ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เครื่องประดับเงินกับโอกาสที่เฟื่องฟูในแดนภารตะ

Nov 7, 2022
1402 views
0 share

            เราทราบกันดีว่า อินเดียเป็นทั้งผู้ผลิตและบริโภคเครื่องประดับทองรายใหญ่ของโลก แต่ไม่เพียงเท่านั้นอินเดียยังเป็นผู้บริโภคเครื่องประดับเงินรายใหญ่อีกด้วย ที่ผ่านมาตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียซบเซาลงจากผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาได้ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2021 ไม่เพียงแต่เครื่องประดับทองที่ฟื้นตัวกลับมา แต่กระแสความนิยมเครื่องประดับเงินในแดนภารตะกลับเฟื่องฟูมากขึ้นยิ่งกว่าในอดีตที่ผ่านมาอีกด้วย

ชนชั้นกลางและค่านิยมการบริโภคเครื่องประดับ

            ในปี 2021 ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียนั้น มีมูลค่าราว 78,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 8.34% ต่อปี ซึ่งคาดการณ์ว่า ในปี 2027 จะมีมูลค่าตลาดสูงถึง 111,980 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโต ได้แก่ รายได้ของประชากรสูงขึ้น จำนวนชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น และประชากรที่มีจำนวนมากกว่า 1,610 ล้านคน (ข้อมูล ณ กันยายน ปี 2022 จาก Worldometers) โดยเฉพาะชนชั้นกลางที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอินเดียมีอัตราเติบโตสูงราว 8.5% ต่อปี โดยข้อมูลจาก World Data Lab คาดการณ์ว่า ปัจจุบันชนชั้นกลางของอินเดียมีประมาณ 400 ล้านคน จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเกินกว่า 800 ล้านคน ในปี 2030 ซึ่งการใช้จ่ายของชนชั้นกลางในอินเดียจะคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 80% ของการใช้จ่ายทั้งประเทศ จากตารางจะเห็นว่า สัดส่วนการใช้จ่ายของชนชั้นกลางอินเดียเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2015 อินเดียอยู่ในอันดับที่ 4 คิดเป็นสัดส่วน 5% และในปี 2020 สัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 9% คาดการณ์ว่า ในปี 2030 การใช้จ่ายของชนชั้นกลางในอินเดียจะเป็นอันดับ 2 ของโลก มีสัดส่วน 17% ของการใช้จ่ายชนชั้นกลางทั่วโลก 

ตารางการใช้จ่ายของชนชั้นกลาง 10 อันดับแรก ในปี 2015, 2020 และ 2030


 ที่มา : GLOBAL ECONOMY & DEVELOPMENT WORKING PAPER 100

            ขณะที่ความนิยมสวมใส่เครื่องประดับในอินเดียนั้นสืบทอดต่อๆ กันมานับย้อนไปได้กว่า 5 พันปี ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตประจำวัน หรืองานเทศกาลต่างๆ ชาวอินเดียทุกช่วงอายุมักนิยมสวมใส่เครื่องประดับตามร่างกายมากมายหลายชิ้นตั้งแต่หัวจรดเท้า ซึ่งทองคำและเงินเป็นโลหะมีค่าที่ได้รับความนิยมในอินเดียมากที่สุด โดยเฉพาะค่านิยมในหมู่หญิงสาวที่แสดงถึงสถานะความมั่งคั่งผ่านเครื่องประดับที่สวมใส่ อีกทั้งด้วยความเชื่อกันว่าเป็นของมงคลนำมาซึ่งความรุ่งเรืองและโชคดีแก่ผู้สวมใส่ตามความเชื่อในวัฒนธรรมอินเดีย

            ส่วนเพชรและแพลทินัมแม้จะเป็นเครื่องประดับที่ทั่วโลกนิยมแต่ไม่ใช่ในอินเดีย ด้วยค่านิยมและวัฒนธรรมที่แตกต่างทำให้ชาวอินเดียให้คุณค่ากับทองและเงินทั้งในแง่ของการใช้เป็นเครื่องประดับ การสะสมมูลค่า การแสดงออกถึงฐานะทางสังคม และการลงทุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยมากกว่าเพชรและแพลทินัม 


ชาวมิลเลนเนียลและเจน Z ผลักดันดีมานด์เครื่องประดับเงิน

            ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดเครื่องประดับเงินในอินเดียได้รับการตอบรับเพิ่มสูงขึ้นในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มหนุ่มสาวที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศอย่างวัยมิลเลนเนียลที่มีจำนวนกว่า 540 ล้านคน และเจน Z จำนวนกว่า 430 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 34% และ 27% ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งข้อมูลจากแบรนด์เครื่องประดับเงินที่มีชื่อเสียงในอินเดียอย่าง Divas Mantra ได้ทำการสำรวจผู้บริโภคในเมืองสำคัญทั่วอินเดียอย่างเช่น เบงกาลูรู (Bengaluru) เจนไน (Chennai) ไฮเดอราบัด (Hyderabad) กัลกัตตา (Kolkata) มุมไบ (Mumbai) และนิวเดลี (New Delhi) พบว่า 45% ของวัยมิลเลนเนียลและเจน Z นิยมลงทุนในเครื่องประดับโดยเฉพาะเครื่องประดับเงินชุบทอง ขณะที่ในแง่ของการสวมใส่เป็นเครื่องประดับนั้น จำนวนมากกว่า 64% ของคน 2 กลุ่มนี้ นิยมเครื่องประดับเงินมากกว่าเครื่องประดับทอง เนื่องจากเครื่องประดับเงินมีดีไซน์ที่ดูทันสมัย มีลวดลายละเอียดประณีตมากมายหลายแบบ สามารถประยุกต์เข้ากับการแต่งกายได้ในชีวิตประจำวันและงานพิธีต่างๆ ได้อย่างลงตัว รวมทั้งยังมีราคาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้มากกว่าเครื่องประดับทอง โดยราคาเฉลี่ยที่คนกลุ่มนี้เต็มใจซื้อหาเครื่องประดับเงินในงานพิธีหรือเทศกาลต่างๆ อยู่ที่ราว 71,000 รูปีต่อปี (ราว 34,769 บาท) แต่หากเป็นการซื้อหาเพื่อสวมใส่ในชีวิตประจำวันมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 38,000 รูปีต่อปี (ราว 18,609 บาท) (อัตราแลกเปลี่ยนจาก ธปท. ณ วันที่ 22 กันยายน 2022 เท่ากับ 0.4897 บาท: 1 รูปี)


      ภาพดารานางแบบอินเดียสวมใส่เครื่องประดับเงินในเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมและตามแฟชั่น จาก www.pinterest.com

            ทั้งนี้ จากการสำรวจยังพบว่า 73% ของวัยมิลเลนเนียลและเจน Z ทั้งที่ทำงานแล้วและยังเรียนอยู่นิยมสวมใส่เครื่องประดับเงินในชีวิตประจำวัน เนื่องจากน้ำหนักที่เบา มีสไตล์แบบมินิมอล ทั้งยังมีแบบให้เลือกมากมาย ที่เสริมบุคลิกแก่ผู้สวมใส่ โดยความนิยมนี้พบมากในหมู่หญิงสาวในเมืองกัลกัตตา (Kolkata) เจนไน (Chennai) และไฮเดอราบัด (Hyderabad) ตามลำดับ 

อินเทรนด์ด้วยเครื่องประดับเงินรมดำ

            ตามปกตินั้นเครื่องประดับเงินเมื่อผ่านการใช้ไปช่วงเวลาหนึ่งมักเกิดรอยดำ หรือความวาวที่ลดลง เนื่องจากการทำปฏิกิริยาของโลหะเงินกับอ็อกซิเจนในอากาศ (Oxidation) ทำให้เครื่องประดับเงินชิ้นนั้นดูเก่า เป็นของหายาก และมีความลึกลับน่าค้นหาในตัวเอง ทำให้มีการนำมาทำเป็นเครื่องประดับเงินมาผ่านกรรมวิธีรมดำเพื่อเน้นลวดลายที่มีอยู่บนเครื่องประดับให้มีความโดดเด่น ซึ่งสร้อยคอ ต่างหู หรือแหวน ที่ผ่านการรมดำ กลายเป็นเครื่องประดับที่ขาดไม่ได้ในหมู่สาวๆ แฟชั่นนิสต้าโดยเฉพาะในกลุ่มที่ชื่นชอบการแต่งตัวสไตล์โบฮีเมียนหรือฮิปปี้ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นไม่กี่ปีที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

            เทรนด์ที่เกิดขึ้นนี้ยังมีการสร้างกระแสความนิยมไปยังดาราเซเลบคนดังในวงการ Bollywood ให้พากันตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับเงินรมดำในหลากหลายรูปแบบ ยิ่งทำให้กระแสความนิยมแพร่ขยายไปยังวงกว้างมากขึ้นทั่วประเทศ

 

ภาพ Kareena Kapoor และ Tara Sutaria สวมใส่เครื่องประดับเงินรมดำ จาก www.pinkvilla.com

            นอกจากกระแสในหมู่วัยรุ่นและดาราเซเลบจาก Bollywood เข้ามาผสมผสานกันทำให้เครื่องประดับเงินกลายเป็นที่นิยมไปทั่วประเทศแล้ว การที่ภาครัฐปรับอัตราภาษีนำเข้าทองคำเพิ่มขึ้นจาก 7.5% เป็น 12.5% ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นหนึ่งในมาตรการภาครัฐที่ออกมาเพื่อลดการขาดดุลการค้าและการอ่อนค่าของเงินรูปี ส่งผลให้ต้นทุนเครื่องประดับทองปรับตัวสูงขึ้น ยิ่งทำให้ผู้บริโภคยิ่งหันมาสนใจเครื่องประดับเงินเพิ่มขึ้นด้วย  นอกจากนี้ ร้านค้าเครื่องประดับหลายแห่งยังให้ความเห็นที่น่าสนใจว่า ยอดขายเครื่องประดับเงินในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 35% อีกทั้งยังมองอนาคตเครื่องประดับเงินมีแนวโน้มสดใสต่อเนื่องไปอีกในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า 

            ด้วยพฤติกรรมของชาวอินเดียโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกำลังซื้อหลักของตลาดสามารถเติบโตต่อไปได้อีกหลายปี เนื่องจากอายุเฉลี่ยของประชากรอินเดียอยู่ที่ 28.4 ปี (ข้อมูลจาก Worldometers) มีพฤติกรรมเปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติ นิยมสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จึงเป็นตลาดแห่งโอกาสที่เปิดกว้างต่อสินค้าเครื่องประดับเงินที่มีเอกลักษณ์ทั้งในแบบดั้งเดิมหรือสินค้าที่มีดีไซน์ทันสมัย หากเป็นสินค้าที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ทั้งยังมีระดับราคาที่เหมาะสมด้วยแล้ว ย่อมมีโอกาสที่จะเจาะเข้าตลาดได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อเพื่อสวมใส่หรือเก็บไว้เพื่อการลงทุน เครื่องประดับเงินยังมีอนาคตที่สดใสรออยู่

            ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Global Trade Atlas ในระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2022 อินเดียนำเข้าเครื่องประดับเงินจากตลาดโลก คิดเป็นมูลค่า 88,608,367 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 185.31% โดยมีประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ด้วยสัดส่วน 68.17% ตามมาด้วยอิตาลี 12.20% และสหรัฐอเมริกา 10.67% ตามลำดับ ไทยไม่เพียงแต่เป็นแหล่งนำเข้าเครื่องประดับเงินอันดับ 1 ของอินเดีย แต่ยังมีอัตราการเติบโตสูงมากถึง 1,220.85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ข้อมูลจาก Global Trade Atlas) ด้วยความชำนาญและความประณีตที่สร้างสรรค์ลวดลายทั้งแบบดั้งเดิมและในรูปแบบสมัยใหม่ จึงทำให้เครื่องประดับเงินไทยเป็นที่นิยมในตลาดโลกและดินแดนภารตะแห่งนี้


ผู้เขียน: นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข


ข้อมูลอ้างอิง


1) Cultural India. Significance of Indian Jewelry. [Online]. Available at: https://www.culturalindia.net/jewellery/significance.html. (Retrieved September 19,2022).
2) Ritiriwaz. Type Of Indian Jewelry. [Online]. Available at: https://www.ritiriwaz.com/type-of-indian-jewellery/. (Retrieved September 19,2022).
3) Research and Markets. 2022. India Gems and Jewelry Market Report 2022. [Online]. Available at: https://www.prnewswire.com/news-releases. (Retrieved September 19,2022).
4) IBEF. 2022. Gems and Jewellery Industry in India. [Online]. Available at: https://www.ibef.org/industry/gems-jewellery-india. (Retrieved September 19,2022).
5) Fibre2fashion. What Would Indians Prefer Gold and Silver or Diamond and Platinum. [Online]. Available at: https://www.fibre2fashion.com. (Retrieved September 19,2022).
6) China vs. India – Where is the momentum in consumer spending?. [Online]. Available at:https://worlddata.io/blog/china-vs-india-where-is-the-momentum-in-consumer-spending
7) IANS. 2022. Indian Gen Z and millennials keen on investing in silver. [Online]. Available at: https://timesofindia.indiatimes.com/life-style/fashion/luxury
8) The national news. 2022. Why demand for silver is soaring in India. [Online]. Available at: https://www.thenationalnews.com/business/2022/08/21/why-demand-for-silver-is-soaring-in-india
9) JEWELLERISTA. 2021. OXIDISED JEWELLERY – ALL YOU NEED TO KNOW. [Online]. Available at:https://jewellerista.com/oxidised-jewellery
10) Verbena India. 2020. Bollywood Actress Hitting & Nailing The Oxidised Jewellery Trend. [Online]. Available at: https://verbenaweddingplanning.com/oxidised-jewellery-trend

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

เครื่องประดับเงินกับโอกาสที่เฟื่องฟูในแดนภารตะ

Nov 7, 2022
1402 views
0 share

            เราทราบกันดีว่า อินเดียเป็นทั้งผู้ผลิตและบริโภคเครื่องประดับทองรายใหญ่ของโลก แต่ไม่เพียงเท่านั้นอินเดียยังเป็นผู้บริโภคเครื่องประดับเงินรายใหญ่อีกด้วย ที่ผ่านมาตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียซบเซาลงจากผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาได้ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2021 ไม่เพียงแต่เครื่องประดับทองที่ฟื้นตัวกลับมา แต่กระแสความนิยมเครื่องประดับเงินในแดนภารตะกลับเฟื่องฟูมากขึ้นยิ่งกว่าในอดีตที่ผ่านมาอีกด้วย

ชนชั้นกลางและค่านิยมการบริโภคเครื่องประดับ

            ในปี 2021 ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของอินเดียนั้น มีมูลค่าราว 78,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 8.34% ต่อปี ซึ่งคาดการณ์ว่า ในปี 2027 จะมีมูลค่าตลาดสูงถึง 111,980 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเติบโต ได้แก่ รายได้ของประชากรสูงขึ้น จำนวนชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น และประชากรที่มีจำนวนมากกว่า 1,610 ล้านคน (ข้อมูล ณ กันยายน ปี 2022 จาก Worldometers) โดยเฉพาะชนชั้นกลางที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอินเดียมีอัตราเติบโตสูงราว 8.5% ต่อปี โดยข้อมูลจาก World Data Lab คาดการณ์ว่า ปัจจุบันชนชั้นกลางของอินเดียมีประมาณ 400 ล้านคน จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเกินกว่า 800 ล้านคน ในปี 2030 ซึ่งการใช้จ่ายของชนชั้นกลางในอินเดียจะคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 80% ของการใช้จ่ายทั้งประเทศ จากตารางจะเห็นว่า สัดส่วนการใช้จ่ายของชนชั้นกลางอินเดียเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง โดยปี 2015 อินเดียอยู่ในอันดับที่ 4 คิดเป็นสัดส่วน 5% และในปี 2020 สัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 9% คาดการณ์ว่า ในปี 2030 การใช้จ่ายของชนชั้นกลางในอินเดียจะเป็นอันดับ 2 ของโลก มีสัดส่วน 17% ของการใช้จ่ายชนชั้นกลางทั่วโลก 

ตารางการใช้จ่ายของชนชั้นกลาง 10 อันดับแรก ในปี 2015, 2020 และ 2030


 ที่มา : GLOBAL ECONOMY & DEVELOPMENT WORKING PAPER 100

            ขณะที่ความนิยมสวมใส่เครื่องประดับในอินเดียนั้นสืบทอดต่อๆ กันมานับย้อนไปได้กว่า 5 พันปี ไม่ว่าจะเป็นในชีวิตประจำวัน หรืองานเทศกาลต่างๆ ชาวอินเดียทุกช่วงอายุมักนิยมสวมใส่เครื่องประดับตามร่างกายมากมายหลายชิ้นตั้งแต่หัวจรดเท้า ซึ่งทองคำและเงินเป็นโลหะมีค่าที่ได้รับความนิยมในอินเดียมากที่สุด โดยเฉพาะค่านิยมในหมู่หญิงสาวที่แสดงถึงสถานะความมั่งคั่งผ่านเครื่องประดับที่สวมใส่ อีกทั้งด้วยความเชื่อกันว่าเป็นของมงคลนำมาซึ่งความรุ่งเรืองและโชคดีแก่ผู้สวมใส่ตามความเชื่อในวัฒนธรรมอินเดีย

            ส่วนเพชรและแพลทินัมแม้จะเป็นเครื่องประดับที่ทั่วโลกนิยมแต่ไม่ใช่ในอินเดีย ด้วยค่านิยมและวัฒนธรรมที่แตกต่างทำให้ชาวอินเดียให้คุณค่ากับทองและเงินทั้งในแง่ของการใช้เป็นเครื่องประดับ การสะสมมูลค่า การแสดงออกถึงฐานะทางสังคม และการลงทุนในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยมากกว่าเพชรและแพลทินัม 


ชาวมิลเลนเนียลและเจน Z ผลักดันดีมานด์เครื่องประดับเงิน

            ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดเครื่องประดับเงินในอินเดียได้รับการตอบรับเพิ่มสูงขึ้นในเมืองต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มหนุ่มสาวที่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศอย่างวัยมิลเลนเนียลที่มีจำนวนกว่า 540 ล้านคน และเจน Z จำนวนกว่า 430 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 34% และ 27% ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งข้อมูลจากแบรนด์เครื่องประดับเงินที่มีชื่อเสียงในอินเดียอย่าง Divas Mantra ได้ทำการสำรวจผู้บริโภคในเมืองสำคัญทั่วอินเดียอย่างเช่น เบงกาลูรู (Bengaluru) เจนไน (Chennai) ไฮเดอราบัด (Hyderabad) กัลกัตตา (Kolkata) มุมไบ (Mumbai) และนิวเดลี (New Delhi) พบว่า 45% ของวัยมิลเลนเนียลและเจน Z นิยมลงทุนในเครื่องประดับโดยเฉพาะเครื่องประดับเงินชุบทอง ขณะที่ในแง่ของการสวมใส่เป็นเครื่องประดับนั้น จำนวนมากกว่า 64% ของคน 2 กลุ่มนี้ นิยมเครื่องประดับเงินมากกว่าเครื่องประดับทอง เนื่องจากเครื่องประดับเงินมีดีไซน์ที่ดูทันสมัย มีลวดลายละเอียดประณีตมากมายหลายแบบ สามารถประยุกต์เข้ากับการแต่งกายได้ในชีวิตประจำวันและงานพิธีต่างๆ ได้อย่างลงตัว รวมทั้งยังมีราคาที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงได้มากกว่าเครื่องประดับทอง โดยราคาเฉลี่ยที่คนกลุ่มนี้เต็มใจซื้อหาเครื่องประดับเงินในงานพิธีหรือเทศกาลต่างๆ อยู่ที่ราว 71,000 รูปีต่อปี (ราว 34,769 บาท) แต่หากเป็นการซื้อหาเพื่อสวมใส่ในชีวิตประจำวันมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 38,000 รูปีต่อปี (ราว 18,609 บาท) (อัตราแลกเปลี่ยนจาก ธปท. ณ วันที่ 22 กันยายน 2022 เท่ากับ 0.4897 บาท: 1 รูปี)


      ภาพดารานางแบบอินเดียสวมใส่เครื่องประดับเงินในเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมและตามแฟชั่น จาก www.pinterest.com

            ทั้งนี้ จากการสำรวจยังพบว่า 73% ของวัยมิลเลนเนียลและเจน Z ทั้งที่ทำงานแล้วและยังเรียนอยู่นิยมสวมใส่เครื่องประดับเงินในชีวิตประจำวัน เนื่องจากน้ำหนักที่เบา มีสไตล์แบบมินิมอล ทั้งยังมีแบบให้เลือกมากมาย ที่เสริมบุคลิกแก่ผู้สวมใส่ โดยความนิยมนี้พบมากในหมู่หญิงสาวในเมืองกัลกัตตา (Kolkata) เจนไน (Chennai) และไฮเดอราบัด (Hyderabad) ตามลำดับ 

อินเทรนด์ด้วยเครื่องประดับเงินรมดำ

            ตามปกตินั้นเครื่องประดับเงินเมื่อผ่านการใช้ไปช่วงเวลาหนึ่งมักเกิดรอยดำ หรือความวาวที่ลดลง เนื่องจากการทำปฏิกิริยาของโลหะเงินกับอ็อกซิเจนในอากาศ (Oxidation) ทำให้เครื่องประดับเงินชิ้นนั้นดูเก่า เป็นของหายาก และมีความลึกลับน่าค้นหาในตัวเอง ทำให้มีการนำมาทำเป็นเครื่องประดับเงินมาผ่านกรรมวิธีรมดำเพื่อเน้นลวดลายที่มีอยู่บนเครื่องประดับให้มีความโดดเด่น ซึ่งสร้อยคอ ต่างหู หรือแหวน ที่ผ่านการรมดำ กลายเป็นเครื่องประดับที่ขาดไม่ได้ในหมู่สาวๆ แฟชั่นนิสต้าโดยเฉพาะในกลุ่มที่ชื่นชอบการแต่งตัวสไตล์โบฮีเมียนหรือฮิปปี้ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นไม่กี่ปีที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

            เทรนด์ที่เกิดขึ้นนี้ยังมีการสร้างกระแสความนิยมไปยังดาราเซเลบคนดังในวงการ Bollywood ให้พากันตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับเงินรมดำในหลากหลายรูปแบบ ยิ่งทำให้กระแสความนิยมแพร่ขยายไปยังวงกว้างมากขึ้นทั่วประเทศ

 

ภาพ Kareena Kapoor และ Tara Sutaria สวมใส่เครื่องประดับเงินรมดำ จาก www.pinkvilla.com

            นอกจากกระแสในหมู่วัยรุ่นและดาราเซเลบจาก Bollywood เข้ามาผสมผสานกันทำให้เครื่องประดับเงินกลายเป็นที่นิยมไปทั่วประเทศแล้ว การที่ภาครัฐปรับอัตราภาษีนำเข้าทองคำเพิ่มขึ้นจาก 7.5% เป็น 12.5% ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นหนึ่งในมาตรการภาครัฐที่ออกมาเพื่อลดการขาดดุลการค้าและการอ่อนค่าของเงินรูปี ส่งผลให้ต้นทุนเครื่องประดับทองปรับตัวสูงขึ้น ยิ่งทำให้ผู้บริโภคยิ่งหันมาสนใจเครื่องประดับเงินเพิ่มขึ้นด้วย  นอกจากนี้ ร้านค้าเครื่องประดับหลายแห่งยังให้ความเห็นที่น่าสนใจว่า ยอดขายเครื่องประดับเงินในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 35% อีกทั้งยังมองอนาคตเครื่องประดับเงินมีแนวโน้มสดใสต่อเนื่องไปอีกในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า 

            ด้วยพฤติกรรมของชาวอินเดียโดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกำลังซื้อหลักของตลาดสามารถเติบโตต่อไปได้อีกหลายปี เนื่องจากอายุเฉลี่ยของประชากรอินเดียอยู่ที่ 28.4 ปี (ข้อมูลจาก Worldometers) มีพฤติกรรมเปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติ นิยมสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ จึงเป็นตลาดแห่งโอกาสที่เปิดกว้างต่อสินค้าเครื่องประดับเงินที่มีเอกลักษณ์ทั้งในแบบดั้งเดิมหรือสินค้าที่มีดีไซน์ทันสมัย หากเป็นสินค้าที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ทั้งยังมีระดับราคาที่เหมาะสมด้วยแล้ว ย่อมมีโอกาสที่จะเจาะเข้าตลาดได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อเพื่อสวมใส่หรือเก็บไว้เพื่อการลงทุน เครื่องประดับเงินยังมีอนาคตที่สดใสรออยู่

            ทั้งนี้ จากข้อมูลของ Global Trade Atlas ในระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2022 อินเดียนำเข้าเครื่องประดับเงินจากตลาดโลก คิดเป็นมูลค่า 88,608,367 ดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 185.31% โดยมีประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ด้วยสัดส่วน 68.17% ตามมาด้วยอิตาลี 12.20% และสหรัฐอเมริกา 10.67% ตามลำดับ ไทยไม่เพียงแต่เป็นแหล่งนำเข้าเครื่องประดับเงินอันดับ 1 ของอินเดีย แต่ยังมีอัตราการเติบโตสูงมากถึง 1,220.85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (ข้อมูลจาก Global Trade Atlas) ด้วยความชำนาญและความประณีตที่สร้างสรรค์ลวดลายทั้งแบบดั้งเดิมและในรูปแบบสมัยใหม่ จึงทำให้เครื่องประดับเงินไทยเป็นที่นิยมในตลาดโลกและดินแดนภารตะแห่งนี้


ผู้เขียน: นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข


ข้อมูลอ้างอิง


1) Cultural India. Significance of Indian Jewelry. [Online]. Available at: https://www.culturalindia.net/jewellery/significance.html. (Retrieved September 19,2022).
2) Ritiriwaz. Type Of Indian Jewelry. [Online]. Available at: https://www.ritiriwaz.com/type-of-indian-jewellery/. (Retrieved September 19,2022).
3) Research and Markets. 2022. India Gems and Jewelry Market Report 2022. [Online]. Available at: https://www.prnewswire.com/news-releases. (Retrieved September 19,2022).
4) IBEF. 2022. Gems and Jewellery Industry in India. [Online]. Available at: https://www.ibef.org/industry/gems-jewellery-india. (Retrieved September 19,2022).
5) Fibre2fashion. What Would Indians Prefer Gold and Silver or Diamond and Platinum. [Online]. Available at: https://www.fibre2fashion.com. (Retrieved September 19,2022).
6) China vs. India – Where is the momentum in consumer spending?. [Online]. Available at:https://worlddata.io/blog/china-vs-india-where-is-the-momentum-in-consumer-spending
7) IANS. 2022. Indian Gen Z and millennials keen on investing in silver. [Online]. Available at: https://timesofindia.indiatimes.com/life-style/fashion/luxury
8) The national news. 2022. Why demand for silver is soaring in India. [Online]. Available at: https://www.thenationalnews.com/business/2022/08/21/why-demand-for-silver-is-soaring-in-india
9) JEWELLERISTA. 2021. OXIDISED JEWELLERY – ALL YOU NEED TO KNOW. [Online]. Available at:https://jewellerista.com/oxidised-jewellery
10) Verbena India. 2020. Bollywood Actress Hitting & Nailing The Oxidised Jewellery Trend. [Online]. Available at: https://verbenaweddingplanning.com/oxidised-jewellery-trend

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970