บทความวิชาการอัญมณี

กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมถึงการค้าที่เป็นธรรมได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการเลือกซื้อสินค้าของคนรุ่นใหม่ทั่วโลก จนทำให้หลายอุตสาหกรรมปรับตัวมุ่งไปสู่แนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (Sustainability) มากขึ้น รวมทั้งอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับด้วย ซึ่งนอกจากคุณภาพ คุณค่า รูปแบบสินค้า ความไว้วางใจ และความภักดีต่อแบรนด์แล้ว ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออัญมณีและเครื่องประดับยังรวมไปถึงความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม การให้ความสำคัญต่อชุมชนและการจัดหาสินค้าอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมด้วย

แนวคิดเรื่องเครื่องประดับที่ไม่ระบุเพศไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ในปี 2020 กระแสนี้ค่อยๆ กลายเป็นแนวทางที่คงอยู่อย่างถาวร เพราะผู้คนมีทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปในเรื่องเพศสภาพ โดยเฉพาะผู้ซื้อในกลุ่มคนรุ่น Millennial และ Gen Z ต่างมีแนวคิดไม่ยึดติดกับขนบธรรมเนียมทางเพศ ด้วยเหตุนี้ตลาดจึงเปิดรับวัฒนธรรมการใส่เครื่องประดับของผู้ชาย รวมถึงกลุ่มเป็นกลางทางเพศหรือไม่ระบุเพศมากยิ่งขึ้น ผู้ขายเครื่องประดับควรวางแผนแนวทางการขายและปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับเทรนด์ Gender Neutral

จากการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในกลุ่มสินค้าเครื่องประดับอัญมณีและการปรับกฎระเบียบใหม่ในภาคธุรกิจนี้ของอินเดีย นับเป็นโอกาสของธุรกิจ SMEs ไทยที่ต้องการขายสินค้าแก่ผู้บริโภคอินเดียผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซแบบข้ามพรมแดน โดยเฉพาะผู้ประกอบการเครื่องประดับแท้และเครื่องประดับแฟชั่นของไทยที่มีความพร้อมจะเข้าไปเริ่มทำธุรกิจในอินเดีย ก็ควรศึกษาการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบและเข้าใจถึงผลสืบเนื่องในทางปฏิบัติต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจของตน

จากกระแสเรียกร้องของผู้บริโภคยุคใหม่ให้ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ธุรกิจต่างๆ รวมถึงอัญมณีและเครื่องประดับต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคดังกล่าว เพื่อช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์หรือบริษัท อันนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับผู้ประกอบการไทยที่เข้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนมีใครบ้างและทำได้อย่างไร ติดตามรายละเอียดได้ในบทความนี้

New Normal จากวิกฤติโควิด-19 ได้เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนและธุรกิจอัญมณีไปอย่างสิ้นเชิง และวิกฤตินี้ได้สร้างจุด เปลี่ยนสำคัญในการใช้เทคโนโลยีออนไลน์มากขึ้น ตอกย้ำให้ทุกธุรกิจต้องเร่งพัฒนาเข้าสู่โลกออนไลน์เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด ในส่วนของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับจะปรับตัวอย่างไรให้ทันกระแสนี้ ติดตามได้ในบทความนี้

โควิด-19 นั้น ไม่เพียงแต่เข้ามาสร้างความสูญเสียให้เกิดขึ้น แต่ยังเข้ามาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนทั่วโลกให้เปลี่ยนไป ขณะที่การแพร่ระบาดยังคงมีอยู่การดำเนินธุรกิจก็ต้องก้าวต่อไป แล้วธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับจะต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยใดเพื่อต่อยอดและพร้อมกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง

จากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารยุติการให้สถานะพิเศษแก่ฮ่องกง เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2020 จึงทำให้ฮ่องกงสูญเสียสิทธิพิเศษทางเศรษฐกิจ และยังสั่นคลอนต่อสถานะศูนย์กลางด้านการค้าการลงทุนที่สำคัญอีกด้วย ผลกระทบจะมีอะไรบ้าง และโอกาสต่อธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทยจะเป็นอย่างไร ติดตามคำตอบได้ที่นี่

การสื่อสารคือสิ่งสำคัญไม่ว่าจะผ่านไปสักกี่ยุคกี่สมัย และแน่นอนการสื่อสารยังเป็นเครื่องมือสุดสำคัญในการทำการตลาดโดยเฉพาะในยุคนี้ที่มีสื่อโซเชียลมีเดียที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารเพียงปลายนิ้ว

เพชรสังเคราะห์ หรือ Lab Grown Diamond (LGD) อีกหนึ่งทางเลือกของชาว Millennials ที่พลาดไม่ได้ และต้องจับตามองให้ดี อะไรทำให้ Lab Grown Diamond นั้นเป็นที่นิยมในหมู่คนรุ่นใหม่

สถานการณ์ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญซึ่งส่งผลกระทบหลายๆ อย่างจนทำให้วิถีชีวิตของคนยุคใหม่เปลี่ยน จนทำให้ภาคธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ๆ ให้สอดรับกับสถานการณ์ในตอนนี้ โควิด-19 ส่งผลกระทบอะไรบ้าง และควรต้องปรับตัวอย่างไร

การทำตลาดเครื่องประดับอัญมณีกลายเป็นเรื่องที่ท้าทายผู้ขายเพิ่มมากขึ้นทุกวัน แต่ละแบรนด์ไม่ว่าจะเป็นผู้ขายรายใหญ่หรือผู้ขายรายย่อยต่างจำเป็นต้องงัดกลยุทธ์ทุกวิถีทางเพื่อที่จะเอาชนะใจลูกค้า และชิงส่วนแบ่งการตลาดนั้นมาให้ได้ Influencers เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดูเหมาะสมกับยุคสมัย

AI ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ในยุคปัจจุบัน รวมไปถึงในด้านธุรกิจเครื่องประดับและอัญมณี แต่ความสบายนี้เองก็เป็นดาบสองคมที่กลืนกินธุรกิจที่ไม่สามารถปรับตัวได้ และผลกระทบนี้กำลังจะกระทบกับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับแล้วหรือยัง

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970