Infographic

ข้อมูลด้านการตลาด

ปี 2567

รู้จักออสเตรเลีย ตลาดสำคัญสำหรับอัญมณีและเครื่องประดับ

ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญของอัญมณีและเครื่องประดับ ในปีที่ผ่านมาตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของออสเตรเลีย มีมูลค่า 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการเติบโต 5.97% โดยสัดส่วนร้านค้าเครื่องประดับในออสเตรเลีย แบ่งเป็นร้านเครื่องประดับแท้ 78.7% ร้านเครื่องประดับแฟชั่น 21.3% ซึ่งผลิตตภัณฑ์ที่มีความเฉพาะตัวและมีคุณภาพสูงเป็นที่นิยมในตลาด

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤษภาคม ปี 2567

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 อยู่ที่ 6,324.15 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.25 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 3,851.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตร้อยละ 11.24

10 อัญมณียอดนิยมสำหรับการลงทุนในปี 2567

อัญมณีไม่เพียงแต่เป็นสิ่งสวยงามและน่าหลงใหลเท่านั้น แต่ยังเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีและช่วยกระจายความเสี่ยงด้วย สำหรับอัญมณีที่น่าลงทุนในปี 2567 นั้นอ่านได้ในภาพอินโฟกราฟฟิกนี้ และการลงทุนมีความเสี่ยง เนื่องจากตลาดอัญมณีมีความผันผวน การศึกษาและการเรียนรู้เกี่ยวกับตลาดและการลงทุนอัญมณีนั้นสำคัญอย่างมากก่อนการตัดสินใจลงทุนใดๆ

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-เมษายน ปี 2567

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2567 อยู่ที่ 4,915.74 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.21 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 3,025.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตร้อยละ 13.39

มรกต อัญมณีทางเลือกที่กำลังเติบโต

มรกตนั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งยังเข้ากับตัวเรือนโลหะมีค่าอย่างทอง เงิน หรือแพลทินัมได้อย่างลงตัว สร้างความสนใจให้ผู้บริโภคที่ต้องการสร้างความโดดเด่นเฉพาะตัวเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการซื้อหาเพื่อการลงทุนซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะมรกตโคลัมเบียที่ผู้บริโภค นักสะสม และนักลงทุนให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ

FTA ไทย-ศรีลังกา สร้างโอกาสสู่อัญมณีและเครื่องประดับ

ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย–ศรีลังกาที่มีการลงนามไปนั้น นับเป็น FTA ฉบับที่ 15 ของไทย ซึ่งไม่เพียงแต่ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า ยังมีส่วนช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในตลาดศรีลังกาในสินค้าและบริการ โดยเฉพาะสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ทำให้การเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานจากแหล่งอัญมณีคุณภาพสูงของศรีลังกาสู่ความเชี่ยวชาญด้านการเจียระไนของไทยได้อย่างครบวงจร

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-มีนาคม ปี 2567

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 อยู่ที่ 4,115.13 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.80 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 2,513.73 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตร้อยละ 13.36

ภาวะแรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับปี 2566

ในปี 2566 ไทยมีแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับรวม 782,454 คน (ไม่รวมแรงงานนอกระบบซึ่งหากรวมแล้วคาดว่าจะมีแรงงานตลอดห่วงโซ่อุปทานราวหนึ่งล้านคน) โดยแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจขายปลีกเครื่องประดับ หากแบ่งตามกระจายตัวของแรงงานในอุตสาหกรรมต้นน้ำพบว่า แรงงานอยู่ในจันทบุรีมากที่สุด ส่วนอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ อายุแรงงานเฉลี่ยอยู่ที่ 38 ปี (ในอุตสาหกรรมปลายน้ำ) และ 39 ปี (ในอุตสาหกรรมต้นน้ำและกลางน้ำ)

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2567

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 เติบโตสูงถึง 57.26% (YoY) มีมูลค่าส่งออกอยู่ที่ 3,031.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 2 รองจากรถยนต์ คิดเป็นสัดส่วน 6.59% ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวหักออกด้วยการส่งออกทองคำฯ พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 1,822.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 14.78%

จำนวนผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2566

ในปี 2566 ไทยมีจำนวนผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับรวม 13,322 ราย เพิ่มขึ้น 3.34% จากปีที่แล้ว เนื่องจากผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น มีการท่องเที่ยวเดินทางมากขึ้น จึงทำให้ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับเติบโตสูงขึ้น จูงใจให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดนี้มากขึ้น โดยทั้งปี 2566 การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย สร้างรายได้กว่า 500,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการราว 90% เป็น SMEs และส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ รองลงมาคือ ชลบุรี สุมทรปราการ และจันทบุรี ตามลำดับ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site