Highlight Articles

บทความเด่นด้านการตลาดอัญมณีและเครื่องประดับ

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

การลงทุนในเครื่องประดับหรูหรา

การลงทุนเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำคัญในการสร้างความมั่นคงในชีวิต ปัจจุบันผู้คนหันมาสนใจการลงทุนด้านต่าง ๆ กันมากขึ้น ไม่ว่าจะการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในหุ้น การลงทุนในกองทุน การลงทุนในรถโบราณ หรือแม้กระทั่งการลงทุนในเครื่องประดับหรูหรา เช่น อัญมณี หรือนาฬิกา ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ แต่การลงทุนล้วนมีความเสี่ยงและข้อควรระวังที่ควรทราบ ดังนั้นการศึกษาเบื้องต้นในการลงทุนในเครื่องประดับหรูหราจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จำเป็นต้องศึกษา นอกเหนือจากความชอบส่วนบุคคล เพราะจะทำให้ความชอบที่มีนั้นสามารถสร้างมูลค่าในอนาคตได้อย่างยั่งยืน ติดตามการลงทุนเครื่องประดับหรูหรา ได้จากบทความนี้

ศูนย์ข้อมูลอัญมณีและเครื่องประดับ

ไพลินครองอันดับหนึ่งในโลกอัญมณี

ปัจจุบันไพลินมีปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ จึงเป็นที่ต้องการสูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และทำให้ราคาสูงขึ้นอย่างมาก โดยราคาไพลินพุ่งสูง 50-70% และบางชนิดมีราคาสูงขึ้นถึงหนึ่งเท่าตัวเมื่อเทียบกับก่อนการระบาดของโควิด-19 แม้ไพลินจะมีราคาสูง แต่ความต้องการซื้อมีแนวโน้มที่จะอยู่ในระดับสูงไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเสน่ห์ดึงดูดใจและประวัติความเป็นมาอันพิเศษไม่เหมือนใครของพลอยชนิดนี้


นอกเหนือจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับแล้ว ผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดซึ่งสามารถก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมไปทั่วอุตสาหกรรมทั้งฝั่งอุปสงค์และอุปทาน อย่างจีนและอินเดียก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ เนื่องจากทั้งสองประเทศเป็นทั้งตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และโรงงานผลิตของโลกในคราเดียวกัน โอกาสและความท้าทายที่เกิดขึ้นในตลาดทั้งสองแห่งจึงมีความน่าสนใจ มีเนื้อหาอย่างไรตามอ่านได้ในบทความ

การค้าอัญมณีและเครื่องประดับในตลาดจีนปี 2567 ได้รับการคาดหวังสูง แต่การขยายตัวจะขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนเอง บรรดาผู้ประกอบการต่างคาดว่า อุตสาหกรรมทองและมุกจะยังเติบโตได้ ความต้องการพลอยสีจะยังขยายตัวต่อไป ส่วนการค้าเพชรจะเริ่มตั้งหลักได้หลังจากที่ออกตัวอย่างเชื่องช้าเมื่อพ้นวิกฤติโควิด-19

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในเดือนมกราคม 2567 อยู่ที่ 1,166.08 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.09 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2566 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.15 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 696.96 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตร้อยละ 21.53

ในปี 2567 อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับหลายส่วนมีแนวโน้มที่จะพัฒนาในเชิงบวกท่ามกลางความไม่แน่นอนต่างๆ โดยคาดการณ์ว่าราคาสินค้าจะมีเสถียรภาพในขณะที่อุปสงค์และอุปทานเองก็จะมีความสมดุล เนื่องจากระดับการบริโภคเข้าสู่สภาวะปกติ หรือมีแนวโน้มที่อาจจะขยายตัวได้ด้วย

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในปี 2566 ลดลง 2.83% (YoY) จากมูลค่า 15,063.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 14,636.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 รองจากรถยนต์ และคอมพิวเตอร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.14 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ หากหักทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูปออก พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 8,658.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.40% (YoY) สำหรับโอกาสส่งออกในปี 2567 จากภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นกับนโยบายเชิงรุกของไทย ส่วนปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังเป็นประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนสูง

รัสเซียเป็นผู้ผลิตเพชรรายใหญ่ที่สุดในโลกและมีปริมาณเพชรสำรองมากที่สุดในโลก การที่กลุ่มประเทศ G7 และสหภาพยุโรปประกาศห้ามนำเข้าเพชรรัสเซียทั้งโดยตรงและโดยอ้อมตั้งแต่ต้นปี 2567 เป็นต้นไป พร้อมนำระบบตรวจสอบย้อนกลับเต็มรูปแบบมาใช้ในเดือนกันยายน 2567 นับเป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมเพชรและเสี่ยงต่อห่วงโซ่อุปทานของโลกให้ระส่ำมากขึ้น การแบนเพชรจากรัสเซียจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและการค้าอัญมณีทั่วโลกมากแค่ไหน อ่านรายละเอียดได้ในบทความนี้

อุตสาหกรรมเครื่องประดับเป็นส่วนสำคัญในวัฒนธรรมเสมอมา ไม่ว่าจะเป็นการสะท้อนสไตล์ของผู้คน เป็นสัญลักษณ์ของความรักและคำมั่นสัญญา แต่ปัจจุบันเครื่องประดับอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ฉะนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องติดตามข่าวสารการตลาด ตลอดจนแนวโน้มการบริโภค เทรนด์ต่างๆ เพื่อให้สามารถปรับตัวพัฒนากลยุทธ์ได้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งแนวทางของการปรับตัวให้สำเร็จทันการเปลี่ยนแปลงของโลกจะเป็นอย่างไร อ่านรายละเอียดได้ในบทความนี้

เพชรสีแม้จะเป็นสินค้าที่ค่อนข้างใหม่ในตลาดจีน แต่กำลังเป็นดาวเด่นที่น่าจับตามองเมื่อผู้บริโภคในจีนแผ่นดินใหญ่ค่อยๆ ขยายการซื้อจากเพชรสีเหลืองไปสู่สีอื่นๆ มากขึ้น เพื่อสะสมเป็นสินทรัพย์ รักษาความมั่งคั่ง สินค้ากลุ่มนี้ยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมากในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-พศฤจิกายน 2566 อยู่ที่ 13,664.59 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.22 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 8,101.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.51

คาซัคสถานเป็นประเทศมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นจุดยุทธศาสตร์ใจกลางเอเชียกลาง ทำให้คาซัคสถานทำหน้าที่เป็นเหมือนจุดเชื่อมโยงที่สำคัญทั้งในเอเชียกลาง ยุโรปและเอเชีย ทั้งยังเปิดรับวัฒนธรรมและนำเข้าสินค้าหลายประเภท รวมถึงอัญมณีและเครื่องประดับจากต่างชาติ จึงเป็นตลาดทางเลือกที่มีศักยภาพและความน่าสนใจสำหรับไทย ติดตามอ่านได้ในบทความนี้

เครื่องประดับชายมีอยู่มากมายในตลาด เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรถ้าคุณเป็นคนที่สนใจเรื่องแฟชั่นหรือรู้จักคนหนุ่มสาว การสวมใส่เครื่องประดับไม่ได้จำกัดอยู่แค่บนรันเวย์แฟชั่นเท่านั้น เพราะปัจจุบันหนุ่มๆ หันมาสวมใส่ต่างหู แหวน สร้อยข้อมือ สร้อยคอ และเครื่องประดับอื่นๆ กันเต็มที่ ทำให้ตลาดเครื่องประดับผู้ชายคึกคักมากขึ้น ติดตามรายละเอียดได้ในบทความนี้

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2566 อยู่ที่ 12,705.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.37 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 7,391.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.05

ในช่วงไม่กี่ปีมานี้ Soft Power เป็นกระแสที่ผู้คนและแวดวงการตลาดพูดถึงกันอย่างมาก จนรัฐบาลหยิบยกมาเป็นกลยุทธ์หนึ่งเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจขับเคลื่อนประเทศ โดยพลัง Soft Power ที่ทำให้สินค้าของไทยเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของชาวต่างชาติ เช่น อาหาร แหล่งท่องเที่ยวไทย ผ้าไทย มวยไทย และนวดแผนไทย ส่วน Soft Power จะช่วยเผยแพร่ความนิยมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในหมู่นักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวในไทยและชาวต่างชาติทั่วโลกอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้

สร้างเสียงฮือฮาทีเดียวเมื่อ Italian Trade Agency (ITA) เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างช่างฝีมือเครื่องประดับอิตาลีกับตลาดอเมริกาเหนือ โดยการเปิดตัวเว็บไซต์ e-shopping อันล้ำสมัยที่ไม่ได้มีเพียงหน้าเพจสำหรับจำหน่ายสินค้า แต่ยังเป็นสื่อกลางเพื่อการศึกษา เผยแพร่ความรู้ และสร้างแรงบันดาลใจที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มทั่วไปอีกด้วย ติดตามรายละเอียดได้ในบทความนี้

ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป ผู้บริโภค Gen Z มีแนวโน้มที่จะหันไปนิยมคุณค่าแบบผสมผสานศิลปะ วัฒนธรรมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น ซึ่งในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจะมีการนำ AI Art นำมาใช้เป็นเครื่องมือมาต่อยอดศิลปะการผลิตและการออกแบบเครื่องประดับมากขึ้น ติดตามรายละเอียดได้เพิ่มเติมที่นี่

เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมากขึ้น ปัจจุบันได้มีการนำ AI, AR และ VR มาใช้ร่วมกันในห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่การผลิต ไปจนถึงการสร้างแบรนด์ และการตลาด ธุรกิจต้องยอมรับเทรนด์นี้เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและส่วนแบ่งการตลาด และผู้ประกอบการจะหาประโยชน์สูงสุดจากโอกาสที่เทคโนโลยีมอบให้ได้อย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้

อัฟกานิสถานเป็นแหล่งผลิตอัญมณีมายาวนานกว่า 7,000 ปี จนถึงปัจจุบันยังคงอุดมไปด้วยพลอยสีหลากหลายชนิดทั้งพลอยเนื้อแข็งและพลอยเนื้ออ่อน ซึ่งอัญมณีหลายชนิดที่เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก ส่วนสถานการณ์การผลิตและการค้าอัญมณีของอัฟกานิสถานในปัจจุบันจะเป็นอย่างไร ติดตามรายละเอียดได้ในบทความนี้

มูลค่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2566 อยู่ที่ 11,128.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 10.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 โดยเป็นสินค้าส่งออกในอันดับที่ 3 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.22 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย แต่หากหักออกด้วยการส่งออกทองคำที่ยังมิได้ขึ้นรูป พบว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 6,643.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.09

ความตกลง CEPA อินเดีย-ยูเออีในปีที่ผ่านมา ทำให้อินเดียมีแต้มต่อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในยูเออีเพิ่มมากขึ้น และยังขยายสินค้าไปยังตลาดตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือได้อีก ในขณะที่ไทยอาจเสียเปรียบอินเดียในเรื่องของต้นทุนสินค้าที่สูงกว่าจากภาษีนำเข้าในอัตราปกติ โดยเฉพาะสินค้าที่อินเดียมีศักยภาพอย่างเครื่องประดับทอง แต่สินค้าศักยภาพของไทยอย่างพลอยสีจะไม่ได้รับผลกระทบ และไทยน่าจะส่งออกพลอยสีไปยังอินเดียและยูเออีได้เพิ่มขึ้น อ่านรายละเอียดได้เพิ่มเติมในบทความนี้

พลอยสียังคงตรึงความสนใจของตลาด ดังปรากฏให้เห็นจากการที่อัญมณีระดับคุณภาพสูงหลายชนิดเป็นที่ต้องการมากยิ่งขึ้นในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นทับทิม มรกต แซปไฟร์ พาราอิบาทัวร์มาลีน ส่งผลให้ราคาอัญมณีเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณอุปทานมีจำกัด แล้วกระแสความนิยมพลอยในตลาดโลกขณะนี้เป็นอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้

ในแง่ของการทำธุรกิจนั้น การวางแผนเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะคงไม่มีธุรกิจใดที่ต้องการให้เกิดความตื่นเต้นหรือลุ้นระทึกระหว่างทางเป็นแน่ เชื่อเถอะว่าถึงจะมีการเปลี่ยนแผนระหว่างทางเกิดขึ้น ก็ยังดีกว่าเดินทางไปแบบไม่มีการวางแผนและจุดหมายอย่างแน่นอน ติดตามข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบัน แนวโน้ม ตลอดจนแนวโน้มทางการตลาดเครื่องประดับได้ในบทความนี้

ทองคำมีบทบาทความสำคัญในหลายวัฒนธรรมทั่วโลกมาแต่โบราณ กระทั่งปัจจุบันทองคำได้มีการนำมาใช้ในหลายอุตสาหกรรมและหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งเป็นสินทรัพย์ทางเลือกที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนด้วย โดยทั่วโลกนั้นมีหลายประเทศที่พัฒนาการจากตลาดค้าขายทองคำในประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าทองที่สำคัญของโลก ขณะที่ประเทศไทยมีการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมทองคำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำมายาวนาน โอกาสที่ไทยจะก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าทองคำแห่งใหม่ของโลกมีมากน้อยเพียงใด สามารถอ่านได้ในบทความ

คอรันดัมเป็นแร่ชนิดหนึ่งที่นำมาใช้เป็นอัญมณี มีความสำคัญและได้รับความนิยมสูงในตลาดพลอย ไม่ว่าจะเป็นทับทิม ไพลิน บุษราคัม พัดพารัดชา ซึ่งในการซื้อขายอัญมณีดังกล่าวจะพิจารณาคุณภาพตามหลัก 4Cs ประกอบด้วย สี (Color) ความสะอาด (Clarity) การเจียระไน (Cut) และน้ำหนัก (Carat Weight) โดยในการพิจารณาคุณภาพอัญมณีนั้น สีเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่ผ่านมา GIT ได้ดำเนินการวิจัยเพื่อจัดทำมาตรฐานสีต่างๆ ของคอรันดัมสำหรับใช้ในการออกใบรับรอง เช่น มาตรฐานทับทิมสีเลือดนกพิราบ มาตรฐานไพลินสีรอยัลบลู และสีคอร์นฟลาวเวอร์บลู มาตรฐานพัดพารัดชา รวมถึงมาตรฐานทับทิมสีตากระต่าย

ในตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงศักยภาพตลาดอัญมณีและเครื่องประดับของ 3 ประเทศในกลุ่ม GCC ได้แก่ ยูเออี บาห์เรน และคูเวต ไปแล้ว ในตอนจบนี้จะกล่าวถึงการเจาะตลาดอีก 3 ประเทศที่เหลือ ได้แก่ โอมาน กาตาร์ และซาอุดีอาระเบีย ซึ่งก็เป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงและเป็นโอกาสสำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยเช่นกัน ติดตามรายละเอียดได้บทความนี้

ตะวันออกกลาง GCC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และบาห์เรน เป็นตลาดใหญ่ที่มีกำลังซื้อสูง นอกจากต้องการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคแล้วยังต้องการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือยอย่าง อัญมณีและเครื่องประดับอีกด้วย ตลาดนี้จะเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทยอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้

การออกแบบเครื่องประดับได้รับแรงบันดาลใจอันหลากหลายจากการผสมผสานเทรนด์ในอดีตและกระแสร่วมสมัยเข้าด้วยกัน โดยโซเชียลมีเดีย ความลื่นไหลในหลากหลายแง่มุม การนำหลักการออกแบบใหม่มาตีความและทำซ้ำตามแนวทางแบบสมัยใหม่ ตลอดจนการปรับแต่งให้เหมาะกับเฉพาะบุคคลและความยั่งยืน ล้วนถือเป็นประเด็นสำคัญในแวดวงการออกแบบเครื่องประดับทุกวันนี้ ทำให้เครื่องประดับหลายมิติจะสร้างกระแสในปีนี้ ซึ่งมีแนวคิดการดีไซน์แบบไหนบ้างติดตามได้จากบทความนี้

เครื่องประดับที่มีดีไซน์และจุดประสงค์ในการใช้งานที่หลากหลาย หรือ Functional Jewelry กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีตั้งแต่เครื่องประดับตกแต่งร่างกายไปจนถึงสินค้าเทคโนโลยีที่สวมใส่ได้ ผสมผสานความงามและประโยชน์ใช้สอยเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นสินค้านำเทรนด์ที่เน้นดีไซน์อันทันสมัยและสามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวัน โอกาสทางการตลาดของ Functional Jewelry มีศักยภาพอย่างไรติดตามได้จากบทความนี้

เราใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ นโยบายคุกกี้   ตั้งค่า ยอมรับ

×
140 อาคารไอทีเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์: 0 2634 4999 ต่อ 444
โทรสาร: 0 2634 4970