ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

งานออกแบบหลายมิติสร้างกระแสในปี 2023

May 1, 2023
43267 views
0 share

        แนวคิดสมัยใหม่และขนบทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปบวกกับพัฒนาการทางรสนิยมของผู้บริโภคจะส่งผลต่อทิศทางการออกแบบเครื่องประดับในปีนี้

        คอลเลกชันเครื่องประดับในอนาคตมีแนวโน้มที่จะได้รับแรงบันดาลใจอันหลากหลายจากการผสมผสานเทรนด์ในอดีตและกระแสร่วมสมัยเข้าด้วยกัน ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงเครื่องประดับระบุว่า โซเชียลมีเดีย ความลื่นไหลในหลากหลายแง่มุม การนำหลักการออกแบบใหม่มาตีความและทำซ้ำตามแนวทางแบบสมัยใหม่ ตลอดจนการปรับแต่งให้เหมาะกับบุคคลและความยั่งยืน ล้วนถือเป็นประเด็นสำคัญในแวดวงการออกแบบเครื่องประดับทุกวันนี้

        Paola de Luca ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มนักวิจัย Trendvision Jewellery + Forecasting อธิบายว่ากระแสเป็นพัฒนาการของอดีตและปัจจุบัน เมื่อโซเชียลมีเดียได้ถือกำเนิดขึ้น การทำความเข้าใจ “ข้อมูลเปิด” (Open Data) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการระบุกระแสที่กำลังจะเกิดขึ้น

        “บริษัทชั้นนำสามารถสังเกตความเป็นไปในโลก แล้วนำเอาข้อมูลส่วนต่างๆ ที่ได้รับมาตีความหมายลงในงานของตน” de Luca ระบุ “เราได้รับข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยการติดตามบทสนทนาทางออนไลน์และแฮชแท็กต่างๆ การเปิดรับช่วงเวลาปัจจุบัน ทั้งในแง่บรรยากาศและความเปลี่ยนแปลงระดับสากลและท้องถิ่น จะช่วยให้เราเตรียมตัวรับอนาคตได้”


แนวคิดเรื่องความลื่นไหลที่เปลี่ยนแปลงไป

        Duvall O’Steen ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารในธุรกิจเครื่องประดับของ Luxury Brand Group ในนิวยอร์กกล่าวว่า แนวคิดเรื่องงานออกแบบที่มีความลื่นไหลทางเพศ (Gender Fluid Look) กำลังได้รับความสนใจในแวดวงเครื่องประดับ เครื่องประดับประเภทนี้มักใช้อัญมณีแบบกลางๆ เช่น เพชร ไข่มุก และอัญมณีที่ไม่มีสีเพื่อแสดงถึงความอเนกประสงค์ด้านการใช้งานและรูปแบบวิถีชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง

        รูปทรงเรขาคณิตและลวดลายซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี เช่น รูปดวงดาวหรือสัญลักษณ์ตามราศี รวมถึงสไตล์ที่เรียบง่ายไร้การตกแต่ง มักเป็นรูปลักษณ์ที่ใช้สื่อถึงความลื่นไหลทางเพศ

        นักออกแบบ Chris Ploof ปฏิเสธที่จะแบ่งผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ของตนออกเป็นกลุ่มผู้หญิงและกลุ่มผู้ชาย โดยมองว่าลูกค้าเป็นเพียงคนที่ชื่นชอบศิลปะในแนวทางของเขาเท่านั้น ผู้ผลิตเครื่องประดับจากสหรัฐรายนี้เชี่ยวชาญด้านเหล็กดามัสกัส และ Mokume-gane ซึ่งเป็นวิธีการทำงานโลหะแบบญี่ปุ่น และงานฝังประดับด้วยแร่อุกกาบาต แหวนของเขามีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นงานออกแบบที่ใช้งานได้หลากหลายและไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ เมื่อไม่นานมานี้ Ploof ยังได้เปิดตัวคอลเลกชันผลิตภัณฑ์ที่เรืองแสงในความมืดอีกด้วย


ซ้าย: แหวนจากนักออกแบบ Chris Ploof            ขวา: สร้อยข้อมือพลอยสีจากนักออกแบบ Kelly Xie


        De Luca อธิบายว่า แนวคิดเรื่องความลื่นไหลมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความลื่นไหลอาจเกี่ยวข้องกับอายุ วัฒนธรรม ความแตกต่าง และความหลากหลาย ขณะเดียวกันก็สามารถนำไปตีความแบบตรงตัวเป็นเครื่องประดับบนร่างกายหรือชิ้นงานที่แปลงโฉม และกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผู้สวมใส่ รวมถึงเครื่องประดับของชนเผ่าและชนพื้นเมืองจากแอฟริกาหรืออินเดียซึ่งถูกนำมาตีความในรูปแบบที่ล้ำยุคหรือคาดไม่ถึง


ยุคของไข่มุก

        การใส่เครื่องประดับของผู้ชายจะยังคงเป็นกระแสตลอดปี 2023 โดยผู้ชายไม่ได้แค่ใส่เครื่องประดับ แต่ยังใส่เครื่องประดับมุกอย่างเปิดเผยภาคภูมิด้วย Peggy Grosz รองประธานอาวุโสของกิจการไข่มุก Assael เผยว่าผู้ชายหลายกลุ่มหันมาใส่เครื่องประดับมุกกันมากขึ้น “เราพบว่าผู้ชายทุกช่วงอายุและทุกกลุ่มอาชีพเล็งเห็นว่าไข่มุกนั้นมีความงาม ความยั่งยืน และเป็นของขวัญจากธรรมชาติ ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ชายที่มีรสนิยมทางเพศที่แตกต่างเท่านั้น” Grosz กล่าว

        Laura Inghirami ผู้นำกระแสด้านเครื่องประดับในอิตาลีและผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษา DonnaJewel เห็นด้วยในประเด็นนี้ พร้อมเสริมว่าไข่มุกเป็นองค์ประกอบหลักในงานออกแบบหลากหลายที่ผู้ผลิตเครื่องประดับรายสำคัญได้นำกลับมาสร้างสรรค์ใหม่ ทำให้ไข่มุกมีเสน่ห์ดึงดูดที่ดูทันสมัยมากยิ่งขึ้น



เครื่องประดับมุกแบรนด์ Assael 

        O’Steen เรียกความเคลื่อนไหวนี้ว่า “การปฏิวัติไข่มุก” เธออธิบายเพิ่มเติมอีกว่า “ไข่มุกเริ่มเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ชายจากการสนับสนุนโดยเหล่าคนดังอย่าง Harry Styles, ASAP Rocky และ Pharrell Williams


ความเบิกบานรูปแบบใหม่

        ในโลกยุคหลังการแพร่ระบาด เครื่องประดับที่มีสีสันและเน้นความเป็นศิลปะช่วยจุดประกายความเบิกบานให้ผู้สวมใส่ นักอัญมณีวิทยา Isabella Yan ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Artsmeetsjewellery.com อธิบายว่า เครื่องประดับกลุ่ม “Kaleidoscopic Jewels” ได้พัฒนาไปสู่การใช้เฉดสีนีออนที่มีความหลากหลาย

        “เราเห็นกระแสนี้ในการใช้โลหะโครเมียม อะลูมิเนียม และไทเทเนียมที่มีสีเรืองแสง” Yan ระบุ “แนวทางนี้เริ่มเป็นที่แพร่หลายและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั่วไปที่มีรสนิยม”

        ตัวอย่างของงานลักษณะนี้ได้แก่คอลเลกชัน Dulcis ของ Swarovski และผลงานอันมีชีวิตชีวาของผู้ผลิตเครื่องประดับอย่าง Eera, Hugo Kreit, Claire Webb และ Austy Lee นอกจากนี้ Helen Mao ที่ปรึกษาและคิวเรเตอร์ด้านเครื่องประดับให้ความเห็นว่า Cindy Chao และ Kelly Xie เป็นนักออกแบบที่น่าสนใจสำหรับผู้ซื้อที่มองหาเครื่องประดับพลอยสีระดับคุณภาพสูง

 

ซ้าย: ต่างหูจากนักออกแบบ Sole Yeung ชิ้นที่ 4 จากขวา: แหวนจากนักออกแบบ Chris Ploof

ชิ้นที่ 3 จากขวา: แหวนมุกแบรนด์ Assael ขวา: เข็มกลัดอัญมณีจากนักออกแบบ Cindy Chao

        De Luca ให้ความเห็นว่าอารมณ์ความรู้สึกสามารถสะท้อนออกมาเป็นสีสันและพลังงานได้ เธอกล่าวว่า “ผู้คนชอบใส่เสื้อผ้า แอคเซสเซอรี และเครื่องประดับที่มีสีสันจัดจ้านสีเดียวหรือหลายสีผสมผสานกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นวิธีการนำเสนอตัวตนของผู้คนยุคใหม่”


เครื่องประดับแบบซ้อนและแบบห้อยระย้า

        Yan ระบุว่า พู่ ต่างหูห้อยระย้า และการตกแต่งขอบหลายสไตล์ นับตั้งแต่ในงานเครื่องประดับแบบชนเผ่าไปจนถึงชิ้นงานแบบมินิมัลก็เป็นแนวทางที่กำลังกลับมาเช่นกัน โดยปรากฏให้เห็นในคอลเลกชันของผู้ผลิตเครื่องประดับอย่าง Ambersouk, Rainbow K, Sharon Khazzam, Leon Yvonne, Guzema Fine Jewelry และ Jade Ruzzo เป็นต้น

        การซ้อนและการสร้างเลเยอร์ก็กำลังมาแรงเช่นกัน โดยสร้อยคอมุกที่สวมซ้อนกันหลายเลเยอร์กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูง ในขณะที่กำไลขนาดใหญ่ที่เน้นความโดดเด่นก็พบเห็นได้ในงานแฟชั่นโชว์ฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว 2022-2023 หลายงานด้วยกัน นอกจากนี้ “Curated Ear” ก็เป็นการซ้อนอีกรูปแบบหนึ่งโดยอาศัยการเจาะหูที่ช่วยให้สามารถใส่ต่างหูหลายเลเยอร์หรือซ้อนกันบนใบหู


เครื่องประดับแบรนด์ Faberg x Game_of_Thrones

        O’Steen อธิบายว่า การปรับแต่งเครื่องประดับสำหรับแต่ละบุคคลเป็นพลังขับเคลื่อนความต้องการของผู้บริโภคให้หันมาสนใจเครื่องประดับที่ทันสมัยและแสดงออกถึงตัวตนได้มากยิ่งขึ้น ผู้บริโภคต้องการทันกระแส แต่ก็อยากดูโดดเด่นด้วยเช่นกัน


ความยั่งยืน 2.0

        De Luca ระบุว่า พัฒนาการด้านความยั่งยืนช่วยให้งานออกแบบเครื่องประดับก้าวไปอีกขั้น เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของการจัดหาวัตถุดิบ แต่เป็นการทดลองกับวัสดุที่ไม่เป็นไปตามกรอบเดิมๆ ทั้งนี้รวมถึงวัสดุสังเคราะห์ วัสดุธรรมชาติที่ใช้ร่วมกับโลหะผสมชนิดต่างๆ รวมถึงโลหะชุบหรือโลหะทำสี “งานออกแบบไม่จำเป็นต้องมีรูปลักษณ์ตามธรรมชาติ คุณค่าที่แท้จริงนั้นขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้” 

        Yan เห็นด้วยในประเด็นนี้ พร้อมเสริมว่าผู้ผลิตเครื่องประดับยังคงนำแนวคิดเรื่องของมีค่ามาตีความใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยใช้ตัวเลือกที่หลากหลายและวัสดุนอกกรอบอย่างเศษไม้และวัสดุธรรมชาติจากทะเล เธอเสริมว่า การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่และการอัปไซเคิล ตลอดจนการใช้รูปทรงธรรมชาติและวัสดุทองที่มีการเล่นพื้นผิวจะยังคงเป็นแนวทางต่อเนื่องในการออกแบบเครื่องประดับ นักออกแบบอย่าง Alighieri, Lenka Kerlicka, Patcharavipa, Polly Wales และ Ellis Cameron เป็นผู้ผลิตเครื่องประดับรุ่นใหม่ที่จะช่วยส่งเสริมแนวทางความยั่งยืนต่อไป

        O’Steen เผยว่านักออกแบบหลายรายได้นำเอาวัสดุที่ไม่ธรรมดาอย่างไม้ เซรามิก เปลือกหอย ลูไซต์ แก้ว เขาสัตว์ และทองแดงที่มีคราบพาทินา (Patinated Copper) มาใช้ในคอลเลกชันของตน งานออกแบบเหล่านี้มีลักษณะที่ไม่ธรรมดา ทั้งขนาดที่ใหญ่กว่าปกติ เอกลักษณ์ที่แตกต่าง และความโดดเด่นสะดุดตา โดยเป็นการเปลี่ยนจากสไตล์ดั้งเดิมไปหาแนวทางแบบร่วมสมัย

        นอกจากความงามแล้ว งานออกแบบเหล่านี้ยังสื่อถึงความรับผิดชอบและความยั่งยืนด้วย “ผู้บริโภคสนใจสอบถามกันมากขึ้นว่าอัญมณีและโลหะที่ใช้มาจากไหน และมักจะตัดสินใจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย โลหะรีไซเคิลและอัญมณีที่ติดตามแหล่งที่มาได้จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษ” O’Steen กล่าวต่อ

        Mao เสริมว่าเพชรสังเคราะห์จากห้องปฏิบัติการและหินรีไซเคิลช่วยขับเคลื่อนประเด็นด้านความยั่งยืน ร่วมกับเครื่องประดับวินเทจและเครื่องประดับแนวโบราณ

        Inghirami เสริมว่ามีความต้องการเครื่องประดับวินเทจเพิ่มขึ้นในหมู่ผู้ซื้อรุ่นใหม่ เนื่องจากถูกมองว่าเป็นตัวเลือกที่ยั่งยืน อีกทั้งยังมีเรื่องราวที่หลากหลายและยาวนาน ตลอดจนมีคุณค่าในแง่อารมณ์ความรู้สึกด้วย ตัวอย่างเช่น แหวนหมั้นวินเทจนั้นก็ได้รับความนิยมสูงขึ้นในหมู่คู่แต่งงานรุ่นใหม่


ข้อมูลอ้างอิง


JNA. 2023. Multi-dimensional design trends to rule 2023. [Online]. Available at https://news.jewellery
net.com/en/jnanews/features/25036/022223-Multi-dimensional-design-trends-to-rule-2023.

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

งานออกแบบหลายมิติสร้างกระแสในปี 2023

May 1, 2023
43267 views
0 share

        แนวคิดสมัยใหม่และขนบทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปบวกกับพัฒนาการทางรสนิยมของผู้บริโภคจะส่งผลต่อทิศทางการออกแบบเครื่องประดับในปีนี้

        คอลเลกชันเครื่องประดับในอนาคตมีแนวโน้มที่จะได้รับแรงบันดาลใจอันหลากหลายจากการผสมผสานเทรนด์ในอดีตและกระแสร่วมสมัยเข้าด้วยกัน ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงเครื่องประดับระบุว่า โซเชียลมีเดีย ความลื่นไหลในหลากหลายแง่มุม การนำหลักการออกแบบใหม่มาตีความและทำซ้ำตามแนวทางแบบสมัยใหม่ ตลอดจนการปรับแต่งให้เหมาะกับบุคคลและความยั่งยืน ล้วนถือเป็นประเด็นสำคัญในแวดวงการออกแบบเครื่องประดับทุกวันนี้

        Paola de Luca ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มนักวิจัย Trendvision Jewellery + Forecasting อธิบายว่ากระแสเป็นพัฒนาการของอดีตและปัจจุบัน เมื่อโซเชียลมีเดียได้ถือกำเนิดขึ้น การทำความเข้าใจ “ข้อมูลเปิด” (Open Data) จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการระบุกระแสที่กำลังจะเกิดขึ้น

        “บริษัทชั้นนำสามารถสังเกตความเป็นไปในโลก แล้วนำเอาข้อมูลส่วนต่างๆ ที่ได้รับมาตีความหมายลงในงานของตน” de Luca ระบุ “เราได้รับข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่ขับเคลื่อนสังคมด้วยการติดตามบทสนทนาทางออนไลน์และแฮชแท็กต่างๆ การเปิดรับช่วงเวลาปัจจุบัน ทั้งในแง่บรรยากาศและความเปลี่ยนแปลงระดับสากลและท้องถิ่น จะช่วยให้เราเตรียมตัวรับอนาคตได้”


แนวคิดเรื่องความลื่นไหลที่เปลี่ยนแปลงไป

        Duvall O’Steen ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารในธุรกิจเครื่องประดับของ Luxury Brand Group ในนิวยอร์กกล่าวว่า แนวคิดเรื่องงานออกแบบที่มีความลื่นไหลทางเพศ (Gender Fluid Look) กำลังได้รับความสนใจในแวดวงเครื่องประดับ เครื่องประดับประเภทนี้มักใช้อัญมณีแบบกลางๆ เช่น เพชร ไข่มุก และอัญมณีที่ไม่มีสีเพื่อแสดงถึงความอเนกประสงค์ด้านการใช้งานและรูปแบบวิถีชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง

        รูปทรงเรขาคณิตและลวดลายซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี เช่น รูปดวงดาวหรือสัญลักษณ์ตามราศี รวมถึงสไตล์ที่เรียบง่ายไร้การตกแต่ง มักเป็นรูปลักษณ์ที่ใช้สื่อถึงความลื่นไหลทางเพศ

        นักออกแบบ Chris Ploof ปฏิเสธที่จะแบ่งผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ของตนออกเป็นกลุ่มผู้หญิงและกลุ่มผู้ชาย โดยมองว่าลูกค้าเป็นเพียงคนที่ชื่นชอบศิลปะในแนวทางของเขาเท่านั้น ผู้ผลิตเครื่องประดับจากสหรัฐรายนี้เชี่ยวชาญด้านเหล็กดามัสกัส และ Mokume-gane ซึ่งเป็นวิธีการทำงานโลหะแบบญี่ปุ่น และงานฝังประดับด้วยแร่อุกกาบาต แหวนของเขามีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นงานออกแบบที่ใช้งานได้หลากหลายและไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ เมื่อไม่นานมานี้ Ploof ยังได้เปิดตัวคอลเลกชันผลิตภัณฑ์ที่เรืองแสงในความมืดอีกด้วย


ซ้าย: แหวนจากนักออกแบบ Chris Ploof            ขวา: สร้อยข้อมือพลอยสีจากนักออกแบบ Kelly Xie


        De Luca อธิบายว่า แนวคิดเรื่องความลื่นไหลมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความลื่นไหลอาจเกี่ยวข้องกับอายุ วัฒนธรรม ความแตกต่าง และความหลากหลาย ขณะเดียวกันก็สามารถนำไปตีความแบบตรงตัวเป็นเครื่องประดับบนร่างกายหรือชิ้นงานที่แปลงโฉม และกลายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับผู้สวมใส่ รวมถึงเครื่องประดับของชนเผ่าและชนพื้นเมืองจากแอฟริกาหรืออินเดียซึ่งถูกนำมาตีความในรูปแบบที่ล้ำยุคหรือคาดไม่ถึง


ยุคของไข่มุก

        การใส่เครื่องประดับของผู้ชายจะยังคงเป็นกระแสตลอดปี 2023 โดยผู้ชายไม่ได้แค่ใส่เครื่องประดับ แต่ยังใส่เครื่องประดับมุกอย่างเปิดเผยภาคภูมิด้วย Peggy Grosz รองประธานอาวุโสของกิจการไข่มุก Assael เผยว่าผู้ชายหลายกลุ่มหันมาใส่เครื่องประดับมุกกันมากขึ้น “เราพบว่าผู้ชายทุกช่วงอายุและทุกกลุ่มอาชีพเล็งเห็นว่าไข่มุกนั้นมีความงาม ความยั่งยืน และเป็นของขวัญจากธรรมชาติ ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ชายที่มีรสนิยมทางเพศที่แตกต่างเท่านั้น” Grosz กล่าว

        Laura Inghirami ผู้นำกระแสด้านเครื่องประดับในอิตาลีและผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษา DonnaJewel เห็นด้วยในประเด็นนี้ พร้อมเสริมว่าไข่มุกเป็นองค์ประกอบหลักในงานออกแบบหลากหลายที่ผู้ผลิตเครื่องประดับรายสำคัญได้นำกลับมาสร้างสรรค์ใหม่ ทำให้ไข่มุกมีเสน่ห์ดึงดูดที่ดูทันสมัยมากยิ่งขึ้น



เครื่องประดับมุกแบรนด์ Assael 

        O’Steen เรียกความเคลื่อนไหวนี้ว่า “การปฏิวัติไข่มุก” เธออธิบายเพิ่มเติมอีกว่า “ไข่มุกเริ่มเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ชายจากการสนับสนุนโดยเหล่าคนดังอย่าง Harry Styles, ASAP Rocky และ Pharrell Williams


ความเบิกบานรูปแบบใหม่

        ในโลกยุคหลังการแพร่ระบาด เครื่องประดับที่มีสีสันและเน้นความเป็นศิลปะช่วยจุดประกายความเบิกบานให้ผู้สวมใส่ นักอัญมณีวิทยา Isabella Yan ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Artsmeetsjewellery.com อธิบายว่า เครื่องประดับกลุ่ม “Kaleidoscopic Jewels” ได้พัฒนาไปสู่การใช้เฉดสีนีออนที่มีความหลากหลาย

        “เราเห็นกระแสนี้ในการใช้โลหะโครเมียม อะลูมิเนียม และไทเทเนียมที่มีสีเรืองแสง” Yan ระบุ “แนวทางนี้เริ่มเป็นที่แพร่หลายและได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคทั่วไปที่มีรสนิยม”

        ตัวอย่างของงานลักษณะนี้ได้แก่คอลเลกชัน Dulcis ของ Swarovski และผลงานอันมีชีวิตชีวาของผู้ผลิตเครื่องประดับอย่าง Eera, Hugo Kreit, Claire Webb และ Austy Lee นอกจากนี้ Helen Mao ที่ปรึกษาและคิวเรเตอร์ด้านเครื่องประดับให้ความเห็นว่า Cindy Chao และ Kelly Xie เป็นนักออกแบบที่น่าสนใจสำหรับผู้ซื้อที่มองหาเครื่องประดับพลอยสีระดับคุณภาพสูง

 

ซ้าย: ต่างหูจากนักออกแบบ Sole Yeung ชิ้นที่ 4 จากขวา: แหวนจากนักออกแบบ Chris Ploof

ชิ้นที่ 3 จากขวา: แหวนมุกแบรนด์ Assael ขวา: เข็มกลัดอัญมณีจากนักออกแบบ Cindy Chao

        De Luca ให้ความเห็นว่าอารมณ์ความรู้สึกสามารถสะท้อนออกมาเป็นสีสันและพลังงานได้ เธอกล่าวว่า “ผู้คนชอบใส่เสื้อผ้า แอคเซสเซอรี และเครื่องประดับที่มีสีสันจัดจ้านสีเดียวหรือหลายสีผสมผสานกัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นวิธีการนำเสนอตัวตนของผู้คนยุคใหม่”


เครื่องประดับแบบซ้อนและแบบห้อยระย้า

        Yan ระบุว่า พู่ ต่างหูห้อยระย้า และการตกแต่งขอบหลายสไตล์ นับตั้งแต่ในงานเครื่องประดับแบบชนเผ่าไปจนถึงชิ้นงานแบบมินิมัลก็เป็นแนวทางที่กำลังกลับมาเช่นกัน โดยปรากฏให้เห็นในคอลเลกชันของผู้ผลิตเครื่องประดับอย่าง Ambersouk, Rainbow K, Sharon Khazzam, Leon Yvonne, Guzema Fine Jewelry และ Jade Ruzzo เป็นต้น

        การซ้อนและการสร้างเลเยอร์ก็กำลังมาแรงเช่นกัน โดยสร้อยคอมุกที่สวมซ้อนกันหลายเลเยอร์กำลังเป็นที่นิยมอย่างสูง ในขณะที่กำไลขนาดใหญ่ที่เน้นความโดดเด่นก็พบเห็นได้ในงานแฟชั่นโชว์ฤดูใบไม้ร่วง/ฤดูหนาว 2022-2023 หลายงานด้วยกัน นอกจากนี้ “Curated Ear” ก็เป็นการซ้อนอีกรูปแบบหนึ่งโดยอาศัยการเจาะหูที่ช่วยให้สามารถใส่ต่างหูหลายเลเยอร์หรือซ้อนกันบนใบหู


เครื่องประดับแบรนด์ Faberg x Game_of_Thrones

        O’Steen อธิบายว่า การปรับแต่งเครื่องประดับสำหรับแต่ละบุคคลเป็นพลังขับเคลื่อนความต้องการของผู้บริโภคให้หันมาสนใจเครื่องประดับที่ทันสมัยและแสดงออกถึงตัวตนได้มากยิ่งขึ้น ผู้บริโภคต้องการทันกระแส แต่ก็อยากดูโดดเด่นด้วยเช่นกัน


ความยั่งยืน 2.0

        De Luca ระบุว่า พัฒนาการด้านความยั่งยืนช่วยให้งานออกแบบเครื่องประดับก้าวไปอีกขั้น เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของการจัดหาวัตถุดิบ แต่เป็นการทดลองกับวัสดุที่ไม่เป็นไปตามกรอบเดิมๆ ทั้งนี้รวมถึงวัสดุสังเคราะห์ วัสดุธรรมชาติที่ใช้ร่วมกับโลหะผสมชนิดต่างๆ รวมถึงโลหะชุบหรือโลหะทำสี “งานออกแบบไม่จำเป็นต้องมีรูปลักษณ์ตามธรรมชาติ คุณค่าที่แท้จริงนั้นขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้” 

        Yan เห็นด้วยในประเด็นนี้ พร้อมเสริมว่าผู้ผลิตเครื่องประดับยังคงนำแนวคิดเรื่องของมีค่ามาตีความใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยใช้ตัวเลือกที่หลากหลายและวัสดุนอกกรอบอย่างเศษไม้และวัสดุธรรมชาติจากทะเล เธอเสริมว่า การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่และการอัปไซเคิล ตลอดจนการใช้รูปทรงธรรมชาติและวัสดุทองที่มีการเล่นพื้นผิวจะยังคงเป็นแนวทางต่อเนื่องในการออกแบบเครื่องประดับ นักออกแบบอย่าง Alighieri, Lenka Kerlicka, Patcharavipa, Polly Wales และ Ellis Cameron เป็นผู้ผลิตเครื่องประดับรุ่นใหม่ที่จะช่วยส่งเสริมแนวทางความยั่งยืนต่อไป

        O’Steen เผยว่านักออกแบบหลายรายได้นำเอาวัสดุที่ไม่ธรรมดาอย่างไม้ เซรามิก เปลือกหอย ลูไซต์ แก้ว เขาสัตว์ และทองแดงที่มีคราบพาทินา (Patinated Copper) มาใช้ในคอลเลกชันของตน งานออกแบบเหล่านี้มีลักษณะที่ไม่ธรรมดา ทั้งขนาดที่ใหญ่กว่าปกติ เอกลักษณ์ที่แตกต่าง และความโดดเด่นสะดุดตา โดยเป็นการเปลี่ยนจากสไตล์ดั้งเดิมไปหาแนวทางแบบร่วมสมัย

        นอกจากความงามแล้ว งานออกแบบเหล่านี้ยังสื่อถึงความรับผิดชอบและความยั่งยืนด้วย “ผู้บริโภคสนใจสอบถามกันมากขึ้นว่าอัญมณีและโลหะที่ใช้มาจากไหน และมักจะตัดสินใจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย โลหะรีไซเคิลและอัญมณีที่ติดตามแหล่งที่มาได้จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษ” O’Steen กล่าวต่อ

        Mao เสริมว่าเพชรสังเคราะห์จากห้องปฏิบัติการและหินรีไซเคิลช่วยขับเคลื่อนประเด็นด้านความยั่งยืน ร่วมกับเครื่องประดับวินเทจและเครื่องประดับแนวโบราณ

        Inghirami เสริมว่ามีความต้องการเครื่องประดับวินเทจเพิ่มขึ้นในหมู่ผู้ซื้อรุ่นใหม่ เนื่องจากถูกมองว่าเป็นตัวเลือกที่ยั่งยืน อีกทั้งยังมีเรื่องราวที่หลากหลายและยาวนาน ตลอดจนมีคุณค่าในแง่อารมณ์ความรู้สึกด้วย ตัวอย่างเช่น แหวนหมั้นวินเทจนั้นก็ได้รับความนิยมสูงขึ้นในหมู่คู่แต่งงานรุ่นใหม่


ข้อมูลอ้างอิง


JNA. 2023. Multi-dimensional design trends to rule 2023. [Online]. Available at https://news.jewellery
net.com/en/jnanews/features/25036/022223-Multi-dimensional-design-trends-to-rule-2023.

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site