใส่พลอยสี Big 3 ผ่านสื่อต่างๆ ส่งผลให้พลอยสี BIG 3 เป็นที่ต้องการของนักสะสมและนักลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รายละเอียดพลอยสี BIG 3 แสดงให้เห็นดังภาพอินโฟกราฟฟิกนี้
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2566
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2566 ลดลงร้อยละ 16.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีมูลค่า 9,779.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 8,168.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 7 เดือนแรกของปี 2566 นั้น มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น โดยการขยายตัวได้รับปัจจัยบวกทั้งจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของตลาดที่สำคัญโดยเฉพาะภาคบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
Big 4 ในตลาดเครื่องประดับทองของโลก
การบริโภคเครื่องประดับทองในโลกนั้น มีผู้นำที่สำคัญอยู่ 4 ประเทศ คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา และตุรเคีย ซึ่งเมื่อรวมกันมีสัดส่วนสูงถึง 65% ของการบริโภคเครื่องประดับทองทั่วโลก โดยแต่ละตลาดมีความนิยมในทองคำที่มีค่าความบริสุทธิ์ที่แตกต่างกัน รวมทั้งโอกาสในแต่ละตลาดที่ผู้ค้าควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคแต่ละแห่ง มีรายละเอียดอย่างไรพิจารณาได้จากภาพอินโฟกราฟิก
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-มิถุนายน ปี 2566
มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.52 หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำฯ พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 4,198.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 9.01 สืบเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญโดยเฉพาะภาคบริการและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2566
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2566 มีมูลค่า 6,432.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.53 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย หากพิจารณามูลค่าดังกล่าวข้างต้นไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 3,461.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 5.24 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากปัจจัยมหภาคอย่างการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในหลายประเทศ ทำให้การบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ดังเช่นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญในเขตยูโรโซน สะท้อนจากดัชนี PMI ภาคการบริการของยูโรโซนอยู่ที่ระดับ 55.5 อัตราเงินเฟ้อลดต่ำลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2566
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2566 มีมูลค่า 6,575.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.86 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย หากพิจารณามูลค่าดังกล่าวข้างต้นไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 2,667.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 5.35 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการการจับจ่ายใช้สอยจากนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดผลทางจิตวิทยาต่อการบริโภค รวมทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อเนื่องมาจากช่วงก่อนนี้
ตลาด โอกาส ความท้าทายของแพลทินัม
แพลทินัมเป็นหนึ่งในโลหะมีค่าที่นิยมนำมาทำเครื่องประดับ ในปี 2023 มีการคาดการณ์ว่า ตลาดเครื่องประดับแพลทินัมจะเติบโต 3.17% จากโอกาสด้านอุปสงค์ของผู้บริโภครายใหญ่อย่างจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ที่มีแรงซื้อเข้ามาสร้างความเติบโต โดย LBMA ประมาณราคาในปีนี้ไว้ที่ 1,080-40-1,241 ดอลลาร์ต่อออนซ์
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2566
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2566 มีมูลค่า 4,125.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.87 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย หากพิจารณามูลค่าดังกล่าวข้างต้นไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 2,216.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 16.76 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนอย่างการเปิดเมืองของจีนและฮ่องกงที่เป็นตลาดผู้บริโภครายใหญ่ รวมทั้งการกลับมาจัดงานอัญมณีและเครื่องประดับในหลายประเทศ
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2566
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2566 มีมูลค่า 1,926.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.28 หากพิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย ไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 1,586.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.86 โดยมีปัจจัยส่งเสริมตลาดอาทิเช่น ฮ่องกง และกาตาร์ ที่มีการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับและจัดแคมเปญเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว