Infographic

ข้อมูลด้านการตลาด

ปี 2563

สถานการณ์นำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2563

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนกันยายน 63 เติบโตสูงเกือบ 19% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สินค้าที่กลับมาเติบโตเป็นบวก ได้แก่ เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ส่วนภาพรวมยอดส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับสะสมระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายน 2563 ติดลบ 46.45% จากยอดส่งออกสะสม 2 ไตรมาสแรกที่หดตัวลงมาก อย่างไรก็ดี การส่งออกในไตรมาส 4 มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากหลายประเทศคู่ค้าออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและข่าวความสำเร็จของผลการทดลองวัคซีนโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะได้ใช้ในปีหน้า

สถานการณ์นำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2563

ส่งออกของไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำลดลง 43.99% หรือมีมูลค่า 2,935 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการไปยังประเทศคู่ค้าได้ลดลง ส่วนตลาดส่งออกสำคัญของไทยเกือบทุกตลาดก็หดตัวลงด้วย

Pearls, The Beauty Underneath the Water's Surface

ไข่มุก ความงามอันล้ำค่าจากใต้น้ำซึ่งได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดยนำมาทำเป็นเครื่องประดับในหลายรูปแบบ โดยจะมีไข่มุกสายพันธุ์ใดบ้าง สนนราคาเท่าไหร่ สามารถหาคำตอบได้จากภาพ Infographic นี้

เครื่องประดับเงินและพลอยเนื้อแข็งเจียระไนของไทยครองแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ในตลาดสหรัฐ ฮ่องกง และจีน

จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ผู้บริโภคลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ส่งผลให้หลายประเทศทั่วโลกต่างนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ด้วยมูลค่าลดลงในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ หากแต่เครื่องประดับเงินและพลอยเนื้อแข็งเจียระไนของไทยยังคงมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดผู้นำเข้ารายใหญ่ทั้งสหรัฐ ฮ่องกง และจีน โดยยังครองแหล่งนำเข้าอันดับ 1 เว้นเพียงตลาดเครื่องประดับเงินในฮ่องกง ที่เป็นรองคู่แข่งอย่างอินเดีย จีน และอิตาลี ฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยไม่ควรมองข้ามคู่แข่งสำคัญในแต่ละตลาด ปรับใช้กลยุทธ์ทางการตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้เหนือคู่แข่ง

สถานการณ์นำเข้าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563

ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวและกำลังซื้อผู้บริโภคลดลงจากผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ในระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2563 ได้ลดลง 41.87% หรือมีมูลค่า 12,069.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากรวมทองคำพบว่าไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น 33.73% จากการส่งออกทองคำฯ สินค้าหลักในสัดส่วนราวม 80% ได้สูงกว่า 1.06 เท่า เพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคาในช่วงที่ราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนสินค้าสำคัญอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง เพชรเจียระไน พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน ต่างมีมูลค่าหดตัวลงมาก ส่วนตลาดส่งออกสำคัญก็ปรับตัวลดลงมากเกือบทุกตลาด ปัจจัยเสี่ยงการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังยังคงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขัน และสงครามการค้าจีน-สหรัฐฯ

อุปสงค์เครื่องประดับทองทั่วโลกครึ่งแรกปี 2020

ความต้องการเครื่องประดับทองทั่วโลกในช่วงครึ่งปีแรกนี้ลดลงเกือบครึ่งถึง 46% มาอยู่ที่ 572 ตัน ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุด โดยได้รับผลกระทบจากการปิดเมืองในหลายภูมิภาคที่เป็นตลาดของสินค้ากลุ่มนี้ โดยเฉพาะเอเชียทั้งจีนและอินเดียซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคเครื่องประดับทองรายใหญ่ การปิดเมืองทำให้ตลาดหลายแห่งต้องปิดทำการลง และผู้บริโภคก็ต้องเผชิญความท้าทายจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในช่วงเวลาที่ราคาทองพุ่งสูงขึ้น จนผู้บริโภคหลายรายมองว่าเกินกำลังที่จะซื้อหาได้ ติดตามแนวโน้มในตลาดต่างๆ ได้จากที่นี่

ประเทศผู้ผลิตและสำรองทองคำสำคัญของโลก

จากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ดัชนีหุ้นดิ่งทั่วโลก นักลงทุนจึงหันไปลงทุนในทองคำในฐานะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นเป็นวัติการณ์ ทั้งนี้หลายคนอาจสงสัยว่าแต่ละปีประเทศไหนผลิตทองคำมากที่สุดและผลิตได้เท่าไหร่ ประเทศผู้บริโภคทองคำรายใหญ่เป็นใครบ้าง และประเทศไหนเก็บทองคำไว้มากที่สุด ร่วมกันหาคำตอบได้ที่นี่

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2563

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับด้วยมูลค่า 10,077.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 39.11% แต่หากไม่รวมทองคำมูลค่าส่งออกสุทธิอยู่ที่ 2,224.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวลง 42.17% โดยสินค้าส่งออกสำคัญรวมถึงตลาดส่งออกสำคัญหดตัวลงมาก ซึ่งเป็นผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง

ภาวะแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย ปี 2562

ในปี 2562 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยมีแรงงานทั้งสิ้น 729,314 คน คิดเป็น 1.89% ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 40 ปี โดยอุตสาหกรรมต้นน้ำมีแรงงาน 2.47% ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดจันทบุรี กรุงเทพฯ และมหาสารคาม ตามลำดับ อุตสาหกรรมกลางน้ำมีแรงงาน 19% ส่วนมากอยู่ในกรุงเทพฯ สมุทรปราการ และเชียงใหม่ ตามลำดับ ส่วนอุตสาหกรรมปลายน้ำมีแรงงาน 78.53% ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ สงขลา และนนทบุรี ตามลำดับ

สถานการณ์การค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับไทย

แม้ว่าในปี 2562 ที่ผ่านมาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทยจะเผชิญกับความผันผวนทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและประเทศคู่ค้าสำคัญๆ แต่ก็ยังมีโอกาสอยู่มาก เพราะยังมีกลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูงที่ยังต้องการซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ จึงจูงใจให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาตั้งกิจการมากขึ้น ทำให้ปี 2562 มีจำนวนสถานประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นราว 5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็กราว 99% และกิจการส่วนมากตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ รองลงมาคือ ชลบุรี จันทบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี และเชียงใหม่ ตามลำดับ ส่วนมูลค่าการค้าอัญมณีและเครื่องประดับปี 2562 รวมทองคำ คิดเป็นสัดส่วน 5.14% ต่อ GDP แต่หากไม่รวมทองคำจะมีมูลค่าการค้าคิดเป็น 2.62% ต่อ GDP

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970