บทความวิชาการอัญมณี

ปรับกลยุทธ์รุก Niche Market ทางรอดเครื่องประดับเงินไทยในตลาดสหรัฐฯ

เครื่องประดับเงินของไทยเป็นสินค้าศักยภาพที่ครองความเป็นผู้นำในตลาดสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี 2552 ส่วนหนึ่งต้องยอมรับว่าการส่งออกราวครึ่งหนึ่งเป็นของบริษัทต่างชาติที่มาตั้งฐานการผลิตในไทย ขณะที่การส่งออกอีกครึ่งหนึ่งเป็นของผู้ประกอบการไทยเอง หากพิจารณาเฉพาะการส่งออกที่เป็นบริษัทของไทยจะพบว่ามีสัดส่วนมากกว่าคู่แข่งอย่างจีนและอินเดียไม่มากนัก ซึ่งปัจจุบันสองประเทศดังกล่าวได้พัฒนาการผลิตพร้อมทั้งปรับกลยุทธ์การตลาดจากที่เคยมุ่งการตลาดระดับล่าง ขายสินค้ารูปแบบเดียวกันในปริมาณมาก มาเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ในตลาดระดับกลางและบนมากขึ้น หากผู้ประกอบการไทยไม่เร่งพัฒนาตนเองก็อาจถูกคู่แข่งก้าวขึ้นแซงหน้าในตลาดสหรัฐอเมริกาได้ในอนาคต ทั้งนี้ นอกเหนือจากการพัฒนาด้านการผลิตแล้วผู้ประกอบการจะต้องใส่ใจทำการตลาดเชิงรุกเพิ่มขึ้น โดยในส่วนของการทำตลาดกลุ่มใหญ่หรือ Mass Market ก็คงจะต้องดำเนินต่อไป หากแต่จะต้องหันมาทำตลาดเฉพาะกลุ่มหรือ Niche Market มากขึ้น เพื่อขยายฐานลูกค้าและคงครองความเป็นผู้นำในตลาดสหรัฐอเมริกาต่อไป

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยปรับตัวสู้วิกฤต เร่งเสริมแกร่งด้วยนวัตกรรม

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกที่นำรายได้เข้าสู่ประเทศในอันดับต้นๆ มาอย่างต่อเนื่อง ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความแข็งแกร่งและปรับตัวยืดหยุ่นฝ่าฟันนานาอุปสรรคและความท้าทายจากปัจจัยรอบด้านโดยเฉพาะคลื่นลมทางเศรษฐกิจจากทุกทิศทาง แม้ในช่วงที่ผ่านมามีหลายกิจการต้องหยุดดำเนินการแต่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังสามารถสร้างความหลากหลายให้แก่แวดวงธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับผ่านการนำเสนอเครื่องประดับรูปแบบใหม่ฉีกออกไปจากขนบเดิม ขณะที่กิจการอีกจำนวนไม่น้อยขยับปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

“หัวเมืองรอง” โอกาสขยายตลาดเครื่องประดับไทยในประเทศจีน

ย้อนกลับไปหลายปีก่อนหากกล่าวถึงโอกาสทางการค้ากับประเทศจีนหลายคนคงนึกถึง 4 หัวเมืองใหญ่ที่เป็น Megacities หรือเมืองที่มีการพัฒนาในระดับที่ 1(Tier 1) อย่างเช่น ปักกิ่ง (Beijing) เซี่ยงไฮ้ (Shanghai) กวางโจว (Guangzhou) และเซินเจิ้น (Shenzhen) แต่ในปัจจุบันต่างชาติได้รู้จักเมืองใหม่ของจีนมากขึ้นโดยเฉพาะ "หัวเมืองรอง" หรือ "เมืองจีนตอนใน" ที่เป็นเมืองศักยภาพใหม่ของจีน โดยใช้เกณฑ์ในการจัดอันดับหัวเมืองรองจากศักยภาพทางเศรษฐกิจ จำนวนประชากร และอัตราความเป็นเมือง

อิหร่านประตูสู่กลุ่มประเทศ CIS

เมื่อกล่าวถึงประเทศอิหร่านหลายคนคงนึกถึงภาพประเทศที่น่ากลัว นักธุรกิจและนักเดินทางต่างส่ายหน้าที่จะเข้ามาเนื่องจากเป็นประเทศที่มีการสู้รบ และเต็มไปด้วยปัญหาทางการเมือง แต่นี่เป็นเพียงภาพเล็กๆ จากการนำเสนอของสื่อตะวันตกต่ออิหร่านเท่านั้น แท้จริงแล้วอิหร่านเป็นประเทศที่ผู้คนมีอัธยาศัยดี มีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของอาณาจักรเปอร์เซียที่เก่าแก่กว่า 7 พันปี รวมทั้งมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย เรียกได้ว่ามาอิหร่านสามารถเที่ยวได้ทั้งเมืองสถาปัตยกรรม อารยธรรม ทะเลทราย ชายหาด และดินแดนที่ปกคลุมไปด้วยหิมะได้ในประเทศเดียว อีกทั้งที่ผ่านมาได้มีมติยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านหลังจากข้อตกลงยุติโครงการนิวเคลียร์มีความคืบหน้า ทำให้โอกาสทางการค้าของดินแดนแห่งนี้ก็เริ่มสดใสอีกครั้ง

อัญมณีและเครื่องประดับไทยตั้งรับปรับตัวอย่างไรจากความท้าทายของ TPP

Trans Pacific Partnership (TPP) เป็นความตกลงทางการค้าที่ปัจจุบันทุกภาคส่วนของไทยต่างให้ความสนใจ รวมถึงแวดวงอัญมณีและเครื่องประดับด้วย เนื่องจากไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า อุตสาหกรรมนี้ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักมากถึงร้อยละ 80 ดังนั้น หากจะมีมาตรการหรือความตกลงใดๆ ระหว่างประเทศที่จะทำให้อุปสรรคในเรื่องการค้าหมดไปได้ โดยเฉพาะการทลายกำแพงภาษีนำเข้าในประเทศคู่ค้า ย่อมเป็นสิ่งผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ รวมถึงยังตั้งข้อกังวลว่าหากประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วมกลุ่ม TPP แล้ว อาจเกิดผลเสียต่อการส่งออกในอนาคต

แนวโน้มการจับจ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยในจีนฟุบ...หรือฟื้น...?

จากการสังเกตการณ์สถานการณ์การค้าปลีกในเซี่ยงไฮ้ช่วงหลังวันหยุดยาวของจีนในเดือนตุลาคม (Golden Week ที่หยุดฉลองวันชาติ 1 ตุลาคมของทุกปี เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์) ก็เห็นได้ชัดว่าคนเซี่ยงไฮ้เริ่มมีการจับจ่ายในสินค้าฟุ่มเฟือย รวมไปถึงสินค้าแฟชั่น สินค้าแบรนด์เนม น้อยลงอย่างมาก สมมติฐานจำนวนมากที่อธิบายถึงความซบเซาของตลาดสินค้าเหล่านี้ว่าอาจมาจากการที่คนจีนใช้จ่ายเงินไปค่อนข้างมากในช่วงวันหยุดดังกล่าวในการท่องเที่ยวที่มีทั้งในและต่างประเทศ และบ้างก็ว่าคนเซี่ยงไฮ้จำนวนมากยังเจ็บตัวจากการขาดทุนในตลาดหุ้น จึงอยู่ในช่วงที่ต้องรัดเข็มขัด อะไรที่ไม่จำเป็นก็เลื่อนการซื้อออกไปก่อน ส่วนอีกสมมติฐานที่มีความเป็นไปได้สูงยิ่งก็คือ นโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชั่น การรับของขวัญของเจ้าหน้าที่รัฐจากภาคเอกชน ซึ่งเป็นนโยบายที่เข้มงวดมากในสมัยของประธานาธิบดี สี จิ้น ผิง เพราะแต่ก่อนที่นโยบายนี้จะถูกบังคับใช้กัน สินค้าแบรนด์เนม เครื่องประดับ ก็จัดเป็นสินค้ายอดนิยมที่ภาคเอกชนจะซื้อเป็นของขวัญในการติดสินบนแก่เจ้าพนักงานรัฐ

โอกาสการค้าอัญมณีและเครื่องประดับในอาเซียนผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ

ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออีคอมเมิร์ซ เป็นอีกหนึ่งช่องทางการค้าที่กำลังได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่และผู้ประกอบการรายย่อยที่มีเงินทุนจำกัด ด้วยต้นทุนดำเนินการที่อยู่ในระดับต่ำของอีคอมเมิร์ซเมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินธุรกิจแบบมีหน้าร้าน ประกอบกับความแพร่หลายของการใช้งานอินเตอร์เน็ตที่มีกลุ่มผู้ใช้เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราสูงโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีอัตราผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8 ช่องทางการค้าในรูปแบบอีคอมเมิร์ซจึงไม่อาจมองข้ามได้ในช่วงเวลานี้

ผู้ประกอบการฮ่องกงปรับตัวรับความท้าทายในตลาดค้าปลีกเครื่องประดับ

ปัจจุบันตลาดค้าปลีกอัญมณีและเครื่องประดับในฮ่องกงกำลังเผชิญกับการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงขึ้นในหมู่ผู้ประกอบการภายในประเทศ เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งเป็นกลุ่มผู้ซื้อหลักในตลาดนี้เดินทางมาเที่ยวยังฮ่องกงน้อยลง และต่างก็ลดการจับจ่ายใช้สอยสินค้าเครื่องประดับหรูหราระดับบนที่มีราคาสูง (High-end Jewelry) และหันมาเลือกซื้อสินค้าเครื่องประดับระดับกลาง (Mid-range Jewelry) แทน อันเป็นผลจากการบังคับใช้นโยบายการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลจีนอย่างเข้มงวด ทำให้การซื้อสินค้าหรูหราราคาแพงซึ่งรวมถึงอัญมณีและเครื่องประดับถูกจับตามองจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนส่งผลกระทบต่อยอดซื้อสินค้าหรูหราที่ลดน้อยลงในตลาดจีนรวมทั้งตลาดฮ่องกง

ช่องทางการค้าเครื่องประดับในเวียดนาม

ช่องทางการค้าเครื่องประดับที่สำคัญในเวียดนามส่วนมากกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ทางตอนใต้คือนครโฮจิมินห์ และทางตอนเหนือคือกรุงฮานอย เมืองหลวงของประเทศซึ่งเศรษฐกิจกำลังเติบโตสดใส ทั้งนี้ ช่องทางการค้ามีทั้งตลาดท้องถิ่นที่จำหน่ายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยว ห้างสรรพสินค้าที่นำเสนอสินค้าสู่ลูกค้าฐานะดีรายได้สูง และศูนย์การค้าอัญมณีและเครื่องประดับเฉพาะที่รวมหลายแบรนด์หลากชนิดสินค้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าได้ง่ายและสะดวก

เจาะพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับของผู้บริโภคหลากเจเนอเรชั่น

ภาวะเศรษฐกิจสถานการณ์ทางการเมืองหรือแม้กระทั่งภาวะสงครามล้วนส่งผลโดยตรงต่อโครงสร้างของประชากรให้เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุค บริบทการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังส่งผลให้คนแต่ละกลุ่มอายุมีพฤติกรรม และค่านิยมการบริโภคที่แตกต่างกันไป ดังนั้น ในการทำตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับผู้ประกอบการควรเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละตลาด รวมถึงพฤติกรรมการบริโภคตลอดจนสินค้าที่ตอบโจทย์คนแต่ละกลุ่มว่ามีลักษณะอย่างไร

จับกระแสเครื่องประดับเงินในอินเดีย ความท้าทายที่น่าลอง

เมื่อพูดถึงอินเดีย หลายคนคงนึกถึงการบริโภคเครื่องประดับทองที่อาจเรียกได้ว่าบ้าคลั่งเลยทีเดียว สืบเนื่องมาจากค่านิยมดั้งเดิมที่ฝังรากลึกจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอินเดียมาตั้งแต่อดีต คนทุกเพศทุกวัยต่างต้องการครอบครองเครื่องประดับทองเพื่อเก็บสะสมเป็นสินทรัพย์และสวมใส่ในงานเทศกาลสำคัญต่างๆ และคงไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าเครื่องประดับเงินจะเข้ามามีบทบาทต่อชาวอินเดีย ในปัจจุบันเนื่องจากเครื่องประดับทองมีราคาสูงขึ้นจากการจำกัดการนำเข้าทองคำของรัฐบาลอินเดีย ขณะที่โลหะเงินมีราคาถูกกว่าเครื่องประดับทองหลายเท่าตัว อีกทั้งยังมีรูปแบบหลากหลายให้เลือกซื้อ ประกอบกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าเครื่องประดับของชาวอินเดียก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงผลักดันให้ตลาดเครื่องประดับเงินในอินเดียเติบโตมากขึ้น

กาซาลัน: งานวิวาห์ แดนตากาล็อก

"กาซาลัน" (Kasalan) หรือแต่งงานในภาษาฟิลิปิโน แบ่งออกเป็นสองช่วงคล้ายกับของไทย คือพิธีทางศาสนาในช่วงเช้าและงานเลี้ยงในโรงแรมในช่วงเย็น โดยค่าใช้จ่ายในการจัดงานแต่งงานบางส่วนเจ้าบ่าวเจ้าสาวอาจขอเงินสนับสนุนจากสปอนเซอร์นอกเหนือจากวงศ์ญาติ

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970