เกาะติดสถานการณ์ตลาดอัญมณี

ภาคธุรกิจเครื่องประดับจีนกำลังเผชิญความท้าทายในโลกยุคหลังการล็อคดาวน์ โดยผู้ผลิตและแบรนด์ต่างๆ ล้วนอาศัยประโยชน์จากศิลปะทางวัฒนธรรมจีน การปรับเปลี่ยนสินค้าให้ทันสมัย และการเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคจีนโดยใช้กลยุทธ์อย่างไรติดตามได้ในบทความนี้

ธุรกิจเครื่องประดับจีนกำลังฟื้นตัวในภาพรวม หลังจากการระบาดของโควิดในหลายเมือง บวกกับการล็อคดาวน์เต็มรูปแบบภายใต้นโยบายโควิดเป็นศูนย์ที่เข้มงวดของทางการจีน ที่ส่งผลอย่างหนักต่อตลาดเครื่องประดับและศูนย์กลางการผลิต แต่ปัจจัยบ่งชี้สำคัญแสดงให้เห็นว่าผู้ค้าปลีกและค้าส่งเครื่องประดับยังคงเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่องในแง่ผลประกอบการและผลกำไร โดยสถานการณ์ตลาดจีนเป็นอย่างไรติดตามได้ในบทความนี้

ธุรกิจพลอยสีมีโอกาสเติบโตสูงในช่วงปี 2023 นี้ เนื่องจากมีความต้องการอย่างต่อเนื่องในกลุ่มบิ๊กทรีทั้งทับทิม แซปไฟร์ และมรกต รวมถึงอัญมณีชนิดใหม่ๆ อาทิ พาราอิบาทัวร์มาลีน สปิเนล ซาวอไรต์ ทัวร์มาลีนสีเขียว น้ำเงิน และแดง รวมถึงอะความารีน อีกทั้งตลาดสำคัญก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหลังการเลิกมาตรการล็อคดาวน์ แนวโน้มตลาดพลอยสีเป็นอย่างไรติดตามได้ในบทความนี้

กระแสเครื่องประดับมาแรงและแนวโน้มทางการตลาดสำคัญในธุรกิจเครื่องประดับในปีนี้ไม่ว่าจะเป็นการชอปปิงผ่านไลฟ์สตรีม เครื่องประดับตามเทรนด์ที่มีระดับราคาเข้าถึงได้ เครื่องประดับไม่แบ่งเพศ ความยั่งยืน เทคโนโลยี Web3 และ Metaverse รวมถึง Luxury 4.0 ที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้เพื่อเข้าถึงและนำเสนอประสบการณ์ที่ตรงใจให้แก่ผู้บริโภคยุคใหม่มีรายละเอียดอย่างไรติดตามได้ในบทความนี้

การออกแบบเครื่องประดับได้รับแรงบันดาลใจอันหลากหลายจากการผสมผสานเทรนด์ในอดีตและกระแสร่วมสมัยเข้าด้วยกัน โดยโซเชียลมีเดีย ความลื่นไหลในหลากหลายแง่มุม การนำหลักการออกแบบใหม่มาตีความและทำซ้ำตามแนวทางแบบสมัยใหม่ ตลอดจนการปรับแต่งให้เหมาะกับเฉพาะบุคคลและความยั่งยืน ล้วนถือเป็นประเด็นสำคัญในแวดวงการออกแบบเครื่องประดับทุกวันนี้ ทำให้เครื่องประดับหลายมิติจะสร้างกระแสในปีนี้ ซึ่งมีแนวคิดการดีไซน์แบบไหนบ้างติดตามได้จากบทความนี้

Greenland Ruby มุ่งยกระดับกิจการในแวดวงอัญมณีโลกด้วยการเพิ่มความโดดเด่นในตลาดและตอบสนองความต้องการพลอยสีที่ผ่านกระบวนการทำเหมืองอย่างถูกต้อง โดยเน้นการขยายตลาด การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ความยั่งยืน และการเข้าสู่ระบบดิจิทัล เป็นประเด็นสำคัญในกลยุทธ์การเติบโตของบริษัท ซึ่งแนวทางดังกล่าวเป็นอย่างไรติดตามได้จากบทความนี้

กระแสการบริโภคอย่างมีจิตสำนึกที่เติบโตขึ้นทำให้ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) กลายเป็นที่สนใจ แม้ว่าโครงการด้าน ESG ยังคงเผชิญความท้าทายในแง่ประสิทธิภาพและการปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างต่อเนื่อง แต่โครงการเหล่านี้ก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจากความมุ่งมั่นขององค์กรและบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งได้ดำเนินงานอะไรบ้างติดตามได้จากบทความนี้

ดูไบกำลังเสริมสร้างบทบาทเพื่อก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำระดับโลกในธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ด้วยเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งควบคู่กับความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนและการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้ดูไบมีข้อได้เปรียบด้านภาษี โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและลอจิสติกส์ ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และราคา ซึ่งล้วนเป็นแรงผลักดันที่ช่วยให้ดูไบกลายเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับแห่งใหม่ของโลกได้อย่างไรติดตามอ่านได้ในบทความ

ความเปลี่ยนแปลงในแง่รสนิยมของผู้บริโภค ช่องทางธุรกิจ และกลยุทธ์การเติบโตของธุรกิจจีน กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับจีน ควบคู่ไปกับเศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวมุ่งก้าวไปข้างหน้าหลังผ่านการระบาดของโควิด-19 ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคจีนและความต้องการที่จะสวมใส่เครื่องประดับในชีวิตประจำวันเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้พลอยสีได้รับความสนใจจากผู้บริโภคคนรุ่นใหม่ในตลาดจีนมากขึ้น เพราะตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อที่มีระดับงบประมาณแตกต่างกันไป พลอยสีจึงเป็นสินค้าที่มีอุปสงค์ในตลาดนี้เพิ่มมากขึ้น

พลอยสียังคงตรึงความสนใจของตลาด ดังปรากฏให้เห็นจากการที่อัญมณีระดับคุณภาพสูงหลายชนิดเป็นที่ต้องการมากยิ่งขึ้นในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นทับทิม มรกต แซปไฟร์ พาราอิบาทัวร์มาลีน ส่งผลให้ราคาอัญมณีเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณอุปทานมีจำกัด แล้วกระแสความนิยมพลอยในตลาดโลกขณะนี้เป็นอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้

ผู้ประกอบการเครื่องประดับในอาเซียนคาดการณ์ว่าธุรกิจจะมีแนวโน้มที่ดีในอนาคตข้างหน้า ด้วยแผนการที่กลับมาเดินหน้าอีกครั้งในการเปลี่ยนภูมิภาคอาเซียนให้เป็นศูนย์กลางการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับระดับสากล โดยในอนาคตข้างหน้า AGJA จะผลักดันระบบการเก็บภาษีแบบรวมศูนย์และการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อกระตุ้นการค้าภายในภูมิภาค

ตลาดทับทิมยังคงคึกคัก เพราะทับทิมสีแดงคุณภาพสูงยังเป็นที่ต้องการของแบรนด์เครื่องประดับชั้นสูง นักสะสม และนักออกแบบ โดยทับทิมสีเลือดนกจากเมียนมาเป็นที่นิยมสูงสุด แต่มีปริมาณออกสู่ตลาดน้อยลง จึงทำให้ตลาดหันไปหาทับทิมจากแหล่งอื่นๆ แทน ได้แก่ โมซัมบิก เวียดนาม อัฟกานิสถาน และมาดากัสการ์ ซึ่งมีความสวยงามแต่ราคาถูกกว่าทับทิมเมียนมามากทีเดียว อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970