บทวิเคราะห์การนำเข้าส่งออกอัญมณีไทย

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับด้วยมูลค่า 10,077.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 39.11% แต่หากไม่รวมทองคำมูลค่าส่งออกสุทธิอยู่ที่ 2,224.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวลง 42.17% โดยสินค้าส่งออกสำคัญรวมถึงตลาดส่งออกสำคัญหดตัวลงมาก ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง ติดตามรายละเอียดสถานการณ์ส่งออกได้ที่นี่

ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2563 ไทยส่งออกได้สูงกว่า 1.08 เท่า (9,579.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) แต่หากหักทองคำออก พบว่า มูลค่าส่งออกลดลงถึง 34.8% (มูลค่า 1,984 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการลดลง ยกเว้นเพียงทองคำฯ ที่เติบโตสูง และเกือบทุกตลาดสำคัญของไทยก็หดตัวลง จากผลกระทบโควิด-19

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน ปี 2563

ผลกระทบจากไวรัสโควิด -19 ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง ทำให้ไทยส่งออกไม่รวมทองคำในช่วง 4 เดือนแรก ลดลง 25.31% (1,774.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่หากรวมทองคำแล้ว ไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น 1.14 เท่า (8,147.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) จับตาเทรนด์ New Normal ที่จะมีผลต่อสินค้าไทยหลังโควิด-19

บทวิเคราะห์สถานการณ์การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยในระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม ปี 2563

ไทยส่งออกไม่รวมทองคำในไตรมาสแรกของปี 63 ลดลง 20.18% (1,563 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) แต่ถ้ารวมทองคำ มูลค่าส่งออกเติบโตได้ 71.85% (5,442.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยตลาดส่งออกหลัก สหภาพยุโรปและฮ่องกง รวมถึงตะวันออกกลางและจีน หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง

บทวิเคราะห์สถานการณ์การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2563

ในช่วง 2 เดือนแรก ปี 2563 ไทยส่งออกได้ 3,746.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 71.67% เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 2 รองจากรถยนต์ เมื่อหักทองคำฯ ออก การส่งออกที่แท้จริงมีมูลค่า 1,125.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 18.01% ตลาดหลักอย่างสหภาพยุโรป ฮ่องกง และจีน หดตัวลงจากผลกระทบไวรัสโควิด-19

บทวิเคราะห์สถานการณ์การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม ปี 2563

ในเดือนมกราคม 63 ไทยส่งออก 1,740.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 1.15 เท่า แต่เมื่อหักทองคำฯ ออก พบว่าการส่งออกที่แท้จริงมีมูลค่า 530.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 5.11% โดยสินค้าที่เติบโตได้คือ เครื่องประดับทอง พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน และเครื่องประดับแพลทินัม

บทวิเคราะห์สถานการณ์การนำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2562

ในปี 2562 อัญมณีและเครื่องประดับทำรายได้จากการส่งออก 15,689.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตสูงถึง 30.91% แต่เมื่อไม่รวมทองคำ พบว่า มีมูลค่าส่งออก 8,095.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.34% โดยตลาดอินเดีย อาเซียน ตะวันออกกลาง ขยายตัวดี ส่วนฮ่องกง สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา หดตัวลง

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2562

ในช่วง 11 เดือนแรก ปี 62 ไทยส่งออก 14,968.05 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตสูงถึง 34.73% โดยสินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวดีคือ ทองคำฯ เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ส่วนตลาดสำคัญที่เติบโตคือ กลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ และกัมพูชา อินเดีย และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม ปี 2562

ในช่วง 10 เดือนแรกปี 62 ไทยส่งออกเป็นมูลค่า 13,974.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตสูง 37.59% โดยไทยส่งออกทองคำฯ ได้เพิ่มขึ้นสูงถึงเกือบเท่าตัว ในจังหวะที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งพลอยสีก็ยังขยายตัวได้ดี ส่วนตลาดส่งออกสำคัญที่เติบโตคือ อินเดีย อาเซียน และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2562

ในช่วง 9 เดือนแรก ปี 62 ไทยส่งออก 13,037.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มสูงถึง 42.61% เมื่อหักทองคำออก การส่งออกที่แท้จริงมีมูลค่า 6,275.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.68% โดยตลาดอินเดีย อาเซียน และตะวันออกกลาง เติบโตได้ดี

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2562

ทยส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกปี 62 มีมูลค่า 11,452.89 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 45.81% แต่เมื่อหักทองคำออก การส่งออกที่แท้จริงมีมูลค่า 5,240.49 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 7.92% จากการส่งออกไปยังอินเดียและอาเซียนได้สูงขึ้นมาก

บทวิเคราะห์สถานการณ์ส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2562

ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 62 ไทยทำรายได้จากการส่งออกด้วยมูลค่า 9,025.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นถึงเกือบ 30% แต่หากไม่รวมทองคำฯ พบว่าการส่งออที่แท้จริงมีมูลค่า 4,433.09 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต 2.59% โดยตลาดที่เติบโตคือ อินเดียและอาเซียน

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site