บทความวิชาการอัญมณี

อุตสาหกรรมเครื่องประดับจากเมืองยามานาชิ

จังหวัดยามานาชิ (Yamanashi) นอกจากจะเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่นด้วย ซึ่งจากศักยภาพของผู้ประกอบการควบคู่กับไปการใช้เทคนิคเฉพาะอย่าง "การเจียระไนแบบโคชู" (Koshu Precious Stone Carving) และรูปแบบเครื่องประดับที่ไม่ซ้ำกับของที่อื่น ทำให้เกิดการยอมรับในสินค้าเป็นวงกว้างจากผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ อันมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวมของญี่ปุ่นให้เติบโตได้เป็นอย่างดี

เปิดมุมมองเครื่องประดับกับเทคโนโลยี ความสวยงามและคุณค่าที่เลือกได้

Digital Smart Jewelry จัดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่อยู่ระหว่างการทำตลาด ส่งผลให้ศักยภาพทางธุรกิจมีแรงดึงดูดทั้งในส่วนของผู้ผลิตและผู้บริโภค ถึงแม้ว่าเครื่องประดับประเภทนี้วางจำหน่ายอยู่ในตลาดมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังสามารถเติบโตต่อเนื่องไปได้อีก ปัจจุบันมีเครื่องประดับประเภทนี้วางจำหน่ายอยู่ในตลาดหลากหลายรูปแบบและมีคุณสมบัติการใช้งานทางอิเล็กทรอนิกส์แตกต่างกันออกไปให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อได้ตามความสนใจ

สงครามการค้าสหรัฐฯ - จีน กระทบอัญมณีและเครื่องประดับไทยอย่างไร?

สงครามการค้าระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ที่ต่างตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสินค้าระหว่างกันไปแล้ว 3 รอบนั้น ในระยะสั้นไทยจะได้รับผลดีจากสงครามการค้า อาจทำให้มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไปยังสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยเพิ่มมากขึ้น เพราะสหรัฐฯ อาจนำเข้าสินค้าจากไทยทดแทนจีน ในขณะเดียวกันไทยก็จะได้รับผลเสียทำให้ไทยอาจส่งออกพลอยสีไปยังจีนได้ลดลง เพราะจีนน่าจะส่งออกเครื่องประดับไปยังตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ ได้น้อยลง ก็จะลดการนำเข้าสินค้ากึ่งวัตถุดิบอย่างพลอยสีที่จะนำไปประกอบเป็นเครื่องประดับจากไทยลดลงตามไปด้วย แต่ในระยะยาวไทยจะได้รับผลกระทบในทางลบเพียงอย่างเดียว หากสงครามการค้ายืดเยื้อและทวีความรุนแรงจนทำให้เศรษฐกิจของทั้งสองประเทศหยุดชะงัก ซึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกให้ชะลอตัว การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยไปยังตลาดโลกก็อาจเติบโตในอัตราลดลงด้วยเช่นกัน

เพิ่มยอดขายในกลุ่ม Niche Market ด้วยเครื่องประดับแฮนด์เมด

ใครๆ ก็ชอบสินค้าที่มีความเป็นยูนีค ไม่ซ้ำใคร ทำให้สินค้าแฮนด์เมดต่างๆ ซึ่งรวมถึงเครื่องประดับได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโดยปกติแล้วเครื่องประดับธรรมดาที่เห็นได้ทั่วไป อาจมีราคาเพียงไม่กี่บาท แต่เมื่อมีการใส่ไอเดียสร้างความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวผ่านการรังสรรค์ชิ้นงานด้วยมือผสมลูกเล่นหรือนำวัสดุต่างๆ มาประยุกต์ใช้ กลับทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้นได้อีกหลายเท่าตัว ติดตามไอเดียเครื่องประดับแฮนด์เมดและเว็บไซต์ขายสินค้าแฮนด์เมดเพื่อเพิ่มยอดการขายได้ในบทความนี้

โอกาสทอง...ทองคำและเครื่องประดับทองในกัมพูชา

ปัจจุบันชาวกัมพูชามีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตสูงต่อเนื่อง จึงเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพและให้ความสำคัญกับแบรนด์สินค้ามากขึ้น อย่างไรก็ดี ความนิยมในสินค้าทองคำยังคงเหมือนเดิม โดยทั่วไปเมื่อชาวกัมพูชามีรายได้มากขึ้นหรือเกินจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็นก็มักจะซื้อทองคำและเครื่องประดับทองทั้งเก็บสะสมไว้ที่บ้านและนำไปฝากไว้กับธนาคาร รวมถึงเก็งกำไรจากการลงทุนในทองคำมากขึ้น อีกทั้งคนรุ่นใหม่ก็หันมาซื้อ-ขายทองคำออนไลน์ และซื้อขายทองคำล่วงหน้า จะเห็นได้ว่าตลาดกัมพูชาค่อนข้างสดใส ซึ่งโอกาสทองคำในกัมพูชาจะเป็นอย่างไรติดตามได้ในบทความนี้

TBZ แบรนด์เครื่องประดับชั้นนำในอินเดียรุกตลาดเครื่องประดับเพื่อการแต่งงาน

อัตราการขยายตัวของตลาดเครื่องประดับเพื่อการแต่งงานของอินเดียกับการเปิดร้านใหม่ในอีกภูมิภาคหนึ่งของประเทศจากแบรนด์ TBZ มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไรและน่าสนใจแค่ไหน สามารถติดตามได้จากบทความนี้

ทิศทางการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับของ UK หลัง Brexit

หลังจากที่สหราชอาณาจักร หรือ UK (ประกอบด้วยอังกฤษ เวลส์ สก็อตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ) ได้ลงมติด้วยเสียงข้างมากให้ออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) หรือเรียกสั้นๆ ว่า (เบร็กซิท) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2559 และ UK จะพ้นจากความเป็นสมาชิกของอียูอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 มีนาคม 2562 แล้วนั้น จะส่่งผลกระทบต่อการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยไป UK อย่างไร รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงกฎเณฑ์การนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับของ UK จะมีทิศทางอย่างไรนั้น ติดตามได้ในบทความนี้

มาเลเซียกลับมาเรียกเก็บภาษี SST แทนภาษี GST

มาเลเซียได้ประกาศยกเลิกภาษี GST โดยนำภาษีการขายและบริการ หรือ SST (Sales and Service Tax) มาใช้แทนซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2561 ภาษี SST นั้น แบ่งออกเป็นภาษีสินค้า (Sales Tax) และภาษีบริการ (Service Tax) โดยภาษีสินค้าใช้บังคับสำหรับการขายสินค้าที่ผลิตในมาเลเซีย และสินค้าที่นำเข้ามาในมาเลเซีย โดยอัตราภาษีสินค้าคือ ร้อยละ 5 และร้อยละ 10 ซึ่งสำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับนั้น กิจการผลิตเครื่องประดับจะได้รับการยกเว้นภาษีสินค้า ส่วนภาษีบริการใช้บังคับสำหรับการบริการที่กฎหมายกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องเสียภาษีบริการโดยอัตราภาษีบริการคือ ร้อยละ 6 ผู้ประกอบการไทยจะได้รับผลกระทบหรือไม่ติดตามจากบทความนี้

เครื่องประดับอัตลักษณ์..มรดกอันทรงคุณค่าของไทย

ไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพการผลิตเครื่องประดับ ทั้งการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกจำหน่ายยังต่างประเทศ และการผลิตเครื่องประดับอัตลักษณ์ของช่างฝีมือในระดับท้องถิ่น ซึ่งสินค้าดังกล่าวล้วนมีคุณค่าและสะท้อนถึงภูมิปัญญา วัฒนธรรม และความเป็นชาติไทยได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันเครื่องประดับอัตลักษณ์เด่นของไทย ประกอบด้วยเครื่องประดับทอง เครื่องประดับเงิน และเครื่องถม ซึ่งสามารถติดตามเรื่องราวของเครื่องประดับท้องถิ่นอันทรงคุณค่าได้จากบทความนี้

เคนยาประตูสู่ COMESA และแอฟริกา

การรวมกลุ่มเศรษฐกิจของตลาดร่วมแห่งแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาตอนใต้ (Common Market for Eastern and Southern Africa: COMESA) ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 19 ประเทศ นอกจากจะเป็นแหล่งวัตถุดิบอัญมณีมีค่าแล้ว ยังเป็นช่องทางเริ่มต้นสำหรับการเจาะตลาดแอฟริกาที่น่าสนใจสำหรับนักแสวงหาโอกาสทางธุรกิจด้วย หากผู้ประกอบการยังลังเลว่าจะเข้าไปเริ่มต้นธุรกิจที่ประเทศไหนในกลุ่ม COMESA เคนยาอาจเป็นตัวเลือกของคำตอบที่น่าสนใจ

ผู้ผลิตเครื่องประดับปรับธุรกิจสอดรับจริยธรรมทางการค้า

ปัจจุบันผู้บริโภคคนรุ่นใหม่เรียกร้องให้ผู้ผลิตเครื่องประดับดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้น ทำให้ประเด็นเรื่องการจัดหาวัตถุดิบตามหลักจริยธรรมทางการค้าของภาคธุรกิจเครื่องประดับนั้น มีผลโดยตรงต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับสักชิ้นหนึ่งจากแบรนด์หรือร้านค้าปลีก มาร่วมไขกุญแจสู่ความสำเร็จในตลาดเครื่องประดับได้จากบทความนี้

เครื่องประดับแหวกแนว กับการเจาะตลาดทุกกลุ่มผู้บริโภค

จากแรงบันดาลใจในการใส่สิ่งที่ธรรมดาแต่คาดไม่ถึง รวมทั้งการซ่อนเรื่องราวและลูกเล่นลงบนเครื่องประดับ ไม่ว่าจะเป็นสร้อยคอ ต่างหู แหวน กำไล ล้วนทำให้เกิดผลงานเครื่องประดับที่มีรูปลักษณ์แปลกตาไม่เหมือนใคร หากได้สวมใส่แล้วรับรองว่าจะต้องโดดเด่นจนถูกมองอย่างเหลียวหลัง แต่เครื่องประดับที่ได้กล่าวไปจะมีรูปแบบใดบ้างนั้น ติดตามได้จากบทความนี้

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site