Infographic

ข้อมูลด้านการตลาด

ปี 2567

ภาวะแรงงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับปี 2566

ในปี 2566 ไทยมีแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับรวม 782,454 คน (ไม่รวมแรงงานนอกระบบซึ่งหากรวมแล้วคาดว่าจะมีแรงงานตลอดห่วงโซ่อุปทานราวหนึ่งล้านคน) โดยแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจขายปลีกเครื่องประดับ หากแบ่งตามกระจายตัวของแรงงานในอุตสาหกรรมต้นน้ำพบว่า แรงงานอยู่ในจันทบุรีมากที่สุด ส่วนอุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำแรงงานส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ อายุแรงงานเฉลี่ยอยู่ที่ 38 ปี (ในอุตสาหกรรมปลายน้ำ) และ 39 ปี (ในอุตสาหกรรมต้นน้ำและกลางน้ำ)

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2567

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2567 เติบโตสูงถึง 57.26% (YoY) มีมูลค่าส่งออกอยู่ที่ 3,031.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 2 รองจากรถยนต์ คิดเป็นสัดส่วน 6.59% ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากนำมูลค่าดังกล่าวหักออกด้วยการส่งออกทองคำฯ พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 1,822.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 14.78%

จำนวนผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2566

ในปี 2566 ไทยมีจำนวนผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับรวม 13,322 ราย เพิ่มขึ้น 3.34% จากปีที่แล้ว เนื่องจากผู้บริโภคมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น มีการท่องเที่ยวเดินทางมากขึ้น จึงทำให้ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับเติบโตสูงขึ้น จูงใจให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดนี้มากขึ้น โดยทั้งปี 2566 การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย สร้างรายได้กว่า 500,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการราว 90% เป็น SMEs และส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ รองลงมาคือ ชลบุรี สุมทรปราการ และจันทบุรี ตามลำดับ

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม ปี 2566

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในเดือนมกราคม 2567 อยู่ที่ 1,166.08 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.09 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.15 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 696.96 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตร้อยละ 21.53

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-ธันวาคม ปี 2566

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในปี 2566 ลดลง 2.83% (YoY) จากมูลค่า 15,063.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 14,636.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 รองจากรถยนต์ และคอมพิวเตอร์ คิดเป็นสัดส่วน 5.14% ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย เมื่อหักทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปออก พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 8,658.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.40% (YoY)

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2566

ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างเดือนมกราคม-พศฤจิกายน 2566 เป็นมูลค่า 13,664.59 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.73% (YoY) แต่หากหักทองคำออก พบว่าไทยส่งออกเพิ่มขึ้น 8.51% (YoY) หรือมีมูลค่า 8,101.45 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปัจจัยบวกส่งออกไทยในไตรมาสแรก 2567 มาจากตลาดส่งออกสำคัญทยอยฟื้นตัวหลังจากภาวะเงินเฟ้อเริ่มชะลอตัวลง และหลายประเทศส่งสัญญาณยุติการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ปัจจัยลบสำคัญมาจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ จะฉุดรั้งการเติบโตของเศรษฐกิจโลก และผู้บริโภคใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในด้านการท่องเที่ยวและอุปกรณ์อัจฉริยะ อาจกระทบต่อกำลังซื้อสินค้าเครื่องประดับในบางเซกเมนต์

ปี 2566

ทิศทางการค้า การลงทุน ในพลอยสี

ในปีนี้นั้น นับเป็นปีที่พลอยสีสามารถเติบโตได้ในหลายตลาด ไม่ว่าจะเป็นฮ่องกง สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ หรืออิตาลี รวมทั้งยังมีแนวโน้มที่ดีสำหรับผู้ลงทุนในพลอยสี โดยสามอันดับแรกที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุด คือ ทัวร์มาลีน โอปอล และทับทิม นอกจากนี้ ยังมีโอกาสและความท้าทายที่ช่วยให้เห็นภาพรวมของตลาดได้มากขึ้น พิจารณาได้จากภาพอินโฟกราฟฟิกนี้

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-ตุลาคม ปี 2566

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 อยู่ที่ 12,705.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 6.76% (YoY) แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำ พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 7,391.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.05% เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกเฉพาะเดือนตุลาคม 2566 เติบโตสูงถึง 30.69% (YoY) และหากหักมูลค่าการส่งออกทองคำแล้ว พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงเพิ่มขึ้น 8.73% อ่านบทวิเคราะห์ได้ที่ https://shorturl.asia/ZRh7q

กล้าที่จะแตกต่างกับอัญมณีทางเลือกสำหรับแหวนหมั้น

เพชรเป็นแหวนหมั้นคลาสิกที่เป็นสัญลักษณ์ของคู่รักมาโดยตลอด แต่ปัจจุบันคู่รักชื่นชอบอัญมณีทางเลือกที่เป็นพลอยสีซึ่งมีหลายชนิดและหลายราคาให้เลือก แหวนหมั้นพลอยสีทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนจึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มจะเติบโตสูงขึ้นอีก ส่วนพลอยสีทางเลือกที่นิยมนำมาเป็นแหวนหมั้นมีอะไรบ้างและมีความหมายอย่างไร อ่านได้ในภาพอินโฟกราฟฟิกนี้

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กันยายน ปี 2566

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2566 อยู่ที่ 11,128.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.22 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 6,643.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.09

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site