Infographic
ข้อมูลด้านการตลาด
ปี 2568
จำนวนผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2567
ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2567 มีจำนวนรวม 13,595 ราย เพิ่มขึ้น 2.05% จากปี 2566 คิดเป็น 1.44% ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งประเทศ สร้างรายได้จากการส่งออกในปี 2567 กว่า 640,000 ล้านบาท เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 3 ของสินค้าส่งออกโดยรวม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ 97% เป็น SMEs อ่านรายละเอียดได้ตามภาพอินโฟกราฟฟิกนี้
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2567
มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 อยู่ที่ 18,367.12 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 25.49% เมื่อเทียบกับปี 2566 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วน 6.11% ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 9,609.10 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 10.99%
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2567
มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2567 อยู่ที่ 16,924.49 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 6.14 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 8,611.89 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตร้อยละ 6.30
ปี 2567
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-ตุลาคม ปี 2567
มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2567 อยู่ที่ 15,415.07 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 6.16 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 7,788.55 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตร้อยละ 5.35
ทิศทางการบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับของชาวอเมริกันในช่วงเทศกาลส่งท้ายปี
ในเทศกาลปลายปีนั้น เป็นช่วงที่ผู้คนต่างพากันซื้อหาของขวัญให้คนที่รักและให้เป็นรางวัลกับตนเอง โดยมีการสำรวจชาวอเมริกันพบว่า เครื่องประดับเป็นหนึ่งในสินค้าที่นิยมซื้อในช่วงนี้ด้วยเช่นนั้น ซึ่งระดับราคาที่นิยมซื้อหาจะอยู่ในช่วง 1,000-5,000 ดอลลาร์สหรัฐ มากที่สุด ขณะที่ทองสีเหลืองรูปแบบขนาดใหญ่สะดุดตายังเป็นที่ชื่นชอบของชาวอเมริกันมากที่สุด
แนวโน้มตลาดไข่มุก
ตลาดไข่มุกมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มมากขึ้น นอกจากสาวๆ จะนิยมเครื่องประดับไข่มุกแล้ว หนุ่มๆ ก็เริ่มมานิยมเครื่องประดับไข่มุกมากขึ้น ทำให้ตลาดนี้ขยายตัวได้เพิ่มขึ้น ซึ่ง Business Research คาดว่าตลาดไข่มุกธรรมชาติและไข่มุกเลี้ยงมีมูลค่า 9.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2023 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2032 เติบโตเฉลี่ย 4.9%
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2567
มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2567 อยู่ที่ 12,448 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 5.58 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 7,053.53 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตร้อยละ 9.83
เพชรสี ความสวยงามเพื่อการสวมใส่และลงทุน
เพชรสีนั้นไม่เพียงแต่เป็นเครื่องประดับที่สวยงาม สามารถเติมเต็มบุคลิกของผู้สวมใส่ให้โดดเด่น แสดงลักษณะเฉพาะตัวและความหรูหรา ทั้งยังดึงดูดคนรุ่นใหม่ด้วยสีสันและเรื่องราวอันน่าหลงใหล นอกจากนี้ ยังเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นตามกาลเวลาจึงเป็นสินทรัพย์ทางเลือกในการลงทุนระยะยาวที่น่าสนใจ
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-สิงหาคม ปี 2567
มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2567 อยู่ที่ 10,431.81 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 5.29 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 5,359.07 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตร้อยละ 7.82
สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กรกฎาคม ปี 2567
มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2567 อยู่ที่ 9,301.92 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.44 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 5,103.78 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตร้อยละ 6.65