Infographic

ข้อมูลด้านการตลาด

ปี 2564

ภาวะแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2563

ปัจจุบันอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายเล็กกระจายอยู่ทั่วประเทศกว่า 12,500 แห่ง ยังไม่รวมกิจการในครัวเรือนอีกจำนวนมาก สร้างงานสร้างรายได้ให้แรงงานตลอดห่วงโซ่อุปทานจำนวนไม่น้อย โดยในปี 2563 มีแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับทั้งสิ้น 741,712 คน เปรียบเทียบกับจำนวนแรงงานไทยที่ทำงานก่อให้เกิดรายได้ประมาณ 37.93 ล้านคน หรือประมาณ 1.96% ของแรงงานไทยที่ทำงานก่อให้เกิดรายได้ทั้งประเทศ ทั้งนี้ ประมาณ 3 ใน 4 ของแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมปลายน้ำ (อายุแรงงานเฉลี่ย 40 ปี) รองลงมาคือ อุตสาหกรรมกลางน้ำ (อายุแรงงานเฉลี่ย 40 ปี) และอุตสาหกรรมต้นน้ำ (อายุแรงงานเฉลี่ย 40 ปี) ตามลำดับ ดังแสดงในภาพนี้

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยไตรมาสแรกปี 2564

สถานการณ์การการส่งออกไปยังตลาดสำคัญหลายแห่งยังไม่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2564 ลดลงร้อยละ 66.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีมูลค่า 5,437.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 1,805.06 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เจาะตลาดออนไลน์ขยายช่องทางการค้าเครื่องประดับ

แม้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 จะสร้างวิกฤตแต่ท่ามกลางวิกฤตยังก่อเกิดโอกาสใหม่ เพราะช่องทางออนไลน์กลายเป็นช่องทางหลักในการสื่อสารกันทั่วโลก หลายธุรกิจจึงใช้ช่องทางนี้ในการสื่อสารกับผู้บริโภค แล้วเว็บไซต์ใดหรือแอปพลิเคชั่นไหนที่นิยมในการซื้อ-ขายเครื่องประดับ หาคำตอบได้ในภาพนี้

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2564

สถานการณ์การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2564 ปรับตัวลดลงร้อยละ 72.39 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำฯ พบว่า ลดลงร้อยละ 27.43 ซึ่งปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบควรติดตามมีทั้งราคาทองคำที่ปรับตัวลงต่อเนื่องและการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลาย

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม ปี 2564

ภาพรวมการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในเดือนแรกของปี 2564 ปรับตัวลดลงร้อยละ 70.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบหลักๆ มาจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ทำให้สินค้าส่งออกหลักอย่างทองคำปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 90.29

จำนวนผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับไทยปี 2563

ในปี 2563 แม้ว่าโลกจะเผชิญกับการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ทำให้การค้าซบเซาลง แต่ผู้ประกอบการหลายรายก็ยังคงพยุงธุรกิจให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ และด้วยสถานการณ์ในไทยที่ยังดีกว่าหลายประเทศในโลก ผู้ประกอบการรุ่นใหม่บางรายจึงมองเห็นว่ายังมีโอกาสในธุรกิจนี้ ส่งผลให้มีการเปิดกิจการเพิ่มขึ้น 0.78% หรือมีจำนวนผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด 12,546 ราย แบ่งเป็นผู้ผลิต 1,547 ราย ผู้ค้าส่ง 2,168 ราย และค้าปลีก 8,831 ราย โดยกว่า 90% เป็นผู้ประกอบการรายเล็กซึ่งเป็นกิจการของชาวไทย โดยกรุงเทพฯ มีจำนวนผู้ประกอบการมากที่สุดถึง 44% รองลงมาเป็นชลบุรี จันทบุรี สมุทรปราการ และนนทบุรี ตามลำดับ

อุปสงค์เครื่องประดับทองทั่วโลกปี 2020

World Gold Council เผยความต้องการเครื่องประดับทองทั่วโลกในปี 2020 ลดลงถึง 34% ซึ่งปรับตัวลดลงทุกตลาด โดยตลาดผู้บริโภคหลักทั้งจีนและอินเดียต่างลดต่ำลง แต่ก็มีแนวโน้มฟื้นตัวในไตรมาสที่ 4 ปี 2020 อีกทั้งคาดการณ์ว่าอุปสงค์เครื่องประดับทองอาจจะเพิ่มขึ้นในปี 2021 สำหรับความต้องการเครื่องประดับทองของไทยลดลงถึง 47% อยู่ในอันดับที่ 26 ของโลก แล้วประเทศใดที่มีอุปสงค์เครื่องประดับทองใน 25 อันดับแรกของโลกสามารถคลิกดูได้จากภาพ Infographic

สถานการณ์นำเข้าและส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ประจำปี 2563

ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในปี 2563 นั้น มีอัตราการเติบโตร้อยละ 15.94 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 33.51 โดยเป็นผลจากการเก็งกำไรราคาทองคำ ทำให้ทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปหรือทองคำกึ่งสำเร็จรูปเป็นสินค้าหลักทั้งการส่งออกและนำเข้า ขณะที่ภาพรวมสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงปรับตัวลงอันเนื่องมาจากผลกระทบของโควิด-19

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤศจิกายน ปี 2563

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐเดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2563 เติบโตร้อยละ 17.24 ทั้งนี้ หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำ พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่าลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 42.26 แต่เมื่อพิจารณาการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย (ไม่รวมทองคำ) รายเดือน พบว่าหลังจากฟื้นตัวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 และเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง กลับหดตัวลงในเดือนพฤศจิกายน 2563 ในอัตราร้อยละ 2.75 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม 2563 อันเนื่องจากความต้องการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยชะลอตัวลงจากผลกระทบของสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ซึ่งกลับมาแพร่ระบาดรอบใหม่ในหลายประเทศทั่วโลก

การบริโภคทองคำและทิศทางราคาปี 2021

ราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทั่งสามารถทำสถิติสูงสุดในรอบปี 2563 ที่ผ่านมา ปัจจัยหลักมาจากการเก็งกำไรของนักลงทุนที่หันมาลงทุนสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่การบริโภคในอุตสาหกรรมเครื่องประดับปรับตัวลง แล้วทิศทางการบริโภคทองคำและราคาในปี 2564 จะไปในทิศทางใด สามารถคลิกดูได้จากภาพ Infographic

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970