ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เรื่องเล่าของเจ้าตุ๊กตาไล่ฝน

Jul 13, 2021
4728 views
5 shares

            ฤดูฝนเปรียบได้กับฤดูกาลแห่งชีวิต เป็นฤดูที่เกษตรกรรอคอย ด้วยเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก แต่ฤดูกาลเดียวกันนี้กลับสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจให้กับชาวเมืองหลวงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสายฝนที่ปรายโปรยลงมาในแต่ละครั้งนำมาซึ่งปัญหาสารพัด ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมขังรอการระบาย ตามมาด้วยปัญหาการจราจรที่ติดขัดอย่างมหาศาล ไปจนถึงเรื่องโรคระบาดดังที่กำลังสร้างความกังวลให้กับผู้คนในสังคมปัจจุบัน

            เมื่อไม่ต้องการให้ฝนตก มนุษย์เราก็สรรหาวิธีการซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อทำแล้วจะช่วยป้องกันไม่ให้ฝนตก โดยในแต่ละพื้นถิ่นล้วนมีความเชื่อและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น การให้สาวพรหมจรรย์นำตะไคร้ปักลงดินในลักษณะกลับหัวซึ่งเป็นความเชื่อและหลักปฏิบัติว่าด้วยเรื่องการไล่ฝนของสังคมไทยที่มีมาแต่โบราณ นอกจากนี้ ชาวไทยยังรู้จักและมีความคุ้นเคยกับ “ตุ๊กตาไล่ฝน” ในวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น ซึ่งโด่งดังมาจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง อิ๊กคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญาอีกด้วย

ตุ๊กตาไล่ฝน (Teru Teru Bozu) 

ภาพจาก: Shutterstock

            ตุ๊กตาไล่ฝน หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า เทรุ เทรุ โบซุ (Teru Teru Bozu) มาจากคำว่า Teru แปลว่า อากาศดี หรือแสงแดด และ Bozu แปลว่า หัวล้าน มีลักษณะเป็นตุ๊กตาที่ทำจากผ้า มีขนาดเล็ก ส่วนหัวกลม มีการวาดหน้าตาให้ยิ้มแย้ม ชาวญี่ปุ่นนิยมแขวนเจ้าตุ๊กตาไล่ฝนบริเวณหน้าบ้านในวันที่ไม่ต้องการให้ฝนตก เช่นในฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกร นอกจากนี้ ตุ๊กตาไล่ฝนยังเป็นที่นิยมในหมู่เด็กๆ พวกเขามักตื่นเต้นและกระตือรือร้นในการประดิษฐ์เจ้าตุ๊กตาไล่ฝนแขวนที่หน้าบ้านก่อนวันที่จะมีกิจกรรมกลางแจ้ง เนื่องจากเด็กน้อยทั้งหลายไม่ต้องการพลาดกิจกรรมที่รอคอย เช่น การไปทัศนศึกษา หรืองานกีฬาสี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีธรรมเนียมการแขวนกระดิ่งให้กับเจ้าตุ๊กตาเพื่อเป็นการขอบคุณหากฝนไม่ตกตามคำอธิษฐานอีกด้วย 

            ในทางกลับกัน หากแขวนตุ๊กตาไล่ฝนในลักษณะกลับหัว ผลที่ได้ก็จะเป็นไปในทิศทางตรงข้าม นั่นคือช่วยทำให้ฝนตกนั่นเอง ดังนั้น บรรดาเกษตรกรแดนอาทิตย์อุทัยมักใช้วิธีนี้เพื่อเป็นการขอให้ฝนตกเมื่อเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก หรือหากพวกเขาต้องประสบกับภาวะฝนแล้ง

สร้อยคอประดับด้วยชาร์มรูปตุ๊กตาไล่ฝน

แบรนด์ Urcouple Jewelry


เครื่องประดับที่ตกแต่งด้วยตุ๊กตาไล่ฝน 

ภาพจาก: Pinterest

            ปัจจุบันเจ้าตุ๊กตาไล่ฝนไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่ช่วยให้ฝนไม่ตกเท่านั้น หากแต่มันได้เข้ามามีพื้นที่ในวงการแฟชั่น เมื่อมีนักออกแบบหยิบยกเอาแนวคิดเรื่องตุ๊กตาไล่ฝนไปใส่ในสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ของใช้ ของแต่งบ้าน รวมไปถึงเครื่องประดับ ไม่เพียงเพราะความน่ารักอันโดดเด่นเฉพาะตัวของมันเท่านั้น หากแต่ยังสามารถเชื่อมโยงเข้ากับความเชื่อในเชิงการอุปมาอุปไมยได้กับการช่วยขับไล่ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ รวมทั้งช่วยนำพาความสุขสดใสให้เข้ามาในชีวิตได้อีกด้วย 


ข้อมูลอ้างอิง


1. Savvy Tokyo. Japanese Traditions: Teru Teru Bozu. Retrieved 18 August 2020 from https://savvytokyo.com/japanese-traditions-teru-teru-bozu/
2. Sanook. (10 มิถุนาย 2553). ความเชื่อและรอยยิ้มน่ารักๆ ของตุ๊กตาไล่ฝน. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2563 จาก https://www.sanook.com/campus/923692

ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เรื่องเล่าของเจ้าตุ๊กตาไล่ฝน

Jul 13, 2021
4728 views
5 shares

            ฤดูฝนเปรียบได้กับฤดูกาลแห่งชีวิต เป็นฤดูที่เกษตรกรรอคอย ด้วยเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก แต่ฤดูกาลเดียวกันนี้กลับสร้างความหงุดหงิดรำคาญใจให้กับชาวเมืองหลวงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสายฝนที่ปรายโปรยลงมาในแต่ละครั้งนำมาซึ่งปัญหาสารพัด ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมขังรอการระบาย ตามมาด้วยปัญหาการจราจรที่ติดขัดอย่างมหาศาล ไปจนถึงเรื่องโรคระบาดดังที่กำลังสร้างความกังวลให้กับผู้คนในสังคมปัจจุบัน

            เมื่อไม่ต้องการให้ฝนตก มนุษย์เราก็สรรหาวิธีการซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อทำแล้วจะช่วยป้องกันไม่ให้ฝนตก โดยในแต่ละพื้นถิ่นล้วนมีความเชื่อและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น การให้สาวพรหมจรรย์นำตะไคร้ปักลงดินในลักษณะกลับหัวซึ่งเป็นความเชื่อและหลักปฏิบัติว่าด้วยเรื่องการไล่ฝนของสังคมไทยที่มีมาแต่โบราณ นอกจากนี้ ชาวไทยยังรู้จักและมีความคุ้นเคยกับ “ตุ๊กตาไล่ฝน” ในวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น ซึ่งโด่งดังมาจากการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง อิ๊กคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญาอีกด้วย

ตุ๊กตาไล่ฝน (Teru Teru Bozu) 

ภาพจาก: Shutterstock

            ตุ๊กตาไล่ฝน หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า เทรุ เทรุ โบซุ (Teru Teru Bozu) มาจากคำว่า Teru แปลว่า อากาศดี หรือแสงแดด และ Bozu แปลว่า หัวล้าน มีลักษณะเป็นตุ๊กตาที่ทำจากผ้า มีขนาดเล็ก ส่วนหัวกลม มีการวาดหน้าตาให้ยิ้มแย้ม ชาวญี่ปุ่นนิยมแขวนเจ้าตุ๊กตาไล่ฝนบริเวณหน้าบ้านในวันที่ไม่ต้องการให้ฝนตก เช่นในฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกร นอกจากนี้ ตุ๊กตาไล่ฝนยังเป็นที่นิยมในหมู่เด็กๆ พวกเขามักตื่นเต้นและกระตือรือร้นในการประดิษฐ์เจ้าตุ๊กตาไล่ฝนแขวนที่หน้าบ้านก่อนวันที่จะมีกิจกรรมกลางแจ้ง เนื่องจากเด็กน้อยทั้งหลายไม่ต้องการพลาดกิจกรรมที่รอคอย เช่น การไปทัศนศึกษา หรืองานกีฬาสี เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีธรรมเนียมการแขวนกระดิ่งให้กับเจ้าตุ๊กตาเพื่อเป็นการขอบคุณหากฝนไม่ตกตามคำอธิษฐานอีกด้วย 

            ในทางกลับกัน หากแขวนตุ๊กตาไล่ฝนในลักษณะกลับหัว ผลที่ได้ก็จะเป็นไปในทิศทางตรงข้าม นั่นคือช่วยทำให้ฝนตกนั่นเอง ดังนั้น บรรดาเกษตรกรแดนอาทิตย์อุทัยมักใช้วิธีนี้เพื่อเป็นการขอให้ฝนตกเมื่อเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูก หรือหากพวกเขาต้องประสบกับภาวะฝนแล้ง

สร้อยคอประดับด้วยชาร์มรูปตุ๊กตาไล่ฝน

แบรนด์ Urcouple Jewelry


เครื่องประดับที่ตกแต่งด้วยตุ๊กตาไล่ฝน 

ภาพจาก: Pinterest

            ปัจจุบันเจ้าตุ๊กตาไล่ฝนไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่ช่วยให้ฝนไม่ตกเท่านั้น หากแต่มันได้เข้ามามีพื้นที่ในวงการแฟชั่น เมื่อมีนักออกแบบหยิบยกเอาแนวคิดเรื่องตุ๊กตาไล่ฝนไปใส่ในสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า ของใช้ ของแต่งบ้าน รวมไปถึงเครื่องประดับ ไม่เพียงเพราะความน่ารักอันโดดเด่นเฉพาะตัวของมันเท่านั้น หากแต่ยังสามารถเชื่อมโยงเข้ากับความเชื่อในเชิงการอุปมาอุปไมยได้กับการช่วยขับไล่ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ รวมทั้งช่วยนำพาความสุขสดใสให้เข้ามาในชีวิตได้อีกด้วย 


ข้อมูลอ้างอิง


1. Savvy Tokyo. Japanese Traditions: Teru Teru Bozu. Retrieved 18 August 2020 from https://savvytokyo.com/japanese-traditions-teru-teru-bozu/
2. Sanook. (10 มิถุนาย 2553). ความเชื่อและรอยยิ้มน่ารักๆ ของตุ๊กตาไล่ฝน. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2563 จาก https://www.sanook.com/campus/923692

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site