ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ลดก๊าซคาร์บอนด้วยแนวทางเครื่องประดับรักษ์โลก

Jul 12, 2023
1678 views
1 share

        ในช่วงที่ผ่านมาหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนทั่วโลก ที่ให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ผู้คนยังเกิดความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมจากภัยธรรมชาติต่างๆ และภาวะโลกร้อนที่กลายเป็นปัญหากระทบต่อการดำรงชีวิต ผลักดันให้ผู้คนทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับสินค้าและบริการที่มีการทำธุรกิจโดยคำนึงถึงหลักความยั่งยืน สร้างความรับผิดชอบต่อสังคม และลดผลกระทบต่อโลกและรักษ์สิ่งแวดล้อม นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่กลายเป็นกระแสหลักผลักดันให้ผู้ผลิตในแต่ละภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับต้องสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น เพื่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 

ปัญหาก๊าซเรือนกระจกสู่ลดการใช้คาร์บอน

ตามปกติก๊าซเรือนกระจก*  มีทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและจากกิจกรรมต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่ทว่านับตั้งแต่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการใช้ไฟฟ้าและพลังงานความร้อนเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องมีการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ในปริมาณสูงขึ้น ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนในสัดส่วนมากกว่า 85% ขณะที่การตัดไม้ทำลายป่าและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนในสัดส่วนราว 9% และที่เหลือมาจากการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม และการขนส่ง เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ ก่อมลพิษทางอากาศ ทำลายชั้นโอโซนซึ่งปกป้องผิวโลก ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนหรือเกิดเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอย่างรุนแรง


 "การเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลกในปี 2022 ส่วนใหญ่มาจากถ่านหิน คิดเป็นสัดส่วนราว 40% ตามมาด้วยน้ำมัน 32% ก๊าซ 21% และอื่นๆ 7% "


ในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 27 (COP 27 : 27th session of the Conference of the Parties of UNFCCC) ที่เมืองชาร์ม เอล ชีค (Sharm El-Sheikh) ประเทศอียิปต์ ในปี 2022 ที่ผ่านมา บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้ให้ข้อมูลว่า ปริมาณก๊าซคาร์บอนจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ 37.5 พันล้านตัน ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณการใช้พลังงานถ่านหินและน้ำมันสูงขึ้น ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยรวมในปี 2022 เพิ่มขึ้น 1% ทั้งนี้ มีการประเมินว่า หากการปล่อยก๊าซคาร์บอนยังคงเพิ่มในอัตรานี้ ภายในเวลา 9 ปี จะทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.5oC เมื่อเทียบกับช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม (ค.ศ. 1850-1900) 

ทั้งนี้ จากการประชุมดังกล่าวจึงนำมาสู่ความพยายามหลายประการ อย่างเช่น การเน้นย้ำให้ทุกประเทศทำตามเป้าหมายในการรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกินกว่า 1.5oC เมื่อเทียบกับช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม ภายในปี 2050 การย้ำเตือนให้ทำตามคำสัญญารัฐภาคีให้ไว้เมื่อ COP26 ว่าต้องระดมเงินทุน 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ลดการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินและเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่มีประสิทธิภาพ ขณะที่สถานการณ์ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้น มีกว่า 137 ประเทศทั่วโลกที่ให้คำมั่นสัญญา ในการเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ซึ่งหลายประเทศราว 90% ตั้งเป้าหมายไว้ภายในปี 2050 รวมทั้งประเทศไทยด้วย 

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างที่น่าสนใจอย่างประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ร่วมกันดำเนินแผนการลดโลกร้อนชื่อว่า European Green Deal เพื่อลดก๊าซคาร์บอนลง 50-55% ภายในปี 2030 และลดลงเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ด้วยการนำมาตรการต่างๆ มาใช้ อย่างการปรับปรุงสิทธิการซื้อขายและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การส่งเสริมการคมนาคมสีเขียวทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ การกำหนดอัตราภาษีธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การกำหนดสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน การตั้งเป้าหมายการดูดซับก๊าซเรือนกระจก และข้อตกลงมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2023 นี้ ในระยะแรก สินค้าใน 6 กลุ่ม คือ ปูนซีเมนต์ บริการไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน ที่มาจากประเทศนอกสหภาพยุโรปต้องรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint) ที่จะนำเข้า ในระยะแรกยังไม่มีการเรียกเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมใด กระทั่งปี 2026 จึงจะเริ่มมีการเก็บภาษีอย่างเป็นรูปธรรม

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับกับแนวทางลดคาร์บอน

ในปี 2022 มีการเก็บข้อมูลอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas : GHG) มากที่สุด 5 อันดับ พบว่า อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อน (15.83 พันล้านตันต่อปี) การคมนาคมขนส่ง (8.43 พันล้านตันต่อปี) อุตสาหกรรมผลิตและการก่อสร้าง (6.3 พันล้านตันต่อปี) เกษตรกรรม (5.79 พันล้านตันต่อปี) และอุตสาหกรรมอาหารค้าปลีก (3.1 พันล้านตันต่อปี) ทั้งนี้ แม้ว่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไม่ใช่อุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูง แต่ตลอดวงจรการผลิตในห่วงโซ่อุปทาน การทำเหมืองอัญมณีและโลหะมีค่า ซึ่งเป็นส่วนต้นน้ำนับว่าเป็นส่วนที่เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุด โดยมีตัวอย่างการวัด  Carbon Footprint ในการผลิตทองคำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของ World Gold Council พบว่า กระบวนการต้นน้ำ ส่วนการทำเหมืองนั้นก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทางตรง (Scope 1) 36% จากการใช้พลังงานไฟฟ้าในการผลิต (Scope 2) 43% จากทางอื่นๆ ที่เกิดขึ้น (Scope 3) 21% การผลิตในส่วนต้นน้ำจึงเป็นจุดสำคัญที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเกือบทั้งหมด

 

ภาพกระบวนการผลิตทองคำตลอดห่วงโซ่อุปทานที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอน จาก World Gold Council

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทในภาคอุตสาหกรรมนี้ เริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น โดยการปรับกระบวนการผลิต ใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด มีการนำวัตถุดิบมารีไซเคิล รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมบริเวณที่ทำเหมือง ขณะที่หลายองค์กรในอุตสาหกรรมนี้ต่างตระหนักในการมีส่วนร่วมเพื่อดำเนินการตามแนวทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน 2030 ด้วย โดยมีตัวอย่างเช่น 

Responsible Jewelry Council (RJC)

องค์กรระหว่างประเทศไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั่วโลกกว่า 1,577 ราย ครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจการทำเหมือง การเจียระไน ประกอบตัวเรือน ค้าส่งและค้าปลีก และองค์กรสมาคมต่างๆ ซึ่งตั้งแต่ปี 2015 ได้มีการออกมาตรฐานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน ที่เรียกว่า RJC CoP โดยนำหลักการตามแนวทาง Sustainable Development Goal 17 (SDGs) ของสหประชาชาติมาผนวกเข้ากับข้อกำหนด 6 ด้าน คือ (1) ข้อกำหนดทั่วไป (2) ข้อกำหนดด้านความรับผิดชอบในห่วงโซ่อุปทานและสิทธิมนุษยชน (3) ข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิแรงงานและสภาพแวดล้อมการทำงาน (4) ข้อกำหนดสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม (5) ข้อกำหนดในพลอยสี เพชร กลุ่มโลหะแพลทินัม ทองคำ และเงิน (6) ข้อกำหนดการทำเหมืองอย่างมีความรับผิดชอบ โดยจะดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายภายในปี 2030 เช่นเดียวกับแนวทาง SDGs


ภาพหลักการ RJC CoP ที่นำแนวทาง SDGs จาก https://responsiblejewellery.com/action/partnerships/sdgs/

โครงการ Watch & Jewelry Initiative (WJI 2030) 

        จุดเริ่มต้นของ WJI 2030 นั้น เกิดจากความร่วมมือกันของ Cartier และ Kering ในเดือนตุลาคม 2021 โดยมีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ (1) ส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศ มีเป้าหมายมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รักษาให้อุณหภูมิโลกไม่เพิ่มขึ้นเกินกว่า 1.5oC ภายในปี 2030 และทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 (2) อนุรักษ์ทรัพยากร การจัดหาวัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรมต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งน้ำ โดยใช้หลักพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้มาวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ และ (3) การยอมรับความแตกต่าง สร้างแนวทางส่งเสริมการยอมรับความแตกต่างและคุณค่าของการมีส่วนรับผิดชอบตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

        โดยสมาชิกในโครงการ ได้แก่ Boucheron, Chanel, CIBJO, Eurodiamonds, GIA, Gucci, IWC Schaffhausen, PANDORA, Panerai, Rosy Blue, Rubel & Ménasché, Swarovski และ UFBJOP เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น WJI 2030 ยังร่วมมือกับ RJC เพื่อขยายการรับรู้ในการดำเนินงานตามแนวทางดังกล่าวให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ล่าสุด WJI 2030 ได้ร่วมมือกับ UN Global Compact (UNGC) เป็นกรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ทั้งสององค์กรร่วมกันจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อความยั่งยืน SME SDG 2030 ขึ้น ด้วยเป้าหมายหลัก คือ การให้ความรู้ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) แก่ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 70% ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ 

SCS Global Services (SCS) 

SCS เป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกด้านการรับรองมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน รวมทั้งทำหน้าที่ในการตรวจสอบ การทดสอบ และการพัฒนามาตรฐาน SCS-007 ขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 5 เสาหลักแห่งความยั่งยืน คือ แหล่งที่มาโปร่งใสตรวจสอบได้ มีความรับผิดชอบที่มีจริยธรรม การปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ กระบวนการผลิตที่เน้นความยั่งยืน และการลงทุนเพื่อความยั่งยืน โดยมาตรฐาน SCS-007 นั้น ให้การรับรองครอบคลุมทั้งเพชรธรรมชาติและเพชรสังเคราะห์ นอกจากนี้ SCS ยังมีความร่วมมือกับ Alliance for Responsible Mining (ARM) องค์กรระดับโลกที่ให้การสนับสนุนทําเหมืองแร่แบบดั้งเดิมและขนาดเล็ก ในการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยดูแลคุณภาพชีวิตของคนงานเหมืองและชุมชน ทั้งสององค์กรได้ประกาศข้อตกลงในการขยายมาตรฐาน SCS-007 เพื่อขยายการรับรองให้รวมทองคําที่มาจากเหมืองแบบดั้งเดิมและเหมืองขนาดเล็ก (Artisanal and small-scale mining : ASM) ด้วย 

ทั้งนี้ SCS-007 ยังเป็นมาตรฐานรับรองที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเพชรสังเคราะห์อย่างมาก เนื่องจากว่า การผลิตเพชรสังเคราะห์นั้น ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมหาศาล แต่แหล่งผลิตเพชรสังเคราะห์รายใหญ่ของโลกอย่างจีนและอินเดีย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการผลิตราว 56% และ 15% ของเพชรสังเคราะห์ทั่วโลก ใช้การเผาถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัญหาหลักในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อโลก ดังนั้น การผลิตเพชรสังเคราะห์ส่วนใหญ่ในตลาดจึงไม่ใช่สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่มาตรฐาน SCS-007 นั้น เป็นตรารับรองจาก SCS ซึ่งเป็นองค์ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับอุตสาหกรรม ใช้ผู้เชี่ยวชาญภายนอกในการตรวจสอบเพื่อให้ได้ความเป็นธรรมและไม่ลำเอียง จึงทำให้มาตรฐานนี้สามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้


ภาพตราสัญลักษณ์ SCS-007 จาก https://ecorocksyork.com

Etsy

เป็นเว็บไซต์ศูนย์กลางซื้อขายสินค้าที่เป็นงานฝีมือและสินค้าแนววินเทจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ซึ่งผู้ค้าเครื่องประดับในแนวทางดังกล่าวทั่วโลกเลือกใช้ ด้วยจุดเด่นอย่างค่าธรรมเนียมราคาไม่แพง การออกแบบเว็บไซต์ให้ใช้งานได้ง่าย ไม่เพียงเท่านั้น Etsy ยังคำนึงถึงการวัดผลกระทบของผลิตภัณฑ์และบริการที่เกิดขึ้นที่มีต่อสิ่งแวดล้อม (Carbon Footprint) ให้น้อยที่สุดตั้งแต่วันแรกที่เริ่มกิจการด้วย โดยนำแนวทาง Science Based Targets initiative (SBTi) ซึ่งเป็นโครงการที่รวมทีมนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญได้ก่อตั้งเพื่อให้คำปรึกษาแก่บริษัทที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการรับมือวิกฤติภูมิอากาศ มาใช้ในการดำเนินการ 


"Etsy ตั้งเป้าหมายให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2030"


นอกจากแนวทาง SBTi แล้ว บริษัทยังได้ดำเนินการเพื่อลดก๊าซคาร์บอนใน 3 ขอบเขต คือ (1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (2) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงาน และ (3) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทางอ้อมอื่นๆ โดยตั้งเป้าหมายภายในปี 2030 จะดำเนินการในขอบเขตข้อ 1 และ 2 ลดให้ได้ 50% และข้อ 3 ลดให้ได้ 52% ทั้งจะดำเนินการต่อเพื่อลดให้ได้ถึง 100% ซึ่งครอบคลุมหน่วยงานในส่วนสำนักงาน รวมไปถึงการให้ผู้ขายใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่ผ่านการรับรองหรือบรรจุภัณฑ์ที่นำมารีไซเคิลได้ รวมทั้งยังสนับสนุนและเรียกร้องให้นานาชาติออกกฎหมายหรือมาตรการให้การขนส่งและการคมนาคมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 

แนวทางการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซคาร์บอนของประเทศไทย

ผู้ผลิตเครื่องประดับในไทยจำนวนมากเป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง (OEM) และผู้รับจ้างที่ออกแบบและผลิตสินค้าให้กับบริษัทเพื่อนำไปขายในแบรนด์ตัวเอง (ODM) ดังนั้น จึงให้ความใส่ใจต่อผู้ที่เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ มีการนำหลักการทั้งในแง่ของการหาแหล่งวัตถุดิบที่ยั่งยืนและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนมาใช้ ยิ่งไปกว่านั้น ไทยเป็นประเทศที่มีสมาชิก RJC มากที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก ด้วยจำนวน 82 ราย รองจากอิตาลี (251 ราย) สหรัฐอเมริกา (217 ราย) อินเดีย (200 ราย) สวิตเซอร์แลนด์ (187 ราย) ฝรั่งเศส (174 ราย) และเบลเยียม (112 ราย) (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2023)

Pranda Group

แบรนด์เครื่องประดับแพรนด้า เป็นหนึ่งในแบรนด์แถวหน้าของอุตสาหกรรมที่มีประวัติมายาวนาน มีการผลิตเครื่องประดับด้วยความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ทั้งยังเป็นสมาชิก RJC ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม โดย Pranda Group วางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 15% ภายในปี 2024 และ 25% ในปี 2030 เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ซึ่งแนวทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายประกอบด้วย 

1. บริหารจัดการการใช้พลังงานแสงและเครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

2. การบริหารจัดการน้ำด้วยการใช้ประโยชน์จากเครื่องกรองน้ำระบบ RO (REVERSE OSMOSIS) ทำให้ได้น้ำที่บริสุทธิ์สะอาด

3. บริหารจัดการขยะและมลภาวะ จัดตั้งธนาคารขยะขึ้นเพื่อรวบรวมคัดแยกขยะประเภทต่างๆ เพื่อส่งเสริมการแยกขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมทั้งสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้

4. ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกในการผลิต ซึ่งครอบคลุมทั้ง การบริหารการประหยัดพลังงานในส่วนสำนักงาน ติดตั้งแผงผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์บนหลังคาของอาคารสำนักงานใหญ่ และการใช้รถพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในการขนส่ง เป็นต้น

ด้วยแนวทางการสร้างแบรนด์ให้เติบโตแบบยั่งยืน ทำให้ แพรนด้า จิวเวลรี่ ได้รับรางวัลด้านธรรมาภิบาล ดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคมให้ยั่งยืน อย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา

 

ภาพจาก https://www.pranda.com

REGAL JEWELRY

รีกัล จิวเวลลี่ ก่อตั้งขึ้นในปี 1989 โดยรับจ้างผลิตเครื่องประดับทั้งแบบผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับลูกค้าที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง (Original Equipment Manufacturer : OEM) และแบบผู้รับจ้างที่ออกแบบและผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง (Original Design Manufacturer : ODM) โดยมีลูกค้ามากกว่า 25 ประเทศ มีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ทำให้มีกำลังผลิตถึง 1 ล้านชิ้นต่อเดือน นอกจากนี้ รีกัล ยังมีการคำนึงถึงความโปร่งใส และจริยธรรม ด้วยการนำแนวทาง Signet Responsible Sourcing Protocol (SRSP) มาใช้เป็นแนวทางเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกลุ่มเพชร ทองคำ ดีบุก ทังสเตน และแทนทาลัม โดยมีที่มาที่โปร่งใส ปราศจากข้อขัดแย้ง (conflict-free materials)

 

ภาพจาก https://www.regal-jewelry.com

นอกจากนี้ รีกัล จิวเวลลี่ ยังเป็นสมาชิกของหน่วยงานที่สำคัญอย่าง 1. RJC ซึ่งนำแนวทางตามมาตรฐานมาปฏิบัติให้เกิดความโปร่งใสตลอดห่วงโซ่อุปทาน คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และรักษาสิ่งแวดล้อม 2. The Sedex Members Ethical Trade Audit (SMETA) หรือ SEDEX ป็นองค์กรและระบบการจัดการเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน และความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งสมาชิกขององค์กรต้องผ่านการตรวจสอบ ในเกณฑ์การตรวจสอบ SMETA ที่สำคัญ 4 ประการ ซึ่งได้แก่ เกณฑ์มาตรฐานแรงงาน เกณฑ์สุขอนามัยและความปลอดภัย เกณฑ์สิ่งแวดล้อม และเกณฑ์จริยธรรมทางธุรกิจ 3. amfori BSCI เป็นสมาคมธุรกิจการพาณิชย์ชั้นนำระดับโลก เพื่อการค้าเสรีและยั่งยืน ที่วางหลักการให้สมาชิกคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิของเด็ก และหลักความรับผิดชอบต่อสังคม จึงทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นได้ว่าสินค้าที่มาจาก รีกัล จิวเวลลี่ ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล คำนึงถึงหลักจริยธรรม และรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย

จากที่กล่าวมานั้น เราจะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการตื่นตัวและมีการดำเนินการเพื่อให้ธุรกิจมีความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยกระบวนการต่างๆ ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนในอุตสาหกรรม เพราะปัญหาวิกฤตสภาพแวดล้อมไม่ใช่ความรับผิดชอบของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ต้องเป็นความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกันเพื่อให้โลกนี้สวยงามเหมือนที่เคยเป็นมา


ผู้เขียน: นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

-----------------------------------
* ก๊าซเรือนกระจกนั้นประกอบด้วยก๊าซที่สำคัญ 4 ชนิด คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ CO2 (คิดเป็นสัดส่วน 74.4%) ก๊าซมีเทน (คิดเป็นสัดส่วน 17.3%) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (คิดเป็นสัดส่วน 6.2%) และก๊าซที่มีสารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (คิดเป็นสัดส่วน 2.1%)

ข้อมูลอ้างอิง


1) Arnaud Delubac. 2022. Greenhouse gases by sector in 2022: who is polluting the most?. [Online]. Available at: https://greenly.earth/en-us/blog/ecology-news. (Retrieved February 7, 2023).
2) Nature. 2022. Record-breaking carbon emissions, and more. [Online]. Available at: https://www.nature.com. (Retrieved February 7, 2023).
3) Joshua Askew. 2022. Ukraine war and COVID fuel record breaking carbon emissions in 2022. [Online]. Available at: https://www.euronews.com/green/2022/11/11. (Retrieved February 8, 2023).
4) World Economic Forum. 2022. Analysis: Global CO2 emissions from fossil fuels hits record high in 2022. [Online]. [Online]. Available at: https://www.weforum.org. (Retrieved February 8, 2023).
5) Climate Lab Book. 2017. Defining ‘pre-industrial’. [Online]. Available at: https://www.climate-lab-book.ac.uk/2017/defining-pre-industrial. (Retrieved February 8, 2023).
6) Omri Wallach.2022. Race to Net Zero: Carbon Neutral Goals by Country. [Online]. Available at: https://www.visualcapitalist.com. (Retrieved February 10, 2023).
7) European Commission. 2022. Carbon Border Adjustment Mechanism. [Online]. Available at: https://taxation-customs.ec.europa.eu. (Retrieved February 10, 2023).
8) Beth Howell. 2022. The 7 Biggest Polluters by Industry in 2022. [Online]. Available at: https://eponline.com/articles/2022/10/14. (Retrieved February 10, 2023).
9) Responsible Jewellery Council. 2022. CONTRIBUTE TO THE GLOBAL AGENDA. [Online]. Available at: https://responsiblejewellery.com/action/partnerships/sdgs. (Retrieved February 10, 2023).
10) Watch & Jewellery Initiative 2030. 2023. WJI 2030 launches SME SDG 2030 Solutions Lab with United Nations Global Compact. [Online]. Available at: https://www.wjinitiative2030.org. (Retrieved February 16,2023).
11) SCS Global Services. Certified Sustainability Rated Diamond. [Online]. Available at: https://www.scsglobalservices.com. (Retrieved February 16,2023).
12) CSR Wire. SCS 007 Sustainable Jewelry Standard to Include Artisanal Gold Mines. [Online]. Available at: https://www.csrwire.com. (Retrieved February 17,2023).
13) Kyle Roderick. 2022. How Sustainable Lab-Grown Diamonds Are Reshaping The Luxury Jewelry Industry. [Online]. Available at: https://www.scsglobalservices.com. (Retrieved February 20,2023).
14) Etsy. Environmental Impact. [Online]. Available at: https://investors.etsy.com/impact-reporting/ecological-impact. (Retrieved February 20,2023).
15) Responsible Jewellery Council. 2023. FIND A SUSTAINABILITY PARTNER. [Online]. Available at: https://responsiblejewellery.com/membership. (Retrieved February 21,2023).
16) Pranda Group. 2023. Pranda Group drive towards goals to sustainable jewelry manufacturer. [Online]. Available at: https://www.pranda.com/corporate-news. (Retrieved February 24,2023).
17) RJM. 2023. Transparency. [Online]. Available at: https://www.regal-jewelry.com/transparency. (Retrieved February 28,2023).

เอกสารแนบ


ความคิดเห็น


ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ลดก๊าซคาร์บอนด้วยแนวทางเครื่องประดับรักษ์โลก

Jul 12, 2023
1678 views
1 share

        ในช่วงที่ผ่านมาหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนทั่วโลก ที่ให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ผู้คนยังเกิดความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมจากภัยธรรมชาติต่างๆ และภาวะโลกร้อนที่กลายเป็นปัญหากระทบต่อการดำรงชีวิต ผลักดันให้ผู้คนทั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับสินค้าและบริการที่มีการทำธุรกิจโดยคำนึงถึงหลักความยั่งยืน สร้างความรับผิดชอบต่อสังคม และลดผลกระทบต่อโลกและรักษ์สิ่งแวดล้อม นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่กลายเป็นกระแสหลักผลักดันให้ผู้ผลิตในแต่ละภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับต้องสร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น เพื่อการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 

ปัญหาก๊าซเรือนกระจกสู่ลดการใช้คาร์บอน

ตามปกติก๊าซเรือนกระจก*  มีทั้งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและจากกิจกรรมต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่ทว่านับตั้งแต่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการใช้ไฟฟ้าและพลังงานความร้อนเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องมีการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ในปริมาณสูงขึ้น ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนในสัดส่วนมากกว่า 85% ขณะที่การตัดไม้ทำลายป่าและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนในสัดส่วนราว 9% และที่เหลือมาจากการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม และการขนส่ง เป็นต้น จึงเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือ ก่อมลพิษทางอากาศ ทำลายชั้นโอโซนซึ่งปกป้องผิวโลก ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนหรือเกิดเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศอย่างรุนแรง


 "การเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลกในปี 2022 ส่วนใหญ่มาจากถ่านหิน คิดเป็นสัดส่วนราว 40% ตามมาด้วยน้ำมัน 32% ก๊าซ 21% และอื่นๆ 7% "


ในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 27 (COP 27 : 27th session of the Conference of the Parties of UNFCCC) ที่เมืองชาร์ม เอล ชีค (Sharm El-Sheikh) ประเทศอียิปต์ ในปี 2022 ที่ผ่านมา บรรดานักวิทยาศาสตร์ได้ให้ข้อมูลว่า ปริมาณก๊าซคาร์บอนจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ 37.5 พันล้านตัน ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณการใช้พลังงานถ่านหินและน้ำมันสูงขึ้น ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนโดยรวมในปี 2022 เพิ่มขึ้น 1% ทั้งนี้ มีการประเมินว่า หากการปล่อยก๊าซคาร์บอนยังคงเพิ่มในอัตรานี้ ภายในเวลา 9 ปี จะทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1.5oC เมื่อเทียบกับช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม (ค.ศ. 1850-1900) 

ทั้งนี้ จากการประชุมดังกล่าวจึงนำมาสู่ความพยายามหลายประการ อย่างเช่น การเน้นย้ำให้ทุกประเทศทำตามเป้าหมายในการรักษาอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกินกว่า 1.5oC เมื่อเทียบกับช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม ภายในปี 2050 การย้ำเตือนให้ทำตามคำสัญญารัฐภาคีให้ไว้เมื่อ COP26 ว่าต้องระดมเงินทุน 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ลดการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินและเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่มีประสิทธิภาพ ขณะที่สถานการณ์ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้น มีกว่า 137 ประเทศทั่วโลกที่ให้คำมั่นสัญญา ในการเดินหน้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ซึ่งหลายประเทศราว 90% ตั้งเป้าหมายไว้ภายในปี 2050 รวมทั้งประเทศไทยด้วย 

นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างที่น่าสนใจอย่างประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ร่วมกันดำเนินแผนการลดโลกร้อนชื่อว่า European Green Deal เพื่อลดก๊าซคาร์บอนลง 50-55% ภายในปี 2030 และลดลงเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ด้วยการนำมาตรการต่างๆ มาใช้ อย่างการปรับปรุงสิทธิการซื้อขายและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การส่งเสริมการคมนาคมสีเขียวทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ การกำหนดอัตราภาษีธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การกำหนดสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน การตั้งเป้าหมายการดูดซับก๊าซเรือนกระจก และข้อตกลงมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2023 นี้ ในระยะแรก สินค้าใน 6 กลุ่ม คือ ปูนซีเมนต์ บริการไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และไฮโดรเจน ที่มาจากประเทศนอกสหภาพยุโรปต้องรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint) ที่จะนำเข้า ในระยะแรกยังไม่มีการเรียกเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมใด กระทั่งปี 2026 จึงจะเริ่มมีการเก็บภาษีอย่างเป็นรูปธรรม

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับกับแนวทางลดคาร์บอน

ในปี 2022 มีการเก็บข้อมูลอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas : GHG) มากที่สุด 5 อันดับ พบว่า อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อน (15.83 พันล้านตันต่อปี) การคมนาคมขนส่ง (8.43 พันล้านตันต่อปี) อุตสาหกรรมผลิตและการก่อสร้าง (6.3 พันล้านตันต่อปี) เกษตรกรรม (5.79 พันล้านตันต่อปี) และอุตสาหกรรมอาหารค้าปลีก (3.1 พันล้านตันต่อปี) ทั้งนี้ แม้ว่าอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไม่ใช่อุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูง แต่ตลอดวงจรการผลิตในห่วงโซ่อุปทาน การทำเหมืองอัญมณีและโลหะมีค่า ซึ่งเป็นส่วนต้นน้ำนับว่าเป็นส่วนที่เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุด โดยมีตัวอย่างการวัด  Carbon Footprint ในการผลิตทองคำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของ World Gold Council พบว่า กระบวนการต้นน้ำ ส่วนการทำเหมืองนั้นก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทางตรง (Scope 1) 36% จากการใช้พลังงานไฟฟ้าในการผลิต (Scope 2) 43% จากทางอื่นๆ ที่เกิดขึ้น (Scope 3) 21% การผลิตในส่วนต้นน้ำจึงเป็นจุดสำคัญที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเกือบทั้งหมด

 

ภาพกระบวนการผลิตทองคำตลอดห่วงโซ่อุปทานที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอน จาก World Gold Council

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทในภาคอุตสาหกรรมนี้ เริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น โดยการปรับกระบวนการผลิต ใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาด มีการนำวัตถุดิบมารีไซเคิล รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมบริเวณที่ทำเหมือง ขณะที่หลายองค์กรในอุตสาหกรรมนี้ต่างตระหนักในการมีส่วนร่วมเพื่อดำเนินการตามแนวทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน 2030 ด้วย โดยมีตัวอย่างเช่น 

Responsible Jewelry Council (RJC)

องค์กรระหว่างประเทศไม่แสวงหาผลกำไร เป็นผู้นำในการสร้างมาตรฐานการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งมีสมาชิกอยู่ทั่วโลกกว่า 1,577 ราย ครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจการทำเหมือง การเจียระไน ประกอบตัวเรือน ค้าส่งและค้าปลีก และองค์กรสมาคมต่างๆ ซึ่งตั้งแต่ปี 2015 ได้มีการออกมาตรฐานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและความยั่งยืน ที่เรียกว่า RJC CoP โดยนำหลักการตามแนวทาง Sustainable Development Goal 17 (SDGs) ของสหประชาชาติมาผนวกเข้ากับข้อกำหนด 6 ด้าน คือ (1) ข้อกำหนดทั่วไป (2) ข้อกำหนดด้านความรับผิดชอบในห่วงโซ่อุปทานและสิทธิมนุษยชน (3) ข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิแรงงานและสภาพแวดล้อมการทำงาน (4) ข้อกำหนดสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม (5) ข้อกำหนดในพลอยสี เพชร กลุ่มโลหะแพลทินัม ทองคำ และเงิน (6) ข้อกำหนดการทำเหมืองอย่างมีความรับผิดชอบ โดยจะดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายภายในปี 2030 เช่นเดียวกับแนวทาง SDGs


ภาพหลักการ RJC CoP ที่นำแนวทาง SDGs จาก https://responsiblejewellery.com/action/partnerships/sdgs/

โครงการ Watch & Jewelry Initiative (WJI 2030) 

        จุดเริ่มต้นของ WJI 2030 นั้น เกิดจากความร่วมมือกันของ Cartier และ Kering ในเดือนตุลาคม 2021 โดยมีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ (1) ส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศ มีเป้าหมายมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รักษาให้อุณหภูมิโลกไม่เพิ่มขึ้นเกินกว่า 1.5oC ภายในปี 2030 และทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 (2) อนุรักษ์ทรัพยากร การจัดหาวัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรมต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งน้ำ โดยใช้หลักพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้มาวัดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ และ (3) การยอมรับความแตกต่าง สร้างแนวทางส่งเสริมการยอมรับความแตกต่างและคุณค่าของการมีส่วนรับผิดชอบตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

        โดยสมาชิกในโครงการ ได้แก่ Boucheron, Chanel, CIBJO, Eurodiamonds, GIA, Gucci, IWC Schaffhausen, PANDORA, Panerai, Rosy Blue, Rubel & Ménasché, Swarovski และ UFBJOP เป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้น WJI 2030 ยังร่วมมือกับ RJC เพื่อขยายการรับรู้ในการดำเนินงานตามแนวทางดังกล่าวให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ล่าสุด WJI 2030 ได้ร่วมมือกับ UN Global Compact (UNGC) เป็นกรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ทั้งสององค์กรร่วมกันจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อความยั่งยืน SME SDG 2030 ขึ้น ด้วยเป้าหมายหลัก คือ การให้ความรู้ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) แก่ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 70% ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ 

SCS Global Services (SCS) 

SCS เป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกด้านการรับรองมาตรฐานสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน รวมทั้งทำหน้าที่ในการตรวจสอบ การทดสอบ และการพัฒนามาตรฐาน SCS-007 ขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 5 เสาหลักแห่งความยั่งยืน คือ แหล่งที่มาโปร่งใสตรวจสอบได้ มีความรับผิดชอบที่มีจริยธรรม การปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ กระบวนการผลิตที่เน้นความยั่งยืน และการลงทุนเพื่อความยั่งยืน โดยมาตรฐาน SCS-007 นั้น ให้การรับรองครอบคลุมทั้งเพชรธรรมชาติและเพชรสังเคราะห์ นอกจากนี้ SCS ยังมีความร่วมมือกับ Alliance for Responsible Mining (ARM) องค์กรระดับโลกที่ให้การสนับสนุนทําเหมืองแร่แบบดั้งเดิมและขนาดเล็ก ในการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยดูแลคุณภาพชีวิตของคนงานเหมืองและชุมชน ทั้งสององค์กรได้ประกาศข้อตกลงในการขยายมาตรฐาน SCS-007 เพื่อขยายการรับรองให้รวมทองคําที่มาจากเหมืองแบบดั้งเดิมและเหมืองขนาดเล็ก (Artisanal and small-scale mining : ASM) ด้วย 

ทั้งนี้ SCS-007 ยังเป็นมาตรฐานรับรองที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเพชรสังเคราะห์อย่างมาก เนื่องจากว่า การผลิตเพชรสังเคราะห์นั้น ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมหาศาล แต่แหล่งผลิตเพชรสังเคราะห์รายใหญ่ของโลกอย่างจีนและอินเดีย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการผลิตราว 56% และ 15% ของเพชรสังเคราะห์ทั่วโลก ใช้การเผาถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัญหาหลักในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อโลก ดังนั้น การผลิตเพชรสังเคราะห์ส่วนใหญ่ในตลาดจึงไม่ใช่สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่มาตรฐาน SCS-007 นั้น เป็นตรารับรองจาก SCS ซึ่งเป็นองค์ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับอุตสาหกรรม ใช้ผู้เชี่ยวชาญภายนอกในการตรวจสอบเพื่อให้ได้ความเป็นธรรมและไม่ลำเอียง จึงทำให้มาตรฐานนี้สามารถสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคได้


ภาพตราสัญลักษณ์ SCS-007 จาก https://ecorocksyork.com

Etsy

เป็นเว็บไซต์ศูนย์กลางซื้อขายสินค้าที่เป็นงานฝีมือและสินค้าแนววินเทจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ซึ่งผู้ค้าเครื่องประดับในแนวทางดังกล่าวทั่วโลกเลือกใช้ ด้วยจุดเด่นอย่างค่าธรรมเนียมราคาไม่แพง การออกแบบเว็บไซต์ให้ใช้งานได้ง่าย ไม่เพียงเท่านั้น Etsy ยังคำนึงถึงการวัดผลกระทบของผลิตภัณฑ์และบริการที่เกิดขึ้นที่มีต่อสิ่งแวดล้อม (Carbon Footprint) ให้น้อยที่สุดตั้งแต่วันแรกที่เริ่มกิจการด้วย โดยนำแนวทาง Science Based Targets initiative (SBTi) ซึ่งเป็นโครงการที่รวมทีมนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญได้ก่อตั้งเพื่อให้คำปรึกษาแก่บริษัทที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการรับมือวิกฤติภูมิอากาศ มาใช้ในการดำเนินการ 


"Etsy ตั้งเป้าหมายให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2030"


นอกจากแนวทาง SBTi แล้ว บริษัทยังได้ดำเนินการเพื่อลดก๊าซคาร์บอนใน 3 ขอบเขต คือ (1) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (2) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังงาน และ (3) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทางอ้อมอื่นๆ โดยตั้งเป้าหมายภายในปี 2030 จะดำเนินการในขอบเขตข้อ 1 และ 2 ลดให้ได้ 50% และข้อ 3 ลดให้ได้ 52% ทั้งจะดำเนินการต่อเพื่อลดให้ได้ถึง 100% ซึ่งครอบคลุมหน่วยงานในส่วนสำนักงาน รวมไปถึงการให้ผู้ขายใช้บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่ผ่านการรับรองหรือบรรจุภัณฑ์ที่นำมารีไซเคิลได้ รวมทั้งยังสนับสนุนและเรียกร้องให้นานาชาติออกกฎหมายหรือมาตรการให้การขนส่งและการคมนาคมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง 

แนวทางการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซคาร์บอนของประเทศไทย

ผู้ผลิตเครื่องประดับในไทยจำนวนมากเป็นผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง (OEM) และผู้รับจ้างที่ออกแบบและผลิตสินค้าให้กับบริษัทเพื่อนำไปขายในแบรนด์ตัวเอง (ODM) ดังนั้น จึงให้ความใส่ใจต่อผู้ที่เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ มีการนำหลักการทั้งในแง่ของการหาแหล่งวัตถุดิบที่ยั่งยืนและไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนมาใช้ ยิ่งไปกว่านั้น ไทยเป็นประเทศที่มีสมาชิก RJC มากที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก ด้วยจำนวน 82 ราย รองจากอิตาลี (251 ราย) สหรัฐอเมริกา (217 ราย) อินเดีย (200 ราย) สวิตเซอร์แลนด์ (187 ราย) ฝรั่งเศส (174 ราย) และเบลเยียม (112 ราย) (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2023)

Pranda Group

แบรนด์เครื่องประดับแพรนด้า เป็นหนึ่งในแบรนด์แถวหน้าของอุตสาหกรรมที่มีประวัติมายาวนาน มีการผลิตเครื่องประดับด้วยความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ทั้งยังเป็นสมาชิก RJC ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม โดย Pranda Group วางแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 15% ภายในปี 2024 และ 25% ในปี 2030 เพื่อเดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ซึ่งแนวทางเพื่อให้บรรลุเป้าหมายประกอบด้วย 

1. บริหารจัดการการใช้พลังงานแสงและเครื่องปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ

2. การบริหารจัดการน้ำด้วยการใช้ประโยชน์จากเครื่องกรองน้ำระบบ RO (REVERSE OSMOSIS) ทำให้ได้น้ำที่บริสุทธิ์สะอาด

3. บริหารจัดการขยะและมลภาวะ จัดตั้งธนาคารขยะขึ้นเพื่อรวบรวมคัดแยกขยะประเภทต่างๆ เพื่อส่งเสริมการแยกขยะและนำขยะกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมทั้งสนับสนุนการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้

4. ลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกในการผลิต ซึ่งครอบคลุมทั้ง การบริหารการประหยัดพลังงานในส่วนสำนักงาน ติดตั้งแผงผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์บนหลังคาของอาคารสำนักงานใหญ่ และการใช้รถพลังงานไฟฟ้ามาใช้ในการขนส่ง เป็นต้น

ด้วยแนวทางการสร้างแบรนด์ให้เติบโตแบบยั่งยืน ทำให้ แพรนด้า จิวเวลรี่ ได้รับรางวัลด้านธรรมาภิบาล ดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคมให้ยั่งยืน อย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา

 

ภาพจาก https://www.pranda.com

REGAL JEWELRY

รีกัล จิวเวลลี่ ก่อตั้งขึ้นในปี 1989 โดยรับจ้างผลิตเครื่องประดับทั้งแบบผู้รับจ้างผลิตสินค้าให้กับลูกค้าที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง (Original Equipment Manufacturer : OEM) และแบบผู้รับจ้างที่ออกแบบและผลิตสินค้าให้กับบริษัทที่จะไปขายในแบรนด์ของตัวเอง (Original Design Manufacturer : ODM) โดยมีลูกค้ามากกว่า 25 ประเทศ มีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ทำให้มีกำลังผลิตถึง 1 ล้านชิ้นต่อเดือน นอกจากนี้ รีกัล ยังมีการคำนึงถึงความโปร่งใส และจริยธรรม ด้วยการนำแนวทาง Signet Responsible Sourcing Protocol (SRSP) มาใช้เป็นแนวทางเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกลุ่มเพชร ทองคำ ดีบุก ทังสเตน และแทนทาลัม โดยมีที่มาที่โปร่งใส ปราศจากข้อขัดแย้ง (conflict-free materials)

 

ภาพจาก https://www.regal-jewelry.com

นอกจากนี้ รีกัล จิวเวลลี่ ยังเป็นสมาชิกของหน่วยงานที่สำคัญอย่าง 1. RJC ซึ่งนำแนวทางตามมาตรฐานมาปฏิบัติให้เกิดความโปร่งใสตลอดห่วงโซ่อุปทาน คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน และรักษาสิ่งแวดล้อม 2. The Sedex Members Ethical Trade Audit (SMETA) หรือ SEDEX ป็นองค์กรและระบบการจัดการเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน และความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งสมาชิกขององค์กรต้องผ่านการตรวจสอบ ในเกณฑ์การตรวจสอบ SMETA ที่สำคัญ 4 ประการ ซึ่งได้แก่ เกณฑ์มาตรฐานแรงงาน เกณฑ์สุขอนามัยและความปลอดภัย เกณฑ์สิ่งแวดล้อม และเกณฑ์จริยธรรมทางธุรกิจ 3. amfori BSCI เป็นสมาคมธุรกิจการพาณิชย์ชั้นนำระดับโลก เพื่อการค้าเสรีและยั่งยืน ที่วางหลักการให้สมาชิกคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน สิทธิของเด็ก และหลักความรับผิดชอบต่อสังคม จึงทำให้ผู้บริโภคเชื่อมั่นได้ว่าสินค้าที่มาจาก รีกัล จิวเวลลี่ ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล คำนึงถึงหลักจริยธรรม และรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย

จากที่กล่าวมานั้น เราจะเห็นได้ว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการตื่นตัวและมีการดำเนินการเพื่อให้ธุรกิจมีความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยกระบวนการต่างๆ ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนในอุตสาหกรรม เพราะปัญหาวิกฤตสภาพแวดล้อมไม่ใช่ความรับผิดชอบของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ต้องเป็นความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกันเพื่อให้โลกนี้สวยงามเหมือนที่เคยเป็นมา


ผู้เขียน: นายพุทธิพร วิชัยดิษฐ

ผู้ตรวจสอบ: นางสาววันดี ม่านศรีสุข

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 

-----------------------------------
* ก๊าซเรือนกระจกนั้นประกอบด้วยก๊าซที่สำคัญ 4 ชนิด คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือ CO2 (คิดเป็นสัดส่วน 74.4%) ก๊าซมีเทน (คิดเป็นสัดส่วน 17.3%) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (คิดเป็นสัดส่วน 6.2%) และก๊าซที่มีสารประกอบคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (คิดเป็นสัดส่วน 2.1%)

ข้อมูลอ้างอิง


1) Arnaud Delubac. 2022. Greenhouse gases by sector in 2022: who is polluting the most?. [Online]. Available at: https://greenly.earth/en-us/blog/ecology-news. (Retrieved February 7, 2023).
2) Nature. 2022. Record-breaking carbon emissions, and more. [Online]. Available at: https://www.nature.com. (Retrieved February 7, 2023).
3) Joshua Askew. 2022. Ukraine war and COVID fuel record breaking carbon emissions in 2022. [Online]. Available at: https://www.euronews.com/green/2022/11/11. (Retrieved February 8, 2023).
4) World Economic Forum. 2022. Analysis: Global CO2 emissions from fossil fuels hits record high in 2022. [Online]. [Online]. Available at: https://www.weforum.org. (Retrieved February 8, 2023).
5) Climate Lab Book. 2017. Defining ‘pre-industrial’. [Online]. Available at: https://www.climate-lab-book.ac.uk/2017/defining-pre-industrial. (Retrieved February 8, 2023).
6) Omri Wallach.2022. Race to Net Zero: Carbon Neutral Goals by Country. [Online]. Available at: https://www.visualcapitalist.com. (Retrieved February 10, 2023).
7) European Commission. 2022. Carbon Border Adjustment Mechanism. [Online]. Available at: https://taxation-customs.ec.europa.eu. (Retrieved February 10, 2023).
8) Beth Howell. 2022. The 7 Biggest Polluters by Industry in 2022. [Online]. Available at: https://eponline.com/articles/2022/10/14. (Retrieved February 10, 2023).
9) Responsible Jewellery Council. 2022. CONTRIBUTE TO THE GLOBAL AGENDA. [Online]. Available at: https://responsiblejewellery.com/action/partnerships/sdgs. (Retrieved February 10, 2023).
10) Watch & Jewellery Initiative 2030. 2023. WJI 2030 launches SME SDG 2030 Solutions Lab with United Nations Global Compact. [Online]. Available at: https://www.wjinitiative2030.org. (Retrieved February 16,2023).
11) SCS Global Services. Certified Sustainability Rated Diamond. [Online]. Available at: https://www.scsglobalservices.com. (Retrieved February 16,2023).
12) CSR Wire. SCS 007 Sustainable Jewelry Standard to Include Artisanal Gold Mines. [Online]. Available at: https://www.csrwire.com. (Retrieved February 17,2023).
13) Kyle Roderick. 2022. How Sustainable Lab-Grown Diamonds Are Reshaping The Luxury Jewelry Industry. [Online]. Available at: https://www.scsglobalservices.com. (Retrieved February 20,2023).
14) Etsy. Environmental Impact. [Online]. Available at: https://investors.etsy.com/impact-reporting/ecological-impact. (Retrieved February 20,2023).
15) Responsible Jewellery Council. 2023. FIND A SUSTAINABILITY PARTNER. [Online]. Available at: https://responsiblejewellery.com/membership. (Retrieved February 21,2023).
16) Pranda Group. 2023. Pranda Group drive towards goals to sustainable jewelry manufacturer. [Online]. Available at: https://www.pranda.com/corporate-news. (Retrieved February 24,2023).
17) RJM. 2023. Transparency. [Online]. Available at: https://www.regal-jewelry.com/transparency. (Retrieved February 28,2023).

เอกสารแนบ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site