Latest Articles
บทความวิชาการล่าสุด
แนวโน้มตลาดสมาร์ทจิวเวลรี่
บทความวิชาการอัญมณี
ตลาดสมาร์ทจิวเวลรี่ (Smart Jewelry) เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยสมาร์ทจิวเวลรี่เป็นเครื่องประดับแฟชั่นผสมผสานเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานและประโยชน์ที่หลากหลายมากกว่าความสวยงามเพียงอย่างเดียว โดยทั่วไปสมาร์ทจิวเวลรี่จะมีการติดตั้งเซ็นเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ที่สามารถทำหน้าที่ต่างๆ เช่น การติดตามสุขภาพ ความเครียด การนอนหลับ หรือตรวจวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หรือใช้สำหรับความปลอดภัย เช่น การส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือเมื่ออยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นต้น
หลายท่านคงคุ้นเคยหรือพอจะได้ยินได้รู้จักกับคำว่า “เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ” หรือ 3D Printing กันอยู่บ้างแล้ว 3D Printing เป็นเทคโนโลยีการพิมพ์อย่างหนึ่งที่ได้มีการพัฒนาและนำมาใช้ในแวดวงของการผลิตเครื่องประดับมาเป็นระยะเวลาพอสมควร ในเบื้องต้นนี้มาทบทวนและทำความรู้จักกับเทคโนโลยีนี้กันอีกครั้ง
ตลาดเครื่องประดับเฉพาะบุคคลกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมเครื่องประดับในปัจจุบัน เนื่องจากผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการเครื่องประดับที่แสดงออกถึงความเป็นตัวตน เหมาะสมกับบุคลิกหรือลักษณะเฉพาะของตนเองมากขึ้น ผู้ประกอบการหรือแบรนด์ต่างๆ จึงหันมาสร้างโอกาสธุรกิจโดยการให้ลูกค้าเข้าไปมีส่วนร่วมในการออกแบบเครื่องประดับ ตั้งแต่การเลือกวัสดุ อัญมณี ไปจนถึงการดีไซน์ได้ตามความต้องการของลูกค้า จึงทำให้เครื่องประดับเหล่านี้มีความพิเศษเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากเครื่องประดับทั่วไป
คุณมีเครื่องประดับทองคำเก่าที่เก็บฝุ่นอยู่ในกล่องเครื่องประดับหรือไม่ เป็นคำถามสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของบทความนี้ การรีไซเคิลเครื่องประดับทองคำเป็นวิธีที่ฉลาดและยั่งยืนในการให้ชีวิตใหม่กับเครื่องประดับทองคำที่อาจถูกลืมไป ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ปลดล็อกคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเครื่องประดับทองคำชื้นที่ถูกลืมด้วยราคาทองคำที่สูงขึ้นแล้ว ยังช่วยสร้างให้เกิดความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ดังนั้นมาค้นพบศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในกล่องเครื่องประดับทองคำไปด้วยกันในบทความนี้
การตลาดแบบ Omni-Channel มีส่วนไม่มากก็น้อยที่ทำให้ธุรกิจมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าด้วย ดังนั้นยังไม่สายที่ประยุกต์ใช้แนวทางการตลาดนี้ให้เหมาะสมกับธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ และให้เข้ากับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคไปอย่างมากเช่นนี้ องค์กรยักษ์ใหญ่ยังให้ความสำคัญ แล้วคุณล่ะ คิดอย่างไร สามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้ และเมื่อได้คำตอบแล้ว ขอให้ลงมือทำได้เลย ยังไม่สายและยังไม่เก่าจริง ๆ
ดินแดนสายรุ้ง เป็นชื่อที่เรียกสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เนื่องจากมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ซึ่งครอบคลุมวัฒนธรรม ภาษา และศาสนาที่แตกต่างกัน อีกทั้งยังมีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นพลังงานอย่างถ่านหินสำรอง รวมถึงโลหะมีค่าอย่างทองคำ และอัญมณีหลายชนิดเช่น เพชร พลอยสีทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อน อ่านรายละเอียดได้ในบทความนี้
โลกแห่งอัญมณีและเครื่องประดับนั้นมีความน่าหลงใหลในตัวเองอยู่แล้ว ‘โลกแห่งการประมูลอัญมณีและเครื่องประดับ’ ได้เข้ามาทำให้ความน่าหลงใหลของงานชิ้นเหล่านั้นเพิ่มขึ้นไปอีก แต่ความหลงใหลอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะก้าวเข้าสู่โลกแห่งนี้ ผู้สนใจควรจะต้องมีการศึกษาทำความเข้าใจให้ครบถ้วน ทั้งในเรื่องของชิ้นงาน วิธีการประมูล ความน่าเชื่อของแหล่งประมูล และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อคิดว่ามีความพร้อมแล้วก็สามารถตัดสินใจก้าวเข้าสู่โลกแห่งเวทมนต์นี้ เพื่อออกตามหาและค้นพบเสน่ห์ที่น่าหลงใหลด้วยรอยยิ้มได้เลย
การลงทุนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญในการสร้างความมั่นคงในชีวิต ปัจจุบันผู้คนหันมาสนใจการลงทุนด้านต่าง ๆ กันมากขึ้น ไม่ว่าจะการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในหุ้น การลงทุนในกองทุน การลงทุนในรถโบราณ หรือแม้กระทั่งการลงทุนในเครื่องประดับหรูหรา เช่น อัญมณี หรือนาฬิกา ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ แต่การลงทุนล้วนมีความเสี่ยงและข้อควรระวังที่ควรทราบ ดังนั้นการศึกษาเบื้องต้นในการลงทุนในเครื่องประดับหรูหราจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จำเป็นต้องศึกษา นอกเหนือจากความชอบส่วนบุคคล เพราะจะทำให้ความชอบที่มีนั้นสามารถสร้างมูลค่าในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ติดตามการลงทุนเครื่องประดับหรูหรา ได้จากบทความนี้
นอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับแล้ว ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดซึ่งสามารถก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมไปทั่วอุตสาหกรรมทั้งฝั่งอุปสงค์และอุปทาน อย่างจีนและอินเดียก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ เนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นทั้งตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และโรงงานผลิตของโลกในคราเดียวกัน โอกาสและความท้าทายที่เกิดขึ้นในตลาดทั้งสองแห่งจึงมีความน่าสนใจ มีเนื้อหาอย่างไรตามอ่านได้ในบทความ
รัสเซียเป็นผู้ผลิตเพชรรายใหญ่ที่สุดในโลกและมีปริมาณเพชรสำรองมากที่สุดในโลก การที่กลุ่มประเทศ G7 และสหภาพยุโรปประกาศห้ามนำเข้าเพชรรัสเซียทั้งโดยตรงและโดยอ้อมตั้งแต่ต้นปี 2567 เป็นต้นไป พร้อมนำระบบตรวจสอบย้อนกลับเต็มรูปแบบมาใช้ในเดือนกันยายน 2567 นับเป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมเพชรและเสี่ยงต่อห่วงโซ่อุปทานของโลกให้ระส่ำมากขึ้น การแบนเพชรจากรัสเซียจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและการค้าอัญมณีทั่วโลกมากแค่ไหน อ่านรายละเอียดได้ในบทความนี้