Infographic

ข้อมูลด้านการตลาด

ปี 2563

สถานการณ์การค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับไทย

แม้ว่าในปี 2562 ที่ผ่านมาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทยจะเผชิญกับความผันผวนทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและประเทศคู่ค้าสำคัญๆ แต่ก็ยังมีโอกาสอยู่มาก เพราะยังมีกลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูงที่ยังต้องการซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ จึงจูงใจให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาตั้งกิจการมากขึ้น ทำให้ปี 2562 มีจำนวนสถานประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับเพิ่มขึ้นราว 5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็กราว 99% และกิจการส่วนมากตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ รองลงมาคือ ชลบุรี จันทบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี และเชียงใหม่ ตามลำดับ ส่วนมูลค่าการค้าอัญมณีและเครื่องประดับปี 2562 รวมทองคำ คิดเป็นสัดส่วน 5.14% ต่อ GDP แต่หากไม่รวมทองคำจะมีมูลค่าการค้าคิดเป็น 2.62% ต่อ GDP

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2563

ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับในช่วง 5 เดือนแรกปี 2563 ได้เพิ่มสูงกว่า 1.08 เท่า หรือมีมูลค่า 9,579.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่หากหักทองคำออก พบว่า มูลค่าส่งออกลดลงถึง 34.8% หรือมีมูลค่า 1,984 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกสินค้าสำคัญเกือบทุกรายการไปได้ลดลง ยกเว้นเพียงทองคำฯ ที่เติบโตสูง จากการส่งออกเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคา และเกือบทุกตลาดสำคัญของไทยก็หดตัวลงโดยเฉพาะตลาดหลักเดิมอย่างสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง จากพิษโควิด-19 ที่ฉุดเศรษฐกิจของโลกให้ชะลอตัวลง

การนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในช่วงโควิด 19 ไตรมาสแรกปี 2020

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบให้ทั่วโลกนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับลดลงในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดย 6 ประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลกก็คือ สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐฯ ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ต่างนำเข้าสินค้ารายการสำคัญด้วยมูลค่าลดลงค่อนข้างมาก ซึ่งขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่แต่ละประเทศออกมาตรการ Lock down และมีการปิดตัวลงชั่วคราวของร้านค้าเครื่องประดับ

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-เมษายน 2563

ผลกระทบจากไวรัสโควิด -19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง ทำให้ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2563 ไม่รวมทองคำลดลงมากถึง 25.31% หรือมีมูลค่า 1,774.74 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่หากรวมทองคำแล้ว ไทยส่งออกได้เพิ่มขึ้น 1.14 เท่า หรือมีมูลค่า 8,147.46 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการส่งออกทองคำฯ ซึ่งเป็นสินค้าหลักได้เพิ่มสูงกว่า 3.50 เท่า เพราะราคาทองคำทำสถิติพุ่งสูงขึ้นในรอบ 8 ปี ส่วนการส่งออกสินค้าสำคัญทั้งวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบก็ลดลงมาก และลดลงในเกือบทุกตลาด แต่ตลาดที่ยังโตได้ดีคือ อาเซียน และตลาดที่เป็นโอกาสของไทย คือ จีน ที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว ผู้คนเริ่มออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อย่างไรก็ดี จากวิกฤติไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในรูปแบบใหม่ที่กลายเป็น New Normal โดยใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ เสพสื่อผ่านโซเชียลมีเดียและ Chat App ฉะนั้น ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วงชิงโอกาสความอยู่รอด

มาตราการภาครัฐเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ

แม้ว่า COVID Disruption จะส่งผลกระทบให้ทุกภาคส่วนต้องรับความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ซึ่งนำมาสู่ความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในการออกมาตรการ เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็น เงิน 5,000 พัน แก่บุคคลธรรมดา และการลดภาระหรือพักหนี้แก่ลูกค้าของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ยังมีมาตรการภาครัฐเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีละเครื่องประดับ ที่เป็นอีกส่วนหนึ่งให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถเลือกใช้และต่อยอดกับมาตรการอื่นๆ ในการสร้างรากฐานและก้าวต่อไปได้อีกด้วย

ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทยเดือนมกราคม-มีนาคม 2563

ผลกระทบโควิด-19 ทำไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไม่รวมทองคำในไตรมาสแรกของปี 63 ลดลง 20.18% หรือมีมูลค่า 1,563 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ถ้ารวมทองคำ มูลค่าส่งออกเติบโตได้ 71.85% หรือมีมูลค่า 5,442.28 ล้านเหรียญสหรัฐ นับเป็นสินค้าส่งออกในอันดับ 2 (รองจากรถยนต์) และคิดเป็นสัดส่วน 8.68% ของการส่งออกโดยรวมของไทย โดยตลาดส่งออกหลักอย่างสหภาพยุโรปและฮ่องกง รวมถึงตลาดสำคัญอย่างกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและจีน หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวรับมือกับเทรนด์ New Normal ซึ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป การค้า E-Commerce พุ่งสูง เพราะลูกค้าหันไปซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น และจะซื้อสินค้าที่มีคุณภาพสูง แต่ราคาไม่แพง รวมถึงการรับข่าวสารผ่าน Social Media และ Chat App มากกว่าช่องทางอื่น

10 ประเทศผู้นำเข้าพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนรายใหญ่ของโลก ปี 2019

ประเทศผู้นำเข้าพลอยเนื้อแข็งเจียระไนรายใหญ่ของโลก 3 อันดับแรกใน ปี 2019 คือ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสวิตเซอร์แลนด์ ที่ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันเกือบร้อยละ 59 ส่วนผู้นำเข้าพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนรายใหญ่ของโลก 3 อันดับแรกในปี 2019 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และจีน ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดรวมกันเกือบร้อยละ 55

10 อันดับประเทศผู้นำเข้าเครื่องประดับทองและเครื่องประดับเงินรายใหญ่ของโลก ปี 2019

ประเทศผู้นำเข้าเครื่องประดับทองรายใหญ่ของโลก 3 อันดับแรกใน ปี 2019 คือ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา ที่ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันเกือบร้อยละ 56 ส่วนผู้นำเข้าเครื่องประดับเงินรายใหญ่ของโลก 3 อันดับแรกในปี 2019 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และเยอรมนี ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาดรวมกันเกือบร้อยละ 45

สินค้าเครื่องประดับที่ไทยถูกตัดสิทธิ GSP จากสหรัฐ

ในวันที่ 25 เมษายนนี้ สหรัฐจะระงับสิทธิ GSP สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทย 22 รายการย่อย ใน 4 สินค้าหลักได้แก่ พิกัด 7113 เครื่องประดับแท้ พิกัด 7114 เครื่องทองหรือเครื่องเงิน พิกัด 7116 ของทำด้วยไข่มุกและรัตนชาติ รวมถึงพิกัด 7117 เครื่องประดับเทียม จากที่เคยเสียภาษีนำเข้า 0% จะต้องเสียในอัตราเฉลี่ย 5.79% ทำให้ไทยอาจสูญเสียแต้มต่อในการแข่งขัน อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกหลักของไทยไปยังสหรัฐ อย่างเครื่องประดับแท้ ซึ่งได้ถูกตัดสิทธิ GSP ไปหลายปีแล้ว 2 พิกัดคือ พิกัด 7113.11.50 เครื่องประดับเงินซึ่งมีมูลค่าเกินกว่าโหล/ชิ้นละ 18 เหรียญสหรัฐฯ และพิกัด 7113.19.50 เครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทองคำหรือแพลทินัม ยังคงเป็นสินค้าไทยที่มีศักยภาพและสามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันได้เป็นอย่างดี

สหรัฐ ตลาดผู้บริโภคและนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ของโลก

สหรัฐเป็นผู้นำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ของโลก และเป็นคู่ค้าหลักที่นำเข้าสินค้านี้จากไทยด้วยมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดยสินค้านำเข้าสำคัญคือ เครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง พลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไน แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก ทำให้กำลังซื้อและการบริโภคสินค้าลดต่ำลง ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบต่อยอดนำเข้าสินค้าไทยของตลาดสหรัฐในปีนี้ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลายลง คาดว่าน่าจะส่งผลให้ผู้บริโภคเริ่มหันกลับมาซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับอีกครั้ง

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970