เกาะติดสถานการณ์ตลาดอัญมณี

การสร้างห่วงโซ่อุปทานอย่างมีจริยธรรมในอุตสาหกรรมอัญมณีนั้น ต้องมองอย่างรอบด้านเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภคและคนในท้องถิ่นที่อยู่ปลายสุดของห่วงโซ่อุปทาน CIBJO จึงได้จัดทำแนวปฏิบัติในการเปิดเผยข้อมูลการปรับปรุงคุณภาพพลอยสี เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ซื้ออย่างชัดเจนและถูกต้อง แต่ไม่บังคับใช้การเปิดเผยข้อมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อนที่จะกระทบต่อธุรกิจการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีจริยธรรมและยั่งยืนได้ต่อไป แนวปฏิบัติเป็นอย่างไรติดตามได้ในบทความนี้

ความต้องการเครื่องประดับทองทั่วโลกยังคงเจิดจรัสในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เพิ่มขึ้นถึง 33% จากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของอุปสงค์การบริโภคอัญมณีและเครื่องประดับทองในจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง โดยได้รับแรงผลักดันจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค สถานการณ์ในแต่ละตลาดเป็นอย่างไรติดตามได้ในบทความนี้

ความต้องการอัญมณีในจีนเพิ่มสูงตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นและยอดขายอัญมณีเครื่องประดับก็เติบโตขึ้นเช่นกัน โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อภาคธุรกิจนี้ก็คือการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตในยุควิถีใหม่ ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับจีนจึงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจากการที่ตลาดปรับตัวตามความนิยมของผู้บริโภคช่วงหลังล็อคดาวน์ ตลาดจีนมีแนวโน้มขยายตัวจากการปรับธุรกิจอย่างไรติดตามได้ในบทความนี้

ธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับฮ่องกงหลังการระบาดของ Covid-19 มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดีในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยการแพร่ระบาดได้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อ แนวโน้มของผู้บริโภค และความนิยมในผลิตภัณฑ์อัญมณีและเครื่องประดับ ผู้ค้าอัญมณีเครื่องประดับฮ่องกงจึงต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินงานและสร้างกลยุทธ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมและรักษาระดับการเติบโตของยอดขายสินค้า พร้อมทั้งเร่งเจาะตลาดผู้บริโภคชาวจีนที่มีกำลังซื้อสูงด้วยแนวทางอย่างไรติดตามได้จากบทความนี้

RAPAPORT คาดการณ์ว่า ความต้องการอัญมณีเพชรและเครื่องประดับเพชรจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งตลอดปี 2021 และอาจต่อเนื่องไปถึงปี 2022 จากอุปสงค์อัญมณีเพชรเจียระไนที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าที่คาดบวกกับปริมาณอุปทานที่ยังไม่เพียงพอ ทำให้ราคาอัญมณีเพชรเจียระไนพุ่งสูงขึ้น และหากภาคการผลิตของอินเดียกลับเข้าสู่สภาวะปกติจะทำให้กำลังการผลิตฟื้นตัวกลับมา ขณะที่สหรัฐและจีนเป็นตลาดผู้บริโภคอัญมณีเพชรที่สำคัญสองอันดับแรกซึ่งมีการฟื้นตัวและมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อุตสาหกรรมเพชรจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไรติดตามได้จากบทความนี้

การระบาดของโควิด-19 สร้างความเสียหายต่อธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับจีนในช่วงแรก แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลายตลาดอัญมณีและเครื่องประดับจีนจึงกลับมาฟื้นตัวขึ้นจากอุปสงค์ของผู้บริโภคในตลาดที่เพิ่มมากขึ้น ผู้ขายอัญมณีเครื่องประดับจึงอาศัยประโยชน์จากตลาดที่แข็งแกร่งขึ้น โอกาสทางอีคอมเมิร์ซ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคเพื่อการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว ซึ่งแนวทางการปรับตัวของธุรกิจนี้เป็นอย่างไร ผู้บริโภคชาวจีนนิยมสินค้ารูปแบบไหนติดตามได้จากบทความนี้

ข้อมูลของ Diamond Registry แสดงยอดขายเพชรแท้จากธรรมชาติในปี 2021 มีแนวโน้มชะลอตัวลง เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ กระแสรักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม ก็ส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมากขึ้นเรื่อยๆ เพชรสังเคราะห์ (Laboratory Grown Diamonds) จึงนับเป็นหนึ่งทางเลือกให้กับผู้บริโภคด้วยราคาที่จับต้องได้ ผู้ประกอบการจึงควรเตรียมรับมือกับเทรนด์การบริโภคเพชรสังเคราะห์ที่จะมาตามการขยายตัวของกลุ่มคน Gen Y และ Gen Z ยิ่งในปัจจุบันการโฆษณาแบบปากต่อปากจัดเป็นการโฆษณาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด หากเทรนด์ของเพชรสังเคราะห์มาจริง ก็คงหยุดยั้งความนิยมของเพชรสังเคราะห์ได้ยาก ซึ่งเพชรสังเคราะห์ก็มีโอกาสสูงที่จะเป็น “New Normal” ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในอนาคต แนวโน้มตลาดเพชรสังเคราะห์เป็นอย่างไรติดตามได้จากบทความนี้

เมื่อข้อมูลการเดินทางของอัญมณีเพชรจากเหมืองสู่ตลาดทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ จึงเริ่มมีข้อกังวลว่าระบบบล็อกเชนในการติดตามแหล่งที่มาของอัญมณีเพชรนั้นจะใช้งานได้กับผู้ประกอบการทุกรายในอุตสาหกรรมเพชรหรือไม่ เพราะเพชรที่ป้อนเข้าสู่ตลาดทั่วโลกนั้นราวร้อยละ 20 มาจากผู้ทำเหมืองแบบดั้งเดิมและผู้ทำเหมืองรายย่อย แต่กระบวนการและระบบต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อติดตามข้อมูลนั้นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเป็นหลัก จึงนำไปสู่คำถามถึงขีดความสามารถและความเป็นไปได้ของระบบบล็อกเชนว่าจะครอบคลุมทั่วทั้งห่วงโซ่อุปทานได้อย่างไรหาคำตอบได้จากบทความนี้

จีนมีชื่อเสียงมายาวนานในฐานะศูนย์กลางการผลิตเครื่องประดับที่มีศักยภาพและขนาดการผลิตที่รองรับความต้องการและงบประมาณได้แทบทุกระดับ ศูนย์กลางการผลิตและผู้ผลิตของจีนอาศัยประสบการณ์ นวัตกรรม และกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เฉียบแหลมเพื่อรักษาตำแหน่งการเป็นแนวหน้าในอุตสาหกรรมเครื่องประดับระดับโลก อีกทั้งยังเสริมสร้างขีดความสามารถในการผลิตเครื่องประดับอย่างต่อเนื่อง โดยขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ประสานพลังทั้งในด้านการออกแบบ เทคโนโลยี การจัดการ และการสร้างแบรนด์ ตลอดจนพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปสู่การผลิตด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย

นอกจากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจรับมือกับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แล้ว ผู้ขายอัญมณีและเครื่องประดับยังจำเป็นต้องทบทวนการดำเนินธุรกิจของตนเองในหลายๆ ด้านจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ในปี 2020 โดยศึกษาทั้งข้อดีและข้อเสียเพื่อเสริมสร้างข้อดีและปรับปรุงข้อเสียไปพร้อมๆ กัน พร้อมหาแนวทางในการเพิ่มยอดขายที่จะช่วยเสริมให้ธุรกิจไม่เพียงอยู่รอดได้ในปีนี้แต่ยังประสบความสำเร็จด้วย เคล็ดลับในการสร้างยอดขายเครื่องประดับมีอะไรบ้างติดตามได้ในบทความนี้

ก่อนโควิด-19 จะระบาดไปทั่วโลก Grand View Research ได้ประมาณการว่าอุตสาหกรรมเครื่องประดับอัญมณีในตลาดโลกจะมีมูลค่า 480,500 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2025 แต่เมื่อร้านเครื่องประดับต้องปิดทำการนานหลายเดือนขนาดของตลาดจึงลดลงเล็กน้อย ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้ประกอบการควรเร่งปรับตัวนำกระแสทางการตลาดที่จะส่งผลต่อแนวโน้มในอุตสาหกรรม มาพิจารณาใช้วางกลยุทธ์ทางการตลาดและกำหนดแนวทางดำเนินธุรกิจในการจัดหาสินค้าตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

อัญมณีเพชร เพชรสังเคราะห์ และเพชรเลียนแบบเป็นผลิตภัณฑ์อัญมณีที่มีความแตกต่างสำหรับตอบสนองความต้องการของตลาดต่างๆ ด้วยการนำเสนอคุณค่าที่แตกต่างกัน ถึงแม้คำย่อที่ใช้เกี่ยวกับอัญมณีเพชรเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดีในแวดวงเครื่องประดับ แต่ในหลายโอกาสการใช้คำที่ไม่ถูกต้องอาจสร้างความสับสนให้ทุกฝ่ายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริโภค องค์กรชั้นนำในอุตสาหกรรมอัญมณีเพชรจึงได้จัดทำแนวทางการใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอัญมณีเพชร ซึ่งได้ผ่านการยืนยันและการยอมรับจากองค์กรมาตรฐานทางการค้าในตลาดสหราชอาณาจักร

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970
external-site