บทความวิชาการอัญมณี

ความท้าทายและทิศทางตลาดอัญมณีและเครื่องประดับโลกปี 62

การค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลกในปี 2561 ที่ผ่านมาค่อนข้างสดใสตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับราคาวัตถุดิบในภาพรวมปรับตัวในแนวลบไม่ว่าจะเป็นทองคำ เงิน และแพลทินัม ซึ่งทำให้เครื่องประดับมีราคาไม่สูงมากนัก อีกทั้งผู้ผลิตจำนวนไม่น้อยต่างก็หันมาพัฒนาสินค้าโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการผลิตและดีไซน์สินค้าหลากหลายรูปแบบมากขึ้น เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้น ส่วนในปี 2562 ตลาดการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลกจะเผชิญกับความท้าทายอะไรและตลาดสำคัญของโลกจะมีทิศทางเป็นอย่างไรบ้าง

การขายเครื่องประดับออนไลน์... BLUE NILE แบบอย่างที่จับต้องได้

แบรนด์เครื่องประดับที่น่าสนใจที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคในการขายเครื่องประดับผ่านช่องทางออนไลน์และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากที่จะนำมาเสนอคือ BLUE NILE (https://www.bluenile.com) แบรนด์เครื่องประดับออนไลน์ที่มีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา มาลองดูกันว่าเมื่อนำเอาการตลาดแบบ Customization ใน 4 ด้าน BLUE NILE ตอบสนองความพึงพอใจของผู้บริโภคอย่างไร

Provenance Proof Blockchain ช่วยสร้างความโปร่งใสให้อุตสาหกรรมพลอยสี

ในอนาคตอันใกล้นี้เทคโนโลยีระบบบล็อกเชนจะเป็นส่วนหนึ่งของกลไกการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมพลอยสีไทย โดยภายในงานแสดงสินค้าอัญมณี AGTA GemFair Tucson 2019 ที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัวระบบบล็อกเชนสำหรับพลอยสีขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อติดตามแหล่งที่มาของอัญมณีในทุกๆ ขั้นตอนตลอดห่วงโซ่อุปทาน Provenance Proof Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานได้อย่างครอบคลุม โดยสามารถใช้กับอัญมณีประเภทใดก็ได้และเปิดกว้างสำหรับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในแวดวงอัญมณีและเครื่องประดับที่พร้อมเปิดรับความโปร่งใส โดยการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนนี้ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งในแง่การให้ข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูล

ผู้ประกอบการอินเดียใต้ปรับสินค้าอัตลักษณ์สู่เครื่องประดับร่วมสมัย

อินเดียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมสูง โดยเฉพาะเมื่อแบ่งพื้นที่ออกเป็นภูมิภาคจะยิ่งเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ดังเช่น พื้นที่ทางตอนใต้ของอินเดียที่มีรูปแบบทางศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างจากอินเดียตอนเหนือและตอนกลางอย่างชัดเจน รวมถึงการผลิตเครื่องประดับสไตล์อินเดียใต้ ที่ปัจจุบันยังคงได้รับความนิยมจากคนในพื้นที่และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั่วประเทศ ซึ่งการทำให้สินค้าชนิดนี้คงอยู่และจำหน่ายได้ในวงกว้างนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยจำเป็นต้องอาศัยการปรับตัวจากผู้ประกอบการและแรงผลักดันจากผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการยอมรับในที่สุด

เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนไปกับนัยยะต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

เศรษฐกิจโลกมีทิศทางการขยายตัวลดลง โดยคาดการณ์ว่าจะเติบโตเพียงร้อยละ 3.3 ในปีนี้ กอปรกับสงครามทางการค้าที่ยืดเยื้อ ล้วนส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศมหาอำนาจ และจะกระทบประเทศไทยที่เศรษฐกิจพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยนอกจากการปรับตัวให้เท่าทันกระแสโลกและพยายามรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันจากการควบคุมต้นทุนควบคู่กับการรักษาคุณภาพของสินค้าแล้ว การแสวงหาตลาดใหม่เพื่อขยายโอกาสทางการค้าก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรองรับกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจของตลาดเดิม โดยเฉพาะกลุ่ม New Frontier Markets ในตะวันออกกลาง (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน ซาอุดิอาระเบีย คูเวต กาตาร์ และโอมาน) เป็นตลาดที่น่าสนใจรุกขยายตลาด

งานแสดงสินค้าออนไลน์มากกว่าเพียงแค่การขายสินค้าออนไลน์

งานแสดงสินค้าออนไลน์สำหรับธุรกิจเครื่องประดับอาจจะยังมีความแปลกใหม่และความไม่คุ้นเคยอยู่บ้าง เนื่องจากสินค้าเครื่องประดับเป็นสินค้าที่มีมูลค่าพอสมควร การที่ผู้ซื้อไม่ได้เห็นสินค้าจริงๆ อาจจะเป็นข้อจำกัดสำหรับงานแสดงสินค้าออนไลน์ แต่ถ้ามองในแง่มุมของการสร้างโอกาสให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยใช้ต้นทุนไม่มากนัก งานแสดงสินค้าออนไลน์นี้ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีอยู่ไม่น้อย

อัญมณีและเครื่องประดับกับปัญญาประดิษฐ์เปลี่ยนโลก

ปัญญาประดิษฐ์ หรือเรียกง่ายๆ ว่า AI นั้นครอบคลุมการทำงานไปได้ในทุกด้านทุกอุตสาหกรรมจริงๆ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับก็เช่นกัน ติดตามเรื่องราวของ AI ที่เกี่ยวข้องกับอัญมณีและเครื่องประดับได้ในบทความนี้

โอกาสของอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตลาดตะวันออกกลาง

ด้วยภาวะเศรษฐกิจของโลกในช่วงขาลงผนวกกับความไม่แน่นอนในทิศทางการค้าของซีกโลกตะวันตก การแสวงหาตลาดใหม่สำหรับการส่งออกเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดและรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน แต่ตลาดใหม่จะเป็นที่ใดนั้น อาจพิจารณากลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council: GCC) ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ คูเวต โอมาน และบาห์เรน ซึ่งเป็นตลาดที่มีความน่าสนใจในการรุกขยายตลาดเครื่องประดับทั้งเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงิน เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวในระดับสูง และมีอุปสงค์การบริโภคสินค้านี้เติบโตต่อเนื่อง โอกาสของอัญมณีและเครื่องประดับไทยในตลาดตะวันออกกลางเป็นอย่างไร

การตัดสิทธิ GSP สงครามการค้าจากลุงแซมถึงแดนภารตะ

สงครามการค้าที่สหรัฐฯ ดำเนินการต่อประเทศต่างๆ สร้างความสั่นคลอนแก่ประเทศคู่ค้าหลายประเทศ นอกเหนือจากการทำสงครามการค้ากับจีนเพื่อสกัดความได้เปรียบในสินค้านวัตกรรมเทคโนโลยี ตอบโต้ประเทศที่อยู่ขั้วตรงข้ามแล้ว ล่าสุดการตัดสิทธิ GSP อินเดียที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อสินค้าส่งออกจากอินเดียไปยังสหรัฐฯ มากกว่า 3,000 รายการ ซึ่งอินเดียมีมูลค่าการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ประมาณ 51.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการใช้สิทธิ GSP 11.46% คิดเป็นมูลค่าสูงที่สุดถึง 6.23 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยหนึ่งในนั้นคือ เครื่องประดับแท้ พลอยสี และเครื่องประดับเทียม จึงนับเป็นโอกาสดีที่ไทยได้เปรียบทางการแข่งขันเพื่อส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ มากขึ้น เนื่องจากมีสินค้าหลายรายการที่ไทยยังได้รับสิทธิ์อยู่

ตลาดสินค้าหรู โอกาสและทางเลือกของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ

ถึงแม้เศรษฐกิจโลกต้องเผชิญกับภัยคุกคามอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และ จีน รวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากการตั้งกำแพงภาษี แต่ทว่าความมั่งคั่งของโลกกลับเพิ่มขึ้นหว่าค่าเฉลี่ยนับแต่ปี 2008 และยังเป็นสถิติที่สูงสุดตั้งแต่สำรวจมาในระดับตัวบุคคล ซึ่งกลุ่มผู้คนเหล่านี้ก็คือ เศรษฐี นักลงทุน ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคมเศรษญกิจโดยรวม ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ยังเป็นนักสะสมตัวยง โดยแนวโน้มการเติบโตของตลาดสินค้าหรูหรา เช่นเครื่องประดับถึง 138% ในอีก 10 ปีข้างหน้านี้

อนาคตพลอยสีโลก ท่ามกลางความท้าทาย

ปัจจัยทางเทคโนโลยี สภาพสังคม เศรษฐกิจ และกระแสของโลก ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านธุรกิจ และด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเกือบจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นความท้าทายอันยิ่งใหญ่ของธุรกิจพลอยสีในยุคปัจจุบัน และรสนิยมการซื้อพลอยสีของผู้บริโภคนั้นจะเป็นสิ่งที่มีผลต่อการค้าพลอยสีของโลกในอนาคตอันใกล้นี้

จับตาเวียดนาม...โอกาสก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตเครื่องประดับชั้นนำของโลก

สงครามการค้าระหว่างสหรัฯ-จีน ที่ยืดเยื้อมานาน ส่งผลกระทบต่อเศษฐกิจของหลายประเทศ แต่เวียดนามกลับได้รับอานิสงค์ในครั้งนี้ในฐานะเป็นแหล่งผลิตของโลกที่น่าสนใจจากปัจจัยที่เอื้ออำนวยหลายประการ และอาจก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตเครื่องประดับชั้นนำของโลกได้ในอนาคต

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970