บทความวิชาการอัญมณี

เจาะลึกตลาดอาเซียน เพิ่มโอกาสส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปยังตลาดอาเซียนขยายตัวอย่างต่อเนื่องสวนทางกับการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปที่เผชิญกับปัญหาการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ จนทำให้การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับจากไทยลดลงตามไปด้วย โดยสัดส่วนการส่งออกเครื่องประดับไทยไม่รวมทองคำฯ ไปยังตลาดอาเซียนในปัจจุบันมาอยู่ที่เกือบร้อยละ 3 สูงขึ้นจาก 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ราวร้อยละ 1 และในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2557 การส่งออกเครื่องประดับไม่รวมทองคำฯ ไปยังตลาดอาเซียนก็ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 34.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 ทั้งนี้ แม้ว่าการค้าอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างไทยกับตลาดอาเซียนในปัจจุบันจะยังคงมีมูลค่าน้อยเนื่องด้วยยังคงเป็นตลาดที่กำลังพัฒนาผู้ซื้อส่วนใหญ่อาจยังมีกำลังซื้อไม่สูงนัก แต่ผลจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ที่จะมีผลอย่างสมบูรณ์ในปลายปี 2558 ย่อมช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้น มูลค่าการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของตลาดอาเซียนโดยรวมจึงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และนี่ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะได้หันมาเร่งรุกบุกตลาดเพื่อคว้าโอกาสได้อย่างทันท่วงที

Paspaley: ไข่มุกเซาท์ซีสุดล้ำค่าแห่งออสเตรเลีย

หากพูดถึงผู้ผลิตไข่มุกเซาท์ซีชั้นนำที่ทั่วโลกต่างให้ความยอมรับในเรื่องของคุณภาพในแถบประเทศโอเชียเนีย คงหนีไม่พ้นบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Paspaley ของออสเตรเลีย ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายไข่มุกเซาท์ซีคุณภาพสูงรายใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของออสเตรเลีย ซึ่งยังคงดำเนินการบริหารงานโดยกลุ่มผู้ก่อตั้งจวบจนปัจจุบัน กว่า 75 ปีแล้วที่ Paspaley ได้ประสบความสำเร็จในการสร้างชื่อเสียงให้กลายเป็นแบรนด์สุดหรูหราอันดับหนึ่งของประเทศและเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในระดับโลก

โอกาสเจาะตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในกัมพูชา ตลาดใหม่ที่น่าจับตา

กัมพูชานับเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเข้าไปทำการค้าแห่งหนึ่งในอาเซียน แม้ว่าตลาดนี้จะมีขนาดเล็ก ด้วยจำนวนประชากรเพียง 14.8 ล้านคน หากแต่มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นตามการพัฒนาเศรษฐกิจจากการดำเนินนโยบายเร่งรัดพัฒนาประเทศและการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติของรัฐบาลในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เศรษฐกิจกัมพูชาขยายตัวอย่างรวดเร็วเฉลี่ยราวร้อยละ 7 ต่อปี สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศอาเซียนที่เติบโตราวร้อยละ 5 ต่อปี ส่งผลให้ประชาชนมีกำลังซื้อสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติของธนาคารโลกพบว่า ชาวกัมพูชามีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้นจากเมื่อสิบปีก่อนสูงถึงกว่าร้อยละ 60 ทั้งนี้ การที่ประชากรมีรายได้สูงขึ้นประกอบกับประเทศเปิดรับความเป็นสากลมากขึ้นนั้นนำไปสู่วิถีชีวิตและการบริโภคสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีลักษณะเป็นสังคมเมืองมากขึ้นกล่าวคือ นอกจากความต้องการบริโภคสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ชาวกัมพูชาเริ่มมีความต้องการสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้นมาก เช่น โทรศัพท์มือถือ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น ดังนั้น กัมพูชาจึงถือเป็นตลาดใหม่ที่น่าจับตาและผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับควรแสวงหาโอกาสหรือลู่ทางเข้าไปขยายฐานลูกค้าให้กว้างขวางมากขึ้นในอนาคต

เจาะลึกการค้าชายแดน...โอกาสอัญมณีและเครื่องประดับไทยก้าวไกลตลาดอาเซียน

การค้าชายแดน (Cross Border Trade) หมายถึง การซื้อ การขาย และการเคลื่อนย้ายสินค้าหรือบริการระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งประกอบด้วย 1) การค้ารูปแบบปกติที่เป็นไปตามกฎระเบียบ (Normal Legal Trade) มีการบันทึกข้อมูลสถิติตามระเบียบพิธีการศุลกากร และ 2) การค้าที่ไม่เป็นทางการ (Unofficial Trade) ที่ไม่มีการปฏิบัติตามระเบียบพิธีการศุลกากร ไม่มีการบันทึกข้อมูลสถิติการค้าในการซื้อขายสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อต้องการหลีกเลี่ยงภาษี โดยนิยามการค้าชายแดนในบริบทของประเทศไทยตามระเบียบของรัฐบาลไทย หมายถึง การค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งได้แก่ เมียนมาร์ มาเลเซีย สปป.ลาว และกัมพูชา ผ่านการส่งออกและนำเข้าผ่านจุดผ่านแดนที่จัดตั้งขึ้นบริเวณชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยภายใต้กฎหมายตรวจคนเข้าเมือง ประกอบด้วย จุดผ่านแดนถาวร จุดผ่านแดนชั่วคราว และจุดผ่อนปรนเพื่อการค้าและการท่องเที่ยว โดยในปี 2556 ไทยมีมูลค่าการค้าชายแดนรวมทั้งสิ้น 924,241.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 1.51 แบ่งเป็นการส่งออก 560,196.46 ล้านบาท และการนำเข้า 364,045.33 ล้านบาท มีการเติบโตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 10.23 ต่อปี (ข้อมูลปี 2552-2556) ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าจับตามอง ผนวกกับการก้าวเข้าสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2558 ที่กำลังจะมาถึง ทำให้มาตรการควบคุมด้านภาษี การค้า และการลงทุนปรับลดลงระหว่างประเทศสมาชิก สำหรับโอกาสและสถานการณ์ทางการค้าจะแตกต่างไปในแต่ละประเทศ

งาน China International Gold, Jewelry & Gem Fair-Shanghai สะท้อนความนิยมพลอยสีในจีน

จีนนับเป็นตลาดผู้บริโภคสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีศักยภาพสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จากการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาซึ่งส่งผลให้ชาวจีนจำนวนกว่า 1,300 ล้านคน มีรายได้และกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น ชาวจีนจึงนิยมซื้ออัญมณีและเครื่องประดับเพื่อใช้เป็นสินทรัพย์สั่งสมความมั่งคั่งหรือเป็นมรดกตกทอดในครอบครัว แม้เดิมทีชาวจีนส่วนมากนั้นนิยมเครื่องประดับทองรูปพรรณ หรือเครื่องประดับทองตกแต่งเพชรเป็นหลัก แต่ปัจจุบันตลาดพลอยสีของจีนกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้บริโภคเล็งเห็นถึงคุณค่าและความงามของพลอยสีมากขึ้น

รู้ทันการค้าชายแดน...เผยโอกาสการค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย

ในปี 2556 ที่ผ่านมา ไทยมีมูลค่าการค้าชายแดนรวมทั้งสิ้น 924,241.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 1.51 แบ่งเป็นการส่งออก 560,196.46 ล้านบาท และการนำเข้า 364,045.33 ล้านบาท มีการเติบโตเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 10.23 ต่อปี (ข้อมูลปี 2552-2556) ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น่าจับตามอง ผนวกกับการก้าวเข้าสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2558 ทำให้มาตรการควบคุมด้านภาษี การค้า และการลงทุนปรับลดลงระหว่างประเทศสมาชิก ทำให้มีการคาดการณ์ว่าตลาดที่จะได้รับผลกระทบเป็นลำดับแรกสุดคือ ตลาดการค้าชายแดนซึ่งเป็นตลาดที่มีโอกาสเติบโตมากขึ้นเป็นลำดับ

Singapore Jewelry & Gem Fair เปิดทางการค้าเครื่องประดับสู่ภูมิภาคเอเชีย

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กด้วยประชากรเพียง 5 ล้านกว่าคน หากแต่มีเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพโดยในปี 2556 เศรษฐกิจเติบโตร้อยละ 3.9 ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 55,182 เหรียญสหรัฐ ซึ่งมากกว่าไทยถึงกว่า 9 เท่า (ประชากรไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 5,779 เหรียญสหรัฐ) ส่งผลให้ชาวสิงคโปร์มีกำลังซื้อสูงและใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างอัญมณีและเครื่องประดับมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่มีมากแล้ว การที่สิงคโปร์ตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับในภูมิภาคเอเชียทำให้สิงคโปร์มีความต้องการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับทั้งเพื่อจำหน่ายให้กับชาวสิงคโปร์และนักท่องเที่ยวรวมถึงส่งออกต่อไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกเพิ่มขึ้น

อุปสงค์สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในญี่ปุ่นขยายตัว ท่ามกลางเศรษฐกิจชะลอตัว

ภายหลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศปรับขึ้นภาษีการขายจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 8 เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ส่งผลให้อุปสงค์การบริโภคทั้งสินค้าและบริการภายในประเทศลดน้อยลง และฉุดรั้งให้ภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มมีแนวโน้มชะลอตัวลง จนล่าสุดไอเอ็มเอฟได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจญี่ปุ่นเหลือร้อยละ 0.9 ในปีนี้ และร้อยละ 0.8 ในปี 2558

Primo Japan บริษัทเครื่องประดับแต่งงานชั้นนำของญี่ปุ่น

Primo Japan Inc. บริษัทผู้จำหน่ายเครื่องประดับแต่งงานชั้นนำในญี่ปุ่นเริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2542 และเปิดร้านสาขาแรกในกรุงโตเกียว โดยดำเนินการภายใต้แบรนด์ "I-PRIMO" ซึ่งเชี่ยวชาญด้านแหวนแต่งงานและแหวน หมั้นปัจจุบันบริษัทมีร้านขายเครื่องประดับแต่งงานเป็นจำนวนมากที่สุดในญี่ปุ่นด้วยจำนวนร้าน I-PRIMO 60 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้ขยายธุรกิจออกไปยังต่างประเทศ โดยหลักแล้วอยู่ในไต้หวันซึ่งมีร้านอยู่ 9 แห่งและในฮ่องกงซึ่งมี ร้านอยู่ 2 แห่ง อีกทั้งผู้ค้าปลีกรายนี้ได้ร่วมธุรกิจกับ Lazare แบรนด์เพชรจากนิวยอร์กซึ่ง เป็นที่รู้จักจากเทคนิคการเจียระไนเพชรอันมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ปัจจุบัน Primo Japan บริหารดูแลร้าน Lazare Diamond Boutique รวม 13 แห่ง ซึ่งจำหน่ายเพชรคุณภาพสูงระดับพรีเมียมด้วย

เผยโทนสีปี 2558 พร้อมแนะนำพลอยสีอินเทรนด์

ด้วยอัญมณีและเครื่องประดับจัดเป็นสินค้าแฟชั่นอย่างหนึ่งที่ต้องสอดรับปรับเปลี่ยนให้ทันท่วงทีไปกับทิศทางแฟชั่น นอกเหนือจากดีไซน์การออกแบบที่ต้องติดตามหรือการออกคอลเล็กชั่นที่สะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นตัวตนของแบรนด์ตนเอง ทิศทางสีเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับต้องติดตามเฉกเช่นทุกปี Pantone ผู้เชี่ยวชาญด้านสีได้เผยทิศทางเทรนด์สีใหม่สำหรับปี 2558 ออกมาแล้ว

Orchard Road : ถนนที่รายล้อมไปด้วยเครื่องประดับ

ออร์ชาร์ด (Orchard Road) เป็นถนนที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการช้อปปิ้งที่ได้รับความนิยมในระดับโลกของประเทศสิงคโปร์โดยระยะทางกว่า 2.2 กิโลเมตร โอบล้อมไปด้วยห้างสรรพสินค้าและโรงแรมขนาดใหญ่ตลอดแนวสองฝั่งถนน ทำให้ออร์ชาร์ดเป็นถนนยอดนิยมที่ประชาชนในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างต้องแวะมาเที่ยวชมและเลือกซื้อสินค้าบริการต่างๆ เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสินค้าประเภท เสื้อผ้าแบรนด์เนม เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

การค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์สดใสรับ AEC…โอกาสธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทย

การค้าชายแดนระหว่างไทยกับเมียนมาร์มีมาเป็นเวลาช้านาน ด้วยสภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีพรมแดนติดต่อกันเป็นระยะทางราว 2,400 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 10 จังหวัด และมีช่องทางการค้าตามแนวชายแดนทั้งถาวรและชั่วคราวรวม 17 จุด จึงทำให้การเดินทางค้าขายระหว่างกันทำได้ค่อนข้างสะดวก ส่งผลให้มูลค่าการค้าชายแดนขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีสวนทางกับเศรษฐกิจโลกที่ยังคงฟื้นตัวไม่เต็มที่นัก โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าการค้าเฉลี่ยกว่าปีละแสนล้านบาท ล่าสุดในปี 2556 การค้าชายแดนระหว่างไทยและเมียนมาร์ทะลุสูงเกือบ 200,000 ล้านบาท ถือเป็นช่องทางการค้าที่มีศักยภาพสูงและมีแนวโน้มเติบโตได้อีกมากจากการดำเนินนโยบายเปิดประเทศและ ผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ของรัฐบาลเมียนมาร์เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี อย่างเต็มรูปแบบในอนาคตอันใกล้นี้

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970