บทวิเคราะห์การนำเข้าส่งออกอัญมณีไทย
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2566 ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีมูลค่า 10,880.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 8,970.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 8 เดือนแรกของปี 2566 นั้น มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น ได้รับแรงหนุนจากสัญญาณการฟื้นตัวของภาคการผลิตโลกที่ดีขึ้นกว่าเดือนก่อน รวมทั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2566 ลดลงร้อยละ 16.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีมูลค่า 9,779.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 8,168.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) ในรอบ 7 เดือนแรกของปี 2566 นั้น มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านั้น โดยการขยายตัวได้รับปัจจัยบวกทั้งจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของตลาดที่สำคัญโดยเฉพาะภาคบริการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อ่านเนื้อหาได้ในบทความ
มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.52 หากนำมูลค่าดังกล่าวข้างต้นหักออกด้วยการส่งออกทองคำฯ พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 4,198.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 9.01 สืบเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญโดยเฉพาะภาคบริการและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทวิเคราะห์
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2566 มีมูลค่า 6,432.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.53 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย หากพิจารณามูลค่าดังกล่าวข้างต้นไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 3,461.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 5.24 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากปัจจัยมหภาคอย่างการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในหลายประเทศ ทำให้การบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น ดังเช่นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญในเขตยูโรโซน สะท้อนจากดัชนี PMI ภาคการบริการของยูโรโซนอยู่ที่ระดับ 55.5 อัตราเงินเฟ้อลดต่ำลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2566 มีมูลค่า 6,575.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.86 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย หากพิจารณามูลค่าดังกล่าวข้างต้นไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 2,667.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 5.35 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการการจับจ่ายใช้สอยจากนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดผลทางจิตวิทยาต่อการบริโภค รวมทั้งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อเนื่องมาจากช่วงก่อนนี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2566 มีมูลค่า 4,125.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.87 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย หากพิจารณามูลค่าดังกล่าวข้างต้นไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 2,216.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 16.76 ส่วนหนึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนอย่างการเปิดเมืองของจีนและฮ่องกงที่เป็นตลาดผู้บริโภครายใหญ่ รวมทั้งการกลับมาจัดงานอัญมณีและเครื่องประดับในหลายประเทศ อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2566 มีมูลค่า 1,926.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.28 หากพิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย ไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า มีมูลค่า 1,586.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.86 โดยมีปัจจัยส่งเสริมตลาดอาทิเช่น ฮ่องกง และกาตาร์ ที่มีการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับและจัดแคมเปญเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว สามารถอ่านรายละเอียดได้ในบทความ
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในเดือนมกราคม ปี 2566 มีมูลค่า 732.92 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 4.51 หากพิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย ไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า หดตัวลงร้อยละ 1.19 โดยชะลอตัวต่อเนื่องจากช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 อันเนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจที่ก่อตัวขึ้นทั่วโลก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อสูง กดดันให้อุปสงค์การบริโภคของโลกเริ่มลดลง จึงกระทบต่อการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมปี 2565 มีมูลค่า 15,057.70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.82 เมื่อเทียบกับปี 2564 ขณะที่การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยที่ไม่รวมทองคำ พบว่า เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.54 ซึ่งโดยรวมได้รับแรงหนุนจาก 9 เดือนแรก ซึ่งภาคการการผลิตของโลกและกำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ก่อตัวขึ้นทั่วโลก ทำให้อุปสงค์การบริโภคของโลกเริ่มชะลอตัวลงในช่วงปลายปี
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในภาพรวมเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2565 มีมูลค่า 14,489.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 เช่นเดียวกับการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยที่ไม่รวมทองคำ พบว่า เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.02 ซึ่งโดยรวมได้รับแรงหนุนจากช่วง 3 ไตรมาสแรกที่มีแรงซื้อเข้ามามาก จากการที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายประเทศทยอยฟื้นตัวกลับมา จึงมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันยังมีปัจจัยรุมเร้าซึ่งยังไม่คลี่คลายไป
ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกที่ภาพรวมการส่งออกของไทยเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศสำคัญๆ เริ่มชะลอตัวลง ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทว่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในช่วง 10 เดือนของปีนี้ กลับมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.50 หากพิจารณาถึงมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย เมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำ พบว่า เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.38 นับเป็นสินค้าส่งออกหมวดหนึ่งที่สามารถเติบโตสวนกระแสได้ ด้วยปัจจัยหนุนส่งหลายประการ มีรายละเอียดอย่างไร สามารถอ่านได้ในบทความ
การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-กันยายนของปี 2565 ขยายตัวได้ร้อยละ 72.48 โดยมีมูลค่า 12,413.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ยังเติบโตได้ต่อเนื่องจากการบริโภคในประเทศผู้ซื้อยังขยายตัวได้ดี รวมทั้งค่าเงินบาทยังอ่อนค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของไทย ที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 55.7 ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สามารถอ่านรายละเอียดได้ในบทความ